ผมได้ยื่นเรื่องอายัดบัญชีของลูกหนี้กับธนาคารแห่งหนึ่งต่อเจ้าหน้าที่บังคับคดีตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.2567
หลังจากครบกำหนดอายัด 1 เดือน ธนาคารอื่นที่ผมแจ้งอายัด ได้ส่งเงิน รวมถึงแจ้งเหตุขัดข้อง เช่น บัญชีดังกล่าวปิดไปแล้ว
ผมไม่ติดใจกับธนาคารอื่น
ยกเว้นธนาคารแห่งนี้ที่ผมเห็นความผิดปกติที่ไม่เคยแจ้งอะไรเลยกับทางบังคับคดีมาตลอด 2 เดือน
หลังครบกำหนด 1 เดือน ผมได้สอบถามธนาคารแห่งนี้ ธนาคารแห่งนี้ปฏิเสธไม่ยอมให้ข้อมูลกับผมมาตลอด อ้างว่า เป็นข้อมูลระหว่างธนาคารและบังคับคดี ให้ไปสอบถามบังคับคดีเอง
แต่ทางเจ้าหน้าที่บังคับคดียืนยันว่า ผมมีสิทธิที่จะสอบถามด้วยตัวเองได้ในฐานะโจทก์ตามคำพิพากษา
ต่างจากธนาคารอีกแห่งหนึ่งที่ผมสอบถามข้อมูลความคืบหน้าที่การส่งข้อมูลให้บังคับคดี ธนาคารแห่งนี้บอกข้อมูลผมอย่างละเอียดว่า รับหมายบังคับคดีตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ ส่งเงินให้บังคับคดีตั้งแต่วันที่เท่าไหร่
จนกระทั่งวันนี้ ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าใดๆจากธนาคารแห่งนั้น ผมจึงกดดันด้วยการแจ้งว่า จะให้บังคับคดีส่งหนังสือเตือน พร้อมกับผมจะไปยื่นหมายบังคับคดี สอบถามกับธนาคารแห่งนั้นโดยตรง
ปรากฏว่า ธนาคารแห่งนั้นแจ้งบังคับคดีวันนี้เลยว่า เงินในบัญชีเป็น 0
คำถาม คือ
1. ถ้าเงินในบัญชีเป็น 0 ตั้งแต่แรก ตลอด 1 เดือน ทำไมไม่รีบแจ้งเหตุขัดข้องกับบังคับคดีไป หลังครบกำหนดอายัด 1 เดือน และไม่เคยแจ้งความคืบหน้าใดๆมาตลอด 2 เดือน จนผมมากดดันวันนี้
2. ธนาคารแห่งนี้ได้ดำเนินการอายัดบัญชีตามหมายบังคับคดีจริงหรือไม่? หรือแอบให้จำเลยโยกเงินในบัญชีหนีตั้งแต่ตอนนั้น เพราะที่ผ่านมา ธนาคารแห่งนี้มีพิรุธ บ่ายเบี่ยงที่จะให้ข้อมูลแก่ฝ่ายโจทก์และบังคับคดีมาตลอด
นอกจากเรื่องนี้ ผมยังเคยมีประสบการณ์ถูกอายัดบัญชีจากเคสอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เนื่องจากขายเหรียญ usdt ผ่าน binance โดยตรง ซึ่งผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอาชญากรรมด้วย
แต่คดีดังกล่าวมีการแจ้งความตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.2567 แต่เพิ่งจะเริ่มอายัดบัญชีผมวันที่ 6 พ.ค.2567
สมมติว่า ผมเป็นมิจฉาชีพหรือบัญชีม้าจริง ผ่านไปเกือบ 1 สัปดาห์ ผมยังจะเก็บเงินไว้ในบัญชีนั้นอีกเหรอ
น่าสงสัยมากครับว่า ทุกวันนี้ธนาคารไทยหลายแห่งกำลังใช้ช่องว่างทางกฎหมาย อ้างเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นแหล่งฟอกเงินให้พวกมิจฉาชีพหรือไม่?
