Review การเรียนสาขานิติศาสตร์ มสธ.
วันนี้ผมได้รับใบ มสธ.13 มาเป็นที่เรียบร้อย ผมจึงมีตั้งใจที่จะ Review การเรียนนิติศาสตร์ มสธ. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจเข้าเรียน และเป็นคำแนะนำที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังเรียนอยู่ได้บ้าง
จุดเริ่มต้นว่าเกิดมาจากการผมสนใจเรียนนิติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก เนื่องจากอยากเป็นเหมือนพ่อที่จบนิติศาสตร์ จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ คุณครูให้เขียนเรียงความว่าอยากจะเป็นอะไร ผมมักจะเขียนเรียงความว่าอยากจะเป็นผู้พิพากษา แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ผมจึงได้ตัดสินใจเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เลยต้องพักความตั้งใจเรียนนิติศาสตร์ไว้ก่อน
จนเมื่อได้เริ่มเข้าทำงาน ตั้งแต่ปี 2545 ผมก็จด ๆ จ้อง ๆ ที่จะสมัครเรียนนิติศาสตร์ สมัยนั้นผมมักจะซื้อเอกสารสมัครเรียนจาก 7-eleven มาภาคเรียนแล้ว ภาคเรียนเล่า แต่ก็ไม่ได้ลงมือสมัครเรียนเสียที จนแม่บ่นว่าจะซื้อมาทำไมจนรกบ้าน กรอปกับได้แต่งงานมีลูกแล้ว จึงมีภาระที่ต้องจัดการดูแลตามสมควร ทำให้จนแล้วจดรอดก็ยังไม่ได้สมัคเรียนเสียที
และแล้วก็ถึงฤกษ์งามยามดี หลังจากรอมากว่า 18 ปี ผมก็ได้สมัครเรียนนิติศาสตร์ มสธ. ในภาคเรียนที่ 2/2563 เสียที สาเหตุที่เลือกเรียนที่ มสธ. เนื่องจาก เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาสำหรับคนที่ทำงานอยู่เรียนได้อย่างเหมาะสม ไม่มีการบังคับเข้าเรียน การสอบจัดสอบจะมีเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ เท่านั้นซึ่งไม่กระทบกับการทำงานที่ผมทำอยู่
สำหรับภาคเรียนที่ 2/2563 ที่ผมสมัครเรียนนั้น ถือว่าเป็นภาคเรียนสุดท้ายของหลักสูตรเก่า โดยนักศึกษาที่สำเร็จระดับปริญญาตรีมาแล้ว จะต้องลงทะเบียนทั้งหมด 20 ชุดวิชา ซึ่งมีการแยกเนื้อหากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ออกเป็นหลายชุดวิชา เช่น กฎหมายพาณิชย์ 1 ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กฎหมายพาณิชย์ 2 ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย แต่ในขณะที่หลักสูตรใหม่ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2564 สองวิชานี้จะรวมกันเป็นชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 1เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลักสูตรใหม่ จำนวนชุดวิชาของหลักสูตร 2564 จึงลดลงเหลือเป็น 19 ชุดวิชา อย่างไรก็ดี ขอเตือนท่านที่กำลังจะลงทะเบียน ต้องดูให้ดีว่าหลักสูตรของตนเป็นหลักสูตรไหน หากลงทะเบียนผิดไปก็จะทำให้เสียเวลาได้
เนื่องด้วยผมไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการเรียน ผมจึงลงทะเบียนไปตามที่สาขาวิชาแนะนำ ภาคเรียนละ 3 ชุดวิชา ซึ่งข้อดี คือ การสอบของแต่ละรายวิชาจะไม่ชนกันแน่นอน ส่วนข้อดีอีกข้อซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวของผม คือ สำหรับผมที่เริ่มเข้าเรียนในภาคปลาย สาขาวิชาจะแนะนำให้เรียนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีสบัญญัติ จนครบถ้วนก่อน จึงจะเรียนวิชากฎหมายมหาชน และกฎหมายพิเศษ เช่น แรงงาน หรือ ภาษีอากร ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจในกฎหมายเอกชนอย่างครบถ้วน จึงจะมองความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชน และเอกชนได้อย่างชัดเจน
