นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ราม) กับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) เลือกไม่ได้ ม.ไหนดี?



หลายคนอาจจะกำลังลังเล เลือกไม่ถูกว่าจะเรียนที่ไหนดี ระหว่างนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ราม) กับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ)  เพราะทั้งสองมหาวิทยาลัยนี้มีความใกล้เคียงกันมาก แต่ก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุกอย่าง ลองไปดูความแตกต่างระหว่างสองมหาวิทยาลัยนี้ดูสิ เผื่อจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ความแตกต่างกันของ มหาวิทยาลัยเปิดอย่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยตลาดวิชาอย่าง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ทุกท่านทราบกันหรือไม่ จริงๆ แล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเปิดอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่เราเรียกกันว่าตลาดวิชา โดยทั้งสองมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
มหาวิทยาลัยเปิด เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะมีการจัดการเรียนการสอนแบบทางไกลที่ไม่มีชั้นเรียน โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน และเรียนได้ทุกเพศทุกวัย แม้จะทำงานแล้วก็ตาม ซึ่งผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากสื่อการสอนที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้ เช่น เอกสารการสอนเป็นชุดวิชาที่ส่งให้ผ่านทางไปรษณีย์ รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยตลาดวิชา เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดรับสมัครเข้าเรียนโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก (ยกเว้นบางคณะ) แต่จะมีการเรียนการสอนโดยมีชั้นเรียนที่เป็นห้องเรียนตามปกติ ซึ่งผู้เรียนอาจเรียนด้วยตนเองได้ เช่น เรียนสดทางออนไลน์ หรือเรียนย้อนหลังผ่านวิดีโอ หรือซื้อหนังสืออ่านเอง เป็นต้น

ค่าเทอม
ทั้งมสธ.และ ม.รามจะมีค่าเทอมใกล้เคียงกันโดยที่
มสธ. – จะอยู่ที่ประมาณ 2,400 – 4,600 บาท  รวมค่าแรกเข้า
ม.ราม – 3,225 – 3,750 บาท รวมค่าแรกเข้า 
 
การลงทะเบียนเรียน
มสธ. – ลงทะเบียนเป็นชุดวิชา (1 ชุดวิชามี 6 หน่วย) ใน 1 เทอมจะต้องลงอย่างน้อย 1 ชุดวิชา (6 หน่วย) และลงได้มากสุด 3 ชุดวิชา (18 หน่วย) , ภาคฤดูร้อน ลงทะเบียนเรียนได้ 1 ชุดวิชา
ม.ราม – ลงทะเบียนเป็นรายวิชา (วิชาละ 3 หน่วย) ใน 1 เทอมลงได้อย่างน้อย 9 หน่วย และไม่เกิน 22 หน่วย (ภาค1,ภาค 2 กรณีลงทะเบียนขอจบได้ไม่เกิน 30 หน่วยกิต)  , ภาคฤดูร้อน ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต (ภาคฤดูร้อน กรณีลงทะเบียนขอจบได้ไม่เกิน 18 หน่วยกิต)
 
การเรียน
มสธ. – เป็นการเรียนทางไกล ลงทะเบียนออนไลน์ และจะมีหนังสือพร้อมซีดีส่งไปให้ถึงบ้าน ว่าง ๆ ก็นั่งฟังซีดี แต่ถ้าไม่มีเวลาก็อ่านเอา ตอนใกล้จะสอบต้องอ่านหนังสือเอง ทำความเข้าใจเอง สรุปเองทั้งหมด ไม่มีชีทสรุป หรือข้อสอบเก่าให้อ่าน แต่ดีตรงที่มีการบ้านให้ทำส่งเป็นคะแนนช่วย (ข้อสอบเก่ามีกูรูบางคนนำมาลงตามสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเพจFacebook กลุ่มLine )
ม.ราม – จะใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยปิดมากกว่า มีคลาสเรียนจะเข้าหรือไม่เข้าก็แล้วแต่เรา เพราะไม่มีการเช็คชื่อ แต่จะมีบางวิชาที่บังคับเข้าเรียน มีรับน้อง มีกิจกรรมนักศึกษา ตอนใกล้สอบก็มีชีทสรุปขาย มีข้อสอบเก่าขายหน้า ม.ราม ( ชีทแดง ชีทนิติธนิต ลุงชาวใต้ )
 
