พระอริยะสงฆ์ฤๅษีลิงดำบอกไว้ สิ่งสุดท้ายก่อนตาย. จิตใจของเราจับจุดไหนจะเป็นตัวกำหนดได้ตายแล้วไปไหน?

กระทู้คำถาม
อารมณ์ของใจสุดท้าย” มีความสำคัญมาก  หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ได้เคยเทศน์ไว้ โดยยกตัวอย่างว่า

ในโบราณกาล ท่านโฆษกเทพบุตรตอนที่เกิดเป็นคนนั้นเห็นมหาเศรษฐีท่านหนึ่งมีสุนัข  มหาเศรษฐีกินข้าวมธุปายาสก็แบ่งให้สุนัขของท่านกินด้วย  ท่านโฆษกเทพบุตรก่อนที่จะตาย แกมองดูสุนัขตัวนั้นว่า มันยังดีกว่าเรา ตั้งแต่เกิดมา ข้าวมธุปายาสก็ไม่เคยกินเลย  จิตใจไปจับในเรื่องสุนัข  ในที่สุดก็ตาย  จิตหลังตายก็เข้าไปสู่ครรภ์ของสุนัข เลยเกิดมาเป็นลูกสุนัข  แต่อาศัยการที่ตายจากความเป็นคนไปจึงมีความรู้สึกอย่างคน รู้ภาษาคนทุกอย่าง
 
นี่สังเกตให้ดี... สุนัขที่เราเลี้ยง แมวที่เราเลี้ยง ถ้าเราพูดรู้ภาษาง่ายๆ เจ้าพวกนี่มีสองสถาน คือ ถ้าไม่เกิดมาจากคนก็มาจากเทวดา

พระพุทธเจ้าบอกว่า  เทวดาก็ดี พรหมก็ดี เมื่อหมดบุญวาสนาบารมีก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่หรือจะเป็นพรหมใหม่นี่ยากแสนยาก  จะมาค้างอยู่แค่มนุษย์ก็แสนยากเหมือนกัน  ส่วนมากลงอบายภูมิ  เพราะคนเราที่ไปเกิดเป็นเทวดาด้วยอาศัยบุญเบื้องหลัง เกิดมาย่อมทำบาปด้วยกันทุกคน  แต่หากก่อนตายเราสร้างความดี เราก็ไปเป็นเทวดาก่อน เป็นพรหมก่อน  พอหมดวาสนาบารมีก็ต้องไปใช้หนี้กรรม คืออกุศลต้องลงอบายภูมิ ...ใช่ไหม  ทีนี้ ถ้าเราจะไปกันก็อย่าไปมันเลยแค่เทวดากับพรหมน่ะ  ดีไม่ดี...พอหมดวาสนาบารมี มันก็จะไปตกแค่ท้องหมาแมว  มันยังดีนะ มีข้าวกินน่ะ  ถ้าลงนรกนี่มันแย่...กว่าจะได้มาเกิดใหม่

เป็นอันว่า จิตใจของเรามีความสำคัญ  ก่อนตายจิตใจของเราจับจุดไหน  แค่นึกจะไปจับพระนิพพานยังได้  การลงนรกต้องลงทุนทำบาป  แต่ไปสวรรค์ ไปนิพพาน แค่มีจิตคิดแต่เรื่องที่เป็นกุศลที่อยากทำหรือได้ทำก็ไปสวรรค์เลย  โดยทำได้ เช่น อยากเป็นพรหมก็นอนภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำจิตเบิกบาน นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นึกถึงการทำทาน เป็นบริจาค เป็นจาคานุสสติกรรมฐาน ตอนตายก็ไปเกิดเป็นพรหม  แต่ถ้าอยากไปนิพพานก็คิดแต่เรื่องที่ปล่อยวาง ทุกอย่างที่มีที่หามาไม่ใช่ของเรา ร่างกายก็ไม่ใช่ของเรา เป็นไปตามพระพุทธเจ้ากล่าว  เมื่อจิตเป็นอิสระ ไม่ยึดติดสิ่งใด ปล่อยวางได้ นิพพานก็ไปได้...ไม่ยาก...เมื่อเราตายไป

ที่มา : หนังสือธรรมปฏิบัติ เล่มที่ 46  รวมธรรมเทศนาของ...หลวงพ่อระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)

https://www.tnews.co.th/variety/398535
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่