ศิริกัญญา โวยรัฐบาล ชักดาบ 5 ธนาคาร กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท หวังใช้ทำ ดิจิทัลวอลเล็ต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4770845
‘ศิริกัญญา’ จวก ‘รัฐบาล’ ชักดาบ 5 ธนาคาร กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท หวังใช้ทำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ชี้ หากยังไม่ชัดเจน สภาไม่ควรอนุมัติ แนะให้รอก่อนแล้วค่อยออกเป็น พ.ร.บ.โอนงบ เพื่อแจกให้ครบ 45 ล้านคน
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 กันยายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่สองเป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ.2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท ปรับลด 7,824,398,500 บาท โดยเป็นการพิจารณาเรียงรายมาตรา
จากนั้นเวลา 11.45 น. เข้าสู่การพิจารณามาตรา 6 งบกลาง โดย น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อยขอสงวนความเห็น อภิปรายว่า ตนขอปรับลดงบประมาณลง 1.52 แสนล้านบาท โดยในมาตรานี้มีงบประมาณเพิ่มเติม 1.8 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงรายการจากการใช้หนี้ธนาคารรัฐ 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ตนขอตัดเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ อีก 3.5 หมื่นล้านบาท ขอให้นำกลับไปชำระหนี้ของธนาคารของรัฐตามเดิม
ด้วยเหตุผลว่า เราทราบดีว่างบประมาณในส่วนการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจที่งอกขึ้นมา ถูกนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตอนนี้มีความชัดเจนมากขึ้นหลังเปลี่ยนรัฐบาลว่าในเฟสแรก จะเปลี่ยนจากดิจิทัลวอลเล็ตเป็นเงินสด ไปแล้ว 14.5 ล้านคน ซึ่งใช้งบประมาณในปี 2567 กว่า 1.45 แสนล้านบาท
โดยมาจาก 2 ส่วนคือ พ.ร.บ.เพิ่มเติมงบประมาณปี 2567 จำนวน 1.22 แสนล้านบาท และอีกก้อนคือใช้งบกลางอีกประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท เราควรจะเลิกเรียกว่าดิจิทัลวอลเล็ตได้แล้ว เพราะไม่มีดิจิทัลและวอลเล็ตแล้ว
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังต้องหาเงินมาอีก 3.05 แสนล้านบาท ซึ่งวันนี้ยังไม่มีความชัดเจน แต่เข้าใจว่าวันนี้ยังไม่มีรัฐบาล ยังไม่มีการถวายสัตย์ฯ ยังไม่มีการแถลงนโยบาย ดังนั้น เราจึงไม่มีทางรู้ว่าเงินก้อนที่เหลือจะแจกผ่านดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่ หรือจะแจกเป็นเงินสด จะแจกเท่าไหร่ เมื่อไหร่
ดังนั้น จึงไม่รู้ว่าเราจะมาพิจารณางบประมาณเพื่ออนุมัติก้อนนี้ไปเพื่ออะไร แต่หากจะทำให้ได้ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เคยพูดไว้ เราต้องการเงินเพิ่มอีก 3.05 แสนล้านบาท วันนี้ที่เราพิจารณากันอยู่มีงบประมาณที่เราพิจารณาไว้ตั้งแต่วาระ 1 จำนวน 1.52 แสนล้านบาท อยู่ในกระเป๋า อีกก้อนมาจากการเบี้ยวหนี้ ชักดาบธนาคารรัฐ 3.5 หมื่นล้านบาท
“
เรียกว่าหน้ามืดแล้ว มีเงินตรงไหนเหลือก็ขอไปล้วง ไปควักออกมาให้หมด แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ครบ 3.05 แสนล้านบาทอยู่ดี ยังขาดอีก 1.17 แสนล้านบาท เท่ากับคน 12 ล้านคน ที่ตอนนี้ยังหน้าสิ่วหน้าขวานว่าจะหาเงินจากที่ไหนมาจ่ายให้ประชาชนจนครบ ซึ่งหากยังไม่ครบแล้วท่านจะไปตัดงบธนาคารแห่งรัฐมาก่อนทำไม หลายโครงการเป็นโครงการที่มีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เช่น โครงการจำนำสินค้าเกษตรปี 2552 โครงการประกันรายได้ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี
รวมถึงตัดงบของธนาคารออมสิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการที่ใช้ในโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ตัดนิดตัดหน่อยก็จะเอา เพื่อรวมเงินให้ได้ แต่ก็รวมได้แค่ 3.5 หมื่นล้านบาท และเป็นงบที่มาอย่างประหลาด เพราะในชั้นอนุ กมธ.ฯ ก็ไม่มีอนุฯ ไหนตัด เพื่อรวมเงินนำไปใช้ในโครงการเติมเงิน ทั้งนี้ ที่ปรับลดนั้นลอยมาหลังจากที่อนุกมธ.พิจารณาเสร็จสิ้น ในคราวที่ ครม.มีมติให้โอนเงินเพื่อใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า สภาไม่จำเป็นต้องเห็นชอบเงินจำนวน 1.2 แสนล้านบาทเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใช่หรือไม่ และเงินที่จะใช้ก็ยังมีไม่เพียงพอ ฉะนั้น ตนจึงมีข้อเสนอว่าควรรอให้มีการแถลงนโยบายให้จบก่อน แล้วค่อยมาออกเป็น พ.ร.บ.โอนงบประมาณ ก็ยังทัน เพราะยังมีเวลา ให้ประชาชนรอมาได้ปีกว่า ให้รออีกหน่อย เพื่อให้รัฐบาลไปออกร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณ โดยตัดงบกระทรวงของพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อใช้ดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อแจกให้ครบ 45 ล้านคน
‘ส.ว.พันธุ์ใหม่’ โวย เสียงข้างมากกินรวบ ตั้งกมธ. 21 ชุด พ้อถูกมองข้าม ทำงานยากตั้งแต่เริ่มต้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4770969
‘ส.ว.พันธุ์ใหม่’ โวย เสียงข้างมากกินรวบ ตั้งกมธ. 21 ชุด พ้อถูกมองข้าม ทำงานยากตั้งแต่เริ่มต้น
เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 3 กันยายน ที่รัฐสภา น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ ที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบการแก้ไขข้อบังคับการประชุมและกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำวุฒิสภา 21 คณะ จากเดิมมี 26 คณะ
น.ส.
นันทนากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีข้อเสนอในการที่จะยกร่างข้อบังคับการประชุมว่าด้วย กมธ. ที่มีผู้ยกร่างทั้งสิ้น 5 ร่าง ซึ่ง 4 ร่างเป็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย และเราตั้งใจที่จะเสนอร่างนี้เข้าไป และข้อตกลงในการที่จะนำร่างนี้เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา โดยนำร่างของเสียงข้างมากเป็นร่างหลัก แต่ปรากฏว่าทั้ง 4 ร่างถูกตีตก จึงเหลือร่างหลักของเสียงข้างมากเพียงร่างเดียว ซึ่งมีการเปิดให้แปรญัตติ และใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วัน แต่เมื่อวานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แม้แต่คำเดียว จึงมีความรู้สึกว่าเสียงของวุฒิสมาชิกเสียงข้างน้อยไม่มีความสำคัญ และไม่มีการเคารพ ตกลงแล้วกันมาทำงานในสภา เราไม่สามารถผลักดันอะไรได้เลย แม้จะมีข้อตกลงเพื่อลงมติร่วมกันแต่ถึงเวลาก็ใช้เสียงข้างมากในการลงมติ
เมื่อถามว่า ส.ว.เสียงข้างน้อยจะทำงานยากหรือไม่ น.ส.
นันทนากล่าวว่า ยากลำบากมาตั้งแต่ต้นที่เรามีจำนวนน้อยเกินกว่าที่เราจะไปชนะในมติใดๆ ได้ แต่ก็ยังคิดว่า ส.ว.เป็นผู้ที่มาจากอาชีพที่หลากหลายและการเข้ามาร่วมเข้ามาทำงานต้องมีเสียงข้างมากหรือข้างน้อย และควรให้กลุ่มอาชีพได้แสดงความรู้ความสามารถผลักดันวาระ แต่สุดท้ายเราไม่ได้เห็นความหลากหลายตรงนี้ ถือเป็นเรื่องยากที่จะผลักดันวาระต่อไป ไม่ต้องพูดถึงการแก้รัฐธรรมนูญ
“
เราคงทำได้แค่ส่งเสียง ให้สื่อมวลชนสื่อสารไปยังประชาชนว่าเราพยายามเต็มที่แล้ว” น.ส.
นันทนากล่าว
เมื่อถามว่า หากเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เรื่องที่ ส.ว.เสียงข้างน้อยอยากผลักดัน จะไม่สำเร็จเลยใช่หรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น เราได้เสนอญัตติน้ำท่วม ซึ่งคนทั่วไปเขาเห็นความเดือดร้อน เป็นญัตติของเสียงข้างน้อยก็ไม่ได้รับการบรรจุ กว่าจะบรรจุน้ำก็คงลดไปแล้ว
น.ส.
