แม่น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่ง ไหลท่วมขยายวงกว้าง ชาวบ้านทุกข์ พืชเกษตรจมน้ำนานยืนต้นตาย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9387877
หนองคาย แม่น้ำโขงส่งสัญญาณดี เริ่มลดลงแตะ 12.57 เมตร แต่มวลน้ำที่เอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมพื้นที่ลุ่มขยายวงกว้าง เกษตรกรเศร้า พืชสวน พืชไร่ จมน้ำนานใกล้ยืนต้นตาย เสียหายหนัก
30 ส.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำโขงส่งสัญญาณดี ระดับน้ำโขงวัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย วัดได้ 12.57 เมตร ลดลงจากเดิม 10 เซนติเมตร แต่ยังสูงกว่าตลิ่ง 37 เซนติเมตร
โดยวันนี้ ไม่มีฝนตกในพื้นที่ แต่ท้องฟ้ามีกลุ่มเมฆปกคลุมบางส่วน ทำให้ระดับน้ำโขงลดระดับลงเริ่มทรงตัว แต่มวลน้ำโขงสายหลังยังคงไหลเชี่ยวแรง
ขณะที่ พื้นที่ลุ่มต่ำริมน้ำโขง ยังคงได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะที่บ้านหาดคำ ต.หาดคำ อ.เมือง จ.หนองคาย น้ำโขงล้นเข้าพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้าน ขยายเป็นวงกว้าง
นาย
ไพธูรย์ อินทะวงศ์ อายุ 84 ปี ชาวบ้านหาดคำ บอกว่า น้ำโขงเริ่มเอ่อจนล้นตลิ่งมาตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ พืชสวน พืชไร่ โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกไว้จำนวนมากใบเริ่มเหลือง ใกล้ยืนต้นตาย เพราะลำต้นแช่น้ำนาน
ทั้งนี้ ชาวบ้านยังคงมีความกังวล ว่าน้ำจะท่วมขังอยู่อีกหลายวัน กว่าจะลดลงเข้าสู่ระดับปกติ พืชผลทางการเกษตร จะเสียหายไปเป็นจำนวนมาก
ส่วนน้ำโขงท่วมถนนริมเขื่อนป้องกันตลิ่งยาวเกือบ 1 กิโลเมตร เด็กๆ ในชุมชนได้ออกมาเล่นน้ำที่ล้นตลิ่งกันอย่างสนุกสนาน โดยมีผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งกำชับไม่ให้เล่นเลยออกไปจากจุดที่อนุญาต เพราะน้ำโขงไหลแรงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
มุมมอง 2 นักวิชาการ ‘รบ.-ฝ่ายค้าน’ ในสถานการณ์ข้ามขั้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4763348
มุมมอง2นักวิชาการ ‘รบ.-ฝ่ายค้าน’ในสถานการณ์ข้ามขั้ว
หมายเหตุ –
ความเห็นนักวิชาการ กรณีพรรคเพื่อไทย (พท.) ดึง ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.และพรรคประชาธิปตย์ (ปชป.) ที่มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรค ร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมตรี ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้า พปชร.และ ส.ส.ในกลุ่ม ต้องไปทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ร่วมกับพรรคประชาชน (ปชน.) ที่มีนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค จะทำให้การทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นไปในทิศทางใด
ยุทธพร อิสรชัย
สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
“หากวิเคราะห์การทำงานของ ส.ส.ฝ่ายค้าน ในสถานการณ์ข้ามขั้ว ในยุครัฐบาล พท.นั้นสำหรับฝ่ายค้านในปัจจุบันนี้ ยังคงมีบทบาทเด่นอยู่ มีเพียงพรรคเดียวคือ ปชน. ส่วนพรรคฝ่ายค้านที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน อย่างพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) ที่มีคุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นหัวหน้าพรรค และมี ส.ส. 6 คน ความเป็นเอกภาพภายในพรรคยังคงเป็นประเด็นที่คนตั้งคำถามอยู่ในปัจจุบัน เพราะจากการโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 31 สมาชิก ทสท.โหวตเลือก น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร จาก พท.ให้เป็นนายกฯ ซึ่งสวนมติพรรคฝ่ายค้าน จึงเกิดคำถามว่า สุดท้ายแล้ว ทสท.เองมีปัญหาในพรรคอยู่แล้วหรือไม่
ขณะเดียวกัน พรรคที่กำลังจะเข้ามาเป็นฝ่ายค้าน คือ พปชร.โดยมี พล.อ.
