ความน่าสนใจของ "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" ภาพยนตร์จากอินโดนีเซีย อยู่ตรงจุดที่มีการโฆษณาว่าสร้างมาจากเรื่องจริงที่เป็นคดีเขย่าขวัญคนทั้งอินโดฯ แม้อาจจะไม่ใช่ธุระถึงขั้นที่ว่าจะต้องไปหาข้อมูลของคดีนี้มาทำความเข้าใจก่อนเข้าไปรับชม ซึ่งจากข้อมูลแล้วเนื้อหาในหนังก็มีหลายส่วนที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงอยู่ เอาเป็นว่าการเข้าไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เพียงแค่ทำใจร่มๆ แล้วทำตัวอย่างปกติก็พอ
.
หากตัดเรื่องที่ว่า “สร้างจากเรื่องจริง” ออกไปในภาพรวมของ "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" ก็อาจไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ “มีของ” ในระดับที่ว่าต้องไปดูให้ได้หรือถ้าพลาดแล้วจะเสียใจอะไรทำนองนั้น กลับกันตัวหนังเองก็มีความไม่สมบูรณ์(เรื่องการถ่ายทำ)ให้เห็นอยู่เหมือนกัน หรือในแง่ของความสยองขวัญก็พอๆ กับภาพยนตร์ผีของไทยที่ไม่ได้สร้างจากสตูดิโอระดับแถวหน้าของประเทศ เป็นจำพวกผีตาขาวๆ ที่วิ่งใส่คนกับกล้องเป็นระยะๆ ทำนองนั้น
.
โชคดีที่คุณภาพของงานสร้างในส่วนของการเอฟเฟคทำมือ หรือ practical effects นั้นดี(สมจริง)พอที่จะฉายภาพความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นกับวีนาได้ หากทั้งหมดเป็นเรื่องจริง (เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ได้มีส่วนเติมจากผู้กำกับ) ก็เป็นเรื่องน่าสลดใจอย่างที่สุดว่า ทำไมผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนึงต้องมาประสบกับอะไรแบบนี้ด้วย เพราะในเรื่องมีการถ่ายทอดวินาทีที่วีนาถูกทารุณกรรมแบบถึงพริกถึงขิง ถูกทุบตีจนแขนหัก ถูกลากไปข่มขืน และอีกสารพัด ที่ชวนให้อยากคว้าไม้สักท่อนแล้วกระโดดเข้าไปช่วยวีนาจริงๆ
.
แต่ด้วยความที่สร้างมาจากเรื่องจริง เนื้อหาการเล่าเรื่องจึงค่อนข้างถูกบีบไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทั้งตัวคดีที่เกิดขึ้นและไฮไลท์อีกอย่าง นั่นก็คือ เหตุการณ์ที่อ้างว่าวีนาเข้าสิงเพื่อนสนิทอย่าง “ลินดา” เพื่อบอกว่าใครเป็นคนร้ายและเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้างในคืนนั้น (มีคลิปเสียงเหตุการณ์จริงใส่มาในช่วง Mid-credit scene ด้วย) ซึ่งดูเหมือนว่าตัวผู้กำกับแองกี้ อัมบารา ก็พยายามใส่ความคิดเห็นของเขาลงไปไม่น้อย
.
เห็นได้ชัดว่าเมื่อจับคนร้ายตัวจริงไม่ได้ (ตามข่าวคือจับได้ไม่ครบ ตัวต้นเรื่องยังลอยนวล) ผู้กำกับแองกี้ก็เลือกที่จะสร้างวีนา (Nayla D. Purnama) กลับมาในรูปแบบของผี เพื่อแก้แค้นคนร้ายที่ดูเหมือนว่าตำรวจไม่ค่อยอยากจะจับและพยายามปิดคดีนี้ให้กลายเป็นแค่อุบัติเหตุ แม้จะเป็นแค่การแก้แค้นที่ดูเหมือนจะหลอนไปเอง แต่ก็เหมือนทำเพื่อเอาสะใจ ทำนองที่ว่า “คนร้ายตัวจริงจัดการไม่ได้ ในหนังก็ขอซัดหน่อยละกัน”
.
