🇮🇳💰เมื่อลูกชายตระกูลอัมบานีถูก กลต อินเดียแบน 5 ปีจากคดียักยอกเงิน
📝ถอดบทเรียนความล้มเหลวของอนิล อัมบานี
“From hall of fame to hall of shame”
วันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา Securities and Exchange Board of India (SEBI) ได้ประกาศห้ามนายอนิล อัมบานี (Anil Ambani) และอีก 24 ผู้บริหารจากการเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี จากคดียักยอกทรัพย์
SEBI ยังปรับเป็นเงิน 250 ล้านรูปี ($3m) ด้วยข้อกล่าวหา “siphon off” ยักยอกเงินจาก Reliance Home Finance (RLIC.NS) บริษัทลูกที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ Reliance Group
การฉ้อโกงครั้งนี้เป็นการทำผ่านปล่อยเงินกู้ให้บริษัทก่อสร้างบ้านที่ไม่มีคุณบัติเครดิตดีพอในการได้รับเงินกู้ โดยเจ้าของบริษัทเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Reliance Home Finance ด้วยนั่นเอง
Reliance Group ที่มีธุรกิจการเงิน โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและโทรคมนาคม ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2006 จากการแยกตัวออกมาจาก Reliance Industries (RELI.NS) ที่เป็นของพี่ชายอนิล คือ มูเกซ อัมบานี Mukesh Ambani
ในขณะที่อาณาจักรของพี่ชาย Reliance Industries ที่ทำธุรกิจโรงกลั่น ปิโตรเคมี เติบโตอย่างมาก แต่ธุรกิจของอนิล ทั้ง Reliance Communications Reliance Capital และ Reliance Infrastructure ล้วนกำลังอยู่ในขั้นตอนล้มละลายและแผนฟื้นฟู
SEBI กล่าวว่าเงินจำนวนมากกว่า 90 พันล้านรูปี ($1.07b) ได้ถูกปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่ไม่มีเครดิตและอีก 50 พันล้านรูปี ($0.6b) ถูกปล่อยกู้ให้บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับ Reliance Home Finance
🇮🇳ประวัติตระกูลและความแตกร้าวระหว่างพี่น้อง
ดิรับไบ อัมบานี (Dhirubhai Ambani) (1932-2002) นักอุตสาหกรรมชาวอินเดียผู้ก่อตั้ง Reliance Industries (RIL) บริษัทผลิตปิโตรเคมี โทรคมนาคม ไฟฟ้า ทอผ้าที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของอินเดียและเป็นบริษัทอินเดียเอกชนรายแรกที่สามารถเข้าไปอยู่ใน Fortune 500.
เริ่มจากการตั้งโรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ในปี 1966 แล้วขยายไปสู่ปิโตรเคมี พลาสติกและไฟฟ้า ปี 1977 Reliance เข้า IPO ช่วงปี 1975 การถ่ายโอนการบริหารจากรุ่นพ่อสู่ลูกทั้งสองคน คือ มูเกซ (Mukesh) และ อนิล (Anil)
💔การขัดแย้งของสองพี่น้อง
หลังการเสียชีวิตของบิดาในปี 2002 สองพี่น้องได้ร่วมกันดูแลธุรกิจ แต่ความขัดแย้งปะทุขึ้น จนกระทั่งมารดา Kokilaben Ambani ตัดสินใจแบ่งแยกธุรกิจเป็นสองส่วนภายใต้สัญญาว่าจะไม่มีการแข่งขันกันทางธุรกิจ (noncompetition agreement (2006–10)
โดยมูเกซพี่ชายได้ควบคุมธุรกิจก๊าซ น้ำมันและปิโตรเคมีในกลุ่ม RIL ส่วนน้องชายอนิลได้รับธุรกิจโทรคมนาคม ไฟฟ้า และการเงิน
📈🛢️🥽ในขณะที่มูเกซสามารถพัฒนาเติบโตธุรกิจ RIL ที่รวมธุรกิจปิโตรเคมี พลังงาน ทอผ้า พาณิชย์และโทรคมนาคม (ได้มาจากน้องชาย อนิล) ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน $117.5b (มีนาคม 2024) และกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียและติดสิบอันดับบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกติดต่อกันในปี 2021-23 ตามรายงานนิตยสาร Forbes