ประวิตร เป็นหัวหน้าพรรค แต่เท่าที่ทุกคนได้ทราบ พปชร.จะเป็นฝ่ายค้านร่วมด้วยในแบบที่ไม่เป็นพรรค เรียกสภาวะนี้ว่า ‘
1 พรรค 2 ระบบ’ พลังการทำงานต่างๆ อาจไม่มีบทบาทมากนัก อีกทั้ง ยังมีพรรคที่มีเพียง 1 ที่นั่ง อย่างพรรคเป็นธรรม และพรรคไทยก้าวหน้า ดังนั้น สถานการณ์พรรคฝ่ายค้านในวันนี้ มองว่ามีปัญหาเรื่องเสถียรภาพ เพราะจุดยืนทางอุดมการณ์ค่อนข้างแตกต่างกัน การเดินหน้า หรือการทำงานด้วยกันจะคล้ายคลึงกับกรณีของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ ปชป.ในอดีต
มองมุมลึก ปชน.และ พปชร.จากการสลับขั้วมา จะมีลักษณะที่ต่างคนต่างเดิน ต่างคนต่างทำหน้าที่ในจุดยืนของตัวเอง อาจมีบางเรื่องที่ต้องแสดงออกว่าเป็นฝ่ายค้าน เช่น การงดออกเสียงในสภาบางเรื่อง หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์คล้ายๆ กับ ก.ก.และ ปชป.ในอดีต โจทย์ที่น่าสนใจในวันนี้คือความขัดแย้งของ พล.อ.
ประวิตร กับนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตรงจุดนี้จะทำให้เห็นถึงความแตกต่าง ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นำทางการเมือง ที่จะนำไปสู่ความเกี่ยวข้องทางยุทธศาสตร์พรรค และการเคลื่อนไหวของพรรค จะแตกต่างกันกับในกรณีของ ปชป.และ ก.ก.
เท่ากับว่าความดุเดือดของ พท.และ พปชร.จะมีมากขึ้น แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น สัญญาณลักษณะนี้เกิดขึ้นมาระยะใหญ่แล้ว ตั้งแต่ พล.อ.
ประวิตร ไม่เข้าร่วมโหวตนาย
เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ แม้กระทั่งกิจกรรมในสมัยที่เคยได้ร่วมรัฐบาล จะไม่เห็น พล.อ.
ประวิตร หรือบุคคลใกล้ชิด จะเห็นเพียง ร.อ.
ธรรมนัส เท่านั้น สิ่งนี้ได้เห็นมาระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดการโหวตเลือก น.ส.
แพทองธาร เป็นนายกฯ พล.อ.
ประวิตร ไม่ได้เข้าโหวตเช่นเดียวกัน ขณะเดียวกันมีบุคคลใกล้ชิด พล.อ.
ประวิตร ไปร้องสอบ น.ส.
