ธปท.เผยสัปดาห์หน้าเผยเอกสารผู้ยื่นสมัครจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือ Virtual Bank ชี้ อยากเห็นบริการรูปแบบใหม่-ใช้เทคโนโลยีให้บริการลูกค้าเข้าไม่ถึงบริการการเงิน-มีความปลอดภัยสูง ไม่สร้างความเสี่ยงต่อระบบ พร้อมเกาะติดการดำเนินธุรกิจตามหลักเกณฑ์ ไม่แข่งขันจนหนุนก่อหนี้เกินตัว ยันให้ 3 รายเหมาะสม
วันที่ 20 กันยายน 2567 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงคำถามความคืบหน้าของการขอใบอนุญาต (License) จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ภายหลังจากปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาว่า
ธปท.มีเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งจะต้องสามารถให้บริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น เนื่องจาก Virtual Bank มีข้อมูลค่อนข้างเยอะ ดังนั้นประชาชนสามารถรับบริการที่แบงก์ช่วยบริหารจัดการทั้งเงินออม การลงทุน จากปกติมีเพียงลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งถึงจะใช้บริการได้ รวมถึงอยากเห็นการให้บริการที่ยั่งยืนสามารถดูแลลูกค้า และมีความมั่นคง โครงสร้างบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ภายใต้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์
โดยสิ่งที่ ธปท.ไม่อยากเห็น คือ การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบมีการเอื้อกัน ซึ่งต้องติดตามใกล้ชิด แต่หลัก ๆ ธปท.จะดูการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ และการบริหารความเสี่ยง
“ธปท.มีเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครอาจเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็กผสมกัน ซึ่งสิ่งที่อยากเห็นอย่างแรกคือสามารถให้บริการที่เป็นรูปแบบใหม่ ๆ ไม่อยากได้รูปแบบเดิมเพราะมีอยู่แล้ว จึงอยากได้รูปแบบใหม่ที่ทำให้ประชาชนรับบริการได้”
สำหรับใบอนุญาตในการจัดตั้ง Virtual Bank นั้นในเบื้องต้น ธปท.อยากให้ใบอนุญาต (License) 3 รายก่อน แม้ว่ากระทรวงการคลังต้องการมากกว่านี้ แต่มองว่า ในแง่การบริหารจัดการ และด้านการแข่งขัน จะเห็นว่า Virtual Bank เป็นแบงก์ที่ให้บริการประชาชนกลุ่มที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินได้ ดังนั้น ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีจำนวนมากเกินไปอาจเป็นความเสี่ยงได้ ซึ่งเป็นจำนวนที่ดูแลได้ดีน่าจะปลอดภัย เพราะนี่คือประโยชน์สูงสุด
“เนื่องจากบางประเทศเคยประสบปัญหามาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งในอนาคตถ้าไปได้ดี ธปท.อาจจะเปิดใบอนุญาตเพิ่มเติมได้ ซึ่งธปท.ไม่ได้บอกว่าจะหยุดอยู่แค่ตรงนี้ โดย ธปท.ไม่ได้มีมุมมองแตกต่างจากกระทรวงการคลัง แต่เพียงเวลาของการจัดตั้งว่าจะมีกี่แห่งต้องเป็นเรื่องของความเหมาะสม“
นางสาวชญาวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากมีการคัดเลือกผู้ให้บริการได้แล้ว ในการเข้าไปดูการจัดตั้ง Virtual Bank นั้น คณะกรรมการจะมีเกณฑ์ที่ต้องเข้าไปติดตามใกล้ชิด จะเป็นเกณฑ์ที่จะดูว่าผู้ให้บริการได้นำเทคโนโลยีไปใช้อย่างดีขึ้น ให้บริการใหม่ ๆ สามารถดูแลความเสี่ยงต่าง ๆ ของลูกค้าได้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย เพราะ Virtual Bank จะทำให้คนเข้าใกล้ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งต้องดูความเสี่ยงด้วย
นอกจากนี้ การให้บริการต้องดูแล ไม่ใช่ว่าให้บริการในแบบการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม เช่น เกิดการแย่งลูกค้า ลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้เข้าถึงได้ แต่ลูกหนี้ก่อหนี้เกินตัว เป็นสิ่งที่ ธปท.ไม่อยากเห็น ซึ่งคณะกรรมการต้องเข้าไปดูให้เกิดการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้บนหลักการที่ได้กำหนด
อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ประกอบการที่ส่งใบสมัครยังอยู่ในกระบวนการที่คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งภายในสัปดาห์หน้า ธปท.จะออกเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นใบสมัครเพื่อขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
สำหรับจากกระแสข่าวพบว่ามี 5 กลุ่ม ได้แก่
1.ธนาคารกรุงไทย โดยร่วมกับกลุ่มพันธมิตร ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS, พีทีที กรุ๊ป (PTT) โดยผ่านบริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR
2.กลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ที่เตรียมส่งบริษัทลูก คือ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ บริษัท ซีกรุ๊ป (Sea Group) จากสิงคโปร์ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย
3.กลุ่มบริษัทเอสซีบี เอกซ์ ร่วมกับ KakaoBank จากเกาหลีใต้ และวีแบงก์ (WeBank) ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน
4.บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซี.พี.) ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านเครือข่าย และฐานลูกค้าจำนวนมากผ่านบริษัทในเครือ ร่วมกับพันธมิตรของบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น “ทรูมันนี่” ที่มีฐานลูกค้า 10 ล้านราย ได้แก่ Ant Financial Services Group ในเครือ Alibaba ที่เป็นผู้ให้บริการทางการเงินระดับโลก
5.บริษัท Lightnet Group ฟินเทคไทยจับมือกับ WeLab จากฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้นำ Virtual Bank ในเอเชีย-แปซิฟิก...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1657684
ธปท. เผยสัปดาห์หน้าเปิดข้อมูล Virtual Bank ยันไลเซนส์ 3 รายเหมาะสม.
