วันคุซึโมจิ 2 กันยายน (Kuzumochi Day) หนึ่งในขนมหมักดองของญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
#OnThisDay
ขนมที่เหมาะกับช่วงหน้าร้อน ในวันอากาศร้อนของชาวญี่ปุ่นนั้น จะมีอีกหนึ่งเมนูขนมชอบกินกันคือ คุซึโมจิ ที่ทำมาจากแป้งข้าวสาลีหมัก และด้วยเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ดึ่ง ดึ๋ง นี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวญี่ปุ่น ซึ่งถูกทำมาตั้งแต่สมัยเอโดะแล้ว
.
ขนม คุซึโมจิ นี้กล่าวกันว่าอ่อนโยนต่อร่างกาย ถูกบ่มโดยการหมักอย่างช้าๆ เป็นระยะเวลากว่า 450 วัน ซึ่งเป็นกรรมวิธีการทำในอดีต ที่ปราศจากสารเติมแต่งใดๆ ได้รสชาติตามธรรมชาติมาก ทำให้อายุการเก็บรักษาจึงสั้น เพียง 2 วัน
.
ใช้เวลาทำ 450 วัน เก็บไว้กินได้ 2 วัน!
.
คุซึโมจิ ถึงจะลงท้ายด้วย "โมจิ" แต่ก็แตกต่างจากโมจิ ซึ่งไม่ได้ใช้แป้งข้าวเหนียวในการทำเหมือนโมจิ
.
ปัจจุบันการทำขนมคุซึโมจิ ไม่ได้ใช้เวลานานขนาดนั้น และยังมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งใส่ซอฟต์ครีมเสริมพร้อมวาฟเฟิลถั่วแดง ใส่ผงคินาโกะ หรือแบบใส่น้ำตาลทรายแดงเชื่อม และอีกอย่างที่น่ากินคือแบบใส่ไอศกรีมชาเขียว
.
ประวัติศาสตร์ขนมญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่มีความเป็นมาถึงต้นกำเนิด ที่เป็นเสน่ควบคู่กับวัฒนธรรมขนมในแบบญี่ปุ่น
.
ขนมญี่ปุ่นนั้นได้รับการพัฒนาไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และเริ่มมีมากขึ้นในยุคสมัยนาระ
.
ยุคนาระ (奈良時代 Nara-jidai) อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 710 - 794 เป็นช่วงที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฎหมายและจริยธรรม และเมืองหลวงก็ได้ย้ายมาที่ เฮโจเกียว หรือเมืองนาราในปัจจุบัน
.
เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งวัฒนธรรมด้านอาหารการกินก็ได้รับการพัฒนา และถูกรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาในช่วงยุคนี้ด้วย
.
ผ่านช่วงยุคนาระต่อมาในช่วงยุคเฮอัน เลยมาถึงช่วงยุคเอโดะ ที่ประวัติของขนมคุซึโมจิ เริ่มมีและถูกบันทึกขึ้นมา
.
ขนมญี่ปุ่นนั้นมักถูกคิดค้นขั้นตอนและวิธีการทำไปตามฤดูกาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นที่รู้สึกถึงฤดูกาลทั้งสี่ และจิตวิญญาณของการให้ความสำคัญกับความกลมกลืนกับธรรมชาติ
.
นอกจากนี้ ขนมญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ที่สวยงาม และมักจะใช้เวลาทำที่นานมาก ความลามที่ละเอียดอ่อนได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทั่วโลก ว่าเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งขนม คุซึโมจิก็เป็นหนึ่งในขนมที่จะได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่น
.
ญี่ปุ่นมีสี่ฤดูกาลที่แตกต่างกันและมีขนมญี่ปุ่นตามฤดูกาล ประเภทของขนมญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล เช่น ซากุระโมจิในฤดูใบไม้ผลิ มิซูโยคังในฤดูร้อน เกาลัดคินทงในฤดูใบไม้ร่วง และคางามิโมจิในฤดูหนาว
นอกจากนี้ ความหมายเบื้องหลังขนมญี่ปุ่นแต่ละชนิดและวิธีการรับประทานไม่ได้เป็นเพียงขนมหวานเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมอีกด้วย
.
คุซึโมจิ จึงเป็นอีกหนึ่งประเภทที่มีกลิ่นอายตามฤดูกาล เพราะนิยมทำกินกันในช่วงหน้าร้อน ด้วยวิธีการต่างๆนี้ ขนมญี่ปุ่นเพียงชิ้นเดียว ก็สามารถมองเห็นวัฒนธรรมและประเพณีอันรุ่มโรจน์ของญี่ปุ่นได้
.
ขอขอบคุณข้อมูล
: wikipedia
: bestcalendar
: city living jp
.
Better Day
Green Heart World Green
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
...
เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวในโลก ความรู้ ข่าวสาร ที่ดีต่อใจ ดีต่อโลกกับ Better Day
ได้ที่ Facebook:
https://www.facebook.com/betterdaydotday
ขอบคุณครับ
...
