ศิลปินแห่งชาติ ผนึกกำลังถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้ ด้านศิลปะ
ปลุกพลังสร้างสรรค์งานศิลปะแก่เยาวชนภาคเหนือ กว่า 600 คน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดกิจกรรม "ศิลปินแห่งชาติสัญจร 2567" ระหว่างวันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 มีนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรด้านการศึกษาสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 600 คน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมได้กล่าวถึงความสำคัญของโครงการนี้ว่า "กิจกรรมถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ เป็นโครงการที่สำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับความรู้และแรงบันดาลใจ ประสบการณ์การสร้างสรรค์งานศิลปะจากศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงผลงานประณีตศิลป์ด้านผ้าไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
“ในนามของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบคุณท่านศิลปินแห่งชาติ ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงหน่วยงานเครือข่ายทางวัฒนธรรมทุกหน่วยงานที่ร่วมกันสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเยาวชน และการส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ” รองอธิบดี สวธ. กล่าว
ด้านนางมาดา กระดังงา ผอ.หออัครศิลปิน กล่าวเสริมว่า "การถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ เป็นกิจกรรมที่หออัครศิลปินให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ของศิลปินแห่งชาติไปยังเยาวชนและผู้สนใจ" ประกอบด้วยฐานกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะ 8 ฐาน ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรมและสื่อผสม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ศิลปะผ่านเลนส์ วรรณศิลป์ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) และศิลปะการแสดง (ดนตรีและการขับร้อง) โดยมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเยาวชน ประกอบไปด้วย ศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา และเครือข่ายครุศิลปะที่มีชื่อเสียง อาทิ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ครูประยงค์ ชื่นเย็น อาจารย์ธงชัย รักปทุม ครูรัจนา พวงประยงค์ อาจารย์เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ครูสุดา ชื่นบาน และอาจารย์วินัย พันธุรักษ์ พร้อมด้วย อาจารย์นพเกล้า ศรีมาตย์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ปกรณ์ภัทร์ จันทะไข่สร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีผลงานดีเด่นโครงการครุศิลปะ เป็นต้น
รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน
กิจกรรมศิลปินแห่งชาติสัญจร นับเป็นอีกหนึ่งที่กิจกรรมดี ๆ ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสนี้ให้น้อง ๆ เยาวชน ในส่วนภูมิภาคที่สนใจและชื่นชอบในงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ได้ใกล้ชิดกับศิลปินแห่งชาติในดวงใจ พร้อมทั้งได้รับความรู้ ประสบกาณ์อันมีค่าจากศิลปินแห่งชาติผู้เป็นดั่งครูผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจและพลังในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และร่วมกันสืบทอดมรดกองค์ความรู้ที่สำคัญของศิลปินแห่งชาติให้อยู่คู่ประเทศชาติสืบไป โอกาสดี ๆ แบบนี้ไม่ได้มมาบ่อย ๆ
ศิลปินแห่งชาติ ผนึกกำลังถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้ ด้านศิลปะ จัดกิจกรรม "ศิลปินแห่งชาติสัญจร 2567"
ปลุกพลังสร้างสรรค์งานศิลปะแก่เยาวชนภาคเหนือ กว่า 600 คน
วันที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมได้กล่าวถึงความสำคัญของโครงการนี้ว่า "กิจกรรมถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ เป็นโครงการที่สำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับความรู้และแรงบันดาลใจ ประสบการณ์การสร้างสรรค์งานศิลปะจากศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงผลงานประณีตศิลป์ด้านผ้าไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้สัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
“ในนามของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบคุณท่านศิลปินแห่งชาติ ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงหน่วยงานเครือข่ายทางวัฒนธรรมทุกหน่วยงานที่ร่วมกันสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเยาวชน และการส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ” รองอธิบดี สวธ. กล่าว
ด้านนางมาดา กระดังงา ผอ.หออัครศิลปิน กล่าวเสริมว่า "การถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ เป็นกิจกรรมที่หออัครศิลปินให้ความสำคัญและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ผลงานและองค์ความรู้ของศิลปินแห่งชาติไปยังเยาวชนและผู้สนใจ" ประกอบด้วยฐานกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะ 8 ฐาน ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรมและสื่อผสม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ศิลปะผ่านเลนส์ วรรณศิลป์ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) และศิลปะการแสดง (ดนตรีและการขับร้อง) โดยมีวิทยากรที่มีชื่อเสียงร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเยาวชน ประกอบไปด้วย ศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา และเครือข่ายครุศิลปะที่มีชื่อเสียง อาทิ อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ครูประยงค์ ชื่นเย็น อาจารย์ธงชัย รักปทุม ครูรัจนา พวงประยงค์ อาจารย์เจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ครูสุดา ชื่นบาน และอาจารย์วินัย พันธุรักษ์ พร้อมด้วย อาจารย์นพเกล้า ศรีมาตย์กุล ผู้ทรงคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ปกรณ์ภัทร์ จันทะไข่สร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีผลงานดีเด่นโครงการครุศิลปะ เป็นต้น