แพทองธาร กรณีสนามกอล์ฟ เรื่องของเขาใหญ่ เป็นต้น เหล่านี้นับเป็นฟางเส้นสุดท้ายของจุดแตกหักที่เกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ พท.ตัดสินใจว่าไม่เอา พปชร.ร่วมรัฐบาลในครั้งนี้
ส่วนอนาคตของพรรค ปชป.ผมมองว่าจะเป็นพรรคที่มีลักษณะ ‘
1 พรรค 2 ระบบ’ เช่นเดียวกับ พปชร.อนาคตอาจได้เห็น ‘
รัฐบาลคนละครึ่ง’ ความหมายว่ามาจากพรรคร่วมรัฐบาลครึ่งหนึ่ง มาจากพรรคฝ่ายค้านครึ่งหนึ่ง ปชป.เองมีเสถียรภาพด้านความคิด และอุดมการณ์มากกว่า พปชร.สมาชิก ปชป.บางท่านอยู่ในสถานการณ์ทางการเมืองมานาน ผ่านร้อน ผ่านหนาวกันมานับไม่ถ้วน ความคิดทางอุดมการณ์ย่อมมีมากกว่า พปชร.อยู่แล้ว เนื่องจาก พปชร.เกิดจากเหตุการณ์เฉพาะกิจ ในช่วงหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ในช่วงเวลานั้นยังมีอำนาจ คสช.ที่คอยโอบอุ้มอยู่ ดังนั้น เมื่ออำนาจ คสช.คลี่คลายลง กลุ่มต่างๆ ที่มารวมกัน จะแตกตัวกันออกไป แนวทางอุดมการณ์จึงไม่มี
ด้าน ปชป.แม้มีความคิดที่แตกต่างกันบ้างของผู้อาวุโสกับสมาชิกใหม่ภายในพรรค สุดท้ายแล้วแนวคิดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการร่วมรัฐบาล จะบอกว่าเคารพในมติพรรค เพราะยังต้องการให้องค์กรเดินต่อไปได้ ขณะเดียวกัน พปชร.ไม่ได้สนใจเรื่ององค์กร เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง
ส่วนอนาคต พปชร.มองว่าอาจต้องสลายตัวไป ถ้าเมื่อไหร่ที่ พล.อ.
ประวิตรถูกวางตัวออกจากการเมือง จะทำให้ พปชร.สลายไปด้วย สิ่งนี้อาจจะเรียกว่าเป็นการปิดสวิตช์ 3 ป.แต่ยังไม่ได้ปิดสวิตช์แบบสมบูรณ์ ยังคงมีมรดกของ คสช.อยู่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระที่ถูกแต่งตั้งขึ้น
ทั้งนี้ หากมองอนาคตการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล พท.ยังมีความท้าทายอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
1. ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดต้องเร่งแก้ไข เพราะเป็นปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน อีกทั้ง สภาวะเศรษฐกิจยังคงเป็นโมเมนตัมทางการเมืองที่จะกลับมาสู่รัฐบาล หลังจากนี้อีก 1 ปี หากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น จะเป็นประเด็นที่น่ากังวล ผมเชื่อว่าในสายตาของประชาชน คงไม่ให้เวลากับรัฐบาลชุดนี้มากนัก เพราะประชาชนมองว่า นี่คือรัฐบาลนายเศรษฐา ภาค 2
2. การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เรื่องดิจิทัลวอลเล็ต ประชาชนยังคงเฝ้ามองว่าจะเดินต่ออย่างไร ชัดเจนมากเพียงใด ทั้งเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กาสิโน กัญชา โจทย์เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาลชุดนี้
3. สถานการณ์ พท.จะทำอย่างไรให้โอกาสตรงนี้ เป็นการฟื้นฟูให้มีความนิยม เชื่อมั่น และเชื่อถือของ พท.ด้วย ต้องแก้ปัญหาภายในพรรค เพราะมีเรื่อง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่รู้สึกว่าได้รับความสำคัญน้อยไปหรือเปล่าสำหรับการทำงานภายในพรรค เป็นต้น
และ 4. การร้องคดีต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความเสี่ยงต่อการล้มรัฐบาล การยุบพรรค การถอดถอนนายกฯ สามารถเป็นไปได้ทั้งหมด
วันนี้ หากประเมินจากความท้าทาย จะเห็นได้ว่าการเมืองในสภาไม่น่ากังวลมากนัก สังเกตได้จากการรับเลือก น.ส.แพทองธาร เป็นนายกฯ ด้วย 319 เสียง ถือเป็นเสถียรภาพที่มีอย่างสูงมาก การเมืองนอกสภาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่ง