ยกตัวอย่าง เช่น หากเราพิจารณา ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ตามมาตรา 17 วรรคสอง พรบ.คุ้มครองแรงงาน และ มาตรา 582 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเห็นว่าทั้งสองมาตรานั้นมีเนื้อหาเหมือนกัน แต่เหตุใดเราจึงต้องออกกฎหมายมาซ้อนกัน ซึ่งคำตอบนั้นก็คือ มาตรา 582 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นเป็นกฎหมายเอกชน ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างอาจจะตกลงให้แตกต่างจากกฎหมายได้ ซึ่งหากมีเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายจ้างก็อาจใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่าในการยกเว้นข้อกฎหมายนี้ได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องใช้อำนาจมหาชนใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของความสงบเรียบร้อย นายจ้างลูกจ้างไม่สามารถกำหนดเป็นอย่างอื่นที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้างได้ หากฝ่าฝืนก็จะเป็นโมฆะตาม 150 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
ผมใช้ระยะเวลาศึกษาทั้งหมด 3 ปีกับอีกหนึ่งภาคเรียน ซึ่งหากเลือกได้ผมก็จะเลือกแผนเรียนประเภท ก.2 หรือ ก.3 ทุกวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดให้เลือก เนื่องจากแผนการเรียนประเภท ก.2 หรือ ก.3 นั้น นอกเหนือจะมีคะแนนเก็บถึงร้อยละ 40 แล้ว เรายังมีโอกาสที่จะได้รับการสอนจากท่านอาจารย์ ซึ่งท่านก็จะบรรยายในเนื้อหาส่วนที่สำคัญที่หากเราอ่านเอง ก็อาจจะทำความเข้าใจได้ยาก ผมยังจำได้ว่าตอนเรียนวิชากฎหมายระหว่างประเทศนั้น กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน เรื่องการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ ก็ถูกออกเป็นข้อสอบอัตนัย อีกทั้งเรื่องการขัดกันของกฎหมาย ท่านอาจารย์ก็ได้เราทำตารางสรุปว่าในกรณีต่าง ๆ นั้นใช้มาตราใด ซึ่งผมก็ใช้ตารางนั้นในการท่องก่อนสอบ ทำให้ประหยัดเวลาไปได้มาก แต่อย่างไรก็ดี การเลือกเรียนแผน ก.2 หรือ ก.3 นั้น เราจะต้องแน่ใจว่า มีเวลาพอที่จะเข้าเรียนและส่งงานได้ทันตามเวลา ไม่อย่างนั้นเราจะถูกหักคะแนนเก็บ ทำให้สถานการณ์เราจะยากลำบากมากในการสอบให้ผ่าน
จากการลงทะเบียนทั้งหมด 20 ชุดวิชา ผมมีผลการเรียนแยกตามแต่ละแผนการเรียน ดังนี้
- แผนการเรียน ก.1 จำนวน 8 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 6 ชุดวิชา เกรด S จำนวน 2 ชุดวิชา
- แผนการเรียน ก.2 เดิม (มีสอบกลางภาค ไม่มีคะแนนกิจกรรม) จำนวน 4 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 4 ชุดวิชา
- แผนการเรียน ก.2 ปัจจุบัน (ไม่มีสอบกลางภาค มีคะแนนกิจกรรม) จำนวน 4 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 3 ชุดวิชา เกรด S จำนวน 1 ชุดวิชา
