หนีน้ำ! ท่วมซ้ำซาก ชาวบ้านกรุงเก่าไม่ทน ทิ้งบ้าน-รื้อย้ายหาที่ดินปลูกใหม่
https://www.dailynews.co.th/news/3833577/
ชาวบ้านเมืองกรุงเก่า เตรียมรับน้ำ เร่งซ่อมเรือเก่า ใช้ขนของ สัญจรแทนรถ ชี้ต้องทนรับสภาพทุกปี ขณะที่บางรายมีเงิน ไม่ทน ยอมทิ้ง รื้อ บ้านไปปลูกใหม่บนพื้นที่สูง เซ่นท่วมซ้ำซาก
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม ใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ระดับน้ำในคลองสาขาต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นด้วย เริ่มส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านหลายครอบครัว ถูกน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น ท่วมในชุมชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ต้องใช้เรือสัญจรในการเดินทางเข้าออกภายในชุมชน
นาย
สนธยา ไม้อบเชย ชาวบ้าน หมู่ 1 ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บ้านพักและชุมชนอยู่ติดกับแม่น้ำน้อย ที่ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมใต้ถุนบ้านยกพื้นสูง ต้องเร่งยาเรือไม้ และเรือขุดโบราณอายุกว่า 80 ปี ที่ใช้สืบทอดต่อกันมาชั่วอายุคน ไว้ใช้สัญจรเข้าออกจากบ้าน
นาย
สนธยา บอกว่า จะถูกน้ำท่วมมากน้อยทุกปีต่างกันไป เคยหนักสาหัสมากสุดเป็นปี 2554 ท่วมจนไม่สามารถอยู่ภายในบ้านได้ เวลาน้ำท่วมการใช้ชีวิตจะลำบาก น้ำมาขนของเก็บของขึ้นบ้านหนีน้ำ พายเรือเข้าออกจากบ้านฝ่ากระแสน้ำที่ไหลแรง เพื่อไปทำงาน ถ้าท่วมหนักมากๆ ต้องเช่าหอพักอยู่เพราะกว่าจะพายเรือกว่าจะเดินทางไปถึงมันลำบาก บ้านได้รับความเสียหายกันทุกปีต้องมาซ่อมแซมกัน
นาย
สนธยา เล่าอีกว่า ในหมู่บ้านของตน ขณะนี้หลายครอบครัวที่พอมีที่ทางมีเงิน เลยยอมทิ้งบ้าน รื้อบ้านไปหาซื้อที่ดินปลูกบ้านที่ใหม่ ในพื้นที่สูงไม่ถูกน้ำท่วม เพราะทนรับสภาพกันไม่ไหว ที่ต้องมาซ่อมแซมบ้าน ขนของหนีน้ำท่วมอยู่ทุกปี ส่วนครอบครัวของตนอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่มีเงินไม่มีที่ดิน จึงไม่ย้ายไปไหน น้ำท่วมรอบหนึ่ง ก็เอาเรือออกมาใช้ออกมายาเรือซ่อมแซมเรือใช้แทนรถ
กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร. เรื่องลักษณะต้องห้ามเป็นตำรวจ ย้ำต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี.
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4776629
กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร. เรื่องลักษณะต้องห้ามเป็นตำรวจ ย้ำต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี
เมื่อวันที่ 6 กันยายน น.ส.
สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า กสม.ได้มีมติหยิบยกกรณี กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากพบว่ากฎ ก.ตร. ดังกล่าวได้กำหนดคุณสมบัติบางประการตามบัญชีโรคหรืออาการที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 27 วรรคสาม
ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2562 กสม. เคยมีรายงานผลการตรวจสอบที่ 413/2562 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2562 วินิจฉัยประเด็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามกฎ ก.ตร. ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้มีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และโรงพยาบาลตำรวจ ปรับปรุงแก้ไขแนวทางการตีความคำว่า “โรคเอดส์” และการติดเชื้อเอชไอวีในกฎ ก.ตร. รวมถึงปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน
แต่ ตร. และ ครม. ไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกำหนดคุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกับสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคห้า ได้ให้อำนาจในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรมของทหาร ตำรวจ
ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐไว้ ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ยังได้ออกกฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 (กฎ ก.ตร. 2566) โดยยังคงกำหนดให้โรคเอดส์และ/หรือการติดเชื้อเอชไอวีเป็นโรคหรืออาการที่เป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ กสม. จึงมีมติหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นพิจารณาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ
น.ส.