ส่วนอนาคตฝ่ายค้านวันนี้ ต้องมองข้ามไปถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2570 โดยเฉพาะ ‘ปชน.’ ซึ่งแกนนำพรรคในวันนี้อยู่ใน 44 ส.ส. ซึ่งอาจถูกตัดสิทธิทางการเมือง เนื่องจากลงชื่อสนับสนุนแก้ไขมาตรา 112 หากเดินต่อไม่ได้ ปชน.จะเตรียมยุทธศาสตร์สำหรับการเลือกตั้งปี 2570 อย่างไร พื้นที่ของฝ่ายค้านทุกวันนี้ถูกตีให้แคบลง
ขณะเดียวกัน ปชป.ที่เข้าร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ ไม่คิดว่าพรรคจะได้คะแนนนิยม หรือเป็นสิ่งที่ดีขึ้น เพราะในปี 2562 เป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายคนมองว่าการสลับขั้วกันทางการเมือง เป็นสัญญาณของการปรองดองกันทางการเมือง ผมไม่คิดเช่นนั้น แต่เชื่อว่าสิ่งที่ปรองดองกันคือ ‘นักการเมือง’ แต่สังคมจะปรองดองด้วยหรือไม่ คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ขณะนี้การปรองดองกันของนักการเมือง เต็มไปด้วยความต้องการ ‘เข้าสู่อำนาจรัฐ’ ความต้องการเป็นรัฐบาล และผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีร่วมกัน แต่ประชาชนกลับไม่ได้อยู่ในสมการการปรองดองกันของนักการเมืองตรงนี้เลยด้วยซ้ำ”
โอฬาร ถิ่นบางเตียว
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา
“การตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้รัฐบาล
อุ๊งอิ๊ง น.ส.
แพทองธาร หากมองภาพรวมจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่งชนะเกมการเมืองทั้งหมด ถ้ามองภายใต้ 20 ปีที่ผ่านมา โดยใช้เกมการเมืองทำให้คู่ขัดแย้งทางการเมือง หรือศัตรูทางการเมืองศิโรราบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น พปชร.ที่เปิดศึกชัดเจนกับ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้า พปชร. เพื่อให้ น.ส.
แพทองธารอ้างได้ว่า นี่คือการปิดสวิสซ์ 3 ป และเป็นการปิดสวิสซ์พี่ใหญ่ของ 3 ป ด้วย
แล้วการที่ดึง ปชป.เข้าร่วมรัฐบาล ทำให้คู่ขัดแย้งหลักซึ่งเป็น ปชป.ก็พ่ายแพ้ในเกมการเมือง เพราะทำให้แตกสลาย ทำให้ พท.มีความได้เปรียบ ในขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นพรรคของนาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ภายใต้อาณัติของ พท.ด้วย จึงเป็นการชนะในเกมการเมือง การตั้งรัฐบาลครั้งนี้อยู่ในความชาญฉลาด กินรวบทางการเมือง โดยนาย
ทักษิณ
รัฐบาลในสถานะแบบนี้ คนที่เป็นคู่ขัดแย้งกับนาย
ทักษิณ จะมารวมตัวกัน หาก พล.อ.
ประวิตรยังต้องการสู้ต่อ ยังไม่เปลี่ยนบ้านป่ารอยต่อเป็นบ้านพักคนชรา จะทำให้บ้านป่ารอยต่อเป็นศูนย์กลางของอำนาจ ที่จะต่อสู้กับรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่โอเคกับนาย
ทักษิณ เพื่อเดินเกมสู้กับรัฐบาลแบบใต้ดิน จะทำให้ ครม.ชุดใหม่มีความสุ่มเสี่ยงสูงมาก การตั้งรัฐบาลแบบนี้ ทำลายความเชื่อถือ และศรัทธาของประชาชน เพราะรับไม่ได้ที่เห็น พท.รวมกับ ปชป.ที่จะเอาคน กปปส.มาเป็นรัฐมนตรี ทำให้ความชอบธรรมของ ครม.อยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยงด้วย
การเลือกเอากลุ่มคนใน พปชร.มาอยู่ใน ครม.ในความเป็นจริงแล้ว ส.ส.ทั้ง 40 คน แม้ว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว แต่ด้วยที่ ส.ส.ทั้งหมดเป็นนักเลือกตั้ง และกลุ่มบ้านใหญ่ ส่วนใหญ่จะมองทิศทางการเมืองในอนาคตทั้งหมด บรรดา ส.ส.ในปีกของ พล.อ.
