นอนกัดฟัน ปัญหาสุขภาพ ยุคดิจิทัล อาการเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่



นอนกัดฟัน (Bruxism) ภาวะที่เกิดการบด กัด ขบเน้นฟัน บดเคี้ยวฟัน ของตัวเอง ขณะนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว หรือบางราย อาจกัดฟันโดยไม่รู้ตัวขณะตื่นได้ด้วย

การ นอนกัดฟัน คืออะไร
การนอนกัดฟันขณะนอนหลับ ถือเป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ  (Sleep-Related Movement Disorder) ผู้ที่กัด หรือ เคี้ยวฟัน กัดฟันขณะนอนหลับ มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาการนอนหลับอื่น ๆ เช่น การกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ 
การนอนกัดฟันที่ไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องรักษา อย่างไรก็ตาม ในบางรายการนอนกัดฟันอาจเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรง จนนำไปสู่ความผิดปกติของขากรรไกร ปวดหัว ฟันเสียหาย และปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ หากมีอาการนอนกัดฟันขณะหลับต่อเนื่องยาวไม่นานโดยที่ไม่รู้ตัว อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่จะตามมา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสังเกตพบสัญญาณ หรือ อาการนอนกัดฟัน ที่มีระดับอันตราย ทั้งนี้ ภาวะการนอนกัดฟัน สามารถเกิดขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และในเด็กด้วยเช่นกัน



สังเกตตัวเองด่วน อาการนอนกัดฟัน
อาการนอนกัดฟัน มักไม่พบได้ด้วยตัวเอง เพราะมักเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังนอนหลับ อาการเหล่านี้มักถูกพบโดยบุคคลอื่นได้ เช่น คู่สามี ภรรยา เพื่อน พ่อแม่ หรือบุคคลที่นอนกับผู้ที่มีอาการ อย่างไรก็ดี สามารถสังเกตความผิดปกติด้วยตัวเองได้ ดังนี้

> รู้สึกเสียวฟันเวลาถูกของเย็น หรือ ร้อน
> รู้สึกเสียวฟันขณะแปรงฟัน
> มีรอยเส้นบางๆ ที่เคลือบฟันของฟันบางซี่
> ฟันสึก ฟันแตก ฟันร้าว หรือโยก
> ปวดฟันอย่างรุนแรง ไม่ทราบสาเหตุ
> ปวดเวณขากรรไกร คอ บ่า ไหล่ หรือ ใบหน้า
> มีเสียงคลิกหน้าใบหู หรือ ปวดหน้าใบหู
> ปวดศีรษะบ่อย ๆ
> พบแผลบริเวณกระพุ้งแก้มด้านใน
> นอนหลับไม่สนิท พบอาการเพลียหลังตื่นนอน

ต้นเหตุ อาการนอนกัดฟัน
อ้างอิงจาก National Institute of Dental and Craniofacial Research สาเหตุของการนอนกัดฟันพบได้จากหลายปัจจัย ที่อาจก่อรวมกันแล้วส่งผลให้เกิดภาวะนอนกัดฟัน อาจเกิดมาจากปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial Factors) เช่น ความเครียด วิตกกังวล ความรู้สึกเศร้าหมอง การดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องในปริมาณมาก สูบบุหรี่ การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป

การเกิดภาวะนอนกัดฟันในบางราย อาจมีสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุผลด้านพันธุกรรมร่วมด้วย
หรือ การใช้ยาบางประเภท เพื่อใช้รักษาภาวะซึมเศร้า ภาวะชัก และ ยาที่ใช้รักษาภาวะ ADHD อาจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญที่จะเพิ่มโอกาสการเกิดอาการนอนกัดฟันในขณะนอนหลับ

ทั้งนี้ อาจมาจากเหตุปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) และอาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของฟัน เช่น การสบฟัน มีฟันหลอ หรือฟันเบี้ยว

แนวทางการรักษา อาการนอนกัดฟัน
1. รักษาด้วยวิธีการปรับพฤติกรรม
2. รักษาด้วยวิธีการจัดปัญหาภาวะทางจิตสังคม
3. รักษาด้วยอุปกรณ์ทางทันตกรรม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ >> Thai Sleep & Wellness
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่