JJNY : 5in1  1 ปี ชี้ขาด│อาจารย์ ยังห่วงกม. คุมเข้ม│อัปเดตเส้นทางยางิ│อุตุฯ เปิดภาพถ่ายดาวเทียม│สหรัฐอัดฉีดยูเครนอีก

นักวิชาการ มอง 1 ปีจากนี้ ศก.ปากท้อง-นักร้องเรียน คือปัจจัยชี้ขาด อายุรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4777103
 
 
ยุทธพร มอง 1 ปีจากนี้ เศรษฐกิจปากท้อง-นักร้องเรียน คือปัจจัยชี้ขาด อายุรัฐบาล 
 
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 6 กันยายน ที่หอประชุมใหญ่บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ แจ้งวัฒนะ นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้สัมภาษณ์ถึงการสืบทอดอำนาจทางครอบครัวในทางการเมืองไทยว่า ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับลักษณะพื้นฐานทางวัฒนธรรมการเมืองในเอเชีย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือว่าเราพยายามจะใช้กฎหมายให้กลายเป็นการเมือง ซึ่งเป็นตัวเร่งในการทำปฏิกิริยาทำให้เรื่องของลักษณะทายาททางการเมือง ตระกูลทางการเมืองต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาทดแทนการเมืองแบบตัวจริง เนื่องจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการเมืองไทยเป็นลักษณะการคัดตัวจริงออก เราอาจมองว่า ท้ายที่สุดเป็นการคัดกรองเพื่อให้ได้ตัวจริง ได้นักการเมืองที่มีความสามารถ มีคุณภาพ ปลอดภาวะระบบอุปถัมภ์และตระกูลการเมือง แต่ตนมองตรงข้ามว่าท้ายที่สุดแล้วการเมืองแบบคัดออก ทำให้การเมืองไทยแย่และถดถอยมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

เมื่อถามว่า จากสภาพดังกล่าวนี้ของการเมืองไทยจะส่งผลต่ออายุของรัฐบาลอย่างไร นายยุทธพรกล่าวว่า ระยะเวลาหลังจากนี้อีก 1 ปี จะสำคัญ จะเป็นตัวชี้อนาคตของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปากท้องของประชาชน จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ ซึ่งหากเศรษฐกิจดีขึ้นรัฐบาลชุดนี้ก็จะสามารถไปต่อ อยู่ได้อีก 2-3 ปี ในวาระที่เหลืออยู่ของอายุรัฐบาลนี้ ส่วนตัวชี้วัดถัดไปก็คือการขับเคลื่อนที่ค้างจากรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน เช่น นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งประชาชนจำนวนมากต่างรออยู่ นโยบาย soft power การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายนิรโทษกรรม นำกัญชาออกจากยาเสพติด
 
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่สำคัญคือการร้องคดีความต่างๆ การตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรีของผู้ที่มีรายชื่อเป็นรัฐมนตรี ทั้งนี้ ควรต้องพิจารณาว่าการร้องต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ หรือแม้แต่องค์กรที่เกี่ยวข้องว่าควรที่จะต้องรับเรื่องเหล่านี้หรือไม่ เพราะสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองถ้าหากต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญไม่ใช่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองแต่คือประชาชนที่จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ สุดท้ายก็จะวนกลับมากระทบต่อประชาชน แต่เห็นด้วยกับการตรวจสอบกรณีการทุจริตหรือใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ หากเป็นเรื่องไร้สาระก็ควรยุติเพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราใช้กฎหมายมาใช้ในลักษณะนี้จนทำให้ประเทศอยู่ในลักษณะวังวนแบบนี้



อาจารย์ ยังห่วงกม. คุมเข้มงานวิจัย แม้ครม.จะถอนแล้ว แต่พ.ร.บ.ต้นเรื่องขัดรธน. แนะรื้อทิ้งทั้งมาตรา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4776401
 
อาจารย์ ยังห่วงกม. คุมเข้มงานวิจัย แม้ครม.จะถอนแล้ว แนะต้นเรื่องขัดรธน. ควรรื้อทิ้งทั้งมาตรา
 
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 เพจ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง – คนส. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีที่ครม.ถอนร่างครม.เห็นชอบให้ทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกาเรื่องหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดการวิจัยว่า  
 
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ขอขอบคุณคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติจากที่ประชุม ครม.ในวันที่ 3 กันยายน 2567 ให้ถอนร่าง “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัย ซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ.ศ….” เพื่อกลับไปทบทวนและมอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รับฟังความเห็นเพิ่มเติม

ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุม ครม.เมื่อ 27 สิงหาคม 2567 ได้อนุมัติหลักการร่าง พรฎ. นี้ ทางเครือข่ายนักวิชาการฯ ได้จัดทำความคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่าง พรฎ.นี้ และจัดส่งไปยังผู้บริหารของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และบุคคลในคณะรัฐมนตรี (สามารถอ่านความเห็นและข้อเสนอแนะต่อ พรฎ.ฯ ที่เขียนโดย ศ. ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/187EjyIPCASkn1kMwWYretx619B_R43EZ/view
และที่เขียนโดย รศ.อนุสรณ์ อุณโณ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1NXbBk3UUdTIGR2gaKb4Lk5dBfd2Y8n9X/view)
พร้อมกันนี้ทางเครือข่ายนักวิชาการฯ ก็ได้มีการจัดเสวนาวิชาการหัวข้อ “เสรีภาพทางวิชาการภายใต้ร่าง พ.ร.ฎ. หลักเกณฑ์การวิจัย ซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ” เมื่อวันอังคารที่ 3 กันยายน 2567 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ (ดูคลิปการเสวนาได้ที่ https://www.youtube.com/live/Olspi8ansyM )

