เรื่องนีหยิบขึ้นมาเล่าเป็นประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ขอเล่าเพื่อเป็นวิทยาทานนะคะ
เราอายุ42 ปี ทำงานเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทุกคนรู้อยู่แล้วว่าอาชีพนี้ต้องมีการเข้าเวร กลางวันบ้าง กลางคืนบ้าง สลับกันไป เราอยู่ในสายงานนี้มา20ปี ก็ทำอยู่แบบนี้สลับกันไปมาจนร่างกายมันชินทีนี้ย้อนกลับไปเมื่อปี2563 ปีนี้ยังมีเรื่องสถานการ์โควิดอยู่ (เวรก็จะค่อนข้างหนักเพราะมีเพื่อนร่วมงานก็สลับสับเปลี่ยนเป็นโควิดอยู่เรื่อยๆซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลย เมื่อมีคนที่ต้องหยุดงานเพื่อแยกออกไปกักตัว เราก็อาจจะต้องขึ้นเวรต่อ บางครั้งเป็นเวร 32-48 ชม.ก็มี) เมื่อเดือน พ.ค.วันนั้นก็เหมือนเดิม เราขึ้นเวรยาว24 ชม.ก็มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น จำได้ครั้งสุดท้ายก่อนที่ภาพจะตัดไปคือตอนนั้นเวลาประมาณ 5 ทุ่ม เราเดินคุยโทรศัพท์จากเคาน์เตอร์พยาบาล ออกมาหาที่คุยข้างนอกเพื่อที่จะไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น(แต่อยู่ในบริเวณหอผู้ป่วยที่เราทำงาน) ไม่ถึง5นาทีก็มีเสียงผู้ป่วยกรี๊ดเหมือนตกใจอะไรสักอย่างแล้วมีเสียงโครม เหมือนมีอะไรตกเสียงดัง เพื่อนที่อยู่ในเคาน์เตอร์วิ่งออกมาดู ก็เห็นว้าเราล้มลงที่บริเวรปลายเตียงผู้ป่วยมีอาการชักกระตุกน้ำลายฟูมปาก หัวฟาดกับเตียงผู้ป่วย เรียกไม่ได้สิติ ถามตอบไม่รู้เรื่อง กว่าจะรู้ตัวก็กินเวลาไปนานพอสมควร เพื่อนร่วมงานเราโทรตามแพทย์เวร แล้วแพทย์ก็ให้ส่งไปทำ CT scan (สแกนสมอง) รอผลแล้วทำเรื่องแอดมิท เพื่อนอนสังเกตุอาการณ์ ผลCT scan ออกมาคือไม่เจออะไร ไม่มีเลือดออกในสมอง หลังจากนั้นเราก็กลับมาทำงาน และใช้ขีวิตปกติ โดยไม่ได้หาสาเหตุของการเป็นลมชักครั้งนั้น อ่ะรอบนี้ก็ผ่านไปจนเหตุการณ์ที่2
เมื่อประมาณเดือน มิ.ย. 2566 อันนี้เกตุเหตุการประมาณ07:00 เดินทำงานอยู่ดีๆก็ลมลง ชักกระตุก น้ำลายฟูมปาก แล้วก็หยุดหายใจไปเลย ความโชคดีในความโชคร้ายของเราในครั้งนี้ก็คือเกิดเหตุที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานวิ่งมาทำ CPR ให้ ก็ส่งรักษาแอดมิท สังเตุอาการ แค่รอบนีคุณหมอเฉพาะทางเริ่มให้ทานกันชัก พร้อมหาสาเหตุแบบจริงจัง ส่งทำ MRI CT scan EEG หาสาเหตุของการชักครั้งนี้ อย่างจริงจัง ผลการตรวจกลับเหมือนเดิมกับรอบที่แล้ว ไม่เจออะไร ปกติทุกอย่าง คุณมอก็มาซักประวัติเรื่องการใช้ชีวิต นอนวันละกี่ ชม. ทำงานวันละกี่ ชม. คุณหมอเลยสรุปสาเหตุของการขักว่า น่าจะมาจากการอดนอน สะสมจากระยะเวลาที่ยาวนาน+อาการเครียด หรือปริมาณยากันชักอาจจะไม่พอ ต้องปรับยากันชัก รอบนี้คุณหมอเริ่มให้ทานยากันชัก และขอให้เข้าเวร บ่าย-ดึก น้อยลง(แต่เราก็ยังต้องเข้าเวรปกติเพียงแค่ลดลงนิดหน่อย) เพื่อที่จะให้เราได้พักให้มากขึ้น แล้วก็ให้ยานอนหลับ ในช่วงที่เราต้องบังคับร่างกายให้นอนพักผ่อน ก็นัดติดตามอาการกันมาเรื่อยๆ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทุกอย่างปกติ เหมือนเดิม จนมาถึงวันที่28 กันยายนที่ผ่านมา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10 โมงกว่าๆ ของการทำงานเวรเช้าของวันนั้น จู่ๆเราก็ยืนตัวเกร็ง ตาค้าง เริ่มชักกระตุกและกำลังจะล้มลง รอบนี้เกิดที่ในเคาน์เตอร์พยาบาลเลย ดีที่มีเพื่อนร่วมงาน รับตัวไว้ทันก่อนที่จะล้มหัวฟาด รอบนี้ก็เหมือนเดิม ให้แอดมิท สังเกตุอาการ รอบนี้คุณหมอนั่งคุยแบบจริงจัง ว่า เปลียนไปทำงาน แผนกที่ไม่ต้องเข้าเวรกลางคืนได้มั้ย หมอต้องการให้เราพักผ่อนให้เป็นเวลา เพราะเราต้องทานยากันชัก (ปรับยาให้ปริมาณเยอะขึ้น) เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะชักอยู่แบบนี้ โชคดีที่เหตุการณ์ที่3ครั้งที่มันเกิดขึ้นมันเกิดใน ที่ทำงาน(ร.พ.) ถ้ามันเกิดที่อื่น ใครจะช่วยเราทัน อย่าคิดว่าตัวเองไหว ร่างกายไหว อยากทำงานเยอะๆเพื่อที่จะได้เงินเยอะๆ จนลืมที่จะดูแลร่างกายตัวเอง เราหวังว่าเรื่องของเรา คงเป็นอุทาหรณ์ให้หลายๆคนที่ทำงานหนักแล้วก็คิดว่าตัวเองไหว ได้หันกลับมาดูแลร่างกายของตัวเอง ก่อนที่มันจะสายเกินไป สรุปคอนนี้ก็ทานยากันขักไปตลอดชีวิต แล้วก็ไม่ขึ้นเวรกลางคืนแล้ว หันมาดูแลสุขภาพของตัวเองเยอะขึ้น ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ
ภัยเงียบของการพักผ่อนน้อย Namnueng
กระทู้อยากเล่าประสบการณ์ปัญหาเรื่องสุขภาพ
เราอายุ42 ปี ทำงานเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งทุกคนรู้อยู่แล้วว่าอาชีพนี้ต้องมีการเข้าเวร กลางวันบ้าง กลางคืนบ้าง สลับกันไป เราอยู่ในสายงานนี้มา20ปี ก็ทำอยู่แบบนี้สลับกันไปมาจนร่างกายมันชินทีนี้ย้อนกลับไปเมื่อปี2563 ปีนี้ยังมีเรื่องสถานการ์โควิดอยู่ (เวรก็จะค่อนข้างหนักเพราะมีเพื่อนร่วมงานก็สลับสับเปลี่ยนเป็นโควิดอยู่เรื่อยๆซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลย เมื่อมีคนที่ต้องหยุดงานเพื่อแยกออกไปกักตัว เราก็อาจจะต้องขึ้นเวรต่อ บางครั้งเป็นเวร 32-48 ชม.ก็มี) เมื่อเดือน พ.ค.วันนั้นก็เหมือนเดิม เราขึ้นเวรยาว24 ชม.ก็มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น จำได้ครั้งสุดท้ายก่อนที่ภาพจะตัดไปคือตอนนั้นเวลาประมาณ 5 ทุ่ม เราเดินคุยโทรศัพท์จากเคาน์เตอร์พยาบาล ออกมาหาที่คุยข้างนอกเพื่อที่จะไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่น(แต่อยู่ในบริเวณหอผู้ป่วยที่เราทำงาน) ไม่ถึง5นาทีก็มีเสียงผู้ป่วยกรี๊ดเหมือนตกใจอะไรสักอย่างแล้วมีเสียงโครม เหมือนมีอะไรตกเสียงดัง เพื่อนที่อยู่ในเคาน์เตอร์วิ่งออกมาดู ก็เห็นว้าเราล้มลงที่บริเวรปลายเตียงผู้ป่วยมีอาการชักกระตุกน้ำลายฟูมปาก หัวฟาดกับเตียงผู้ป่วย เรียกไม่ได้สิติ ถามตอบไม่รู้เรื่อง กว่าจะรู้ตัวก็กินเวลาไปนานพอสมควร เพื่อนร่วมงานเราโทรตามแพทย์เวร แล้วแพทย์ก็ให้ส่งไปทำ CT scan (สแกนสมอง) รอผลแล้วทำเรื่องแอดมิท เพื่อนอนสังเกตุอาการณ์ ผลCT scan ออกมาคือไม่เจออะไร ไม่มีเลือดออกในสมอง หลังจากนั้นเราก็กลับมาทำงาน และใช้ขีวิตปกติ โดยไม่ได้หาสาเหตุของการเป็นลมชักครั้งนั้น อ่ะรอบนี้ก็ผ่านไปจนเหตุการณ์ที่2