ปี 2010 สัญญาไม่แข่งขันกันที่เซ็นกันในปี 2006 ได้ถูกยกเลิกไป โดยหลังจากนั้น มูเกซได้ตั้ง Jio Platforms สำหรับการสื่อสารและ e-commerce โดยให้บริการการสื่อสารระบบ 4G ทั่วประเทศอินเดียเป็นรายแรก และตามด้วยบริการบรอดแบรนด์ในปี 2016
ในเดือนสิงหาคม 2023 Jio ของมูเกซสามารถมีลูกค้ามากกว่า 450m รายและจำนวนลูกค้าระบบ 5G มากกว่า 50m คน โดยวางแผนว่าระบบ จะเป็นระบบสื่อสาร Jio จะเป็นระบบสื่อสาร 6G รายแรกของโลก
📉💰🔌From the Top to the Toppled
ในขณะที่พี่ชายมูเกซ ร่ำรวยขึ้น อนิล อัมบานี ผู้เคยเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับ 6 กลายเป็นบุคคลล้มละลาย
หลังจากการแบ่งธุรกิจกัน อนิลต้องการเติบโตธุรกิจไฟฟ่าในขณะที่มูเกซต้องการเติบโตธุรกิจโทรคมนาคม อีกทั้งอนิลมีไลฟ์สไตล์ที่หรูหรา แต่งงานกับดารา Ballywood และได้เคยเข้าไปเล่นการเมืองด้วย
กลยุทธการลงทุนของอนิลเป็นการขยายธุรกิจแบบรวดเร็ว หลังจากที่แบ่งทรัพย์สินธุรกิจ อนิลประกาศแผนการขยายธุรกิจมากมาย ทั้งธุรกิจไฟฟ้า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พาณิชย์และบันเทิง ด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
อีกทั้งทำ IPO โดยเริ่มจาก Reliance Communications ตามด้วย IPO Reliance Power ที่ขายหมดภายในเวลาเพียง 60 วินาที!!!
เพียง 1 ปีหลังจากการตกลงแยกธุรกิจและสามารถแข่งขันกันได้ในปี 2007 ความร่ำรวยของทั้งสองเพิ่มขึ้นมาก โดยมูเกซมีมูลค่าเพิ่มจาก $8.5b เป็น $20b และอนิลจาก $5.7b เป็น $18b ในปี 2008
อนิลมีความร่ำรวยเพิ่มขึ้นรวดเร็วมากจาก $18b ในปี 2008 เพิ่มเป็น $42b ในอีกไม่กี่ปีต่อมา หากแต่การขยายธุรกิจเร็วเกินไป การกู้ยืมที่สูงเกินไป และผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนนำไปสู่การล้มครืนของธุรกิจกลุ่มของอนิล
📉ล้มยังไง? จากปี 2008 อนิลมีความร่ำรวย $18b แต่ราว 75% มาจาก Reliance Communications เพียงบริษัทเดียว แต่ทว่า Reliance Communications ไม่สามารถขยายไปสู่ 4G ได้ เพราะการมีหนี้มากเกินไป ทำให้ต้องเสียสัดส่วนตลาดลูกค้าให้คู่แข่ง Vodaphone และ Airtel ที่มีแผนขยายไป 4G
จากนั้นตามด้วยการล้มลงของ Reliance Power เพราะการที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซที่ต้องซื้อจากพี่ชายมูเกซ แม้มีสัญญาการซื้อขายก๊าซที่ราคา $2.3/mmbtu แต่ต่อมามูเกซเพิ่มราคาก๊าซเป็น 2 เท่า อนิลจึงฟ้องศาล แต่ในที่สุดศาลฎีกาตัดสินให้มูเกซชนะ ด้วยต้นทุนราคาก๊าซที่สูงขึ้น ทำให้อนิลต้องปิดโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไป
จนถึงปี 2015 บริษัทของอนิลส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งสิ้น ยกเว้น Reliance Capital ในปี 2019 ศาลมีคำสั่งให้อนิลจ่ายเงินให้ $55m ให้ Ericsson ภายใน 3 เดือนไม่เช่นนั้นจะต้องถูกจำคุก ในที่สุดมูเกซได้เข้ามาช่วยจ่ายหนี้ก้อนนี้ให้
📈From hall ot Fame to Shame📉
บทเรียนที่สำคัญจากเรื่องราวการดำเนินธุรกิจของอนิล อัมบานี
📝Overexpansion ธุรกิจควรขยายในขอบเขตที่กระแสเงินสดและการกู้ยืมสามารถสร้างการเติบโตในระดับยั่งยืน (sustainable growth rate) เป็นพื้นฐาน แล้วจึงเพิ่มการ leverage ในระดับที่เหมาะสมในการลงทุนเพื่อเติบโตเพิ่มขึ้น
