ละครเรื่องนี้อาจจะดูแปลกถ้าเทียบกับละครไทย ที่เราจะเห็นตัวละครนำ มีความเป็นพระเอกนางเอก
แต่มันปกติ ถ้ามองในลักษณะสากล ซีรีย์เกาหลี อเมริกา ก็ดูตัวละครที่หมิ่นเหม่จริยธรรมกันอยู่
เพื่อให้คนดูตรวจสอบพิจารณาตัวละคร ไม่ใช่ให้ทำตามตัวละคร อย่าดูละครเรื่องนี้แบบดูละครรัก
แต่ดูแนวจิตวิทยาและการตัดสินใจของมนุษย์ภายใต้แรงกระตุ้นและสิ่งเร้า
1. สามีน่าจะให้ความสุขได้ไม่เต็มที่
สังเกตมั้ยว่า คุณพอล ชอบปฎิเสธการใกล้ชิด เช่น
ขอไปวิ่งตอนเช้า ค่อยไปเจอกันที่ทำงาน ไม่ยอมนั่งรถด้วยกัน
ถ้ามองในแง่ดี ก็คือ เป็นนักเรียนนอก ชอบทำอะไรคนเดียว
ถ้ามองในแง่ร้าย คุณพอลมีกิ๊กอยู่นานแล้ว หรือ มุ่งงานจนขาด work-life balance
2. ตะวันต้องแต่งงานก่อน เพราะอยาก explore ผู้ชายที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวัยเด็ก
มานะคือ ของตาย ไม่มีอะไรเร้าใจ และการแต่งงานยังช่วยให้เหนือกว่าคู่แข่งในที่ทำงาน
แต่เมื่อตะวันพบว่า คุณพอล ให้ความรักไม่ได้เต็มที่
คุณพอล พ่อแม่หย่าร้าง โตมาแบบทำทุกอย่างด้วยตัวเอง / independent - freedom
แต่ตะวัน ถูกเลี้ยงมาแบบกลุ่มพึ่งพาอาศัยกัน / interdependent - warmth
ตะวันจึงหันมาเห็นค่าความรักของมานะที่เป็นสิ่งมีค่าใกล้ตัว
ในทางกลับกัน ถ้าตะวันยอมรับตัวเองว่า รักมานะ ไม่แต่งกับคนอื่น
มานะก็ไม่มีทางรวยขึ้นมาแซงใครได้ เพราะเขาได้ตะวันแล้ว ไม่จำเป็นต้องหาเงินเพื่อเอาชนะใคร
3. มานะชวนไปตามรอยรักในอดีตของยาย ที่เคยหลงรักเพื่อน เขาคนนั้นเป็นมากกว่าคนรัก
ยาย คือ จุด sensitive ของตะวัน
ตะวันย่อมไม่ปฏิเสธ เมื่อเพื่อนชวนทำอะไรที่เกี่ยวกับยาย
พวกเขามีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งเมื่อยายจากไปแล้ว เรื่องรี้ลับของหัวใจถูกเปิดเผย
เรื่องราวของยายในอดีต และความในใจของพวกเขา
ในช่วงเวลาที่แชร์ความรู้สึกได้ง่าย ความผูกพันที่ถูกรื้อฟื้น
ถ้ามองในแง่ ยายคือสารตั้งต้น นำตะวันมาพบเพื่อนๆ
ยาย = ผู้สร้างจักรวาลกิเลศ โลกแห่งความคลุมเครือระหว่างเพื่อนกับหนุ่มสาว
ตัวละครโคจรในจักรวาลที่ยายสร้างไว้อย่างน่าสงสาร ไปไหนไม่รอด
เคยสงสัยมั้ยว่ายายไม่รู้สึกอะไรแบบวิญญูชน ที่จะไม่เอาเด็กต่างเพศมาเลี้ยงไว้ด้วยกัน ให้ใกล้ชิดกันมาก
นั่นเป็นเพราะ ภาพความสุขเหล่านั้น เติมเต็ม คืนวันที่ไม่สมหวัง ของยายเอง
4. ถ้าจะให้พูดกันตรงๆ ตะวันก็แอบแร๊ดแหละ เลี้ยงไข้เพื่อนชายไว้นาน แถมยังแต่งตัวดึงดูดเพื่อนต่างเพศอีกด้วย
ทั้งนี้เพราะตะวันขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ จึงหาจากเพื่อนชาย ที่เข้ามาดูแล ปกป้อง ทำอะไรให้
จนกลายเป็นคนที่ทำอะไรเองไม่ได้ ตะวันเรียนเก่ง ดูเป็นคนมีเหตุผลมาก ไม่รู้จริงๆ หรือ ว่า
เดินทางกับเพื่อนชาย ควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน
หรือ ตะวันรู้ลึกๆ ว่าแต่งตัวแบบไหน จะยิ่งให้ความสุขกับเพื่อนชายได้
5. มานะสำคัญต่อตะวัน ขนาดส่งให้เรียนแล้วยอมโกหกว่า ตัวเองสอบไม่ติดเพราะอยากทำงาน ให้ตะวันได้เรียน
สำหรับตะวัน มานะคือคนสำคัญแบบลืมความดีไม่ได้ ความสุขของมานะ คือ สิ่งที่ตะวันอยากทำให้
ถ้าเป็นคนปกติ ก็อาจจะขีดเส้นชีวิตให้ชัดเจน เพื่อตัดปัญหาในอนาคต
แต่ก็ยังมีคนอีกมาก ที่เขาไม่ขีตเส้นแบ่งกั้น เพราะเขารู้สึกว่า สภาวะที่สถานะคลุมเครือ มันให้ความสุขได้
อยากฝากให้ค่ายแอนทอง ทำละครเกี่ยวกับคอรัปชั่น เพราะการมานั่งตรวจสอบจริยธรรมของ
ผู้หญิงสองใจมีมาแล้วตั้งแต่วันทอง มันสร้าง impact ให้กับสังคมได้ไม่มาก
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ละครเรื่องนี้ฉายให้เห็นความดิ้นรนต่อสู้ในการประกอบอาชีพในสังคมปัจจุบัน
ที่สำคัญ บทละครเรื่องนี้ไม่ได้ทำร้ายเจมส์จิ แต่ท้าทายมากกว่า
ก้าวขึ้นจากบทพระเอกแนวขนบ สู่สถานะนักแสดงเต็มตัว -- ตามวัย
พอเข้าถึงอีพีท้ายๆ เริ่มรู้สึกว่า ละครเรื่องนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ
เพราะเริ่มไม่ต้องมองหาพระเอกนางเอก เริ่มเข้าใจเจตนาของผู้สร้างสรรค์ เริ่มจับทิศทางได้
คือ อย่าดูเรื่องนี้แบบละครโรแมนติก แม้จะมีซีนโรแมนติก
เพราะเค้าทำมาให้เราใช้ความคิดมากกว่า
ท้ายที่สุด "Never Enough" ตามชื่อเรื่อง อธิบาย คนมีชู้ = ไม่รู้จักพอ
"โลกหมุนรอบตัวเธอ" ไขปม ตะวันแอบแซ่บกับเพื่อนหลังแต่งงาน
แต่มันปกติ ถ้ามองในลักษณะสากล ซีรีย์เกาหลี อเมริกา ก็ดูตัวละครที่หมิ่นเหม่จริยธรรมกันอยู่
เพื่อให้คนดูตรวจสอบพิจารณาตัวละคร ไม่ใช่ให้ทำตามตัวละคร อย่าดูละครเรื่องนี้แบบดูละครรัก
แต่ดูแนวจิตวิทยาและการตัดสินใจของมนุษย์ภายใต้แรงกระตุ้นและสิ่งเร้า
1. สามีน่าจะให้ความสุขได้ไม่เต็มที่
สังเกตมั้ยว่า คุณพอล ชอบปฎิเสธการใกล้ชิด เช่น
ขอไปวิ่งตอนเช้า ค่อยไปเจอกันที่ทำงาน ไม่ยอมนั่งรถด้วยกัน
ถ้ามองในแง่ดี ก็คือ เป็นนักเรียนนอก ชอบทำอะไรคนเดียว
ถ้ามองในแง่ร้าย คุณพอลมีกิ๊กอยู่นานแล้ว หรือ มุ่งงานจนขาด work-life balance
2. ตะวันต้องแต่งงานก่อน เพราะอยาก explore ผู้ชายที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวัยเด็ก
มานะคือ ของตาย ไม่มีอะไรเร้าใจ และการแต่งงานยังช่วยให้เหนือกว่าคู่แข่งในที่ทำงาน
แต่เมื่อตะวันพบว่า คุณพอล ให้ความรักไม่ได้เต็มที่
คุณพอล พ่อแม่หย่าร้าง โตมาแบบทำทุกอย่างด้วยตัวเอง / independent - freedom
แต่ตะวัน ถูกเลี้ยงมาแบบกลุ่มพึ่งพาอาศัยกัน / interdependent - warmth
ตะวันจึงหันมาเห็นค่าความรักของมานะที่เป็นสิ่งมีค่าใกล้ตัว
ในทางกลับกัน ถ้าตะวันยอมรับตัวเองว่า รักมานะ ไม่แต่งกับคนอื่น
มานะก็ไม่มีทางรวยขึ้นมาแซงใครได้ เพราะเขาได้ตะวันแล้ว ไม่จำเป็นต้องหาเงินเพื่อเอาชนะใคร
3. มานะชวนไปตามรอยรักในอดีตของยาย ที่เคยหลงรักเพื่อน เขาคนนั้นเป็นมากกว่าคนรัก
ยาย คือ จุด sensitive ของตะวัน
ตะวันย่อมไม่ปฏิเสธ เมื่อเพื่อนชวนทำอะไรที่เกี่ยวกับยาย
พวกเขามีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งเมื่อยายจากไปแล้ว เรื่องรี้ลับของหัวใจถูกเปิดเผย
เรื่องราวของยายในอดีต และความในใจของพวกเขา
ในช่วงเวลาที่แชร์ความรู้สึกได้ง่าย ความผูกพันที่ถูกรื้อฟื้น
ถ้ามองในแง่ ยายคือสารตั้งต้น นำตะวันมาพบเพื่อนๆ
ยาย = ผู้สร้างจักรวาลกิเลศ โลกแห่งความคลุมเครือระหว่างเพื่อนกับหนุ่มสาว
ตัวละครโคจรในจักรวาลที่ยายสร้างไว้อย่างน่าสงสาร ไปไหนไม่รอด
เคยสงสัยมั้ยว่ายายไม่รู้สึกอะไรแบบวิญญูชน ที่จะไม่เอาเด็กต่างเพศมาเลี้ยงไว้ด้วยกัน ให้ใกล้ชิดกันมาก
นั่นเป็นเพราะ ภาพความสุขเหล่านั้น เติมเต็ม คืนวันที่ไม่สมหวัง ของยายเอง
4. ถ้าจะให้พูดกันตรงๆ ตะวันก็แอบแร๊ดแหละ เลี้ยงไข้เพื่อนชายไว้นาน แถมยังแต่งตัวดึงดูดเพื่อนต่างเพศอีกด้วย
ทั้งนี้เพราะตะวันขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ จึงหาจากเพื่อนชาย ที่เข้ามาดูแล ปกป้อง ทำอะไรให้
จนกลายเป็นคนที่ทำอะไรเองไม่ได้ ตะวันเรียนเก่ง ดูเป็นคนมีเหตุผลมาก ไม่รู้จริงๆ หรือ ว่า
เดินทางกับเพื่อนชาย ควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน
หรือ ตะวันรู้ลึกๆ ว่าแต่งตัวแบบไหน จะยิ่งให้ความสุขกับเพื่อนชายได้
5. มานะสำคัญต่อตะวัน ขนาดส่งให้เรียนแล้วยอมโกหกว่า ตัวเองสอบไม่ติดเพราะอยากทำงาน ให้ตะวันได้เรียน
สำหรับตะวัน มานะคือคนสำคัญแบบลืมความดีไม่ได้ ความสุขของมานะ คือ สิ่งที่ตะวันอยากทำให้
ถ้าเป็นคนปกติ ก็อาจจะขีดเส้นชีวิตให้ชัดเจน เพื่อตัดปัญหาในอนาคต
แต่ก็ยังมีคนอีกมาก ที่เขาไม่ขีตเส้นแบ่งกั้น เพราะเขารู้สึกว่า สภาวะที่สถานะคลุมเครือ มันให้ความสุขได้
อยากฝากให้ค่ายแอนทอง ทำละครเกี่ยวกับคอรัปชั่น เพราะการมานั่งตรวจสอบจริยธรรมของ
ผู้หญิงสองใจมีมาแล้วตั้งแต่วันทอง มันสร้าง impact ให้กับสังคมได้ไม่มาก
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ละครเรื่องนี้ฉายให้เห็นความดิ้นรนต่อสู้ในการประกอบอาชีพในสังคมปัจจุบัน
ที่สำคัญ บทละครเรื่องนี้ไม่ได้ทำร้ายเจมส์จิ แต่ท้าทายมากกว่า
ก้าวขึ้นจากบทพระเอกแนวขนบ สู่สถานะนักแสดงเต็มตัว -- ตามวัย
พอเข้าถึงอีพีท้ายๆ เริ่มรู้สึกว่า ละครเรื่องนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ
เพราะเริ่มไม่ต้องมองหาพระเอกนางเอก เริ่มเข้าใจเจตนาของผู้สร้างสรรค์ เริ่มจับทิศทางได้
คือ อย่าดูเรื่องนี้แบบละครโรแมนติก แม้จะมีซีนโรแมนติก
เพราะเค้าทำมาให้เราใช้ความคิดมากกว่า
ท้ายที่สุด "Never Enough" ตามชื่อเรื่อง อธิบาย คนมีชู้ = ไม่รู้จักพอ