ประวิตร หรือฝั่ง ร.อ.
ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.จะเหยียบเรือสองแคม ถึงแม้ว่า พปชร.จะถูกผลักออกมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ไม่ยินดีกับสถานะที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่พร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้านอิสระ โดยจะมองว่าตัวเองมีผลประโยชน์ หรืออนาคตทางการเมือง ก็จะเอียงไปข้างนั้นๆ ถึงแม้จะเป็นฝ่ายค้าน
JJNY : แม่น้ำโขงล้นตลิ่ง ชาวบ้านทุกข์ พืชยืนต้นตาย│มุมมอง 2 นักวิชาการ│หุ้นไทยร่วง ปิด -8.31จุด│สหรัฐปรับจีดีพีไตรมาสสอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9387877
หนองคาย แม่น้ำโขงส่งสัญญาณดี เริ่มลดลงแตะ 12.57 เมตร แต่มวลน้ำที่เอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมพื้นที่ลุ่มขยายวงกว้าง เกษตรกรเศร้า พืชสวน พืชไร่ จมน้ำนานใกล้ยืนต้นตาย เสียหายหนัก
30 ส.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำโขงส่งสัญญาณดี ระดับน้ำโขงวัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย วัดได้ 12.57 เมตร ลดลงจากเดิม 10 เซนติเมตร แต่ยังสูงกว่าตลิ่ง 37 เซนติเมตร
โดยวันนี้ ไม่มีฝนตกในพื้นที่ แต่ท้องฟ้ามีกลุ่มเมฆปกคลุมบางส่วน ทำให้ระดับน้ำโขงลดระดับลงเริ่มทรงตัว แต่มวลน้ำโขงสายหลังยังคงไหลเชี่ยวแรง
ขณะที่ พื้นที่ลุ่มต่ำริมน้ำโขง ยังคงได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะที่บ้านหาดคำ ต.หาดคำ อ.เมือง จ.หนองคาย น้ำโขงล้นเข้าพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้าน ขยายเป็นวงกว้าง
นายไพธูรย์ อินทะวงศ์ อายุ 84 ปี ชาวบ้านหาดคำ บอกว่า น้ำโขงเริ่มเอ่อจนล้นตลิ่งมาตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ พืชสวน พืชไร่ โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกไว้จำนวนมากใบเริ่มเหลือง ใกล้ยืนต้นตาย เพราะลำต้นแช่น้ำนาน
ทั้งนี้ ชาวบ้านยังคงมีความกังวล ว่าน้ำจะท่วมขังอยู่อีกหลายวัน กว่าจะลดลงเข้าสู่ระดับปกติ พืชผลทางการเกษตร จะเสียหายไปเป็นจำนวนมาก
ส่วนน้ำโขงท่วมถนนริมเขื่อนป้องกันตลิ่งยาวเกือบ 1 กิโลเมตร เด็กๆ ในชุมชนได้ออกมาเล่นน้ำที่ล้นตลิ่งกันอย่างสนุกสนาน โดยมีผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งกำชับไม่ให้เล่นเลยออกไปจากจุดที่อนุญาต เพราะน้ำโขงไหลแรงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
มุมมอง 2 นักวิชาการ ‘รบ.-ฝ่ายค้าน’ ในสถานการณ์ข้ามขั้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_4763348
มุมมอง2นักวิชาการ ‘รบ.-ฝ่ายค้าน’ในสถานการณ์ข้ามขั้ว