- แผนการเรียน ก.3 (มีสอบกลางภาค และมีคะแนนกิจกรรม) จำนวน 4 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 4 ชุดวิชา
รวม เกรด H จำนวน 17 ชุดวิชา และ เกรด S จำนวน 3 ชุดวิชา
ผมมีข้อแนะนำในการเรียน ซึ่งเป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ที่แต่ละท่านสามารถพิจารณานำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวท่านได้ครับ
1. เน้นเนื้อหาสำคัญ
หากท่านพิจารณาจากหนังสือของ มสธ. จะพบว่ามีจำนวนหน้าเยอะมาก ขอสารภาพว่าผมไม่เคยอ่านได้ครบทั้งหมด ตั้งแต่ชุดวิชาแรกจนถึงชุดวิชาสุดท้าย แต่อย่างไรก็ดีแต่ละชุดวิชาก็มักจะมีส่วนสำคัญ ที่เป็นหัวใจของแต่ละวิชา เช่น กฎหมายอาญา 1 เราก็ต้องทำความเข้าใจกับ 59 ซึ่งเป็นหัวใจของการรับผิดทางอาญา ซึ่งมีอยู่ 5 วรรค ซึ่งผมเชื่อว่าอย่างไรเสียก็จะต้องมีการนำมาออกข้อสอบอัตนัยหนึ่งข้อ เพียงแต่ในแต่ละปีท่านอาจารย์จะเลือกวรรคใดมาออก เป็นต้น
ประเด็นคือ เราจะทราบได้อย่างไรว่า เนื้อหาส่วนไหนเป็นส่วนสำคัญ ผมมีข้อแนะนำคือ ในแต่ละวิชาท่านอาจารย์จะได้ทำคลิปสอนเสริมไว้บน Youtube ซึ่งท่านก็จะเน้นเนื้อหาสำคัญบนนั้น ซึ่งเราควรนำมาอ่านทบทวนให้เข้าใจในประเด็นที่ท่านได้เน้นย้ำไว้ (การฟังไม่จำเป็นต้องฟังแค่ครั้งเดียวนะครับ ฟังหลาย ๆ ครั้งซ้ำก็ได้ เราจะได้นึกถึงสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายไว้ได้อัตโนมัติ)
2. ฝึกการเขียนตอบอัตนัย
ในการวัดผล มหาวิทยาลัยใช้การสอบเพื่อวัดความเข้าใจในเนื้อหา โดยเฉพาะข้อสอบอัตนัย ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าเราจะอ่านหนังสือได้กี่รอบ หรืออาจจะอ่านไม่จบ สิ่งที่เราควรจะระลึกไว้เสมอคือ เราจะต้องถ่ายทอดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนออกมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วถึงแม้อ่านหลายรอบ แต่ไม่สามารถเขียนออกมาได้ ก็อาจจะทำให้เราทำคะแนนได้ไม่ดี ดังนี้การฝึกทำข้อสอบเก่าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถเขียนแสดงออกมาให้ท่านอาจารย์ทราบว่าเราเข้าใจอย่างไร นอกจากนี้การฝึกเขียนบ่อย ๆ ก็จะทำให้ท่านคุ้นเคยกับมาตราที่สำคัญที่มักออกข้อสอบ และทำให้จำหลักของแต่ละมาตราได้ดีขึ้น
ผมขอแนะนำให้หาวารสาร นิติศาสตร์ มสธ. มาอ่าน ซึ่งเนื้อหาในวารสาร จะบอกนำข้อสอบเก่ามาบอกธงคำตอบ พร้อมคำอธิบาย ตลอดจนจุดที่มักจะเข้าใจผิด นอกจากนี้ยังมีวารสารฉบับพิเศษที่จะมีตัวอย่างข้อสอบปรนัย พร้อมเฉลยที่อธิบายเหตุผลว่าเหตุใดในแต่ละข้อจึงถูกหรือผิด จะเป็นตัวช่วยเราได้เป็นอย่างดี
3. ใช้ประโยชน์จากแบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียน
แบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียน ที่มหาวิทยาลัยให้มานั้น จะช่วยท่านได้อย่างมากว่า แต่ละหน่วยต้องการให้เรารู้เรื่องที่สำคัญอะไรบ้าง ซึ่งหลังจากได้ฟัง Clip สอนเสริมแล้ว เราก็ควรจะเริ่มลองทำแบบฝึกก่อนเรียน และหลังเรียน ว่าเรามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน หลาย ๆ ท่านมักจะบอกว่า ข้อสอบจริงไม่นำเอาแบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียนมาออกเข้าสอบจริง แต่สำหรับผมในทุก ๆ ชุดวิชา ผมก็มักจะเห็นข้อสอบที่คล้าย หรือเหมือนกับแบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียน ประมาณร้อยละ 20 – 30 ของข้อสอบทั้งหมด ซึ่งถ้าเราจำได้อย่างขึ้นใจว่าแต่ละข้อตอบอย่างไร เราก็ควรจะได้คะแนนตรงนี้