วันที่ 20 กันยายน 2567 นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงคำถามความคืบหน้าของการขอใบอนุญาต (License) จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ภายหลังจากปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาว่า
ธปท.มีเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งจะต้องสามารถให้บริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น เนื่องจาก Virtual Bank มีข้อมูลค่อนข้างเยอะ ดังนั้นประชาชนสามารถรับบริการที่แบงก์ช่วยบริหารจัดการทั้งเงินออม การลงทุน จากปกติมีเพียงลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งถึงจะใช้บริการได้ รวมถึงอยากเห็นการให้บริการที่ยั่งยืนสามารถดูแลลูกค้า และมีความมั่นคง โครงสร้างบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ภายใต้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์
โดยสิ่งที่ ธปท.ไม่อยากเห็น คือ การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มความเสี่ยงให้กับระบบมีการเอื้อกัน ซึ่งต้องติดตามใกล้ชิด แต่หลัก ๆ ธปท.จะดูการให้บริการ การนำเทคโนโลยีมาใช้ และการบริหารความเสี่ยง
“ธปท.มีเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครอาจเป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็กผสมกัน ซึ่งสิ่งที่อยากเห็นอย่างแรกคือสามารถให้บริการที่เป็นรูปแบบใหม่ ๆ ไม่อยากได้รูปแบบเดิมเพราะมีอยู่แล้ว จึงอยากได้รูปแบบใหม่ที่ทำให้ประชาชนรับบริการได้”
สำหรับใบอนุญาตในการจัดตั้ง Virtual Bank นั้นในเบื้องต้น ธปท.อยากให้ใบอนุญาต (License) 3 รายก่อน แม้ว่ากระทรวงการคลังต้องการมากกว่านี้ แต่มองว่า ในแง่การบริหารจัดการ และด้านการแข่งขัน จะเห็นว่า Virtual Bank เป็นแบงก์ที่ให้บริการประชาชนกลุ่มที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินได้ ดังนั้น ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากมีจำนวนมากเกินไปอาจเป็นความเสี่ยงได้ ซึ่งเป็นจำนวนที่ดูแลได้ดีน่าจะปลอดภัย เพราะนี่คือประโยชน์สูงสุด
“เนื่องจากบางประเทศเคยประสบปัญหามาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งในอนาคตถ้าไปได้ดี ธปท.อาจจะเปิดใบอนุญาตเพิ่มเติมได้ ซึ่งธปท.ไม่ได้บอกว่าจะหยุดอยู่แค่ตรงนี้ โดย ธปท.ไม่ได้มีมุมมองแตกต่างจากกระทรวงการคลัง แต่เพียงเวลาของการจัดตั้งว่าจะมีกี่แห่งต้องเป็นเรื่องของความเหมาะสม“
นางสาวชญาวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากมีการคัดเลือกผู้ให้บริการได้แล้ว ในการเข้าไปดูการจัดตั้ง Virtual Bank นั้น คณะกรรมการจะมีเกณฑ์ที่ต้องเข้าไปติดตามใกล้ชิด จะเป็นเกณฑ์ที่จะดูว่าผู้ให้บริการได้นำเทคโนโลยีไปใช้อย่างดีขึ้น ให้บริการใหม่ ๆ สามารถดูแลความเสี่ยงต่าง ๆ ของลูกค้าได้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย เพราะ Virtual Bank จะทำให้คนเข้าใกล้ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งต้องดูความเสี่ยงด้วย
นอกจากนี้ การให้บริการต้องดูแล ไม่ใช่ว่าให้บริการในแบบการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม เช่น เกิดการแย่งลูกค้า ลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้เข้าถึงได้ แต่ลูกหนี้ก่อหนี้เกินตัว เป็นสิ่งที่ ธปท.ไม่อยากเห็น ซึ่งคณะกรรมการต้องเข้าไปดูให้เกิดการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้บนหลักการที่ได้กำหนด
อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ประกอบการที่ส่งใบสมัครยังอยู่ในกระบวนการที่คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งภายในสัปดาห์หน้า ธปท.จะออกเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นใบสมัครเพื่อขอใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
สำหรับจากกระแสข่าวพบว่ามี 5 กลุ่ม ได้แก่
1.ธนาคารกรุงไทย โดยร่วมกับกลุ่มพันธมิตร ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS, พีทีที กรุ๊ป (PTT) โดยผ่านบริษัท ปตท. นํ้ามันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR
2.กลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ที่เตรียมส่งบริษัทลูก คือ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ บริษัท ซีกรุ๊ป (Sea Group) จากสิงคโปร์ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย
3.กลุ่มบริษัทเอสซีบี เอกซ์ ร่วมกับ KakaoBank จากเกาหลีใต้ และวีแบงก์ (WeBank) ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน
4.บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซี.พี.) ที่มีความแข็งแกร่งทางด้านเครือข่าย และฐานลูกค้าจำนวนมากผ่านบริษัทในเครือ ร่วมกับพันธมิตรของบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น “ทรูมันนี่” ที่มีฐานลูกค้า 10 ล้านราย ได้แก่ Ant Financial Services Group ในเครือ Alibaba ที่เป็นผู้ให้บริการทางการเงินระดับโลก
5.บริษัท Lightnet Group ฟินเทคไทยจับมือกับ WeLab จากฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้นำ Virtual Bank ในเอเชีย-แปซิฟิก...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1657684