สุภัทรา กล่าวว่า จากการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนการศึกษาวิธีปฏิบัติทางสากลของประเทศต่าง ๆ พบว่า ปัจจุบันหากผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีให้มีค่า CD4 ในเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน กระทั่งกดเชื้อไวรัสเอชไอวีให้อยู่ในจุดที่ไม่สามารถตรวจจับหาเชื้อ หรือ “Undetectable” ได้ บุคคลผู้นั้นจะไม่แพร่เชื้อ (Untransmittable) และสามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนกับคนที่ไม่ติดเชื้อ ทั้งการทำงาน การเรียน และมีอายุยืนยาว หรือเรียกว่า U=U (Undetectable = Untransmittable หรือไม่เจอ=ไม่แพร่) อีกทั้งแนวปฏิบัติใหม่ขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการยับยั้งการแพร่ไวรัสเอชไอวีในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของปัจเจกชนและลดการแพร่เชื้อ
เมื่อปี 2566 ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์นิยามของคำว่า “Undetectable” ในทางการแพทย์ว่า หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในชุดทดสอบ จะมีความเสี่ยงเท่ากับร้อยละศูนย์ที่จะส่งต่อไวรัสเอชไอวีให้แก่คู่นอน รวมถึงมีความเสี่ยงต่ำมากที่จะส่งต่อไวรัสเอชไอวีให้แก่บุตรทางน้ำนม หรือแม้แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเชื้อไวรัสอยู่ระดับที่ “Suppressed” (มีการตรวจพบไวรัสเอชไอวีในเลือด แต่อยู่ระดับที่เท่ากับหรือต่ำกว่า 1,000 ตัว/มิลลิลิตร) ยังมีความเสี่ยงต่ำมากที่จะถ่ายทอดไวรัสเอชไอวีให้แก่คู่นอนหรือบุตรทางน้ำนมเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้กินยาอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่อยู่ในภาวะ U=U แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำที่จะแพร่เชื้อเอชไอวีให้แก่ผู้อื่น ซึ่งปัจจุบันในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่เป็นการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยนำหลักการดังกล่าวมาพัฒนาเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือกฎการรับสมัครบุคลากรเข้าร่วมกองทัพหรือการเป็นตำรวจ
น.ส.
สุภัทรา กล่าวต่อว่า กสม. จึงเห็นว่า แม้การจำกัดสิทธิของบุคคลไม่ให้เข้ารับราชการตำรวจเพราะเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาจถูกยกเว้นได้ตามมาตรา 27 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุของสมรรถภาพการเป็นข้าราชการตำรวจ ตามนัยที่ปรากฏในแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ปฏิบัติต่อข้าราชการที่ติดเชื้อเอชไอวี จะเห็นได้ว่า ตร. ไม่ได้นำประเด็นสมรรถภาพมาใช้พิจารณาในการสลับสับเปลี่ยน โยกย้าย หรือพิจารณาให้ออกจากราชการแต่อย่างใด ย่อมแสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้ส่งผลต่อสมรรถนะวินัยตามที่ได้กล่าวอ้าง ตลอดจนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติทางต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังก็แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย หรือสุขภาพอย่างมีนัยยะสำคัญ
น.ส.