คุซึโมจิ+ซอฟต์ครีม เสริมพร้อมวาฟเฟิลและถั่วแดง..ใครจะอดใจไหว!
วันคุซึโมจิ 2 กันยายน (Kuzumochi Day) หนึ่งในขนมหมักดองของญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
#OnThisDay
ขนมที่เหมาะกับช่วงหน้าร้อน ในวันอากาศร้อนของชาวญี่ปุ่นนั้น จะมีอีกหนึ่งเมนูขนมชอบกินกันคือ คุซึโมจิ ที่ทำมาจากแป้งข้าวสาลีหมัก และด้วยเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ดึ่ง ดึ๋ง นี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวญี่ปุ่น ซึ่งถูกทำมาตั้งแต่สมัยเอโดะแล้ว
.
ขนม คุซึโมจิ นี้กล่าวกันว่าอ่อนโยนต่อร่างกาย ถูกบ่มโดยการหมักอย่างช้าๆ เป็นระยะเวลากว่า 450 วัน ซึ่งเป็นกรรมวิธีการทำในอดีต ที่ปราศจากสารเติมแต่งใดๆ ได้รสชาติตามธรรมชาติมาก ทำให้อายุการเก็บรักษาจึงสั้น เพียง 2 วัน
.
ใช้เวลาทำ 450 วัน เก็บไว้กินได้ 2 วัน!
.
คุซึโมจิ ถึงจะลงท้ายด้วย "โมจิ" แต่ก็แตกต่างจากโมจิ ซึ่งไม่ได้ใช้แป้งข้าวเหนียวในการทำเหมือนโมจิ
.
ปัจจุบันการทำขนมคุซึโมจิ ไม่ได้ใช้เวลานานขนาดนั้น และยังมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งใส่ซอฟต์ครีมเสริมพร้อมวาฟเฟิลถั่วแดง ใส่ผงคินาโกะ หรือแบบใส่น้ำตาลทรายแดงเชื่อม และอีกอย่างที่น่ากินคือแบบใส่ไอศกรีมชาเขียว
.
ประวัติศาสตร์ขนมญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่มีความเป็นมาถึงต้นกำเนิด ที่เป็นเสน่ควบคู่กับวัฒนธรรมขนมในแบบญี่ปุ่น
.
ขนมญี่ปุ่นนั้นได้รับการพัฒนาไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และเริ่มมีมากขึ้นในยุคสมัยนาระ
.
ยุคนาระ (奈良時代 Nara-jidai) อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 710 - 794 เป็นช่วงที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฎหมายและจริยธรรม และเมืองหลวงก็ได้ย้ายมาที่ เฮโจเกียว หรือเมืองนาราในปัจจุบัน
.
เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งวัฒนธรรมด้านอาหารการกินก็ได้รับการพัฒนา และถูกรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาในช่วงยุคนี้ด้วย
.
ผ่านช่วงยุคนาระต่อมาในช่วงยุคเฮอัน เลยมาถึงช่วงยุคเอโดะ ที่ประวัติของขนมคุซึโมจิ เริ่มมีและถูกบันทึกขึ้นมา
.
ขนมญี่ปุ่นนั้นมักถูกคิดค้นขั้นตอนและวิธีการทำไปตามฤดูกาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นที่รู้สึกถึงฤดูกาลทั้งสี่ และจิตวิญญาณของการให้ความสำคัญกับความกลมกลืนกับธรรมชาติ
.
นอกจากนี้ ขนมญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ที่สวยงาม และมักจะใช้เวลาทำที่นานมาก ความลามที่ละเอียดอ่อนได้รับการยกย่องอย่างสูงจากทั่วโลก ว่าเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งขนม คุซึโมจิก็เป็นหนึ่งในขนมที่จะได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่น
.
ญี่ปุ่นมีสี่ฤดูกาลที่แตกต่างกันและมีขนมญี่ปุ่นตามฤดูกาล ประเภทของขนมญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล เช่น ซากุระโมจิในฤดูใบไม้ผลิ มิซูโยคังในฤดูร้อน เกาลัดคินทงในฤดูใบไม้ร่วง และคางามิโมจิในฤดูหนาว
นอกจากนี้ ความหมายเบื้องหลังขนมญี่ปุ่นแต่ละชนิดและวิธีการรับประทานไม่ได้เป็นเพียงขนมหวานเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมอีกด้วย
.
คุซึโมจิ จึงเป็นอีกหนึ่งประเภทที่มีกลิ่นอายตามฤดูกาล เพราะนิยมทำกินกันในช่วงหน้าร้อน ด้วยวิธีการต่างๆนี้ ขนมญี่ปุ่นเพียงชิ้นเดียว ก็สามารถมองเห็นวัฒนธรรมและประเพณีอันรุ่มโรจน์ของญี่ปุ่นได้
.
ขอขอบคุณข้อมูล
: wikipedia
: bestcalendar
: city living jp
.
Better Day
Green Heart World Green
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
...
เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวในโลก ความรู้ ข่าวสาร ที่ดีต่อใจ ดีต่อโลกกับ Better Day
ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/betterdaydotday
ขอบคุณครับ
...