นันทนากล่าวว่า เราคงได้ยินมาแล้วว่าจะมีประธาน กมธ.จากสีน้ำเงิน 21 เก้าอี้ ต้องถามประชาชนว่าเห็นชอบหรือไม่ เสียงข้างมากไม่ได้แปลว่าจะต้องกินรวบทั้งหมด หรือจะได้เป็นประธาน กมธ.ทุกคณะ ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งประธาน กมธ.ควรเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถตรงกับภาระหน้าที่ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อรับผลประโยชน์ มีห้องทำงาน หรือขอเครื่องราชฯ ได้ เพราะประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
ปภ.เตือน 10 จว.ภาคกลาง-กทม. เฝ้าระวังเจ้าพระยาเพิ่มสูง ตั้งแต่ 5 ก.ย. ให้ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9394323
ปภ.เตือน 10 จว.ภาคกลาง-กทม. เฝ้าระวังเจ้าพระยาเพิ่มสูง ตั้งแต่ 5 ก.ย. ให้ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำและแนวป้องกันน้ำท่วมให้มีความแข็งแรง
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.67 นาย
ไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รับแจ้งจากกรมชลประทาน ว่า ในช่วงวันที่ 3–9 ก.ย. ร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้
จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำล่วงหน้า 1 – 7 วันข้างหน้า พบว่าปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในวันที่ 9 ก.ย. ที่สถานี C.2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขา ประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณ 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบกรมชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง ในอัตรา 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทำให้มีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 1,400 – 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.25 – 0.40 เมตร และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.เป็นต้นไป
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) จึงได้ประสาน 10 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่
อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และ
สมุทรปราการ รวมถึง
กรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ
พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะ ตลอดจนประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมถึงเตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม
นอกจากนี้ยังได้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำและแนวป้องกันน้ำท่วมให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันระดับน้ำล้นข้ามแนวคันกั้นน้ำ อีกทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับประชาชน ขอให้ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น และหากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ ทางไลน์ “
ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “
THAI DISASTER ALERT” ทุกที่ ทุกเวลา
JJNY : ศิริกัญญาโวยชักดาบ 5 ธนาคาร│‘ส.ว.พันธุ์ใหม่’พ้อถูกมองข้าม│ปภ.เตือน 10 จว.กลาง-กทม.│ญี่ปุ่นเผชิญ “ฤดูร้อนระอุ”
https://www.matichon.co.th/politics/news_4770845
‘ศิริกัญญา’ จวก ‘รัฐบาล’ ชักดาบ 5 ธนาคาร กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท หวังใช้ทำ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ ชี้ หากยังไม่ชัดเจน สภาไม่ควรอนุมัติ แนะให้รอก่อนแล้วค่อยออกเป็น พ.ร.บ.โอนงบ เพื่อแจกให้ครบ 45 ล้านคน
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 กันยายน ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่สองเป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ.2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท ปรับลด 7,824,398,500 บาท โดยเป็นการพิจารณาเรียงรายมาตรา
จากนั้นเวลา 11.45 น. เข้าสู่การพิจารณามาตรา 6 งบกลาง โดย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อยขอสงวนความเห็น อภิปรายว่า ตนขอปรับลดงบประมาณลง 1.52 แสนล้านบาท โดยในมาตรานี้มีงบประมาณเพิ่มเติม 1.8 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงรายการจากการใช้หนี้ธนาคารรัฐ 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ตนขอตัดเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ อีก 3.5 หมื่นล้านบาท ขอให้นำกลับไปชำระหนี้ของธนาคารของรัฐตามเดิม