สุภัทรา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กสม. เห็นว่า การจำกัดสิทธิเสรีภาพ ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ รวมทั้งต้องไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ การนำเหตุแห่งการจำกัดสิทธิมาใช้จึงต้องมีเหตุผลที่มากเพียงพอและหลีกเลี่ยงมิได้ แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงอันอาจทำให้เปลี่ยนแปลงเหตุแห่งการจำกัดสิทธิและเสรีภาพนั้น ก็ต้องนำเหตุดังกล่าวมาพิจารณาใหม่ด้วย ดังนั้น การเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันจึงไม่อาจนำมากำหนดเป็นข้อยกเว้นของการเลือกปฏิบัติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคห้า นอกจากนี้ การที่หน่วยงานราชการนำเหตุแห่งสมรรถภาพมาใช้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อันก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งสุขภาพหรือสภาพร่างกาย และไม่นำปัจจัยอื่นมาพิจารณาประกอบกัน ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังขาดกฎหมายกลางในการคุ้มครองบุคคลจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่าง ๆ ด้วย
“
ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเห็นควรให้มีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ พิจารณายกเลิกคำว่าโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในบัญชีโรค อาการ ภาวะอื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ ตามข้อ 2 (14) แนบท้ายกฎ ก.ตร.ฯ รวมทั้งห้ามมิให้มีการกำหนดนโยบายโยกย้ายข้าราชการตำรวจผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือมีการสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการ หรือไล่ออกจากราชการ ด้วยเหตุแห่งการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาปรับปรุงกฎ ก.ตร. 2566 รวมไปถึงบัญชีโรค อาการ ภาวะอื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ ตามข้อ 2 (14) แนบท้ายกฎ ก.ตร.ฯ ให้สอดคล้องกัน ตลอดจนให้เร่งพิจารณาลงนามรับรองกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ฉบับของประชาชน เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …. ที่จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรม เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภา ทั้งนี้ ให้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพและการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย”
กำลังซื้อแผ่ว-พลังงานลด ฉุดเงินเฟ้อส.ค.เหลือ 0.35% คาดทั้งปีต่ำกว่า 1%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4776527
กำลังซื้อแผ่ว-พลังงานลด ฉุดเงินเฟ้อส.ค.เหลือ 0.35% คาดทั้งปีต่ำกว่า 1%
เมื่อวันที่ 6 กันยายน Krungthai COMPASS ได้ออกบทวิเคราะห์เรื่อง อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2567 ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. อยู่ที่ 0.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ 0.83% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาหมวดพลังงานที่กลับมาหดตัว 3.10%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินที่ปรับลดลง สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับ ราคาสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม และของใช้ส่วนบุคคล ยังหดตัวต่อเนื่อง
ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 8 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 0.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มอ่อนแอต่อเนื่อง จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 49.5 ถือเป็นระดับไม่เชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปโดยเฉลี่ยทั้งปี 2567 มีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายที่ 1%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในทิศทางที่แผ่วลง โดยตัวเลขเดือน ส.ค. ลดสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน อีกทั้งยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1% ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ราคาที่แผ่วลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลงของราคาพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งสอดคล้องกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับตัวลงของราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและเคหสถานเป็นสำคัญ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 25% ของตะกร้าเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง เครื่องใช้ส่วนบุคคลภายในบ้าน สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแรง
JJNY : หนีน้ำ! ท่วมซ้ำซาก ทิ้งบ้าน-หาที่ดินปลูกใหม่│กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร.│เงินเฟ้อส.ค.เหลือ 0.35%│อังกฤษเตรียมส่งขีปนาวุธ
https://www.dailynews.co.th/news/3833577/
ชาวบ้านเมืองกรุงเก่า เตรียมรับน้ำ เร่งซ่อมเรือเก่า ใช้ขนของ สัญจรแทนรถ ชี้ต้องทนรับสภาพทุกปี ขณะที่บางรายมีเงิน ไม่ทน ยอมทิ้ง รื้อ บ้านไปปลูกใหม่บนพื้นที่สูง เซ่นท่วมซ้ำซาก
เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม ใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ระดับน้ำในคลองสาขาต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นด้วย เริ่มส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านหลายครอบครัว ถูกน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น ท่วมในชุมชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ต้องใช้เรือสัญจรในการเดินทางเข้าออกภายในชุมชน
นายสนธยา ไม้อบเชย ชาวบ้าน หมู่ 1 ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บ้านพักและชุมชนอยู่ติดกับแม่น้ำน้อย ที่ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมใต้ถุนบ้านยกพื้นสูง ต้องเร่งยาเรือไม้ และเรือขุดโบราณอายุกว่า 80 ปี ที่ใช้สืบทอดต่อกันมาชั่วอายุคน ไว้ใช้สัญจรเข้าออกจากบ้าน
นายสนธยา บอกว่า จะถูกน้ำท่วมมากน้อยทุกปีต่างกันไป เคยหนักสาหัสมากสุดเป็นปี 2554 ท่วมจนไม่สามารถอยู่ภายในบ้านได้ เวลาน้ำท่วมการใช้ชีวิตจะลำบาก น้ำมาขนของเก็บของขึ้นบ้านหนีน้ำ พายเรือเข้าออกจากบ้านฝ่ากระแสน้ำที่ไหลแรง เพื่อไปทำงาน ถ้าท่วมหนักมากๆ ต้องเช่าหอพักอยู่เพราะกว่าจะพายเรือกว่าจะเดินทางไปถึงมันลำบาก บ้านได้รับความเสียหายกันทุกปีต้องมาซ่อมแซมกัน
นายสนธยา เล่าอีกว่า ในหมู่บ้านของตน ขณะนี้หลายครอบครัวที่พอมีที่ทางมีเงิน เลยยอมทิ้งบ้าน รื้อบ้านไปหาซื้อที่ดินปลูกบ้านที่ใหม่ ในพื้นที่สูงไม่ถูกน้ำท่วม เพราะทนรับสภาพกันไม่ไหว ที่ต้องมาซ่อมแซมบ้าน ขนของหนีน้ำท่วมอยู่ทุกปี ส่วนครอบครัวของตนอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่มีเงินไม่มีที่ดิน จึงไม่ย้ายไปไหน น้ำท่วมรอบหนึ่ง ก็เอาเรือออกมาใช้ออกมายาเรือซ่อมแซมเรือใช้แทนรถ
กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร. เรื่องลักษณะต้องห้ามเป็นตำรวจ ย้ำต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี.