เมื่อประมาณเดือน มิ.ย. 2566 อันนี้เกตุเหตุการประมาณ07:00 เดินทำงานอยู่ดีๆก็ลมลง ชักกระตุก น้ำลายฟูมปาก แล้วก็หยุดหายใจไปเลย ความโชคดีในความโชคร้ายของเราในครั้งนี้ก็คือเกิดเหตุที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานวิ่งมาทำ CPR ให้ ก็ส่งรักษาแอดมิท สังเตุอาการ แค่รอบนีคุณหมอเฉพาะทางเริ่มให้ทานกันชัก พร้อมหาสาเหตุแบบจริงจัง ส่งทำ MRI CT scan EEG หาสาเหตุของการชักครั้งนี้ อย่างจริงจัง ผลการตรวจกลับเหมือนเดิมกับรอบที่แล้ว ไม่เจออะไร ปกติทุกอย่าง คุณมอก็มาซักประวัติเรื่องการใช้ชีวิต นอนวันละกี่ ชม. ทำงานวันละกี่ ชม. คุณหมอเลยสรุปสาเหตุของการขักว่า น่าจะมาจากการอดนอน สะสมจากระยะเวลาที่ยาวนาน+อาการเครียด หรือปริมาณยากันชักอาจจะไม่พอ ต้องปรับยากันชัก รอบนี้คุณหมอเริ่มให้ทานยากันชัก และขอให้เข้าเวร บ่าย-ดึก น้อยลง(แต่เราก็ยังต้องเข้าเวรปกติเพียงแค่ลดลงนิดหน่อย) เพื่อที่จะให้เราได้พักให้มากขึ้น แล้วก็ให้ยานอนหลับ ในช่วงที่เราต้องบังคับร่างกายให้นอนพักผ่อน ก็นัดติดตามอาการกันมาเรื่อยๆ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทุกอย่างปกติ เหมือนเดิม จนมาถึงวันที่28 กันยายนที่ผ่านมา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10 โมงกว่าๆ ของการทำงานเวรเช้าของวันนั้น จู่ๆเราก็ยืนตัวเกร็ง ตาค้าง เริ่มชักกระตุกและกำลังจะล้มลง รอบนี้เกิดที่ในเคาน์เตอร์พยาบาลเลย ดีที่มีเพื่อนร่วมงาน รับตัวไว้ทันก่อนที่จะล้มหัวฟาด รอบนี้ก็เหมือนเดิม ให้แอดมิท สังเกตุอาการ รอบนี้คุณหมอนั่งคุยแบบจริงจัง ว่า เปลียนไปทำงาน แผนกที่ไม่ต้องเข้าเวรกลางคืนได้มั้ย หมอต้องการให้เราพักผ่อนให้เป็นเวลา เพราะเราต้องทานยากันชัก (ปรับยาให้ปริมาณเยอะขึ้น) เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะชักอยู่แบบนี้ โชคดีที่เหตุการณ์ที่3ครั้งที่มันเกิดขึ้นมันเกิดใน ที่ทำงาน(ร.พ.) ถ้ามันเกิดที่อื่น ใครจะช่วยเราทัน อย่าคิดว่าตัวเองไหว ร่างกายไหว อยากทำงานเยอะๆเพื่อที่จะได้เงินเยอะๆ จนลืมที่จะดูแลร่างกายตัวเอง เราหวังว่าเรื่องของเรา คงเป็นอุทาหรณ์ให้หลายๆคนที่ทำงานหนักแล้วก็คิดว่าตัวเองไหว ได้หันกลับมาดูแลร่างกายของตัวเอง ก่อนที่มันจะสายเกินไป สรุปคอนนี้ก็ทานยากันขักไปตลอดชีวิต แล้วก็ไม่ขึ้นเวรกลางคืนแล้ว หันมาดูแลสุขภาพของตัวเองเยอะขึ้น ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ
ภัยเงียบของการพักผ่อนน้อย Namnueng