หมายเหตุ – ความเห็นนักวิชาการ กรณีพรรคเพื่อไทย (พท.) ดึง ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.และพรรคประชาธิปตย์ (ปชป.) ที่มีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรค ร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมตรี ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้า พปชร.และ ส.ส.ในกลุ่ม ต้องไปทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ร่วมกับพรรคประชาชน (ปชน.) ที่มีนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค จะทำให้การทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นไปในทิศทางใด
ขณะเดียวกัน พรรคที่กำลังจะเข้ามาเป็นฝ่ายค้าน คือ พปชร.โดยมี พล.อ.ประวิตร เป็นหัวหน้าพรรค แต่เท่าที่ทุกคนได้ทราบ พปชร.จะเป็นฝ่ายค้านร่วมด้วยในแบบที่ไม่เป็นพรรค เรียกสภาวะนี้ว่า ‘1 พรรค 2 ระบบ’ พลังการทำงานต่างๆ อาจไม่มีบทบาทมากนัก อีกทั้ง ยังมีพรรคที่มีเพียง 1 ที่นั่ง อย่างพรรคเป็นธรรม และพรรคไทยก้าวหน้า ดังนั้น สถานการณ์พรรคฝ่ายค้านในวันนี้ มองว่ามีปัญหาเรื่องเสถียรภาพ เพราะจุดยืนทางอุดมการณ์ค่อนข้างแตกต่างกัน การเดินหน้า หรือการทำงานด้วยกันจะคล้ายคลึงกับกรณีของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ ปชป.ในอดีต
มองมุมลึก ปชน.และ พปชร.จากการสลับขั้วมา จะมีลักษณะที่ต่างคนต่างเดิน ต่างคนต่างทำหน้าที่ในจุดยืนของตัวเอง อาจมีบางเรื่องที่ต้องแสดงออกว่าเป็นฝ่ายค้าน เช่น การงดออกเสียงในสภาบางเรื่อง หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์คล้ายๆ กับ ก.ก.และ ปชป.ในอดีต โจทย์ที่น่าสนใจในวันนี้คือความขัดแย้งของ พล.อ.ประวิตร กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตรงจุดนี้จะทำให้เห็นถึงความแตกต่าง ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้นำทางการเมือง ที่จะนำไปสู่ความเกี่ยวข้องทางยุทธศาสตร์พรรค และการเคลื่อนไหวของพรรค จะแตกต่างกันกับในกรณีของ ปชป.และ ก.ก.
เท่ากับว่าความดุเดือดของ พท.และ พปชร.จะมีมากขึ้น แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่เพิ่งเคยเกิดขึ้น สัญญาณลักษณะนี้เกิดขึ้นมาระยะใหญ่แล้ว ตั้งแต่ พล.อ.ประวิตร ไม่เข้าร่วมโหวตนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ แม้กระทั่งกิจกรรมในสมัยที่เคยได้ร่วมรัฐบาล จะไม่เห็น พล.อ.ประวิตร หรือบุคคลใกล้ชิด จะเห็นเพียง ร.อ.ธรรมนัส เท่านั้น สิ่งนี้ได้เห็นมาระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดการโหวตเลือก น.ส.แพทองธาร เป็นนายกฯ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้เข้าโหวตเช่นเดียวกัน ขณะเดียวกันมีบุคคลใกล้ชิด พล.อ.ประวิตร ไปร้องสอบ น.ส.แพทองธาร กรณีสนามกอล์ฟ เรื่องของเขาใหญ่ เป็นต้น เหล่านี้นับเป็นฟางเส้นสุดท้ายของจุดแตกหักที่เกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ พท.ตัดสินใจว่าไม่เอา พปชร.ร่วมรัฐบาลในครั้งนี้