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4776629
กสม. ชงแก้กฎ ก.ตร. เรื่องลักษณะต้องห้ามเป็นตำรวจ ย้ำต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี
เมื่อวันที่ 6 กันยายน น.ส.สุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า กสม.ได้มีมติหยิบยกกรณี กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากพบว่ากฎ ก.ตร. ดังกล่าวได้กำหนดคุณสมบัติบางประการตามบัญชีโรคหรืออาการที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 27 วรรคสาม
ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2562 กสม. เคยมีรายงานผลการตรวจสอบที่ 413/2562 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2562 วินิจฉัยประเด็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามกฎ ก.ตร. ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้มีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และโรงพยาบาลตำรวจ ปรับปรุงแก้ไขแนวทางการตีความคำว่า “โรคเอดส์” และการติดเชื้อเอชไอวีในกฎ ก.ตร. รวมถึงปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน
แต่ ตร. และ ครม. ไม่ได้ดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกำหนดคุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกับสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคห้า ได้ให้อำนาจในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรมของทหาร ตำรวจ
ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐไว้ ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 คณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ ยังได้ออกกฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 (กฎ ก.ตร. 2566) โดยยังคงกำหนดให้โรคเอดส์และ/หรือการติดเชื้อเอชไอวีเป็นโรคหรืออาการที่เป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ กสม. จึงมีมติหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นพิจารณาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ
น.ส.สุภัทรา กล่าวว่า จากการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนการศึกษาวิธีปฏิบัติทางสากลของประเทศต่าง ๆ พบว่า ปัจจุบันหากผู้ติดเชื้อเอชไอวีกินยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีให้มีค่า CD4 ในเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน กระทั่งกดเชื้อไวรัสเอชไอวีให้อยู่ในจุดที่ไม่สามารถตรวจจับหาเชื้อ หรือ “Undetectable” ได้ บุคคลผู้นั้นจะไม่แพร่เชื้อ (Untransmittable) และสามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนกับคนที่ไม่ติดเชื้อ ทั้งการทำงาน การเรียน และมีอายุยืนยาว หรือเรียกว่า U=U (Undetectable = Untransmittable หรือไม่เจอ=ไม่แพร่) อีกทั้งแนวปฏิบัติใหม่ขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการยับยั้งการแพร่ไวรัสเอชไอวีในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของปัจเจกชนและลดการแพร่เชื้อ
เมื่อปี 2566 ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์นิยามของคำว่า “Undetectable” ในทางการแพทย์ว่า หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในชุดทดสอบ จะมีความเสี่ยงเท่ากับร้อยละศูนย์ที่จะส่งต่อไวรัสเอชไอวีให้แก่คู่นอน รวมถึงมีความเสี่ยงต่ำมากที่จะส่งต่อไวรัสเอชไอวีให้แก่บุตรทางน้ำนม หรือแม้แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเชื้อไวรัสอยู่ระดับที่ “Suppressed” (มีการตรวจพบไวรัสเอชไอวีในเลือด แต่อยู่ระดับที่เท่ากับหรือต่ำกว่า 1,000 ตัว/มิลลิลิตร) ยังมีความเสี่ยงต่ำมากที่จะถ่ายทอดไวรัสเอชไอวีให้แก่คู่นอนหรือบุตรทางน้ำนมเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้กินยาอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่อยู่ในภาวะ U=U แต่ก็มีความเสี่ยงต่ำที่จะแพร่เชื้อเอชไอวีให้แก่ผู้อื่น ซึ่งปัจจุบันในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่เป็นการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยนำหลักการดังกล่าวมาพัฒนาเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือกฎการรับสมัครบุคลากรเข้าร่วมกองทัพหรือการเป็นตำรวจ
น.ส.สุภัทรา กล่าวต่อว่า กสม. จึงเห็นว่า แม้การจำกัดสิทธิของบุคคลไม่ให้เข้ารับราชการตำรวจเพราะเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาจถูกยกเว้นได้ตามมาตรา 27 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุของสมรรถภาพการเป็นข้าราชการตำรวจ ตามนัยที่ปรากฏในแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ปฏิบัติต่อข้าราชการที่ติดเชื้อเอชไอวี จะเห็นได้ว่า ตร. ไม่ได้นำประเด็นสมรรถภาพมาใช้พิจารณาในการสลับสับเปลี่ยน โยกย้าย หรือพิจารณาให้ออกจากราชการแต่อย่างใด ย่อมแสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้ส่งผลต่อสมรรถนะวินัยตามที่ได้กล่าวอ้าง ตลอดจนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติทางต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังก็แสดงให้เห็นว่าการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย หรือสุขภาพอย่างมีนัยยะสำคัญ