นอกจากนี้ในแต่ละข้อเราก็ควรจะหาที่มาที่ไปของเฉลยในแต่ละข้อ ว่ามีที่มาจากมาตราใด หรืออยู่ส่วนใดในหนังสือเรียน เพื่อเรียนรู้จากแบบฝึก (ซึ่งหากเราทำอย่างนี้ทุกข้อของแบบฝึก เราจะพบว่าบางข้อนั้นเฉลยผิด)
4. ใช้เวลาว่างในการฟังคลิปความรู้
ปัจจุบันเป็นความโชคดีของผู้เรียนนิติศาสตร์ ที่สามารถรับฟังคลิปความรู้ต่าง ๆ ให้เราฟังได้ฟรี ทั้งจาก Youtube โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลิปสอนเสริมของ มสธ. ซึ่งขณะที่ผมเรียน ผมต้องขับรถไปกลับกรุงเทพฯ จากต่างจังหวัดสัปดาห์ละ 3 วัน ใช้เวลาเดินทางขาละชั่วโมงครึ่ง ก็จะเท่า ๆ กับความยาวของคลิปสอนเสริมพอดี เพื่อนท่านใดที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ ก็ใช้แนวทางนี้ได้ครับ
ขอเพิ่มเติมสำหรับท่านฟัง มสธ. ครบแล้วและยังมีเวลาเหลือ ท่านสามารถฟังคำบรรยายของเนติบัณฑิตได้เป็นการเสริม ยกตัวอย่าง เช่น กฎหมายแรงงานซึ่งจะมีท่านอาจารย์เกษมสันต์ วิลาวัลย์ ท่านอาจารย์พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น หรือ กฎหมายภาษีอากร 1 ที่มีท่านอาจารย์ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม เป็นผู้บรรยาย ซึ่งทุกท่านก็เป็นผู้เขียนหนังสือให้ มสธ. เช่นกัน ก็จะช่วยให้เรามีความเข้าใจมากขึ้น
5. การหาความรู้จากกลุ่มเรียนทาง Online
การเข้าร่วม Fan page ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ซึ่งจะมีรุ่นพี่หลาย ๆ ท่าน ได้กรุณาสรุปเนื้อหา ตลอดจนแนวข้อสอบเก่า ซึ่งจะทำให้เราย่นระยะเวลาในการเรียนรู้ได้ นอกจากนี้การเข้าร่วมกลุ่ม Line แยกในแต่ละวิชา ที่จะมีเพื่อน ๆ ที่ลงทะเบียนเรียนพร้อมกับเรา และรุ่นพี่ที่ยังคงอยู่ในกลุ่ม ก็จะทำให้เราไม่รู้สึกว่าเรียนอยู่คนเดียว เพราะจะมีเพื่อน ๆ มาสอบถามเรื่องต่าง ๆ ทั้งด้านเนื้อหา กำหนดการเรียนสอนเสริม ในกลุ่ม Line เสมอ ซึ่งผมคิดว่าเราได้ประโยชน์จากกลุ่ม Online เหล่านี้ได้มากครับ
6. การสอบ Online
แม้ว่าการสอบ Online จะมีข้อดีอยู่หลายข้อ เช่น ไม่เสียเวลาเดินทาง เปิดแอร์เย็นสบาย เวลาทำข้อสอบปรนัยหากต้องการแก้คำตอบ ก็ไม่ต้องลบให้สกปรก แต่สิ่งที่ท่านจะต้องมีคือ อุปกรณ์ที่พร้อมทั้งคอมพิวเตอร์ Web Camera อินเตอร์เนตที่แรง ตลอดจนมีแผนสำรองถ้าหากอินเตอร์เน็ตล่ม หรือไฟดับ จะต้องทำอย่างไร ตัวผมเองนั้นสอบ Online มาตลอด ซึ่งแม้จะมี Wifi ที่บ้าน แต่ก็ต้องเตรียมสัญญาณมือถือสำรองไว้ และต้องมั่นใจว่าแบตเตอรี่ของ Notebook และ โทรศัพท์มือถือ จะต้องอยู่ได้นานกว่า 3 ชั่วโมงให้ครอบคลุมเวลาที่สอบ กรณีไฟฟ้าดับ (ผมเคยเจอกรณี Wifi มีปัญหา ก็ต้องรีบเปลี่ยนไปรับสัญญาณจากมือถือ แต่ไม่เคยเจอไฟดับ) ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว การสอบ Online ทั้งหมด 28 ครั้งตลอดหลักสูตร ก็ราบรื่นดี ไม่มีปัญหาอะไร
สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังเรียน หรือกำลังจะสมัครเรียน ให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาในสาขานิติศาสตร์ครับ
Review การเรียน นิติศาสตร์ มสธ. 2563 - 2567
วันนี้ผมได้รับใบ มสธ.13 มาเป็นที่เรียบร้อย ผมจึงมีตั้งใจที่จะ Review การเรียนนิติศาสตร์ มสธ. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจเข้าเรียน และเป็นคำแนะนำที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังเรียนอยู่ได้บ้าง
จุดเริ่มต้นว่าเกิดมาจากการผมสนใจเรียนนิติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก เนื่องจากอยากเป็นเหมือนพ่อที่จบนิติศาสตร์ จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ คุณครูให้เขียนเรียงความว่าอยากจะเป็นอะไร ผมมักจะเขียนเรียงความว่าอยากจะเป็นผู้พิพากษา แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ผมจึงได้ตัดสินใจเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เลยต้องพักความตั้งใจเรียนนิติศาสตร์ไว้ก่อน
จนเมื่อได้เริ่มเข้าทำงาน ตั้งแต่ปี 2545 ผมก็จด ๆ จ้อง ๆ ที่จะสมัครเรียนนิติศาสตร์ สมัยนั้นผมมักจะซื้อเอกสารสมัครเรียนจาก 7-eleven มาภาคเรียนแล้ว ภาคเรียนเล่า แต่ก็ไม่ได้ลงมือสมัครเรียนเสียที จนแม่บ่นว่าจะซื้อมาทำไมจนรกบ้าน กรอปกับได้แต่งงานมีลูกแล้ว จึงมีภาระที่ต้องจัดการดูแลตามสมควร ทำให้จนแล้วจดรอดก็ยังไม่ได้สมัคเรียนเสียที
และแล้วก็ถึงฤกษ์งามยามดี หลังจากรอมากว่า 18 ปี ผมก็ได้สมัครเรียนนิติศาสตร์ มสธ. ในภาคเรียนที่ 2/2563 เสียที สาเหตุที่เลือกเรียนที่ มสธ. เนื่องจาก เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาสำหรับคนที่ทำงานอยู่เรียนได้อย่างเหมาะสม ไม่มีการบังคับเข้าเรียน การสอบจัดสอบจะมีเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ เท่านั้นซึ่งไม่กระทบกับการทำงานที่ผมทำอยู่
สำหรับภาคเรียนที่ 2/2563 ที่ผมสมัครเรียนนั้น ถือว่าเป็นภาคเรียนสุดท้ายของหลักสูตรเก่า โดยนักศึกษาที่สำเร็จระดับปริญญาตรีมาแล้ว จะต้องลงทะเบียนทั้งหมด 20 ชุดวิชา ซึ่งมีการแยกเนื้อหากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ออกเป็นหลายชุดวิชา เช่น กฎหมายพาณิชย์ 1 ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กฎหมายพาณิชย์ 2 ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย แต่ในขณะที่หลักสูตรใหม่ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2564 สองวิชานี้จะรวมกันเป็นชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์และธุรกิจ 1เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลักสูตรใหม่ จำนวนชุดวิชาของหลักสูตร 2564 จึงลดลงเหลือเป็น 19 ชุดวิชา อย่างไรก็ดี ขอเตือนท่านที่กำลังจะลงทะเบียน ต้องดูให้ดีว่าหลักสูตรของตนเป็นหลักสูตรไหน หากลงทะเบียนผิดไปก็จะทำให้เสียเวลาได้
เนื่องด้วยผมไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการเรียน ผมจึงลงทะเบียนไปตามที่สาขาวิชาแนะนำ ภาคเรียนละ 3 ชุดวิชา ซึ่งข้อดี คือ การสอบของแต่ละรายวิชาจะไม่ชนกันแน่นอน ส่วนข้อดีอีกข้อซึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวของผม คือ สำหรับผมที่เริ่มเข้าเรียนในภาคปลาย สาขาวิชาจะแนะนำให้เรียนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีสบัญญัติ จนครบถ้วนก่อน จึงจะเรียนวิชากฎหมายมหาชน และกฎหมายพิเศษ เช่น แรงงาน หรือ ภาษีอากร ซึ่งจะทำให้เรามีความเข้าใจในกฎหมายเอกชนอย่างครบถ้วน จึงจะมองความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชน และเอกชนได้อย่างชัดเจน
