เรื่องรถคันแรก อย่าเอาแต่คิดเอาเอง มาดูข้อมูลสถิติทางตัวเลขกันดีกว่า เพื่อความเข้าใจ แต่คนดูใจต้องเป็นธรรมด้วยนะ

กระทู้สนทนา
นโยบาย รถคันแรก ก็เหมือน นโยบาย บ้านหลังแรก ที่เจตนารมณ์ ก็เพื่อจะช่วยให้ ปชช.ที่ต้องการสร้างหลักปัจจัยขั้นพื้นฐาน(ความมั่นคง)ให้กับตัวเอง(ครอบครัว) แทนที่เรา ปชช.จะเสียดอกแพงๆในการกู้ ไม่ว่าบ้านหรือรถ ก็มีแต่เสียกับเสีย แต่ด้วยนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน พรรค พท.เขาช่วยโดยการคืนภาษี ซึ่งก็เท่ากับเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยให้ ปชช.ที่ต้องการสร้างหลักปรักฐานอนาคตตัวเองให้ดีขึ้นแบบผ่อนแรง อีกทั้งยังช่วยในเรื่องกระตุ้นเศษกิจ ซึ่งจะขออธิบายต่อไป...

ใครที่บอกว่า เงินภาษีที่คืนไป ทำให้รัฐเสียไปโดยใช่เหตุ เอาไปทำอย่างอื่นดีกว่า แต่ความจริง เงินที่รัฐคืนไป รัฐจะได้เงินส่วนนั้นก็ต่อเมื่อ ปชช.ได้ซื้อ รถหรือบ้านดังกล่าวตามนโยบายแล้วเท่านั้น แล้วเอารายได้จากการซื้อนั้นหัก แล้วจ่ายคืนในรูปแบบภาษี ให้กับ ปชช.ผู้ซื้อ ก็เท่ากับรัฐมิได้ควักกระเป๋าแต่อย่างใด เปรียบเหมือน อัฐยายซื้อขนมยาย แต่เป็นการช่วยเหลือกัน

แต่ถ้าใครจะบอกว่า หากไม่ต้องคืน รัฐก็จะได้เงินส่วนนี้เข้ากระเป๋า  ก็ใช่ครับ  แต่เงินที่เข้ากระเป๋าที่ว่าก็ไม่ได้เท่านี้เช่นกัน เพราะ ยอดรถที่ขายได้เพิ่มขึ้นก็เพราะนโยบายนี้ หากไม่มีนโยบายนี้ ก็ไม่มีใครซื้อจนได้ยอดสูงขนาดนี้ ก็จะเป็นการซื้อปรกติตามแต่ละปีเหมือนที่เคยเป้นมา หรืออาจจะน้อยลงเหตุเพราะปีที่ผ่านมา บ้านเราเกิดวิกฤษน้ำท่วม บ.ผู้ผลิตเสียหายเยอะ ความมั่นใจและกำลังใจของเขาก็ลดลง

มามองทางด้านกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องไม่ลืมว่า นโยบายรถคันแรก ไม่ได้ช่วยแค่ ปชช.ที่ต้องการมีรถ บ้านอยู่แล้ว แต่เป็นการกระตุ้นเศรษกิจด้วย และที่สำคัญ ก็ทราบกันดีว่า ช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา บ.ผลิตรถยนต์ โดนผลกระทบกันเยอะ โดยเฉพาะ Honda เรียกว่า กำลังใจของ บ.ผู้ผลิตหายไปเยอะ หากรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยกระตุ้น ผมมองว่า ผลเสียจะตามมาอย่างมโหฬาร เช่น อาจมีการถอน ย้ายฐานการผลิต และสุดท้าย ปชช.ที่เป็นลูกจ้างบริษัทเหล่านี้(ซึ่งมากมายมหาศาล) รวมถึง บ.ปลีกย่อยที่ร่วมผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้กับบริษัทประกอบรถยนต์ ก็จะเดือดร้อนไปตามๆกัน

ดังนั้น นโยบายรถคันแรก จึงเป็นนโยบายที่มาถูกที่ถูกเวลา ถูกจังหวะ และเข้ากับสถานการณ์ในประเทศอย่างตรงเผง(แม่นยำ)  และด้วยนโยบายนี้ เศรษฐกิจในประเทศเรา จึงผ่านมาได้จนถึงวันนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า บ.ผู้ผลิตรถ และ บ.ที่เกี่ยวข้อง และลูกจ้าง นอกจากพวกเขาได้กำลังใจกลับคืน ก็ยังได้เม็ดเงินกันถ้วนหน้า และที่น่าดีใจคือ พวกเขาก็เพิ่มฐานการผลิตอย่างต่อเนื่องต่อไป...

ทีนี้มาดูสถิติการจดทะเบียนรถ สิ่งที่ผมจะชี้คือ นโยบายรถคันแรก เขาให้เฉพาะรถยนต์ และต้องไม่เกิน1500cc. แต่ให้ดู จักรยานยนต์ ไม่ได้เกียวกับเขาเลย แต่ยอดจดทะเบียนกลับเพิ่มขึ้นกว่าปี54  หมายความว่าไง  ก็หมายความว่า จะมีนโยบายนี้หรือไม่ ความต้องการของ ปชช.ผู้บริโภคเขาก็มีความต้องการซื้ออยู่แล้ว นั่นเท่ากับว่า รถยนต์กก็เช่นกัน ถึงไม่มีนโยบายนี้เขาก็จะซื้อแน่นนอน เพราะคนเราทำงานมาเพื่อสร้างฐานะครอบครัวเป็นหลักกันทุกคน และ รถบ้านก็คือปัจจัยหลักที่ทุกคนอยากมีเป็นทุนอยู่แล้ว

ด้วยเหตุผลนี้จึงสามารถหักล้างที่ว่า "นโยบายนี้ทำให้รถติด" ซึ่งไม่ใช่เลย เพราะผมชี้ให้ดูตัวเลขสถิติแล้ว ยิ่งสถิติจักรยานยนต์ยิ่งชัด เพราะไม่ได้มีส่วนร่วมในนโยบายนี้ก็เพิ่มขึ้น ฉะนั้นก็แปลว่า รถมันติดโดยธรรมชาติของคนที่ต้องการซื้อรถที่มีความต้องการอยากมีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ผมกล้าท้า ให้ยกเลิกนโยบายนี้ ผลก็คือ รถก็ติด รถก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี ใครกล้ารับคำท้าใหมละ  แต่ถ้าใครบอกว่า แต่เพราะนโยบายนี้ทำให้รถเพิ่มเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น งั้นก็แย้งมาสิครับ ทำไม จักรยานยนต์ถึงเพิ่มขึ้นโดยไม่มีนโยบายจุงใจใดๆ อธิบายไม่ได้ อย่ามั่ว

อีกทั้ง นโยบายนี้ไม่ได้ช่วยแค่ ปชช. แต่ช่วยในเรื่อง กระตุ้นเศรษฐิจโดยเฉพาะช่วงน้ำท่วมที่ผมอธิบายไปแล้วข้างต้น จึงสรุปว่า เป็นนโยบายที่คุ้มค่า แก้ตรงจุดมาถูกจังหวะเวลาพอดี โดยเฉพาะความมั่นใจ กำลังใจของผู้ผลิต(ผู้ลงทุน) สำคัญนะครับ อย่ามองข้าม  ดังนั้นจึงเห็นว่านโยบายนี้มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล  คำเตือน..มองต้องมองให้รอบด้าน

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/auto-mobile/auto-mobile/20121217/482333/10%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B01,536%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99.html

เปิดสถิติ 10 เดือนแรก ของปี"55 รถยนต์ใหม่เพิ่มวันละ 1,536 คัน เพิ่มขึ้นวันละ 436 คัน เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน



จากสถิติการจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ 4 ล้อ ประกอบด้วย รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน และรถยนต์ 4 ล้อรับจ้าง ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 พบว่ามียอดเฉลี่ยวันละ 1,536 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งมียอดเฉลี่ยวันละ 1,100 คัน หรือเพิ่มขึ้นวันละ 436 คัน คิดเป็น 39.6%

ส่วนรถจักรยานยนต์มีสถิติการจดทะเบียนเฉลี่ยวันละ 1,272 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งมียอดจดทะเบียนเฉลี่ยวันละ 1,071 คัน หรือเพิ่มขึ้นวันละ 201 คัน คิดเป็น 18.8%

จำนวนรถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนสะสมในกรุงเทพฯระหว่างปี 2550-2555 เพิ่มขึ้น 27.96% โดยปี 2550 มีจำนวน 5.7 ล้านคัน ปี 2551 มีจำนวน 5.9 ล้านคัน ปี 2552 มีจำนวน 6.1 ล้านคัน ปี 2553 มีจำนวน 6.4 ล้านคัน ปี 2554 มีจำนวน 6.8 ล้านคัน และตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ย.2555 มีจำนวนรถจดทะเบียนสะสม รวม 7,384,934 คัน เพิ่มขึ้น 535,721 คัน คิดเป็น 7.8% จากจำนวนรถจดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค.2554 ซึ่งมีจำนวน 6,849,213 คัน

สำหรับจำนวนรถสะสม 7.3 ล้านคันในปัจจุบัน เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล 2.8 ล้านคัน คิดเป็น 38.84% รถจักรยานยนต์ 2.7 ล้านคัน คิดเป็น 38.18% รถยนต์บรรทุกกว่า 1 ล้านคัน คิดเป็น 14.62% ส่วนที่เหลือเป็นรถอื่นๆ เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถสามล้อ รถพ่วง รถแทรกเตอร์
.................................................................

ให้ดูช่วง ระหว่างปี 2550-2555 และการเพิ่มของรถจักรยานยนต์ที่ไม่มีนโยบายรัฐใดๆช่วย  .....จะเห็นว่าเพิ่มขึ้นมาตลอด โดยปี50เป็นต้นมาก่อนที่จะมีนโยบายรถคันแรก จะเห็นชัดว่าเพิ่มขึ้นมาตลอด และยังไงๆก็จะเพิ่มขั้นไปเรื่อยก็เขาคือ ปชช.ที่ทำงานมาเหน็ดเหนื่อย เขาก็อยากมีอยากซื้อก็เหมือนไอ้คนรถ6คันเหมือนกัน อ้าวก็คนเหมือนกันนี่หว่า.... แล้วจะมาว่านโยบายนี้ทำให้รถติดได้ไง คนพูดแบบนี้ผมก็ไม่อาจมองเป็นอย่างอื่นได้ก็คือ โง่ กับหาเรื่องรัฐบาล
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่