ด้วยเหตุผลว่า เราทราบดีว่างบประมาณในส่วนการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจที่งอกขึ้นมา ถูกนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตอนนี้มีความชัดเจนมากขึ้นหลังเปลี่ยนรัฐบาลว่าในเฟสแรก จะเปลี่ยนจากดิจิทัลวอลเล็ตเป็นเงินสด ไปแล้ว 14.5 ล้านคน ซึ่งใช้งบประมาณในปี 2567 กว่า 1.45 แสนล้านบาท
โดยมาจาก 2 ส่วนคือ พ.ร.บ.เพิ่มเติมงบประมาณปี 2567 จำนวน 1.22 แสนล้านบาท และอีกก้อนคือใช้งบกลางอีกประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท เราควรจะเลิกเรียกว่าดิจิทัลวอลเล็ตได้แล้ว เพราะไม่มีดิจิทัลและวอลเล็ตแล้ว
น.ส.ศิริกัญญากล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังต้องหาเงินมาอีก 3.05 แสนล้านบาท ซึ่งวันนี้ยังไม่มีความชัดเจน แต่เข้าใจว่าวันนี้ยังไม่มีรัฐบาล ยังไม่มีการถวายสัตย์ฯ ยังไม่มีการแถลงนโยบาย ดังนั้น เราจึงไม่มีทางรู้ว่าเงินก้อนที่เหลือจะแจกผ่านดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่ หรือจะแจกเป็นเงินสด จะแจกเท่าไหร่ เมื่อไหร่
ดังนั้น จึงไม่รู้ว่าเราจะมาพิจารณางบประมาณเพื่ออนุมัติก้อนนี้ไปเพื่ออะไร แต่หากจะทำให้ได้ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เคยพูดไว้ เราต้องการเงินเพิ่มอีก 3.05 แสนล้านบาท วันนี้ที่เราพิจารณากันอยู่มีงบประมาณที่เราพิจารณาไว้ตั้งแต่วาระ 1 จำนวน 1.52 แสนล้านบาท อยู่ในกระเป๋า อีกก้อนมาจากการเบี้ยวหนี้ ชักดาบธนาคารรัฐ 3.5 หมื่นล้านบาท
“เรียกว่าหน้ามืดแล้ว มีเงินตรงไหนเหลือก็ขอไปล้วง ไปควักออกมาให้หมด แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ครบ 3.05 แสนล้านบาทอยู่ดี ยังขาดอีก 1.17 แสนล้านบาท เท่ากับคน 12 ล้านคน ที่ตอนนี้ยังหน้าสิ่วหน้าขวานว่าจะหาเงินจากที่ไหนมาจ่ายให้ประชาชนจนครบ ซึ่งหากยังไม่ครบแล้วท่านจะไปตัดงบธนาคารแห่งรัฐมาก่อนทำไม หลายโครงการเป็นโครงการที่มีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เช่น โครงการจำนำสินค้าเกษตรปี 2552 โครงการประกันรายได้ สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี
รวมถึงตัดงบของธนาคารออมสิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการที่ใช้ในโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ตัดนิดตัดหน่อยก็จะเอา เพื่อรวมเงินให้ได้ แต่ก็รวมได้แค่ 3.5 หมื่นล้านบาท และเป็นงบที่มาอย่างประหลาด เพราะในชั้นอนุ กมธ.ฯ ก็ไม่มีอนุฯ ไหนตัด เพื่อรวมเงินนำไปใช้ในโครงการเติมเงิน ทั้งนี้ ที่ปรับลดนั้นลอยมาหลังจากที่อนุกมธ.พิจารณาเสร็จสิ้น ในคราวที่ ครม.มีมติให้โอนเงินเพื่อใช้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต” น.ส.ศิริกัญญากล่าว
น.ส.ศิริกัญญากล่าวด้วยว่า สภาไม่จำเป็นต้องเห็นชอบเงินจำนวน 1.2 แสนล้านบาทเพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใช่หรือไม่ และเงินที่จะใช้ก็ยังมีไม่เพียงพอ ฉะนั้น ตนจึงมีข้อเสนอว่าควรรอให้มีการแถลงนโยบายให้จบก่อน แล้วค่อยมาออกเป็น พ.ร.บ.โอนงบประมาณ ก็ยังทัน เพราะยังมีเวลา ให้ประชาชนรอมาได้ปีกว่า ให้รออีกหน่อย เพื่อให้รัฐบาลไปออกร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณ โดยตัดงบกระทรวงของพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อใช้ดิจิทัลวอลเล็ต เพื่อแจกให้ครบ 45 ล้านคน
‘ส.ว.พันธุ์ใหม่’ โวย เสียงข้างมากกินรวบ ตั้งกมธ. 21 ชุด พ้อถูกมองข้าม ทำงานยากตั้งแต่เริ่มต้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4770969
‘ส.ว.พันธุ์ใหม่’ โวย เสียงข้างมากกินรวบ ตั้งกมธ. 21 ชุด พ้อถูกมองข้าม ทำงานยากตั้งแต่เริ่มต้น
เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 3 กันยายน ที่รัฐสภา น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ ที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบการแก้ไขข้อบังคับการประชุมและกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำวุฒิสภา 21 คณะ จากเดิมมี 26 คณะ