นอกจากนั้น "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" ยังเผยให้เราได้เห็นถึงสภาพสังคมของอินโดนีเซีย ที่พูดกันตามตรงแล้วก็ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ “กำลังพัฒนา” ไม่ต่างจากบ้านเรานัก เมืองซิเรบอน (Cirebon) ในเรื่องก็มีสภาพคล้ายๆ กับต่างจังหวัดของประเทศไทย มีปัญหาเชิงโครงสร้าง การกลั่นแกล้งในโรงเรียน ความเสื่อมโทรม มีพวก “แก๊งค์มอเตอร์ไซค์” ที่ดูจะหนักข้อกว่า “เด็กแว้น” บ้านเราซะอีก (มีสัญลักษณ์แก๊งค์ มีการก่ออาชญากรรม) เมื่อดูไปก็ฉุกคิดได้ว่า มุสลิมที่นั่นไม่ค่อยเคร่งกันเลย แถมยังมีความเชื่อเรื่องผีคนตายกลับมาล้างแค้นคล้ายๆ กับบ้านเราอีก
.
“ลิเดีย คันดู” (Lydia Kandou) ในบทคุณย่าของวีน่า นักแสดงรุ่นใหญ่ของอินโดนีเซีย น่าจะเป็นคนที่ได้แสดงฝีม้ายลายมือมากที่สุดของเรื่องแล้ว เพราะเป็นตัวละครหลักในการเดินเรื่องส่วนใหญ่ ในขณะที่นักแสดงรุ่นเล็กอย่าง “นายีลา เดนนี่ ปูร์นามา” (Nayla D. Purnama) ที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายวีนาตัวจริงจนน่าตกใจ ปรากฏตัวมาในฐานะของ “ผีล้างแค้น” มากกว่าจะมาเป็นคนธรรมดา สุดท้ายกับ “จิเซลมา เฟอร์มันสยาห์” (Gisellma Firmansyah) ในบทลินดาเพื่อนของวีนา ที่มีฉากผีเข้าเป็นฉากสำคัญของตัวละครนี้
.
หากจะบอกว่าวงการภาพยนตร์ของอินโดนีเซียกำลังพัฒนาขึ้นมาแข่งกับไทยเราก็คงไม่ผิดนัก ดูได้จากที่มีความพยายามส่งออกหนังมาสู่ตลาดบ้านเรามากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังเพิ่งมี Kang Mak ที่ดัดแปลงจากภาพยนตร์ความสำเร็จระดับปรากฏการณ์อย่าง “พี่มากพระโขนง” เข้าฉายไปอีก แม้ว่าตัวหนัง "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" จะยังอยู่ในระดับครึ่งๆ กลางๆ แต่ก็พอสัมผัสได้ว่าจากนี้ไป ภาพยนตร์จากอินโดนีเซียจะกลายเป็นคู่แข่งของไทยที่น่าจับตามองอย่างมากเลย
Story Decoder
[รีวิว] วีนา คืนบาปสาปจากหลุม - เรื่องจริงจากคดีสะเทือนขวัญ ที่ทำถึงกับการจำลองเหตุการณ์อันน่าหดหู่ใจ
.
หากตัดเรื่องที่ว่า “สร้างจากเรื่องจริง” ออกไปในภาพรวมของ "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" ก็อาจไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ “มีของ” ในระดับที่ว่าต้องไปดูให้ได้หรือถ้าพลาดแล้วจะเสียใจอะไรทำนองนั้น กลับกันตัวหนังเองก็มีความไม่สมบูรณ์(เรื่องการถ่ายทำ)ให้เห็นอยู่เหมือนกัน หรือในแง่ของความสยองขวัญก็พอๆ กับภาพยนตร์ผีของไทยที่ไม่ได้สร้างจากสตูดิโอระดับแถวหน้าของประเทศ เป็นจำพวกผีตาขาวๆ ที่วิ่งใส่คนกับกล้องเป็นระยะๆ ทำนองนั้น
.
โชคดีที่คุณภาพของงานสร้างในส่วนของการเอฟเฟคทำมือ หรือ practical effects นั้นดี(สมจริง)พอที่จะฉายภาพความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นกับวีนาได้ หากทั้งหมดเป็นเรื่องจริง (เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ได้มีส่วนเติมจากผู้กำกับ) ก็เป็นเรื่องน่าสลดใจอย่างที่สุดว่า ทำไมผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนึงต้องมาประสบกับอะไรแบบนี้ด้วย เพราะในเรื่องมีการถ่ายทอดวินาทีที่วีนาถูกทารุณกรรมแบบถึงพริกถึงขิง ถูกทุบตีจนแขนหัก ถูกลากไปข่มขืน และอีกสารพัด ที่ชวนให้อยากคว้าไม้สักท่อนแล้วกระโดดเข้าไปช่วยวีนาจริงๆ
.
