เกมเมอร์จะรับได้ใหม...ถ้าต่อไปนี้ อาจจะซื้อเกมส์แล้ว ไม่ได้เป็นเจ้าของเกมส์...


เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ กฎหมายตัวใหม่ในรัฐแคลิฟอเนีย อเมริกาได้ออกมาบังคับใช้ ซึ่งไอ้ กม.ตัวนี้มีใจความว่า การที่เรากดซื้อเกมในแบบดิจิตอล (แบบดาวโหลด ไม่ได้ลงจากแผ่นหรือบริการดาวโหลดคอนเทนอื่นๆที่ไม่มีการทำสำเนาแบบจับต้องได้) จะไม่ได้เป็นการซื้อเกม แต่จะเป็นการเช่าเกมส์หรือซื้อไลเซนต์หรือซื้อสิทธิเข้าไปเล่นเกมเท่านั้น คนที่ซื้อจะไม่ได้เป็นเจ้าของเกมนั้นจริงๆ
และกฎหมายนี้รวมไปถึงหนัง เพลง อีบุ๊กและยังบังคับผู้ให้บริการต่างเหล่านี้ ต้องไม่ใช้ปุ่มกดที่มีคำว่า "ซื้อ" เวลากดแอดสินค้าเข้าตระกร้าอีกด้วย (โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นการโฆษณาเกินจริง ว่าเป็นการซื้อสินค้าเพื่อเป็นเจ้าของจริงๆ)

ซึ่งหมายความว่าต่อไปนี้ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นมาในระหว่างที่เราเช่าหรือซื้อสิทธิเข้าไปใช้บริการ เช่น ผู้ให้บริการอยู่ๆยกเลิกบริการ หรืออยู่ๆก็ปิด Server ขึ้นมา เราก็จะไม่มีสามารถ ขอคืนเงินได้ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของเรา ทุกอย่างหายไปเป็น 0 เจ๊าๆกันไป ปิดเซิบแล้วก็จบ

ตอนนี้ก็มีผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ๆอย่างสตีมออกมาทำข้อตกลงใหม่กับคนที่ซื้อให้สอดคล้องกับกม.ใหม่ตัวนี้แล้วเช่นกัน

จะเห็นได้ว่ากดซื้อเกมในสตีมที่เป็นแบบดาวโหลดล้วนๆ จะใช้คำว่าการสั่งซื้อ = ซื้อสิทธิเข้าไปเล่นเกมในสตีมเท่านั้น ไม่ได้เป็นเป็นเจ้าของเกมนั้นๆจริง เป็นการเช่าในระยะยาวจนกว่าสตีมจะเจ๊งไปเอง หรือปิดเซิบไปเองนั้นแหละ

เรื่องทำนองนี้มีมานาน ก่อนเกิดกม.ตัวนี้อีก ที่ค่ายเกมบางค่ายเริ่มพยายามผลักดันให้มีการซื้อ(ไม่มีขาย เพราะแบบดิจิตอลมันผูกกับแอคเคาท์ ยกเว้นแต่จะขายทั้งแอคเคาท์ที่มีผูกกับเกมนั้นทั้งหมด) เกมแบบดิจิตอลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลเพราะ

1.การขายเกมแบบตัวแผ่น ทำให้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือง่ายเกินไป ซึ่งไม่เป็นผลดีกับบริษัท แทนที่ 1 คนซื้อ 1 เกม ก็จะกลายเป็น 1 คนซื้อแผ่นเกม 1 เกม คนแรกเล่นเสร็จก็เอาไปขายต่อ คนที่ 2 .... 3 ......4.....5 แทนที่บริษัทจะขายเกมได้ 5 ชุด แต่กลายว่าขายได้ชุดเดียว
2.การรู้ข้อมูลยอดขายจริงๆ ของเกมที่ผลิต ว่ามียอดขายจริงๆเท่าไหร่ การทำตลาดของเกมเรื่องแบบนี้มีความสำคัญมาก เพราะจะรู้เลยว่าขายได้เยอะก็ทำเกมต่อไปได้ หรือพอแค่นี้ถ้ารู้ว่าไม่มีคนเล่น
3.การรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของคนที่ซื้อเกมไปเล่น เพราะการจะดาวโหลดเกมแต่ละครั้ง อาจจะต้องมีการลงทะเบียนมีการกรอกข้อมูล หรือเอาแอคเคาท์เข้าไปผูกกับเกม ซึ่งค่ายเกมสามารถเอาข้อมูลของผู้เล่นตรงนี้เข้าไปต่อยอด หาประโยชน์ได้อีกต่อ ยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆนี้ ค่ายเกมที่เหล่าเกมเมอร์รักมาก อย่างค่าย UBISOFT ก็โดนฟ้องในข้อหาที่เอาข้อมูลส่วนบุคคลที่มาซื้อเกมของ ubi ใน ubisoft connect ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต


มาถึงตรงนี้ คนซื้อ ผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆจะทำอะไรได้ใหม ถ้าไม่เห็นด้วยกับมาตรฐานใหม่ตรงนี้

คนที่ยอมรับก็มี เพราะเขาก็เตือนมาหลายทีแล้วนิว่า "คนที่ซื้อเกมควรทำตัวให้ชินไว้ซะ ถ้าวันนึงคุณซื้อเกมแล้วจะไม่ได้เป็นเจ้าของเกม"
เกมเมอร์คนที่ไม่ยอมรับบางคนก็เริ่มออกเรือ ท่องสมุทรกันไปเลยก็มี

บางคนก็ถึงกับสาบส่งกันเลยว่าถ้าไม่มีแผ่นจริง กุก็ไม่ซื้อ แต่ทั้งนี้ก็มีบางเกมที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ค่ายเกมที่ทำเกมออกมา แบบไม่มีแผ่นจริงๆเลยซาาาาาากกกกกแผ่นก็ยังขายดิบขายดีก็มีให้เห็นมาแล้ว


แล้วหากค่ายเกมมีการผลักดันให้เกมของค่ายให้ไปใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้น เขาก็จะพยายามผลักดัน คนที่ซื้อแบบแผ่นไปใช้ระบบเดียวกับดิจิตอลอยู่ดี เช่นการบังคับให้คนที่ซื้อแผ่นจริงยังต้องต่อเน็ต ล๊อคอินผ่านระบบของค่ายเกมอยู่ดี

หลายค่ายก็เริ่มทำแบบนี้มากขึ้น เช่น ให้มีระบบ Subscription ไมโครซอฟก็เล่นเกมผ่านเกมพาส PS ก็มี PS+
Ubisoft
หากคนที่ไม่ด้วยกับวิธีค่ายเกมก็มีวิธีการต่อต้านในแบบฉบับของตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะทำให้เกิดผล ถึงขนาดค่ายเกมต้องคิดทบทวนแผนการผลักดันการขายเกมแบบดิจิตอลอย่างเดียวใหม่รึไม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็คงต้องดูเป็นเกมๆแยกกันไป เพราะถ้าเกมดีจริงๆ ระดับ AAAA คนก็ต้องขนขวายหามาเล่นให้ได้อยู่ดี

เกมรองบ่อนหน่อยก็ดันยอดขายให้กระเตื้องก็อาจจะต้องออกเกมแบบแผ่นจริงมาเพิ่มยอดขายบางแหละ อย่างเกมนี้เป็นต้น

แล้วเกมเมอร์อย่างคุณๆล่ะจะยอมรับกันได้ใหม่ ถ้าต่อไปจากนี้อีกไม่นานแผ่นเกมจริงจะมีให้ซื้อน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงวันนึงอาจจะขายเกมแบบดิจิตอลอย่างเดียวก็เป็นไปได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่