น.ส.นันทนากล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้มีข้อเสนอในการที่จะยกร่างข้อบังคับการประชุมว่าด้วย กมธ. ที่มีผู้ยกร่างทั้งสิ้น 5 ร่าง ซึ่ง 4 ร่างเป็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย และเราตั้งใจที่จะเสนอร่างนี้เข้าไป และข้อตกลงในการที่จะนำร่างนี้เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา โดยนำร่างของเสียงข้างมากเป็นร่างหลัก แต่ปรากฏว่าทั้ง 4 ร่างถูกตีตก จึงเหลือร่างหลักของเสียงข้างมากเพียงร่างเดียว ซึ่งมีการเปิดให้แปรญัตติ และใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วัน แต่เมื่อวานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แม้แต่คำเดียว จึงมีความรู้สึกว่าเสียงของวุฒิสมาชิกเสียงข้างน้อยไม่มีความสำคัญ และไม่มีการเคารพ ตกลงแล้วกันมาทำงานในสภา เราไม่สามารถผลักดันอะไรได้เลย แม้จะมีข้อตกลงเพื่อลงมติร่วมกันแต่ถึงเวลาก็ใช้เสียงข้างมากในการลงมติ
เมื่อถามว่า ส.ว.เสียงข้างน้อยจะทำงานยากหรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า ยากลำบากมาตั้งแต่ต้นที่เรามีจำนวนน้อยเกินกว่าที่เราจะไปชนะในมติใดๆ ได้ แต่ก็ยังคิดว่า ส.ว.เป็นผู้ที่มาจากอาชีพที่หลากหลายและการเข้ามาร่วมเข้ามาทำงานต้องมีเสียงข้างมากหรือข้างน้อย และควรให้กลุ่มอาชีพได้แสดงความรู้ความสามารถผลักดันวาระ แต่สุดท้ายเราไม่ได้เห็นความหลากหลายตรงนี้ ถือเป็นเรื่องยากที่จะผลักดันวาระต่อไป ไม่ต้องพูดถึงการแก้รัฐธรรมนูญ
“เราคงทำได้แค่ส่งเสียง ให้สื่อมวลชนสื่อสารไปยังประชาชนว่าเราพยายามเต็มที่แล้ว” น.ส.นันทนากล่าว
เมื่อถามว่า หากเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เรื่องที่ ส.ว.เสียงข้างน้อยอยากผลักดัน จะไม่สำเร็จเลยใช่หรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น เราได้เสนอญัตติน้ำท่วม ซึ่งคนทั่วไปเขาเห็นความเดือดร้อน เป็นญัตติของเสียงข้างน้อยก็ไม่ได้รับการบรรจุ กว่าจะบรรจุน้ำก็คงลดไปแล้ว
น.ส.นันทนากล่าวว่า เราคงได้ยินมาแล้วว่าจะมีประธาน กมธ.จากสีน้ำเงิน 21 เก้าอี้ ต้องถามประชาชนว่าเห็นชอบหรือไม่ เสียงข้างมากไม่ได้แปลว่าจะต้องกินรวบทั้งหมด หรือจะได้เป็นประธาน กมธ.ทุกคณะ ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งประธาน กมธ.ควรเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถตรงกับภาระหน้าที่ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อรับผลประโยชน์ มีห้องทำงาน หรือขอเครื่องราชฯ ได้ เพราะประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
ปภ.เตือน 10 จว.ภาคกลาง-กทม. เฝ้าระวังเจ้าพระยาเพิ่มสูง ตั้งแต่ 5 ก.ย. ให้ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_9394323
ปภ.เตือน 10 จว.ภาคกลาง-กทม. เฝ้าระวังเจ้าพระยาเพิ่มสูง ตั้งแต่ 5 ก.ย. ให้ย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำและแนวป้องกันน้ำท่วมให้มีความแข็งแรง
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.67 นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รับแจ้งจากกรมชลประทาน ว่า ในช่วงวันที่ 3–9 ก.ย. ร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้
จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำล่วงหน้า 1 – 7 วันข้างหน้า พบว่าปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในวันที่ 9 ก.ย. ที่สถานี C.2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขา ประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณ 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบกรมชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง ในอัตรา 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทำให้มีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 1,400 – 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.25 – 0.40 เมตร และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย.เป็นต้นไป
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) จึงได้ประสาน 10 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และ สมุทรปราการ รวมถึง กรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ
พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ท่าเทียบเรือโดยสารสาธารณะ ตลอดจนประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมถึงเตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม
นอกจากนี้ยังได้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำและแนวป้องกันน้ำท่วมให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันระดับน้ำล้นข้ามแนวคันกั้นน้ำ อีกทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับประชาชน ขอให้ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น และหากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” ทุกที่ ทุกเวลา