แต่ด้วยความที่สร้างมาจากเรื่องจริง เนื้อหาการเล่าเรื่องจึงค่อนข้างถูกบีบไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทั้งตัวคดีที่เกิดขึ้นและไฮไลท์อีกอย่าง นั่นก็คือ เหตุการณ์ที่อ้างว่าวีนาเข้าสิงเพื่อนสนิทอย่าง “ลินดา” เพื่อบอกว่าใครเป็นคนร้ายและเกิดอะไรขึ้นกับเธอบ้างในคืนนั้น (มีคลิปเสียงเหตุการณ์จริงใส่มาในช่วง Mid-credit scene ด้วย) ซึ่งดูเหมือนว่าตัวผู้กำกับแองกี้ อัมบารา ก็พยายามใส่ความคิดเห็นของเขาลงไปไม่น้อย
.
เห็นได้ชัดว่าเมื่อจับคนร้ายตัวจริงไม่ได้ (ตามข่าวคือจับได้ไม่ครบ ตัวต้นเรื่องยังลอยนวล) ผู้กำกับแองกี้ก็เลือกที่จะสร้างวีนา (Nayla D. Purnama) กลับมาในรูปแบบของผี เพื่อแก้แค้นคนร้ายที่ดูเหมือนว่าตำรวจไม่ค่อยอยากจะจับและพยายามปิดคดีนี้ให้กลายเป็นแค่อุบัติเหตุ แม้จะเป็นแค่การแก้แค้นที่ดูเหมือนจะหลอนไปเอง แต่ก็เหมือนทำเพื่อเอาสะใจ ทำนองที่ว่า “คนร้ายตัวจริงจัดการไม่ได้ ในหนังก็ขอซัดหน่อยละกัน”
.
นอกจากนั้น "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" ยังเผยให้เราได้เห็นถึงสภาพสังคมของอินโดนีเซีย ที่พูดกันตามตรงแล้วก็ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ “กำลังพัฒนา” ไม่ต่างจากบ้านเรานัก เมืองซิเรบอน (Cirebon) ในเรื่องก็มีสภาพคล้ายๆ กับต่างจังหวัดของประเทศไทย มีปัญหาเชิงโครงสร้าง การกลั่นแกล้งในโรงเรียน ความเสื่อมโทรม มีพวก “แก๊งค์มอเตอร์ไซค์” ที่ดูจะหนักข้อกว่า “เด็กแว้น” บ้านเราซะอีก (มีสัญลักษณ์แก๊งค์ มีการก่ออาชญากรรม) เมื่อดูไปก็ฉุกคิดได้ว่า มุสลิมที่นั่นไม่ค่อยเคร่งกันเลย แถมยังมีความเชื่อเรื่องผีคนตายกลับมาล้างแค้นคล้ายๆ กับบ้านเราอีก
.
“ลิเดีย คันดู” (Lydia Kandou) ในบทคุณย่าของวีน่า นักแสดงรุ่นใหญ่ของอินโดนีเซีย น่าจะเป็นคนที่ได้แสดงฝีม้ายลายมือมากที่สุดของเรื่องแล้ว เพราะเป็นตัวละครหลักในการเดินเรื่องส่วนใหญ่ ในขณะที่นักแสดงรุ่นเล็กอย่าง “นายีลา เดนนี่ ปูร์นามา” (Nayla D. Purnama) ที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายวีนาตัวจริงจนน่าตกใจ ปรากฏตัวมาในฐานะของ “ผีล้างแค้น” มากกว่าจะมาเป็นคนธรรมดา สุดท้ายกับ “จิเซลมา เฟอร์มันสยาห์” (Gisellma Firmansyah) ในบทลินดาเพื่อนของวีนา ที่มีฉากผีเข้าเป็นฉากสำคัญของตัวละครนี้
.
หากจะบอกว่าวงการภาพยนตร์ของอินโดนีเซียกำลังพัฒนาขึ้นมาแข่งกับไทยเราก็คงไม่ผิดนัก ดูได้จากที่มีความพยายามส่งออกหนังมาสู่ตลาดบ้านเรามากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังเพิ่งมี Kang Mak ที่ดัดแปลงจากภาพยนตร์ความสำเร็จระดับปรากฏการณ์อย่าง “พี่มากพระโขนง” เข้าฉายไปอีก แม้ว่าตัวหนัง "วีนา คืนบาปสาปจากหลุม" จะยังอยู่ในระดับครึ่งๆ กลางๆ แต่ก็พอสัมผัสได้ว่าจากนี้ไป ภาพยนตร์จากอินโดนีเซียจะกลายเป็นคู่แข่งของไทยที่น่าจับตามองอย่างมากเลย
Story Decoder