เป็นไปได้หรือไม่ที่ธนาคารจะรู้เห็นกับลูกหนี้ ให้ลูกหนี้หรือพวกมิจฉาชีพโยกเงินในบัญชี เพื่อหลีกเลี่ยงการอายัด
หลังจากครบกำหนดอายัด 1 เดือน ธนาคารอื่นที่ผมแจ้งอายัด ได้ส่งเงิน รวมถึงแจ้งเหตุขัดข้อง เช่น บัญชีดังกล่าวปิดไปแล้ว
ผมไม่ติดใจกับธนาคารอื่น
ยกเว้นธนาคารแห่งนี้ที่ผมเห็นความผิดปกติที่ไม่เคยแจ้งอะไรเลยกับทางบังคับคดีมาตลอด 2 เดือน
หลังครบกำหนด 1 เดือน ผมได้สอบถามธนาคารแห่งนี้ ธนาคารแห่งนี้ปฏิเสธไม่ยอมให้ข้อมูลกับผมมาตลอด อ้างว่า เป็นข้อมูลระหว่างธนาคารและบังคับคดี ให้ไปสอบถามบังคับคดีเอง
แต่ทางเจ้าหน้าที่บังคับคดียืนยันว่า ผมมีสิทธิที่จะสอบถามด้วยตัวเองได้ในฐานะโจทก์ตามคำพิพากษา
ต่างจากธนาคารอีกแห่งหนึ่งที่ผมสอบถามข้อมูลความคืบหน้าที่การส่งข้อมูลให้บังคับคดี ธนาคารแห่งนี้บอกข้อมูลผมอย่างละเอียดว่า รับหมายบังคับคดีตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ ส่งเงินให้บังคับคดีตั้งแต่วันที่เท่าไหร่
จนกระทั่งวันนี้ ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าใดๆจากธนาคารแห่งนั้น ผมจึงกดดันด้วยการแจ้งว่า จะให้บังคับคดีส่งหนังสือเตือน พร้อมกับผมจะไปยื่นหมายบังคับคดี สอบถามกับธนาคารแห่งนั้นโดยตรง
ปรากฏว่า ธนาคารแห่งนั้นแจ้งบังคับคดีวันนี้เลยว่า เงินในบัญชีเป็น 0
คำถาม คือ
1. ถ้าเงินในบัญชีเป็น 0 ตั้งแต่แรก ตลอด 1 เดือน ทำไมไม่รีบแจ้งเหตุขัดข้องกับบังคับคดีไป หลังครบกำหนดอายัด 1 เดือน และไม่เคยแจ้งความคืบหน้าใดๆมาตลอด 2 เดือน จนผมมากดดันวันนี้
2. ธนาคารแห่งนี้ได้ดำเนินการอายัดบัญชีตามหมายบังคับคดีจริงหรือไม่? หรือแอบให้จำเลยโยกเงินในบัญชีหนีตั้งแต่ตอนนั้น เพราะที่ผ่านมา ธนาคารแห่งนี้มีพิรุธ บ่ายเบี่ยงที่จะให้ข้อมูลแก่ฝ่ายโจทก์และบังคับคดีมาตลอด
นอกจากเรื่องนี้ ผมยังเคยมีประสบการณ์ถูกอายัดบัญชีจากเคสอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เนื่องจากขายเหรียญ usdt ผ่าน binance โดยตรง ซึ่งผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอาชญากรรมด้วย
แต่คดีดังกล่าวมีการแจ้งความตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.2567 แต่เพิ่งจะเริ่มอายัดบัญชีผมวันที่ 6 พ.ค.2567
สมมติว่า ผมเป็นมิจฉาชีพหรือบัญชีม้าจริง ผ่านไปเกือบ 1 สัปดาห์ ผมยังจะเก็บเงินไว้ในบัญชีนั้นอีกเหรอ
น่าสงสัยมากครับว่า ทุกวันนี้ธนาคารไทยหลายแห่งกำลังใช้ช่องว่างทางกฎหมาย อ้างเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นแหล่งฟอกเงินให้พวกมิจฉาชีพหรือไม่?