น.ส.สุภัทรา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กสม. เห็นว่า การจำกัดสิทธิเสรีภาพ ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ รวมทั้งต้องไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ การนำเหตุแห่งการจำกัดสิทธิมาใช้จึงต้องมีเหตุผลที่มากเพียงพอและหลีกเลี่ยงมิได้ แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงอันอาจทำให้เปลี่ยนแปลงเหตุแห่งการจำกัดสิทธิและเสรีภาพนั้น ก็ต้องนำเหตุดังกล่าวมาพิจารณาใหม่ด้วย ดังนั้น การเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันจึงไม่อาจนำมากำหนดเป็นข้อยกเว้นของการเลือกปฏิบัติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคห้า นอกจากนี้ การที่หน่วยงานราชการนำเหตุแห่งสมรรถภาพมาใช้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อันก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งสุขภาพหรือสภาพร่างกาย และไม่นำปัจจัยอื่นมาพิจารณาประกอบกัน ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังขาดกฎหมายกลางในการคุ้มครองบุคคลจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่าง ๆ ด้วย
“ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเห็นควรให้มีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ พิจารณายกเลิกคำว่าโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในบัญชีโรค อาการ ภาวะอื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ ตามข้อ 2 (14) แนบท้ายกฎ ก.ตร.ฯ รวมทั้งห้ามมิให้มีการกำหนดนโยบายโยกย้ายข้าราชการตำรวจผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือมีการสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการ หรือไล่ออกจากราชการ ด้วยเหตุแห่งการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาปรับปรุงกฎ ก.ตร. 2566 รวมไปถึงบัญชีโรค อาการ ภาวะอื่นใด หรือมีลักษณะต้องห้าม ที่ไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ ตามข้อ 2 (14) แนบท้ายกฎ ก.ตร.ฯ ให้สอดคล้องกัน ตลอดจนให้เร่งพิจารณาลงนามรับรองกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ฉบับของประชาชน เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. …. ที่จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรม เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภา ทั้งนี้ ให้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสุขภาพและการเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย”
กำลังซื้อแผ่ว-พลังงานลด ฉุดเงินเฟ้อส.ค.เหลือ 0.35% คาดทั้งปีต่ำกว่า 1%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4776527
กำลังซื้อแผ่ว-พลังงานลด ฉุดเงินเฟ้อส.ค.เหลือ 0.35% คาดทั้งปีต่ำกว่า 1%
เมื่อวันที่ 6 กันยายน Krungthai COMPASS ได้ออกบทวิเคราะห์เรื่อง อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2567 ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. อยู่ที่ 0.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ 0.83% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาหมวดพลังงานที่กลับมาหดตัว 3.10%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินที่ปรับลดลง สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับ ราคาสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม และของใช้ส่วนบุคคล ยังหดตัวต่อเนื่อง
ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 8 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 0.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มอ่อนแอต่อเนื่อง จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของกระทรวงพาณิชย์ล่าสุดในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 49.5 ถือเป็นระดับไม่เชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปโดยเฉลี่ยทั้งปี 2567 มีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายที่ 1%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในทิศทางที่แผ่วลง โดยตัวเลขเดือน ส.ค. ลดสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน อีกทั้งยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1% ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ราคาที่แผ่วลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลงของราคาพลังงานตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งสอดคล้องกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับตัวลงของราคาสินค้าในหมวดเครื่องนุ่งห่มและเคหสถานเป็นสำคัญ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 25% ของตะกร้าเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง เครื่องใช้ส่วนบุคคลภายในบ้าน สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแรง