กิจกรรม“รวมพลังบวร สร้างเศรษฐกิจชุมชน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนทั่วประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจ


กระทรวงวัฒนธรรม จับมือภาคีเครือข่ายชุมชนคุณธรรมพลังบวรในมิติศาสนาและศพอ.จัดกิจกรรม“รวมพลังบวร 
สร้างเศรษฐกิจชุมชน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนทั่วประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย


วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมด้วย นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงาน ข้าราชการ เครือข่ายชุมชนคุณธรรมพลังบวรในมิติศาสนาและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และสื่อมวลชน เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องแกลลอรี 5 อาคารหอศิลป์ กระทรวงวัฒนรรม เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
 
นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลเน้นย้ำในพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จึงให้ความสำคัญกับการนำมิติทางศาสนาและทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม นวัตกรรมทางภูมิปัญญา สร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ ด้วยการอบรมให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติพัฒนาทักษะ ยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ การถ่ายทอดภูมิปัญญาทางท้องถิ่นที่สามารถนำมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ผ่านกลไกพลัง “บวร” บ้าน วัด/ศาสนสถาน โรงเรียน/ราชการ โดยใช้วัด/ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรม จึงได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชนคุณธรรมพลังบวรในมิติศาสนาและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจัดกิจกรรม “รวมพลังบวร สร้างเศรษฐกิจชุมชน” ณ ห้องแกลลอรี 5 อาคารหอศิลป์ กระทรวงวัฒนรรม เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดพื้นที่เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานชุมชน  และพัฒนาความรู้ ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์การดำเนินงานของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
 

นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม


อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวต่อว่า ภายในงานดังกล่าว มีกิจกรรมที่หลากหลายและมีประโยชน์คือผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง รวมพลังบวร สร้างเศรษฐกิจชุมชน” โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนชุมชนคุณธรรมพลังบวร และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ พระครูอุดมจารุวรรณ เจ้าอาวาสวัดบำเพ็ญเหนือ กรุงเทพมหานคร พระครูสุวัฒน์สังฆโสภณ เจ้าอาวาสวัดต๊ำม่อน จังหวัดพะเยา ดร.บุญฟ้า ลิ้มวัธนา ผู้แทนชุมชนคุณธรรมวัดวังอ้อ จังหวัดอุบลราชธานี และดร.วสัน ปุ่นผล ผู้แทนชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน จังหวัดลพบุรี ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนจากอาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวข้อ “การถอดรหัสอัตลักษณ์ชุมชนด้วยศาสตร์ 4DNA” โดย รศ.ดร.เอกพงษ์ ตรีตรง และหัวข้อ “การออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจากแนวคิดแวดล้อมคือตัวตน” โดย รศ.อาวิน อินทรังษี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสาธิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอด ผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน ๑๐ บูธ ได้แก่ ๑. วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมไทบุราราณศิลป์ ผลิตภัณฑ์เครื่องบูชา พวงมาลัยที่ประดิษฐ์จากผ้าแพรและคริสตัลพานบัวบูชา พวงมาลัย เครื่องแขวนไทย ๒. ร้านจันทิมา (CC&C PRODUCT) ผลิตภัณฑ์การนำเอางานบาติกมาผลิตเป็นสินค้าในแบบไลฟ์สไตล์ อาทิ เสื้อ เดรส กระเป๋า ๓. ร้านจันทิมา (CC&C PRODUCT) ผลิตภัณฑ์งาน Clay Flower ปั้นดิน วัสดุจิ๋ว ๔. วิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน ผลิตภัณฑ์งานเยื่อไม้ลายนูนต่ำ ปีกแมลงทับ งานใบบัว เข็มกลัด ๕. ร้านค้ากลุ่ม Arte Club Art Toys ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา ๖. ร้านอาลัวหวาน ผลิตภัณฑ์ขนมอาลัว อาลัวอบควันเทียน อบแห้ง รูปดอกไม้ รูปกระบองเพชร รูปปลาทู รูปน้ำพริกปลาทู ๗. ร้าน KOLLY  ผลิตภัณฑ์ฮิญาบ และเครื่องประดับ/เข็มกลัด ๘. วิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส ผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาผ้า Baby Naka และตุ๊กตารูปสัตว์น้ำ 9. ร้าน MONTA MALEE ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ โคม เครื่องแขวน เครื่องสักการะ เครื่องบูชา 10. ร้าน Playground Studio ผลิตภัณฑ์ Art Toys_Baby Naka (เรซิ่น) รวมทั้งยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชนคุณธรรม จำนวน 4 บูธ ได้แก่ 1. จังหวัดบึงกาฬ วัดศรีสามัคคีธรรม นาคกี้ ผลิตภัณฑ์ปูนปั้นรูปพญานาค พวงกุญแจ กระปุกออมสิน 2. จังหวัดลพบุรี วัดศรีรัตนาราม (ศพอ.) ยาดมปั้นลิงตุ๊กตาลิง ตุ๊กตาติดตู้เย็น ไม้มงคล 3. จังหวัดแพร่ วัดสูงเม่น (ศพอ.) กระเป๋าเพ้นท์ผ้าหม้อห้อม สวยดอกไม้ลีลาวดีผ้าหม้อห้อม หมอนผ้าด้นมือเม่นธัมม์ 4. จังหวัดกาฬสินธุ์ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม ธุงสามมิติ ธุงสาย กระเป๋าย่าม ปิ่นปักผม เน็ตติดผม เข็มกลัด ต่างหู พัด และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 16 บูธ ได้แก่ 1. จังหวัดอุบลราชธานี วัดพระธาตุหนองบัว ผลิตภัณฑ์เทียนแฟนซี แกะสลักเทียน 2. จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดโพธิ์บางคล้า งานเพ้นท์แก้ว (ชุดกาแฟจิ๋ว ชุดกรวดน้ำ และโคมเวียนเทียน) 3. จังหวัดสุโขทัย วัดตระพังทอง  ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก 4. จังหวัดเชียงราย  วัดบ้านจ้อง   หินหยกแกะสลักพระพุทธรูปหินหยกแกะสลัก เครื่องรางจากหินหยก 5. จังหวัดเชียงใหม่ วัดบ้านมอญ ผลิตภัณฑ์จากงานปัก-ถัก-สาน งานคราฟต์ร่วมสมัย เช่น งานตาแหลว ของที่ระลึก 6. จังหวัดอุดรธานี วัดทุ่งสว่างตะโก  บายศรีพญานาค  ขันหมากเบ็ง ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก 7. จังหวัดนครราชสีมา วัดบ้านไพล ดอกไม้ประดิษฐ์ พวงมาลัย จากใบตาล 8. จังหวัดน่าน วัดพระธาตุแช่แห้ง ทำเทียนรูปกระต่าย เทียนสืบชะตา 9. จังหวัดกำแพงเพชร วัดคลองราษฎร์เจริญ ตระกร้าสาน ชะลอมอเนกประสงค์ใส่เครื่องไทยธรรม 10. จังหวัดสกลนคร วัดอัครเทวดามีคาแอล ดาวจากผ้า/กระดาษ ของที่ระลึก พวงกุญแจ 11. จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดดอยท่าเสา สมุนไพรแช่มือ-แช่เท้า น้ำมันนวด ยาหม่อง ยาดมสมุนไพร 12. จังหวัดนราธิวาส  มัสยิดดารุลอามาน ผลิตภัณฑ์จากผ้าพิมพ์ใบไม้ (หมวก กระเป๋าโน๊ตบุ๊ค กระเป่าใส่เงิน) 13. จังหวัดระนอง วัดสุวรรณคีรีวิหาร (ศพอ.) ผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ เช่น กระเป๋าถือ ปักลูกปัด เข็มกลัด พวงกุญแจ 14. จังหวัดนครปฐม วัดสำโรง   ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ รีไซเคิล เช่น โคมไฟ ตระกร้า ตุ๊กตา 15. จังหวัดลำพูน วัดศรีมูล กระเป๋า 12 ราศี 16. จังหวัดสุรินทร์ วัดบ้านสว่าง ชุดกาแฟไม้ตาลปิ่นโต รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 บูธ ภายในงานยังมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมไทยจากเครือข่ายกรมการศาสนา ได้แก่ 1. โปงลาง จาก ศพอ.วัดนาคปรก 2. รีวิวประกอบเพลงชุมชนคุณธรรม จาก ศพอ.วัดวชิรธรรมสาธิต

อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ได้สนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยเปิดพื้นที่เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานของชุมชน และพัฒนาความรู้ ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นศักยภาพของคนไทยและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย มาสืบสาน รักษา และต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจโดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายนำทุนทางวัฒนธรรมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เข้มแข็ง ด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป



อธิบดีกรมการศาสนา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เนื่องในงานรวมพลังบวร สร้างเศรษฐกิจชุมชน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



พาพันไฟท์ติ้งพาพันแอบดูพาพันเคลิ้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่