จักษุแพทย์เอายางรัดลูกนัยน์ตาออก จะต้องผ่าตัดไหม หรือเอาออกมาได้เลยครับ?

๑.เป็นจอประสาทตาข้างซ้ายลอกออกประมาณ ๓\ ๔ ส่วน ตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี    ต่อมาอายุ ๖๐ ปีเกษียณแล้วจักษุแพทย์ได้ทดลองผ่าตัดแก้ไขจอประสาทตา  ด้วยการผ่าตัดเอายางรัดลูกนัยน์ตาเพื่อให้เชื่อมสัมผัสจอประสาทตาที่ลอกจะได้ติดกัน   แต่ไม่ได้ผล  จักษุแพทย์จึงปล่อยยางรัดลูกนัยน์ตาคาไว้อย่างนั้นมาเกือบ ๘ ปีแล้ว

๒.จากปัญหาข้อ ๑.  กล้ามเนื้อนัยน์ตา ๒ ข้างพยายามปรับตัวเพื่อให้การมองเห็นชัดเจน ทำให้นัยน์ตาข้างซ้ายที่จอประสาทตาลอกมากว่า ๕๐ ปีเริ่มเขเข้าหาหัวตา  จักษุแพทย์คลีนิคกล้ามเนื้อตาจึงผ่าตัดกล้ามเนื้อตาข้างซ้ายเพื่อให้ดึงลูกนัยน์ตากลับมาตรงเช่นเดิม  แต่ยังไม่ได้ผลดีนักเพราะท่านบอกว่ามีพื้นที่เย็บกล้ามเนื้อตาน้อยเกินไป(อาจจะมียางที่ใช้รัดลูกนัยน์ตาขวางทางเกะกะอยู่)

๓.จักษุแพทย์ตามข้อ ๒.จึงเขียนใบส่งตัวให้ผลไปConsult จักษุแพทย์คลีนิคจอประสาทตาว่าให้เอายางที่ใช้รัดลูกนัยน์ตาค้างทิ้งไว้ออกด้วย  คลีนิคกล้ามเนื้อตาจะได้ทำงานสดวก

๔.จากข้อ ๑.~๓.ที่เล่ามาอยากถามจักษุแพทย์ว่า  การเอายางรัดลูกนัยน์ตาออกมาจำเป็นจะต้องผ่าตัดใหม่เพื่อเอาออก  หรือจักษุแพทย์คลีนิคจอประสาทตาตรวจแล้วเอาออกมาได้เลย?

(ที่สอบถามเพราะตอนผ่าตัดเอายางรัดลูกนัยน์ตาเพื่อให้ถูกจอประสาทตาเจ็บมาก  หากใช้วิธีผ่าตัดเอาออก  เกรงจะเจ็บตัวมากอีกครับ!)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่