📝Overleverage ไม่ควรกู้ยืมมากจนเกินไป เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง จะทำให้ทุกอย่างล้มครืนลงทั้งหมด
📝Underrstimate market/financial risks โลกธุรกิจปัจจุบัน ความเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้เปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว แม้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก (tail risk) แต่ปัจจุบันมักจะเกิดได้บ่อยครั้งขึ้นมาก เช่น วิกฤติ 9/11 วิกฤติสงครามต่างๆ วิกฤติซับไพรม วิกฤติการล้มละลายของกรีซ อาร์เจนตินา เป็นต้น
📝Underestimate business/supplier risks กรณีธุรกิจโรงไฟฟ้าของอนิล การขึ้นราคาก๊าซของ Supplier ที่เป็นบริษัทของพี่ชาย จากการที่ราคาก๊าซโลกพุ่งสูงขึ้นมาก ทำให้นำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจโรงไฟฟ้า
#aiคิดต่างอย่างพี่หมู #AnilAmbani #RelianceIndustries #RelianceHomeFinance #ambanifamily
จากดาวสู่ดินของอนิล อัมบานี
📝ถอดบทเรียนความล้มเหลวของอนิล อัมบานี
“From hall of fame to hall of shame”
วันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา Securities and Exchange Board of India (SEBI) ได้ประกาศห้ามนายอนิล อัมบานี (Anil Ambani) และอีก 24 ผู้บริหารจากการเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี จากคดียักยอกทรัพย์
SEBI ยังปรับเป็นเงิน 250 ล้านรูปี ($3m) ด้วยข้อกล่าวหา “siphon off” ยักยอกเงินจาก Reliance Home Finance (RLIC.NS) บริษัทลูกที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ภายใต้ Reliance Group
การฉ้อโกงครั้งนี้เป็นการทำผ่านปล่อยเงินกู้ให้บริษัทก่อสร้างบ้านที่ไม่มีคุณบัติเครดิตดีพอในการได้รับเงินกู้ โดยเจ้าของบริษัทเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Reliance Home Finance ด้วยนั่นเอง
Reliance Group ที่มีธุรกิจการเงิน โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและโทรคมนาคม ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2006 จากการแยกตัวออกมาจาก Reliance Industries (RELI.NS) ที่เป็นของพี่ชายอนิล คือ มูเกซ อัมบานี Mukesh Ambani
ในขณะที่อาณาจักรของพี่ชาย Reliance Industries ที่ทำธุรกิจโรงกลั่น ปิโตรเคมี เติบโตอย่างมาก แต่ธุรกิจของอนิล ทั้ง Reliance Communications Reliance Capital และ Reliance Infrastructure ล้วนกำลังอยู่ในขั้นตอนล้มละลายและแผนฟื้นฟู
SEBI กล่าวว่าเงินจำนวนมากกว่า 90 พันล้านรูปี ($1.07b) ได้ถูกปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่ไม่มีเครดิตและอีก 50 พันล้านรูปี ($0.6b) ถูกปล่อยกู้ให้บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับ Reliance Home Finance
🇮🇳ประวัติตระกูลและความแตกร้าวระหว่างพี่น้อง
ดิรับไบ อัมบานี (Dhirubhai Ambani) (1932-2002) นักอุตสาหกรรมชาวอินเดียผู้ก่อตั้ง Reliance Industries (RIL) บริษัทผลิตปิโตรเคมี โทรคมนาคม ไฟฟ้า ทอผ้าที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของอินเดียและเป็นบริษัทอินเดียเอกชนรายแรกที่สามารถเข้าไปอยู่ใน Fortune 500.