ยกตัวอย่าง เช่น หากเราพิจารณา ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ตามมาตรา 17 วรรคสอง พรบ.คุ้มครองแรงงาน และ มาตรา 582 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเห็นว่าทั้งสองมาตรานั้นมีเนื้อหาเหมือนกัน แต่เหตุใดเราจึงต้องออกกฎหมายมาซ้อนกัน ซึ่งคำตอบนั้นก็คือ มาตรา 582 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นเป็นกฎหมายเอกชน ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างอาจจะตกลงให้แตกต่างจากกฎหมายได้ ซึ่งหากมีเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายจ้างก็อาจใช้อำนาจต่อรองที่เหนือกว่าในการยกเว้นข้อกฎหมายนี้ได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องใช้อำนาจมหาชนใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของความสงบเรียบร้อย นายจ้างลูกจ้างไม่สามารถกำหนดเป็นอย่างอื่นที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้างได้ หากฝ่าฝืนก็จะเป็นโมฆะตาม 150 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
ผมใช้ระยะเวลาศึกษาทั้งหมด 3 ปีกับอีกหนึ่งภาคเรียน ซึ่งหากเลือกได้ผมก็จะเลือกแผนเรียนประเภท ก.2 หรือ ก.3 ทุกวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดให้เลือก เนื่องจากแผนการเรียนประเภท ก.2 หรือ ก.3 นั้น นอกเหนือจะมีคะแนนเก็บถึงร้อยละ 40 แล้ว เรายังมีโอกาสที่จะได้รับการสอนจากท่านอาจารย์ ซึ่งท่านก็จะบรรยายในเนื้อหาส่วนที่สำคัญที่หากเราอ่านเอง ก็อาจจะทำความเข้าใจได้ยาก ผมยังจำได้ว่าตอนเรียนวิชากฎหมายระหว่างประเทศนั้น กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน เรื่องการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ ก็ถูกออกเป็นข้อสอบอัตนัย อีกทั้งเรื่องการขัดกันของกฎหมาย ท่านอาจารย์ก็ได้เราทำตารางสรุปว่าในกรณีต่าง ๆ นั้นใช้มาตราใด ซึ่งผมก็ใช้ตารางนั้นในการท่องก่อนสอบ ทำให้ประหยัดเวลาไปได้มาก แต่อย่างไรก็ดี การเลือกเรียนแผน ก.2 หรือ ก.3 นั้น เราจะต้องแน่ใจว่า มีเวลาพอที่จะเข้าเรียนและส่งงานได้ทันตามเวลา ไม่อย่างนั้นเราจะถูกหักคะแนนเก็บ ทำให้สถานการณ์เราจะยากลำบากมากในการสอบให้ผ่าน
จากการลงทะเบียนทั้งหมด 20 ชุดวิชา ผมมีผลการเรียนแยกตามแต่ละแผนการเรียน ดังนี้
- แผนการเรียน ก.1 จำนวน 8 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 6 ชุดวิชา เกรด S จำนวน 2 ชุดวิชา
- แผนการเรียน ก.2 เดิม (มีสอบกลางภาค ไม่มีคะแนนกิจกรรม) จำนวน 4 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 4 ชุดวิชา
- แผนการเรียน ก.2 ปัจจุบัน (ไม่มีสอบกลางภาค มีคะแนนกิจกรรม) จำนวน 4 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 3 ชุดวิชา เกรด S จำนวน 1 ชุดวิชา
- แผนการเรียน ก.3 (มีสอบกลางภาค และมีคะแนนกิจกรรม) จำนวน 4 ชุดวิชา เกรด H จำนวน 4 ชุดวิชา
