กองทุนตราสารหนี้นอกตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กำลังเผชิญกับความท้าทายในการระดมทุนอย่างหนัก ในภาวะดอกเบี้ยสูงและเศรษฐกิจชะลอตัว ยอดระดมทุนเมื่อปี 2023 อยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์ หรือแค่ 1 ใน 3 จากยอดสูงสุด 15,100 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 และในครึ่งแรกของปีนี้ระดมได้
เพียง 1,100 ล้านดอลลาร์ หากทั้งปีระดมได้ประมาณ 2,200 ล้านดอลลาร์ จะคิดเป็นเพียง 14.57% ของจำนวนสูงสุดในปี 2021 เท่านั้น
วันที่ 26 สิงหาคม 2024 นิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) รายงานว่ากองทุนตราสารหนี้นอกตลาด (Private debt) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยร้อนแรง กำลังเผชิญกับความท้าทายในการระดมทุนอย่างหนัก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
กองทุนตราสารหนี้นอกตลาดให้การกู้ยืมเงินแก่บริษัทเช่นเดียวกันกับธนาคาร เพียงแต่จะมุ่งเน้นไปยังธุรกรรมที่ธนาคารแบบดั้งเดิมไม่ได้สนใจ เช่น การให้กู้ยืมแก่บริษัทสำหรับนำไปซื้อกิจการอื่น (Leveraged Buyouts) และให้เงินกู้ยืมแก่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ สตาร์ตอัพขนาดเล็กและขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้นอกระบบโดยทั่วไปพยายามลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำและตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Debt) ด้วย
ตราสารหนี้นอกตลาดถูกนำเข้ามาใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากบริษัทจัดการกองทุนระดับโลกเช่น แบล็กสโตน (Blackstone), เบน แคปปิทัล (Bain Capital), อะพอลโล (Apollo), แบล็กร็อก (BlackRock) เพื่อเป็นทางเลือกแทนผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้แบบดั้งเดิม เช่น พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีความน่าดึงดูดน้อยลงท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น กองทุนดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวเอเชียเข้าถึงตราสารหนี้ในตลาดอื่นๆ ที่ผู้จัดการสินทรัพย์ในประเทศไม่สามารถให้ได้
พรีคิน (Preqin) บริษัทข้อมูลด้านการเงิน รายงานว่า การระดมทุนในกองทุนตราสารหนี้นอกตลาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วงต่ำสุดในรอบ 7 ปี อยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.69 แสนล้านบาท) ในปี 2023 จากยอดสูงสุด 15,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 5.12 แสนล้านบาท) ในปี 2021 และอัตราการระดมทุนชะลอตัวลงอีกในครึ่งแรกของปี 2024 นี้ โดยระดมทุนได้เพียง 1,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 3.73 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็น 7.28% ของจุดพีกในปี 2021
ส่วนจำนวนกองทุนตราสารหนี้นอกตลาดที่เปิดตัวและปิดการขายมีเพียง 12 กองทุนเท่านั้นในปีนี้ เมื่อเทียบกับ 51 กองทุนในปี 2021
ฮาร์ชา นารยัน (Harsha Narayan) ผู้เขียนหลักของรายงานพรีคิน กล่าวว่า การระดมทุนเป็นเรื่องยากในทุก ๆ ด้าน ไม่เฉพาะแค่ตราสารหนี้นอกตลาดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์นอกตลาด (Private capital) อื่น ๆ ด้วย
นารยัน กล่าวว่า ก่อนที่ภาคการเงินจะเริ่มเข้มงวดไปทั่วโลกเมื่อมีนาคม 2022 สินเชื่อยังหาได้ง่ายและมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (default risks) ที่จำกัด ทว่าในปัจจุบัน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดใน 20 ปีและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ลงทุนจึงระมัดระวังตัวอย่างยิ่งกับการลงทุนในตราสารหนี้ และโครงการสนับสนุนการเงินใด ๆ โดยทำการตรวจสอบความคุ้มครองและการกู้คืนความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในข้อสัญญาอย่างรอบคอบ
กองทุนตราสารหนี้นอกตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นสิ่งใหม่ และเพิ่งเริ่มมีขึ้นแค่ 5 ปีเท่านั้น ทั้งยังไม่เคยผ่านวัฎจักรเครดิต (Credit cycle) แบบเต็มวงจร จึงเป็นโจทย์ท้าทายผู้จัดการกองทุนอย่างแท้จริง ซึ่งมีเพียงผู้จัดการกองทุนที่สามารถรับมือกับระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงและสภาพเศรษฐกิจที่มืดมัวนี้ได้เท่านั้นที่จะได้รับการระดมเงินเพิ่มขึ้น
ตามข้อมูลจากพรีคิน ยอดตราสารหนี้นอกระบบรวมที่ต้องชําระ (Total Balance) ของภูมิภาคเอเชียคิดเป็น 5% ของยอดทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้เชิญชวนผู้บริหารสินทรัพย์ต่างชาติให้มาเปิดสำนักงานในญี่ปุ่นอย่างแข็งขันและได้รับความสนใจอย่างสูงจากผู้จัดการกองทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เอรีส เมเนจเม้นต์ (Ares Management) เคเคอาร์ (KKR) เอ็มบีเค พาร์ตเนอร์ (MBK Partners) จากเกาหลีใต้ พีเอจี (PAG) จากฮ่องกง และเอ็มซีพี (MCP) ของญี่ปุ่น เป็นต้น