อย่างไรก็ดี แม้คณะรัฐมนตรีจะมีมติถอนเรื่อง พรฎ. นี้แล้วในที่สุด แต่เรื่องนี้ยังมีความน่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากต้นตอที่แท้จริงของ พรฎ. มาจากบทบัญญัติมาตรา 33 (2) พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2562 ที่กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) โดยความเห็นชอบของสภานโยบายกำหนด ‘หลักเกณฑ์การวิจัยและข้อกำหนดจริยธรรมการวิจัยซึ่งมีปัญหากับหลักศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน’ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
 
ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่เนื้อหาของร่าง พ.ร.ฎ. ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 34 (2) ที่คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการ” แต่กฎหมายแม่ คือ “มาตรา 33 (2) ของพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ ก็ขัดกับรัฐธรรมนูญด้วย อีกทั้งยังกำหนดให้ต้องมีกฎหมายลูก คือ พรฎ. ซึ่งที่ไม่มีหลักประกันอันใดว่าร่าง พรฎ. ที่กระทรวงอุดมศึกษาฯ นำกลับไปทบทวนจะไม่เป็นการบังคับควบคุมเสรีภาพทางวิชาการอีก ดังนั้น เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) จึงเห็นว่าในการแก้ปัญหาจาก พรฎ.อย่างถาวร ควรแก้ไขมาตรา 33 ของ พ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ฯ โดยตัดวรรคสองของมาตรานี้ออกไป
 
https://www.facebook.com/ThaiAcademicNetworkforCivilRights/posts/pfbid0T48CuYYiZWe5uMsMU9atmBgcgJUnXGj4zXSLU688HBiaVMoodaZ6o871F4wbRPSbl
 


อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่นยางิ 7-8 ก.ย. เหนือ-อีสาน ตอนบน เตรียมรับมือ เช็กเลย จังหวัดไหนบ้าง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9400451

กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่นยางิ 7-8 ก.ย. ภาคเหนือ-อีสาน ตอนบน เตรียมรับมือ เช็กเลยมีจังหวัดไหนบ้าง ต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด
วันที่ 6 ก.ย.2567 กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” จากศูนย์กรณ์เส้นทางพายุต่างๆ โดยพายุไต้ฝุ่น “ยางิ (YAGI)” ยังมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ อ่าวตังเกี๋ย และขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนช่วงเวลา 13.00 น. วันพรุ่งนี้ (7/9/67)
 
และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ คาดว่าจะสลายตัวใน สปป.ลาว แม้ศูนย์กลางของพายุไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่ขอบของพายุ อาจจะทำให้ภาคเหนือตอนบบน (พะเยา น่าน แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน)
 
และภาคอีสานตอนบน (หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี ) ช่วงเสาร์-อาทิตย์ (7 – 8 ก.ย.67) นี้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งและมีลมแรง เกิดขึ้นได้ ภายหลังจากที่พายุอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดและเตรียมการรับมือ


 
พายุไต้ฝุ่นยางิมาแล้ว!!อุตุฯเปิดภาพถ่ายดาวเทียม เมฆเริ่มปกคลุมภาคอีสาน
https://siamrath.co.th/n/564389

“กรมอุตุฯ” เปิดภาพถ่ายดาวเทียม เตือนปชช. หลังพบเมฆเริ่มปกคลุมภาคอีสาน จากขอบพายุไต้ฝุ่นยางิ

เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2567 เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียม เย็นวันนี้(6/9/67)เมฆเริ่มปกคลุมทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน (แบนเมฆตามขอบของพายุ )ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนพายุไต้ฝุ่นกำลังขึ้นฝั่งทางด้านตะวันออกของเกาะไหหลำ ลมแรง

เส้นทางพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" จากศูนย์กรณ์เส้นทางพายุต่างๆ : พายุไต้ฝุ่น "ยางิ(YAGI)" ยังมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ อ่าวตังเกี๋ย และขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนช่วงเวลา 13.00 น. วันพรุ่งนี้ (7/9/67) และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ

คาดว่าจะสลายตัวใน สปป.ลาว แม้ศูนย์กลางของพายุไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่ขอบของพายุ อาจจะทำให้ภาคเหนือตอนบบน (พะเยา น่าน แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และภาคอีสานตอนบน (หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี ) ช่วงเสาร์-อาทิตย์ (7 - 8 ก.ย.67) นี้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งและมีลมแรง เกิดขึ้นได้
 
ภายหลังจากที่พายุอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดและเตรียมการรับมือ
 
#siamrath #สยามรัฐ #siamrathonline #สยามรัฐออนไลน์ #ข่าววันนี้ #พายุไต้ฝุ่นยางิ #อุตุฯ  #ภาพถ่ายดาวเทียม #ภาคอีสาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่