ส่วนอนาคตของพรรค ปชป.ผมมองว่าจะเป็นพรรคที่มีลักษณะ ‘1 พรรค 2 ระบบ’ เช่นเดียวกับ พปชร.อนาคตอาจได้เห็น ‘รัฐบาลคนละครึ่ง’ ความหมายว่ามาจากพรรคร่วมรัฐบาลครึ่งหนึ่ง มาจากพรรคฝ่ายค้านครึ่งหนึ่ง ปชป.เองมีเสถียรภาพด้านความคิด และอุดมการณ์มากกว่า พปชร.สมาชิก ปชป.บางท่านอยู่ในสถานการณ์ทางการเมืองมานาน ผ่านร้อน ผ่านหนาวกันมานับไม่ถ้วน ความคิดทางอุดมการณ์ย่อมมีมากกว่า พปชร.อยู่แล้ว เนื่องจาก พปชร.เกิดจากเหตุการณ์เฉพาะกิจ ในช่วงหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ในช่วงเวลานั้นยังมีอำนาจ คสช.ที่คอยโอบอุ้มอยู่ ดังนั้น เมื่ออำนาจ คสช.คลี่คลายลง กลุ่มต่างๆ ที่มารวมกัน จะแตกตัวกันออกไป แนวทางอุดมการณ์จึงไม่มี
ด้าน ปชป.แม้มีความคิดที่แตกต่างกันบ้างของผู้อาวุโสกับสมาชิกใหม่ภายในพรรค สุดท้ายแล้วแนวคิดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการร่วมรัฐบาล จะบอกว่าเคารพในมติพรรค เพราะยังต้องการให้องค์กรเดินต่อไปได้ ขณะเดียวกัน พปชร.ไม่ได้สนใจเรื่ององค์กร เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง
ส่วนอนาคต พปชร.มองว่าอาจต้องสลายตัวไป ถ้าเมื่อไหร่ที่ พล.อ.ประวิตรถูกวางตัวออกจากการเมือง จะทำให้ พปชร.สลายไปด้วย สิ่งนี้อาจจะเรียกว่าเป็นการปิดสวิตช์ 3 ป.แต่ยังไม่ได้ปิดสวิตช์แบบสมบูรณ์ ยังคงมีมรดกของ คสช.อยู่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระที่ถูกแต่งตั้งขึ้น
ทั้งนี้ หากมองอนาคตการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล พท.ยังมีความท้าทายอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
1. ภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่ที่สุดต้องเร่งแก้ไข เพราะเป็นปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน อีกทั้ง สภาวะเศรษฐกิจยังคงเป็นโมเมนตัมทางการเมืองที่จะกลับมาสู่รัฐบาล หลังจากนี้อีก 1 ปี หากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น จะเป็นประเด็นที่น่ากังวล ผมเชื่อว่าในสายตาของประชาชน คงไม่ให้เวลากับรัฐบาลชุดนี้มากนัก เพราะประชาชนมองว่า นี่คือรัฐบาลนายเศรษฐา ภาค 2
2. การขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เรื่องดิจิทัลวอลเล็ต ประชาชนยังคงเฝ้ามองว่าจะเดินต่ออย่างไร ชัดเจนมากเพียงใด ทั้งเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กาสิโน กัญชา โจทย์เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาลชุดนี้
3. สถานการณ์ พท.จะทำอย่างไรให้โอกาสตรงนี้ เป็นการฟื้นฟูให้มีความนิยม เชื่อมั่น และเชื่อถือของ พท.ด้วย ต้องแก้ปัญหาภายในพรรค เพราะมีเรื่อง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่รู้สึกว่าได้รับความสำคัญน้อยไปหรือเปล่าสำหรับการทำงานภายในพรรค เป็นต้น
และ 4. การร้องคดีต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความเสี่ยงต่อการล้มรัฐบาล การยุบพรรค การถอดถอนนายกฯ สามารถเป็นไปได้ทั้งหมด
วันนี้ หากประเมินจากความท้าทาย จะเห็นได้ว่าการเมืองในสภาไม่น่ากังวลมากนัก สังเกตได้จากการรับเลือก น.ส.แพทองธาร เป็นนายกฯ ด้วย 319 เสียง ถือเป็นเสถียรภาพที่มีอย่างสูงมาก การเมืองนอกสภาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่ง