เริ่มจากการตั้งโรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ในปี 1966 แล้วขยายไปสู่ปิโตรเคมี พลาสติกและไฟฟ้า ปี 1977 Reliance เข้า IPO ช่วงปี 1975 การถ่ายโอนการบริหารจากรุ่นพ่อสู่ลูกทั้งสองคน คือ มูเกซ (Mukesh) และ อนิล (Anil)
💔การขัดแย้งของสองพี่น้อง
หลังการเสียชีวิตของบิดาในปี 2002 สองพี่น้องได้ร่วมกันดูแลธุรกิจ แต่ความขัดแย้งปะทุขึ้น จนกระทั่งมารดา Kokilaben Ambani ตัดสินใจแบ่งแยกธุรกิจเป็นสองส่วนภายใต้สัญญาว่าจะไม่มีการแข่งขันกันทางธุรกิจ (noncompetition agreement (2006–10)
โดยมูเกซพี่ชายได้ควบคุมธุรกิจก๊าซ น้ำมันและปิโตรเคมีในกลุ่ม RIL ส่วนน้องชายอนิลได้รับธุรกิจโทรคมนาคม ไฟฟ้า และการเงิน
📈🛢️🥽ในขณะที่มูเกซสามารถพัฒนาเติบโตธุรกิจ RIL ที่รวมธุรกิจปิโตรเคมี พลังงาน ทอผ้า พาณิชย์และโทรคมนาคม (ได้มาจากน้องชาย อนิล) ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน $117.5b (มีนาคม 2024) และกลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชียและติดสิบอันดับบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกติดต่อกันในปี 2021-23 ตามรายงานนิตยสาร Forbes
ปี 2010 สัญญาไม่แข่งขันกันที่เซ็นกันในปี 2006 ได้ถูกยกเลิกไป โดยหลังจากนั้น มูเกซได้ตั้ง Jio Platforms สำหรับการสื่อสารและ e-commerce โดยให้บริการการสื่อสารระบบ 4G ทั่วประเทศอินเดียเป็นรายแรก และตามด้วยบริการบรอดแบรนด์ในปี 2016
ในเดือนสิงหาคม 2023 Jio ของมูเกซสามารถมีลูกค้ามากกว่า 450m รายและจำนวนลูกค้าระบบ 5G มากกว่า 50m คน โดยวางแผนว่าระบบ จะเป็นระบบสื่อสาร Jio จะเป็นระบบสื่อสาร 6G รายแรกของโลก
📉💰🔌From the Top to the Toppled
ในขณะที่พี่ชายมูเกซ ร่ำรวยขึ้น อนิล อัมบานี ผู้เคยเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับ 6 กลายเป็นบุคคลล้มละลาย
หลังจากการแบ่งธุรกิจกัน อนิลต้องการเติบโตธุรกิจไฟฟ่าในขณะที่มูเกซต้องการเติบโตธุรกิจโทรคมนาคม อีกทั้งอนิลมีไลฟ์สไตล์ที่หรูหรา แต่งงานกับดารา Ballywood และได้เคยเข้าไปเล่นการเมืองด้วย
กลยุทธการลงทุนของอนิลเป็นการขยายธุรกิจแบบรวดเร็ว หลังจากที่แบ่งทรัพย์สินธุรกิจ อนิลประกาศแผนการขยายธุรกิจมากมาย ทั้งธุรกิจไฟฟ้า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พาณิชย์และบันเทิง ด้วยการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
อีกทั้งทำ IPO โดยเริ่มจาก Reliance Communications ตามด้วย IPO Reliance Power ที่ขายหมดภายในเวลาเพียง 60 วินาที!!!