สังคมเพื่อน
มสธ. – ไม่ได้เจอใครหรอก เพราะไม่ได้ต้องเข้าเรียน ต่างคนต่างอ่านหนังสือที่บ้าน ได้เจอเพื่อน 5 วัน ตอนอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ ก่อนเรียนจบ
ม.ราม – ถ้าเข้าเรียนแล้วโชคดีก็จะมีกลุ่มเพื่อน ที่จะช่วยกันติวสอบได้ หรือกลุ่มเพจFacebook กลุ่มLine มีหลายเพจ หลายกลุ่ม เพื่อนบางคนเข้าเรียนในคลาสก็นำแนวข้อสอบที่อาจารย์ผู้สอนใบ้ไว้มาบอกต่อๆกัน
 
วันสอบ
มสธ. – เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา เพราะวันสอบจะตรงกับเสาร์-อาทิตย์ ส่วนใครที่จะเรียนต่อป.โทและทำงานไปด้วย แนะนำเลยไม่ค่อยกระทบต่องาน
ม.ราม – มีสอบได้ทุกวัน จันทร์ - อาทิตย์ แล้วแต่ทางมหาวิทยาลัยจะกำหนดตามตาราง มร.30 ถ้าเรียนไปทำงานไปอาจจะต้องลางานเพื่อมาสอบ
 
สถานที่สอบ
มสธ. – สามารถเลือกสนามสอบใกล้บ้านได้
ม.ราม 
- ส่วนกลางต้องไปสอบที่ ม.ราม 1 (หัวหมาก) และ ม.ราม 2 (บางนา) 
- ส่วนภูมิภาคต้องไปสอบที่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ สนามสอบใกล้บ้าน 41 แห่งทั่วประเทศ
 
การวัดคะแนน
มสธ. – ใช้ระบบ U S H อิงเกณฑ์
H = เกียรตินิยม (ได้คะแนนร้อยละ 76 ขึ้นไป)
S =  ผ่าน (ได้คะแนนร้อยละ 60-75)
U  = ไม่ผ่าน (ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60)
 
ม.ราม – ใช้เกณฑ์ A B C D และ F เหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป 
A = Excellent 4.00 (ดีเยี่ยม) 
เกณฑ์อ้างอิง : A = 90 - 100
B+ = Very Good 3.50 (ดีมาก) 
เกณฑ์อ้างอิง : B+ = 85 - 89
B = Good 3.00 (ดี) 
เกณฑ์อ้างอิง : B = 75 - 84
C+ = Fairly Good 2.50 (ปานกลาง) 
เกณฑ์อ้างอิง : C+ = 70 - 74
C = Fair 2.00 (พอใช้) 
เกณฑ์อ้างอิง : C = 60 - 69
D+ = Very Poor 1.50 (อ่อน) 
เกณฑ์อ้างอิง : D+ = 55 - 59
D = Poor 1.00 (อ่อนมาก) 
เกณฑ์อ้างอิง : D = 50 - 54
= Failure 0.00 (สอบตก) 
เกณฑ์อ้างอิง : F = 0 - 49

** ทั้งนี้อาจารย์ผู้สอนรายวิชานั้นๆ อาจเลือกตัดเกรดแบบอิงกลุ่มได้ ( วิชาไหนที่ตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม เกรดA แทบหาไม่เจอ ) **

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ราม)
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Laws (LL.B.)
โครงสร้างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2565)
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิต 140 หน่วยกิต 
** ทุกวิชาสอบปลายภาคครั้งเดียว 100 % ไม่มีคะแนนเก็บ **



หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Laws (LL.B.)
โครงสร้างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2564)
หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวนหน่วยกิต 138 หน่วยกิต
** ทุกวิชาสอบปลายภาคครั้งเดียว 100 % ไม่มีคะแนนเก็บ **



โครงสร้าง หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ราม) และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ)

1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1.1  ม.ราม – หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาศึกษาทั่วไปจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า จำนวน 10 กระบวนวิชา30 หน่วยกิต 
1.) กลุ่มวิชาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- ด้านทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 20 วิชา
- ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี 3 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 8 วิชา
- ด้านทักษะการปรับตัว 3 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 2 วิชา

2.) กลุ่มวิชาพัฒนาทักษะการเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
- ด้านทักษะการคิด 3 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 4 วิชา
- ด้านทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 4 วิชา

3.) กลุ่มวิชาพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
- ด้านทักษะการเป็นพลเมืองและการมีจิตอาสา 6 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 3 วิชา
- ด้านการเห็นคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม 3 หน่วยกิต
มีให้เลือกเรียน 2 วิชา