รวม เกรด H จำนวน 17 ชุดวิชา และ เกรด S จำนวน 3 ชุดวิชา
ผมมีข้อแนะนำในการเรียน ซึ่งเป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ที่แต่ละท่านสามารถพิจารณานำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวท่านได้ครับ
1. เน้นเนื้อหาสำคัญ
หากท่านพิจารณาจากหนังสือของ มสธ. จะพบว่ามีจำนวนหน้าเยอะมาก ขอสารภาพว่าผมไม่เคยอ่านได้ครบทั้งหมด ตั้งแต่ชุดวิชาแรกจนถึงชุดวิชาสุดท้าย แต่อย่างไรก็ดีแต่ละชุดวิชาก็มักจะมีส่วนสำคัญ ที่เป็นหัวใจของแต่ละวิชา เช่น กฎหมายอาญา 1 เราก็ต้องทำความเข้าใจกับ 59 ซึ่งเป็นหัวใจของการรับผิดทางอาญา ซึ่งมีอยู่ 5 วรรค ซึ่งผมเชื่อว่าอย่างไรเสียก็จะต้องมีการนำมาออกข้อสอบอัตนัยหนึ่งข้อ เพียงแต่ในแต่ละปีท่านอาจารย์จะเลือกวรรคใดมาออก เป็นต้น
ประเด็นคือ เราจะทราบได้อย่างไรว่า เนื้อหาส่วนไหนเป็นส่วนสำคัญ ผมมีข้อแนะนำคือ ในแต่ละวิชาท่านอาจารย์จะได้ทำคลิปสอนเสริมไว้บน Youtube ซึ่งท่านก็จะเน้นเนื้อหาสำคัญบนนั้น ซึ่งเราควรนำมาอ่านทบทวนให้เข้าใจในประเด็นที่ท่านได้เน้นย้ำไว้ (การฟังไม่จำเป็นต้องฟังแค่ครั้งเดียวนะครับ ฟังหลาย ๆ ครั้งซ้ำก็ได้ เราจะได้นึกถึงสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายไว้ได้อัตโนมัติ)
2. ฝึกการเขียนตอบอัตนัย
ในการวัดผล มหาวิทยาลัยใช้การสอบเพื่อวัดความเข้าใจในเนื้อหา โดยเฉพาะข้อสอบอัตนัย ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าเราจะอ่านหนังสือได้กี่รอบ หรืออาจจะอ่านไม่จบ สิ่งที่เราควรจะระลึกไว้เสมอคือ เราจะต้องถ่ายทอดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนออกมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วถึงแม้อ่านหลายรอบ แต่ไม่สามารถเขียนออกมาได้ ก็อาจจะทำให้เราทำคะแนนได้ไม่ดี ดังนี้การฝึกทำข้อสอบเก่าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถเขียนแสดงออกมาให้ท่านอาจารย์ทราบว่าเราเข้าใจอย่างไร นอกจากนี้การฝึกเขียนบ่อย ๆ ก็จะทำให้ท่านคุ้นเคยกับมาตราที่สำคัญที่มักออกข้อสอบ และทำให้จำหลักของแต่ละมาตราได้ดีขึ้น
ผมขอแนะนำให้หาวารสาร นิติศาสตร์ มสธ. มาอ่าน ซึ่งเนื้อหาในวารสาร จะบอกนำข้อสอบเก่ามาบอกธงคำตอบ พร้อมคำอธิบาย ตลอดจนจุดที่มักจะเข้าใจผิด นอกจากนี้ยังมีวารสารฉบับพิเศษที่จะมีตัวอย่างข้อสอบปรนัย พร้อมเฉลยที่อธิบายเหตุผลว่าเหตุใดในแต่ละข้อจึงถูกหรือผิด จะเป็นตัวช่วยเราได้เป็นอย่างดี
3. ใช้ประโยชน์จากแบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียน
แบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียน ที่มหาวิทยาลัยให้มานั้น จะช่วยท่านได้อย่างมากว่า แต่ละหน่วยต้องการให้เรารู้เรื่องที่สำคัญอะไรบ้าง ซึ่งหลังจากได้ฟัง Clip สอนเสริมแล้ว เราก็ควรจะเริ่มลองทำแบบฝึกก่อนเรียน และหลังเรียน ว่าเรามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน หลาย ๆ ท่านมักจะบอกว่า ข้อสอบจริงไม่นำเอาแบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียนมาออกเข้าสอบจริง แต่สำหรับผมในทุก ๆ ชุดวิชา ผมก็มักจะเห็นข้อสอบที่คล้าย หรือเหมือนกับแบบฝึกก่อนเรียน หลังเรียน ประมาณร้อยละ 20 – 30 ของข้อสอบทั้งหมด ซึ่งถ้าเราจำได้อย่างขึ้นใจว่าแต่ละข้อตอบอย่างไร เราก็ควรจะได้คะแนนตรงนี้
