จากสถิติของกรมการขนส่งทางบก โดย กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน เปิดเผยข้อมูลสถิติจำนวนรถจดทะเบียนใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ปี พ.ศ. 2567 รวมทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.2567 นั้นมียอดรวม 1,662,604 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี พ.ศ.2566 ที่มียอด 1,893,698 คัน จะเห็นได้ว่ามีการลดลงไปถึง 231,094 คัน ถ้ามาเจาะดูเฉพาะยอดในเดือนกรกฎาคมจะเห็นว่าของปีพ.ศ.2566 นั้นมียอดอยู่ที่ 241,343 คัน แต่พอมาของปีนี้กลับเพิ่มขึ้นเป็น 277,341 คัน เพิ่มขึ้น 35,998 คัน จากตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้น่าจะมาจากการที่รถมีการปรับเพิ่มรุ่นใหม่ มีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยในเวลาอันใกล้นี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ยอดจดทะเบียนประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567
1.
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 42,733 คัน โดยแบรนด์ที่มียอดสูงสุดยังคงเป็น Toyota ที่มียอดถึง 14717 คัน ส่วนแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดสูงสุดคือ BYD ที่ 2,672 คัน, รถยนต์ไฮบริดจาก Toyota ก็มียอดถึง 5,501 คัน และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จาก BMW ที่มียอดถึง 249 คัน
2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 2,013 คัน ในกลุ่มนี้ก็ยังเป็น Toyota ที่มียอดถึง 995 คัน โดยมี Hyundai ตามมาที่ 339 คัน
3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 10,174 คัน เป็น Toyota ที่มียอดถึง 5,024 คัน โดยมี Isuzu ตามมาที่ 2,712 คัน
4. รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล 11 คัน ซึ่งมีแบรนด์ TKI เป็นผู้นำในกลุ่มนี้
5. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด - คัน
6.
รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน 486 คัน ในกลุ่มนี้เปลี่ยนเป็น MG ที่แซง Toyota ขึ้นมา โดย Toyota ตามมาด้วยยอด 129 คัน และ Aion ที่ 122 คัน
บุคคลธรรมดา 58 คัน
นิติบุคคล 428 คัน
7. รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง - คัน
8. รถยนต์รับจ้างสามล้อ 23 คัน
9. รถยนต์บริการธุรกิจ 9 คัน
10. รถยนต์บริการทัศนาจร 29 คัน
11. รถยนต์บริการให้เช่า 5 คัน
12.
รถจักรยานยนต์ 160,615 คัน แน่นอนว่า Honda นำมาในกลุ่มนี้ด้วยยอดมากถึง 115,713 คัน
13. รถแทรกเตอร์ 5,064 คัน แบรนด์ Kubota นำมาด้วยยอด 3,794 คัน
14. รถบดถนน 59 คัน
15. รถใช้งานเกษตรกรรม 20 คัน
16. รถพ่วง 76 คัน
17.
รถจักรยานยนต์สาธารณะ 89 คัน ก็ยังเป็น Honda ที่นำมาในกลุ่มนี้
เมื่อดูยอดจดทะเบียนรวมสะสมตั้งแต่เดือน มกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.2567 จะพบว่า
1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 335,128 คัน
2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 11,319 คัน
3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 75,024 คัน
4. รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล 53 คัน
5. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด - คัน
6. รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน 2,374 คัน
บุคคลธรรมดา 363 คัน
นิติบุคคล 2,011 คัน
7. รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง 1 คัน
8. รถยนต์รับจ้างสามล้อ 185 คัน
9. รถยนต์บริการธุรกิจ 153 คัน
10. รถยนต์บริการทัศนาจร 459 คัน
11. รถยนต์บริการให้เช่า 9 คัน
12. รถจักรยานยนต์ 1,159,596 คัน
13. รถแทรกเตอร์ 37,873 คัน
14. รถบดถนน 296 คัน
15. รถใช้งานเกษตรกรรม 177 คัน
16. รถพ่วง 518 คัน
17. รถจักรยานยนต์สาธารณะ 613 คัน
ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ (ป้ายแดง) ในไทย เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567
ยอดจดทะเบียนประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567
1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 42,733 คัน โดยแบรนด์ที่มียอดสูงสุดยังคงเป็น Toyota ที่มียอดถึง 14717 คัน ส่วนแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มียอดสูงสุดคือ BYD ที่ 2,672 คัน, รถยนต์ไฮบริดจาก Toyota ก็มียอดถึง 5,501 คัน และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จาก BMW ที่มียอดถึง 249 คัน
2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 2,013 คัน ในกลุ่มนี้ก็ยังเป็น Toyota ที่มียอดถึง 995 คัน โดยมี Hyundai ตามมาที่ 339 คัน
3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 10,174 คัน เป็น Toyota ที่มียอดถึง 5,024 คัน โดยมี Isuzu ตามมาที่ 2,712 คัน
4. รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล 11 คัน ซึ่งมีแบรนด์ TKI เป็นผู้นำในกลุ่มนี้
5. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด - คัน
6. รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน 486 คัน ในกลุ่มนี้เปลี่ยนเป็น MG ที่แซง Toyota ขึ้นมา โดย Toyota ตามมาด้วยยอด 129 คัน และ Aion ที่ 122 คัน
บุคคลธรรมดา 58 คัน
นิติบุคคล 428 คัน
7. รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง - คัน
8. รถยนต์รับจ้างสามล้อ 23 คัน
9. รถยนต์บริการธุรกิจ 9 คัน
10. รถยนต์บริการทัศนาจร 29 คัน
11. รถยนต์บริการให้เช่า 5 คัน
12. รถจักรยานยนต์ 160,615 คัน แน่นอนว่า Honda นำมาในกลุ่มนี้ด้วยยอดมากถึง 115,713 คัน
13. รถแทรกเตอร์ 5,064 คัน แบรนด์ Kubota นำมาด้วยยอด 3,794 คัน
14. รถบดถนน 59 คัน
15. รถใช้งานเกษตรกรรม 20 คัน
16. รถพ่วง 76 คัน
17. รถจักรยานยนต์สาธารณะ 89 คัน ก็ยังเป็น Honda ที่นำมาในกลุ่มนี้
เมื่อดูยอดจดทะเบียนรวมสะสมตั้งแต่เดือน มกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.2567 จะพบว่า
1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 335,128 คัน
2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 11,319 คัน
3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 75,024 คัน
4. รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล 53 คัน
5. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด - คัน
6. รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน 2,374 คัน
บุคคลธรรมดา 363 คัน
นิติบุคคล 2,011 คัน
7. รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง 1 คัน
8. รถยนต์รับจ้างสามล้อ 185 คัน
9. รถยนต์บริการธุรกิจ 153 คัน
10. รถยนต์บริการทัศนาจร 459 คัน
11. รถยนต์บริการให้เช่า 9 คัน
12. รถจักรยานยนต์ 1,159,596 คัน
13. รถแทรกเตอร์ 37,873 คัน
14. รถบดถนน 296 คัน
15. รถใช้งานเกษตรกรรม 177 คัน
16. รถพ่วง 518 คัน
17. รถจักรยานยนต์สาธารณะ 613 คัน