1.2  มสธ. – หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไปจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 5 ชุดวิชา (30 หน่วยกิต)
บังคับ 2 ชุดวิชา
10141 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
10151 ไทยศึกษา
และเลือก 3 ชุดวิชาจากกลุ่มวิชาๆ ละ 1 ชุดวิชา
กลุ่มวิชาภาษา
10111 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
10161 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
10162 ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
10163 ภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
10131 สังคมมนุษย์
10152 ไทยกับสังคมโลก
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
10103 ทักษะชีวิต
10121 อารยธรรมมนุษย์
10164 สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ข้อสังเกตุ หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของ ม.ราม จะเป็นข้อสอบปรนัยทุกวิชา (กากบาท) , มสธ. จะเป็นข้อสอบอัตนัย(ข้อเขียน)+ปรนัย(กากบาท) 
ม.ราม –  ได้เปรียบตรงที่ มีวิชาให้เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หลากหลายกว่า มากถึง 37 รายวิชา โดยเฉพาะ กระบวนวิชาภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ มีให้เลือกเรียนมากถึง 16 ภาษาเลยทีเดียว ส่วน มสธ. มีวิชาให้เลือกเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปน้อยมากๆ 
มสธ. –  ได้เปรียบตรงที่ เรียนเพียงแค่ 5 ชุดวิชาเท่านั้น ขณะที่ ม.ราม ต้องเรียนมากถึง 10 กระบวนวิชาเลยทีเดียว ทำให้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวอ่านหนังสือมากกว่า



2. หมวดวิชาเฉพาะ (วิชากฎหมาย)
กลุ่มวิชาแกน
2.1  ม.ราม – หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน (วิชาบังคับทางกฎหมาย) จำนวน 40 กระบวนวิชา 92 หน่วยกิต
นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ทุกคนต้องเรียนวิชากฎหมายในหมวดวิชาเฉพาะทุกกระบวนวิชา

2.2 มสธ. – หมวดวิชาเฉพาะ วิชาแกน(วิชาบังคับทางกฎหมาย)  15 ชุดวิชา จำนวน 90 หน่วยกิต

ข้อสังเกตุ หมวดหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน ของ ม.ราม จะเป็นข้อสอบอัตนัยทุกวิชา 100% (สอบข้อเขียน)
ส่วน มสธ. จะเป็นอัตนัย (ข้อเขียน) + ปรนัย(กากบาท) 
ม.ราม –  ได้เปรียบตรงที่ มีวิชาที่จะต้องเรียนในหมวดวิชาเฉพาะ เจาะลึกในแต่ละหัวข้อเรื่องยิบย่อยมากกว่า 
มสธ. –  ได้เปรียบตรงที่ เรียนเพียงแค่ 15 ชุดวิชาเท่านั้น ขณะที่ ม.ราม ต้องเรียนมากถึง 40 วิชากระบวนเลยทีเดียว ทำให้ต้องใช้เวลาเตรียมตัวอ่านหนังสือเยอะกว่ามากๆๆๆ



3. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (วิชาเลือกทางกฎหมาย)
3.1 ม.ราม – นักศึกษาต้องเลือกเรียนวิชากฎหมาย จำนวน 4 กระบวนวิชา 12 หน่วยกิต  จากกระบวนวิชาในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่ง หรือหลายกลุ่ม ดังต่อไปนี้
- กลุ่มกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
- กลุ่มกฎหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ
- กลุ่มกฎหมายระหว่างประเทศ
- กลุ่มกฎหมายมหาชน
- กลุ่มกฎหมายเฉพาะและวิชาทั่วไปสำหรับนักกฎหมาย

3.2 มสธ. – วิชาเฉพาะด้าน (วิชาเลือกทางกฎหมาย) 2 ชุดวิชา 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากกลุ่มวิชาต่อไปนี้
- กลุ่มวิชากฎหมายทั่วไป
- กลุ่มวิชากฎหมายสังคม
- กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ
- กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน
- กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
- กลุ่มวิชากฎหมายระหว่างประเทศ

ข้อสังเกตุ หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเลือกทางกฎหมาย ของ ม.ราม จะมีวิชาปฎิบัติ เช่น LAW3170 ศาลจำลอง 1 (Moot Court 1)
, LAW3171 ศาสจำลอง 2 (Moot Court 2) เป็นต้น  ส่วน มสธ. จะไม่มีวิชาลักษณะนี้
ม.ราม –  ได้เปรียบตรงที่ ในหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเลือกทางกฎหมาย มีให้เลือกเรียน จุใจมากถึง 102 กระบวนวิชา ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพด้านกฎหมาย 
มสธ. –  ได้เปรียบตรงที่ เรียนเพียงแค่ 2 ชุดวิชาเท่านั้น แต่มีชุดวิชาให้เลือกเรียนเพียง 27 ชุดวิชา ซึ่งมีทางเลือกให้เรียนค่อนข้างน้อยมาก





ศาลจำลอง Moot court คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่