นอกจากนี้ในแต่ละข้อเราก็ควรจะหาที่มาที่ไปของเฉลยในแต่ละข้อ ว่ามีที่มาจากมาตราใด หรืออยู่ส่วนใดในหนังสือเรียน เพื่อเรียนรู้จากแบบฝึก (ซึ่งหากเราทำอย่างนี้ทุกข้อของแบบฝึก เราจะพบว่าบางข้อนั้นเฉลยผิด)
4. ใช้เวลาว่างในการฟังคลิปความรู้
ปัจจุบันเป็นความโชคดีของผู้เรียนนิติศาสตร์ ที่สามารถรับฟังคลิปความรู้ต่าง ๆ ให้เราฟังได้ฟรี ทั้งจาก Youtube โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลิปสอนเสริมของ มสธ. ซึ่งขณะที่ผมเรียน ผมต้องขับรถไปกลับกรุงเทพฯ จากต่างจังหวัดสัปดาห์ละ 3 วัน ใช้เวลาเดินทางขาละชั่วโมงครึ่ง ก็จะเท่า ๆ กับความยาวของคลิปสอนเสริมพอดี เพื่อนท่านใดที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ ก็ใช้แนวทางนี้ได้ครับ
ขอเพิ่มเติมสำหรับท่านฟัง มสธ. ครบแล้วและยังมีเวลาเหลือ ท่านสามารถฟังคำบรรยายของเนติบัณฑิตได้เป็นการเสริม ยกตัวอย่าง เช่น กฎหมายแรงงานซึ่งจะมีท่านอาจารย์เกษมสันต์ วิลาวัลย์ ท่านอาจารย์พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น หรือ กฎหมายภาษีอากร 1 ที่มีท่านอาจารย์ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม เป็นผู้บรรยาย ซึ่งทุกท่านก็เป็นผู้เขียนหนังสือให้ มสธ. เช่นกัน ก็จะช่วยให้เรามีความเข้าใจมากขึ้น
5. การหาความรู้จากกลุ่มเรียนทาง Online
การเข้าร่วม Fan page ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ซึ่งจะมีรุ่นพี่หลาย ๆ ท่าน ได้กรุณาสรุปเนื้อหา ตลอดจนแนวข้อสอบเก่า ซึ่งจะทำให้เราย่นระยะเวลาในการเรียนรู้ได้ นอกจากนี้การเข้าร่วมกลุ่ม Line แยกในแต่ละวิชา ที่จะมีเพื่อน ๆ ที่ลงทะเบียนเรียนพร้อมกับเรา และรุ่นพี่ที่ยังคงอยู่ในกลุ่ม ก็จะทำให้เราไม่รู้สึกว่าเรียนอยู่คนเดียว เพราะจะมีเพื่อน ๆ มาสอบถามเรื่องต่าง ๆ ทั้งด้านเนื้อหา กำหนดการเรียนสอนเสริม ในกลุ่ม Line เสมอ ซึ่งผมคิดว่าเราได้ประโยชน์จากกลุ่ม Online เหล่านี้ได้มากครับ
6. การสอบ Online
แม้ว่าการสอบ Online จะมีข้อดีอยู่หลายข้อ เช่น ไม่เสียเวลาเดินทาง เปิดแอร์เย็นสบาย เวลาทำข้อสอบปรนัยหากต้องการแก้คำตอบ ก็ไม่ต้องลบให้สกปรก แต่สิ่งที่ท่านจะต้องมีคือ อุปกรณ์ที่พร้อมทั้งคอมพิวเตอร์ Web Camera อินเตอร์เนตที่แรง ตลอดจนมีแผนสำรองถ้าหากอินเตอร์เน็ตล่ม หรือไฟดับ จะต้องทำอย่างไร ตัวผมเองนั้นสอบ Online มาตลอด ซึ่งแม้จะมี Wifi ที่บ้าน แต่ก็ต้องเตรียมสัญญาณมือถือสำรองไว้ และต้องมั่นใจว่าแบตเตอรี่ของ Notebook และ โทรศัพท์มือถือ จะต้องอยู่ได้นานกว่า 3 ชั่วโมงให้ครอบคลุมเวลาที่สอบ กรณีไฟฟ้าดับ (ผมเคยเจอกรณี Wifi มีปัญหา ก็ต้องรีบเปลี่ยนไปรับสัญญาณจากมือถือ แต่ไม่เคยเจอไฟดับ) ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว การสอบ Online ทั้งหมด 28 ครั้งตลอดหลักสูตร ก็ราบรื่นดี ไม่มีปัญหาอะไร
สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังเรียน หรือกำลังจะสมัครเรียน ให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาในสาขานิติศาสตร์ครับ