สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ ในช่วงเวลาเกือบ 9 เดือนที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรการต่าง ๆ ในการกำกับดูแลตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้จึงจะมาเล่าสรุปถึงความคืบหน้าที่สำคัญในด้านการยกระดับการกำกับดูแลตราสารหนี้ในปี 2567 ให้ทุกท่านได้รับทราบกันค่ะ
หนึ่งในการดำเนินงานที่เป็นไฮไลต์สำคัญของช่วงที่ผ่านมาคือ การยกระดับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 67 เพื่อให้เหมาะสมกับการกำกับดูแลการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละประเภท โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของตนเองได้
อีกทั้งยังมีการปรับปรุงรูปแบบการใช้ชื่อหุ้นกู้เสี่ยงสูงและปรับโทนสีของเอกสาร Factsheet ให้เป็นสีแดงสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้เสี่ยงสูง ทำให้ผู้ลงทุนมีจุดสังเกตและรับทราบถึงความเสี่ยงในการลงทุนเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงได้มีการปรับปรุงในเรื่องการรายงานการใช้เงินให้มีความละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้นและกำหนดให้มีการรายงานตามช่วงเวลา เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ฝั่งของผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer) ก.ล.ต.ได้จัดทำคู่มือการกำหนดชื่อตราสารหนี้ เพื่อกำหนดรูปแบบการเรียงลำดับลักษณะสำคัญของตราสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงมีการระบุลักษณะพิเศษของตราสารนั้น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้จัดทำคู่มือการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการจัดประชุมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ เนื่องจากการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้ถือหุ้นกู้รับทราบข้อมูลสำคัญ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่อาจกระทบกับการได้รับชำระหนี้หุ้นกู้ โดยคู่มือนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้ออกหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน ตั้งแต่ก่อนการประชุม ระหว่างการประชุม และภายหลังการประชุม รวมถึงแนะนำ
ข้อควรพิจารณาต่าง ๆ ในวาระการประชุมวาระที่มีนัยสำคัญ เช่น วาระการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ เป็นต้น
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การยกระดับการทำหน้าที่ของ Third Party ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และที่ปรึกษาทางการเงิน
ในส่วนของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ดำเนินการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการทำหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และได้ร่วมมือกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ในการจัดทำ “ตัวอย่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” รวมถึงอยู่ระหว่างร่วมกันปรับปรุงข้อกำหนดสิทธิมาตรฐาน อีกทั้งยังได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. 67
สำหรับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และที่ปรึกษาทางการเงิน ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขกฎหมายในการกำกับดูแล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้สามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการดำเนินการที่ ก.ล.ต.มุ่งเดินหน้าพัฒนาและปรับปรุงการกำกับดูแลตราสารหนี้ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการลงทุน และลดโอกาสในการเกิดปัญหาของตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และทำให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้อย่างเหมาะสมค่ะ...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1672577
คืบหน้า…เกณฑ์ดูแลตราสารหนี้
หนึ่งในการดำเนินงานที่เป็นไฮไลต์สำคัญของช่วงที่ผ่านมาคือ การยกระดับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารหนี้ ซึ่งได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 67 เพื่อให้เหมาะสมกับการกำกับดูแลการเสนอขายตราสารหนี้ในแต่ละประเภท โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของตนเองได้
อีกทั้งยังมีการปรับปรุงรูปแบบการใช้ชื่อหุ้นกู้เสี่ยงสูงและปรับโทนสีของเอกสาร Factsheet ให้เป็นสีแดงสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้เสี่ยงสูง ทำให้ผู้ลงทุนมีจุดสังเกตและรับทราบถึงความเสี่ยงในการลงทุนเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงได้มีการปรับปรุงในเรื่องการรายงานการใช้เงินให้มีความละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้นและกำหนดให้มีการรายงานตามช่วงเวลา เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถติดตามการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ฝั่งของผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer) ก.ล.ต.ได้จัดทำคู่มือการกำหนดชื่อตราสารหนี้ เพื่อกำหนดรูปแบบการเรียงลำดับลักษณะสำคัญของตราสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงมีการระบุลักษณะพิเศษของตราสารนั้น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้จัดทำคู่มือการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการจัดประชุมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ เนื่องจากการประชุมผู้ถือหุ้นกู้เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้ถือหุ้นกู้รับทราบข้อมูลสำคัญ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่อาจกระทบกับการได้รับชำระหนี้หุ้นกู้ โดยคู่มือนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้ออกหุ้นกู้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน ตั้งแต่ก่อนการประชุม ระหว่างการประชุม และภายหลังการประชุม รวมถึงแนะนำ
ข้อควรพิจารณาต่าง ๆ ในวาระการประชุมวาระที่มีนัยสำคัญ เช่น วาระการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ เป็นต้น
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การยกระดับการทำหน้าที่ของ Third Party ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และที่ปรึกษาทางการเงิน
ในส่วนของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ได้ดำเนินการปรับปรุงแนวปฏิบัติในการทำหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และได้ร่วมมือกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ในการจัดทำ “ตัวอย่างสัญญาแต่งตั้งผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้” รวมถึงอยู่ระหว่างร่วมกันปรับปรุงข้อกำหนดสิทธิมาตรฐาน อีกทั้งยังได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้คุณสมบัติของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. 67
สำหรับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และที่ปรึกษาทางการเงิน ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการเสนอแก้ไขกฎหมายในการกำกับดูแล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้สามารถกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการดำเนินการที่ ก.ล.ต.มุ่งเดินหน้าพัฒนาและปรับปรุงการกำกับดูแลตราสารหนี้ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการลงทุน และลดโอกาสในการเกิดปัญหาของตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และทำให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้อย่างเหมาะสมค่ะ...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1672577