NASA เผยแพร่งานวิจัย ผลการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ชื่อว่า WASP-49 b ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 635 ปีแสง ซึ่งค้นพบเมื่อปี 2012
ผลการวิจัยจากห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) พบว่า มีเมฆโซเดียม อยู่บริเวณรายรอบ WASP-49 b ซึ่งในระบบสุริยะของเรา การปะทุของภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาคล้ายกันนี้
งานวิจัยชิ้นนี้ Apurva Oza ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำที่ Caltech และเป็นผู้บริหาร JPL Oza ใช้เวลาในการค้นคว้าตั้งแต้ปี 2017 (ปีที่ค้นพบเมฆดังกล่าว) ว่าดวงจันทร์นอกระบบอาจถูกตรวจจับได้ผ่านกิจกรรมภูเขาไฟ ตัวอย่างเช่น ไอโอ ซึ่งเป็นดวงจันทร์ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา พ่นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม โพแทสเซียม และก๊าซอื่นๆ ออกมาตลอดเวลา ซึ่งสามารถก่อตัวเป็นเมฆขนาดใหญ่รอบดาวพฤหัสได้สูงถึง 1,000 เท่าของรัศมีดาวเคราะห์ยักษ์ นักดาราศาสตร์ที่มองระบบดาวดวงอื่นอาจตรวจพบเมฆก๊าซเช่นไอโอได้ แม้ว่าดวงจันทร์นั้นจะเล็กเกินไปจนมองไม่เห็นก็ตาม
ภาพจำลอง WASP-49 b และดวงจันทร์ของมัน
ข้อมูลจากเว็บไซต์ NASA :
https://www.nasa.gov/universe/exoplanets/does-distant-planet-host-volcanic-moon-like-jupiters-io/
NASA พบหลักฐานที่อาจบ่งบอกว่ามีดวงจันทร์นอกระบบสุริยะ (Exo moon)
ผลการวิจัยจากห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) พบว่า มีเมฆโซเดียม อยู่บริเวณรายรอบ WASP-49 b ซึ่งในระบบสุริยะของเรา การปะทุของภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาคล้ายกันนี้
งานวิจัยชิ้นนี้ Apurva Oza ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ประจำที่ Caltech และเป็นผู้บริหาร JPL Oza ใช้เวลาในการค้นคว้าตั้งแต้ปี 2017 (ปีที่ค้นพบเมฆดังกล่าว) ว่าดวงจันทร์นอกระบบอาจถูกตรวจจับได้ผ่านกิจกรรมภูเขาไฟ ตัวอย่างเช่น ไอโอ ซึ่งเป็นดวงจันทร์ภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา พ่นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม โพแทสเซียม และก๊าซอื่นๆ ออกมาตลอดเวลา ซึ่งสามารถก่อตัวเป็นเมฆขนาดใหญ่รอบดาวพฤหัสได้สูงถึง 1,000 เท่าของรัศมีดาวเคราะห์ยักษ์ นักดาราศาสตร์ที่มองระบบดาวดวงอื่นอาจตรวจพบเมฆก๊าซเช่นไอโอได้ แม้ว่าดวงจันทร์นั้นจะเล็กเกินไปจนมองไม่เห็นก็ตาม
ภาพจำลอง WASP-49 b และดวงจันทร์ของมัน
ข้อมูลจากเว็บไซต์ NASA : https://www.nasa.gov/universe/exoplanets/does-distant-planet-host-volcanic-moon-like-jupiters-io/