ซึ่งนารยันกล่าวว่า เมื่อผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ที่ใหญ่และมีอิทธิพลสูงเหล่านี้เริ่มลงทุนในตราสารหนี้นอกตลาด การระดมทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/world-news/news-1638690
กองทุนตราสารหนี้นอกตลาดในเอเชียหืดจับ ปีนี้ระดมทุนได้ยังไม่ถึง 10% ของจุดพีก
เพียง 1,100 ล้านดอลลาร์ หากทั้งปีระดมได้ประมาณ 2,200 ล้านดอลลาร์ จะคิดเป็นเพียง 14.57% ของจำนวนสูงสุดในปี 2021 เท่านั้น
วันที่ 26 สิงหาคม 2024 นิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) รายงานว่ากองทุนตราสารหนี้นอกตลาด (Private debt) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยร้อนแรง กำลังเผชิญกับความท้าทายในการระดมทุนอย่างหนัก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
กองทุนตราสารหนี้นอกตลาดให้การกู้ยืมเงินแก่บริษัทเช่นเดียวกันกับธนาคาร เพียงแต่จะมุ่งเน้นไปยังธุรกรรมที่ธนาคารแบบดั้งเดิมไม่ได้สนใจ เช่น การให้กู้ยืมแก่บริษัทสำหรับนำไปซื้อกิจการอื่น (Leveraged Buyouts) และให้เงินกู้ยืมแก่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ สตาร์ตอัพขนาดเล็กและขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้นอกระบบโดยทั่วไปพยายามลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำและตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Debt) ด้วย
ตราสารหนี้นอกตลาดถูกนำเข้ามาใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากบริษัทจัดการกองทุนระดับโลกเช่น แบล็กสโตน (Blackstone), เบน แคปปิทัล (Bain Capital), อะพอลโล (Apollo), แบล็กร็อก (BlackRock) เพื่อเป็นทางเลือกแทนผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้แบบดั้งเดิม เช่น พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งมีความน่าดึงดูดน้อยลงท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น กองทุนดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวเอเชียเข้าถึงตราสารหนี้ในตลาดอื่นๆ ที่ผู้จัดการสินทรัพย์ในประเทศไม่สามารถให้ได้
พรีคิน (Preqin) บริษัทข้อมูลด้านการเงิน รายงานว่า การระดมทุนในกองทุนตราสารหนี้นอกตลาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วงต่ำสุดในรอบ 7 ปี อยู่ที่ 5,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.69 แสนล้านบาท) ในปี 2023 จากยอดสูงสุด 15,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 5.12 แสนล้านบาท) ในปี 2021 และอัตราการระดมทุนชะลอตัวลงอีกในครึ่งแรกของปี 2024 นี้ โดยระดมทุนได้เพียง 1,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 3.73 หมื่นล้านบาท) หรือคิดเป็น 7.28% ของจุดพีกในปี 2021
ส่วนจำนวนกองทุนตราสารหนี้นอกตลาดที่เปิดตัวและปิดการขายมีเพียง 12 กองทุนเท่านั้นในปีนี้ เมื่อเทียบกับ 51 กองทุนในปี 2021
ฮาร์ชา นารยัน (Harsha Narayan) ผู้เขียนหลักของรายงานพรีคิน กล่าวว่า การระดมทุนเป็นเรื่องยากในทุก ๆ ด้าน ไม่เฉพาะแค่ตราสารหนี้นอกตลาดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์นอกตลาด (Private capital) อื่น ๆ ด้วย
นารยัน กล่าวว่า ก่อนที่ภาคการเงินจะเริ่มเข้มงวดไปทั่วโลกเมื่อมีนาคม 2022 สินเชื่อยังหาได้ง่ายและมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (default risks) ที่จำกัด ทว่าในปัจจุบัน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดใน 20 ปีและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ลงทุนจึงระมัดระวังตัวอย่างยิ่งกับการลงทุนในตราสารหนี้ และโครงการสนับสนุนการเงินใด ๆ โดยทำการตรวจสอบความคุ้มครองและการกู้คืนความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในข้อสัญญาอย่างรอบคอบ
กองทุนตราสารหนี้นอกตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นสิ่งใหม่ และเพิ่งเริ่มมีขึ้นแค่ 5 ปีเท่านั้น ทั้งยังไม่เคยผ่านวัฎจักรเครดิต (Credit cycle) แบบเต็มวงจร จึงเป็นโจทย์ท้าทายผู้จัดการกองทุนอย่างแท้จริง ซึ่งมีเพียงผู้จัดการกองทุนที่สามารถรับมือกับระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงและสภาพเศรษฐกิจที่มืดมัวนี้ได้เท่านั้นที่จะได้รับการระดมเงินเพิ่มขึ้น
ตามข้อมูลจากพรีคิน ยอดตราสารหนี้นอกระบบรวมที่ต้องชําระ (Total Balance) ของภูมิภาคเอเชียคิดเป็น 5% ของยอดทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้เชิญชวนผู้บริหารสินทรัพย์ต่างชาติให้มาเปิดสำนักงานในญี่ปุ่นอย่างแข็งขันและได้รับความสนใจอย่างสูงจากผู้จัดการกองทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เอรีส เมเนจเม้นต์ (Ares Management) เคเคอาร์ (KKR) เอ็มบีเค พาร์ตเนอร์ (MBK Partners) จากเกาหลีใต้ พีเอจี (PAG) จากฮ่องกง และเอ็มซีพี (MCP) ของญี่ปุ่น เป็นต้น
ซึ่งนารยันกล่าวว่า เมื่อผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ที่ใหญ่และมีอิทธิพลสูงเหล่านี้เริ่มลงทุนในตราสารหนี้นอกตลาด การระดมทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/world-news/news-1638690