เพียง 1 ปีหลังจากการตกลงแยกธุรกิจและสามารถแข่งขันกันได้ในปี 2007 ความร่ำรวยของทั้งสองเพิ่มขึ้นมาก โดยมูเกซมีมูลค่าเพิ่มจาก $8.5b เป็น $20b และอนิลจาก $5.7b เป็น $18b ในปี 2008
อนิลมีความร่ำรวยเพิ่มขึ้นรวดเร็วมากจาก $18b ในปี 2008 เพิ่มเป็น $42b ในอีกไม่กี่ปีต่อมา หากแต่การขยายธุรกิจเร็วเกินไป การกู้ยืมที่สูงเกินไป และผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนนำไปสู่การล้มครืนของธุรกิจกลุ่มของอนิล
📉ล้มยังไง? จากปี 2008 อนิลมีความร่ำรวย $18b แต่ราว 75% มาจาก Reliance Communications เพียงบริษัทเดียว แต่ทว่า Reliance Communications ไม่สามารถขยายไปสู่ 4G ได้ เพราะการมีหนี้มากเกินไป ทำให้ต้องเสียสัดส่วนตลาดลูกค้าให้คู่แข่ง Vodaphone และ Airtel ที่มีแผนขยายไป 4G
จากนั้นตามด้วยการล้มลงของ Reliance Power เพราะการที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซที่ต้องซื้อจากพี่ชายมูเกซ แม้มีสัญญาการซื้อขายก๊าซที่ราคา $2.3/mmbtu แต่ต่อมามูเกซเพิ่มราคาก๊าซเป็น 2 เท่า อนิลจึงฟ้องศาล แต่ในที่สุดศาลฎีกาตัดสินให้มูเกซชนะ ด้วยต้นทุนราคาก๊าซที่สูงขึ้น ทำให้อนิลต้องปิดโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไป
จนถึงปี 2015 บริษัทของอนิลส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งสิ้น ยกเว้น Reliance Capital ในปี 2019 ศาลมีคำสั่งให้อนิลจ่ายเงินให้ $55m ให้ Ericsson ภายใน 3 เดือนไม่เช่นนั้นจะต้องถูกจำคุก ในที่สุดมูเกซได้เข้ามาช่วยจ่ายหนี้ก้อนนี้ให้
📈From hall ot Fame to Shame📉
บทเรียนที่สำคัญจากเรื่องราวการดำเนินธุรกิจของอนิล อัมบานี
📝Overexpansion ธุรกิจควรขยายในขอบเขตที่กระแสเงินสดและการกู้ยืมสามารถสร้างการเติบโตในระดับยั่งยืน (sustainable growth rate) เป็นพื้นฐาน แล้วจึงเพิ่มการ leverage ในระดับที่เหมาะสมในการลงทุนเพื่อเติบโตเพิ่มขึ้น
📝Overleverage ไม่ควรกู้ยืมมากจนเกินไป เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง จะทำให้ทุกอย่างล้มครืนลงทั้งหมด
📝Underrstimate market/financial risks โลกธุรกิจปัจจุบัน ความเสี่ยงภายนอกที่ควบคุมไม่ได้เปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว แม้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก (tail risk) แต่ปัจจุบันมักจะเกิดได้บ่อยครั้งขึ้นมาก เช่น วิกฤติ 9/11 วิกฤติสงครามต่างๆ วิกฤติซับไพรม วิกฤติการล้มละลายของกรีซ อาร์เจนตินา เป็นต้น
📝Underestimate business/supplier risks กรณีธุรกิจโรงไฟฟ้าของอนิล การขึ้นราคาก๊าซของ Supplier ที่เป็นบริษัทของพี่ชาย จากการที่ราคาก๊าซโลกพุ่งสูงขึ้นมาก ทำให้นำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจโรงไฟฟ้า
#aiคิดต่างอย่างพี่หมู #AnilAmbani #RelianceIndustries #RelianceHomeFinance #ambanifamily