ส่วนอนาคตฝ่ายค้านวันนี้ ต้องมองข้ามไปถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2570 โดยเฉพาะ ‘ปชน.’ ซึ่งแกนนำพรรคในวันนี้อยู่ใน 44 ส.ส. ซึ่งอาจถูกตัดสิทธิทางการเมือง เนื่องจากลงชื่อสนับสนุนแก้ไขมาตรา 112 หากเดินต่อไม่ได้ ปชน.จะเตรียมยุทธศาสตร์สำหรับการเลือกตั้งปี 2570 อย่างไร พื้นที่ของฝ่ายค้านทุกวันนี้ถูกตีให้แคบลง
ขณะเดียวกัน ปชป.ที่เข้าร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ ไม่คิดว่าพรรคจะได้คะแนนนิยม หรือเป็นสิ่งที่ดีขึ้น เพราะในปี 2562 เป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายคนมองว่าการสลับขั้วกันทางการเมือง เป็นสัญญาณของการปรองดองกันทางการเมือง ผมไม่คิดเช่นนั้น แต่เชื่อว่าสิ่งที่ปรองดองกันคือ ‘นักการเมือง’ แต่สังคมจะปรองดองด้วยหรือไม่ คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ขณะนี้การปรองดองกันของนักการเมือง เต็มไปด้วยความต้องการ ‘เข้าสู่อำนาจรัฐ’ ความต้องการเป็นรัฐบาล และผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีร่วมกัน แต่ประชาชนกลับไม่ได้อยู่ในสมการการปรองดองกันของนักการเมืองตรงนี้เลยด้วยซ้ำ”
แล้วการที่ดึง ปชป.เข้าร่วมรัฐบาล ทำให้คู่ขัดแย้งหลักซึ่งเป็น ปชป.ก็พ่ายแพ้ในเกมการเมือง เพราะทำให้แตกสลาย ทำให้ พท.มีความได้เปรียบ ในขณะที่พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นพรรคของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อยู่ภายใต้อาณัติของ พท.ด้วย จึงเป็นการชนะในเกมการเมือง การตั้งรัฐบาลครั้งนี้อยู่ในความชาญฉลาด กินรวบทางการเมือง โดยนายทักษิณ
รัฐบาลในสถานะแบบนี้ คนที่เป็นคู่ขัดแย้งกับนายทักษิณ จะมารวมตัวกัน หาก พล.อ.ประวิตรยังต้องการสู้ต่อ ยังไม่เปลี่ยนบ้านป่ารอยต่อเป็นบ้านพักคนชรา จะทำให้บ้านป่ารอยต่อเป็นศูนย์กลางของอำนาจ ที่จะต่อสู้กับรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ไม่โอเคกับนายทักษิณ เพื่อเดินเกมสู้กับรัฐบาลแบบใต้ดิน จะทำให้ ครม.ชุดใหม่มีความสุ่มเสี่ยงสูงมาก การตั้งรัฐบาลแบบนี้ ทำลายความเชื่อถือ และศรัทธาของประชาชน เพราะรับไม่ได้ที่เห็น พท.รวมกับ ปชป.ที่จะเอาคน กปปส.มาเป็นรัฐมนตรี ทำให้ความชอบธรรมของ ครม.อยู่ในภาวะที่สุ่มเสี่ยงด้วย
การเลือกเอากลุ่มคนใน พปชร.มาอยู่ใน ครม.ในความเป็นจริงแล้ว ส.ส.ทั้ง 40 คน แม้ว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว แต่ด้วยที่ ส.ส.ทั้งหมดเป็นนักเลือกตั้ง และกลุ่มบ้านใหญ่ ส่วนใหญ่จะมองทิศทางการเมืองในอนาคตทั้งหมด บรรดา ส.ส.ในปีกของ พล.อ.ประวิตร หรือฝั่ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการ พปชร.จะเหยียบเรือสองแคม ถึงแม้ว่า พปชร.จะถูกผลักออกมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ไม่ยินดีกับสถานะที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่พร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้านอิสระ โดยจะมองว่าตัวเองมีผลประโยชน์ หรืออนาคตทางการเมือง ก็จะเอียงไปข้างนั้นๆ ถึงแม้จะเป็นฝ่ายค้าน