ฟุตซี่ รัสเซล ยกระดับ กรอบการให้คะแนน ESG ที่จะมาใช้กับบริษัทจดทะเบียนไทย แทน SET ESG Rating เน้นการประเมินข้อมูลสาธารณะ
เมื่อไม่นานนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ FTSE Russell (ฟุตซี่ รัสเซล) ของตลาดหลักทรัพย์
ลอนดอน (LSEG) เพื่อนำกรอบการให้คะแนนความยั่งยืนใหม่มาใช้กับบริษัทจดทะเบียนของไทย แทนที่การจัดอันดับ SET ESG Rating ที่มีอยู่ โดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงมาตรฐานการรายงานความ ทั้งนี้ เริ่มการประเมินนำร่องในปี 2567-2568 และจะประกาศผลคะแนน ESG สู่สาธารณะตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป
ความแตกต่าง FTSE Russell และ SET ESG
ปัจจุบันการจัดอันดับ ESG สำหรับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแบบสมัครใจ โดยใช้วิธีการตอบแบบประเมินความยั่งยืน แต่การให้คะแนน ESG Data Model ของ FTSE Russell เน้นการประเมินจากข้อมูลที่ บจ. เปิดเผยสู่สาธารณะ (Public Disclosures) ซึ่งเป็น Methodology ที่ใช้ประเมินกว่า 8,000 หลักทรัพย์ทั่วโลก สร้างความเชื่อมั่นพร้อมดึงดูดความสนใจผู้ลงทุน และสามารถเปรียบเทียบผลประเมินกับบริษัททั้งในและต่างประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกัน
ตัวชี้วัด FTSE Russell
ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) เป็นส่วนหนึ่งของกรอบการประเมินการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ที่ FTSE Russell ใช้ โดยครอบคลุม 14 ธีม เช่น
ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินผลกระทบของบริษัทจากการปล่อยคาร์บอน การใช้พลังงาน และการจัดการขยะ
ด้านสังคม ประเมินวิธีที่บริษัทจัดการความสัมพันธ์กับพนักงาน ซัพพลายเออร์ ลูกค้า และชุมชนที่บริษัทดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงมาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชน
และด้านธรรมาภิบาล พิจารณาถึงความเป็นผู้นำของบริษัท เงินเดือนผู้บริหาร การตรวจสอบ การควบคุมภายใน และสิทธิของผู้ถือหุ้น
โดยในระดับโลกจะมีการใช้ตัวชี้วัดต่าง ๆ มากกว่า 300 ตัวชี้วัด ขณะที่บริบทและลักษณะธุรกิจในประเทศไทยจะใช้ตัวชี้วัดเฉลี่ยที่ราว 140 ตัวชี้วัด
สำหรับการให้คะแนน บริษัทต่าง ๆ จะได้รับคะแนน ESG โดยรวม ซึ่งแบ่งออกเป็นคะแนนสำหรับแต่ละเสาหลักและธีม ระบบการให้คะแนนนี้ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงการเปิดรับและการจัดการปัญหา ESG ของบริษัทด้วย และช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบรู้
กระบวนการการปรับใช้
ช่วงนำร่อง 1-2 ปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจะทำการประเมินทั้ง 2 มาตรฐาน คือ SET ESG Rating และ FTSE Russell ESG Scores โดยยังไม่มีการเผยแพร่ผลประเมิน FTSE Russell ESG Scores เพื่อเปิดโอกาสให้ทาง บจ. ปรับตัวและแก้ไข
ทั้งนี้ ในปีแรกจะนำร่องด้วยการประเมิน 192 บริษัทที่อยู่ใน SET ESG Rating และอีก 35 บริษัทใน SET 100 ที่ยังไม่ได้เข้าประเมิน นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้ SMEs สมัครใจเข้าร่วมประเมินในปี 2568 ด้วย
ตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งเป้าเพิ่มการประเมินบริษัทที่อยู่ใน SET ESG Rating จาก 192 บริษัท เป็น 300-400 บริษัท
เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
“ภากร ปีตธวัชชัย” กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า SET ได้ศึกษาแนวทางการประเมิน ESG สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยมาตั้งแต่ปี 2565 และมุ่งพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
“ความร่วมมือครั้งนี้ ไม่เพียงช่วยสริมสร้างระบบนิเวศของตลาดทุนไทยสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน และสามารถพัฒนาการดำเนินงานด้าน ESG ได้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ยังช่วยลดภาระการตอบแบบประเมินความยั่งยืนแก่ บจ. ขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนยังสามารถเปรียบเทียบผลประเมินกับบริษัททั้งในและต่างประเทศได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน”
นอกจากนี้ FTSE Russell ยังมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct สากล โดย FTSE ESG Data Model ถูกกำกับดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจ ผู้ลงทุน NGOs และนักวิชาการ แนวทางและวิธีการประเมินจึงสะท้อนมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-1629313
ทำความรู้จัก “ฟุตซี่ รัสเซล” ที่จะถูกใช้แทน ESG Rating ของ ตลท
เมื่อไม่นานนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ FTSE Russell (ฟุตซี่ รัสเซล) ของตลาดหลักทรัพย์
ลอนดอน (LSEG) เพื่อนำกรอบการให้คะแนนความยั่งยืนใหม่มาใช้กับบริษัทจดทะเบียนของไทย แทนที่การจัดอันดับ SET ESG Rating ที่มีอยู่ โดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงมาตรฐานการรายงานความ ทั้งนี้ เริ่มการประเมินนำร่องในปี 2567-2568 และจะประกาศผลคะแนน ESG สู่สาธารณะตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป
ความแตกต่าง FTSE Russell และ SET ESG
ปัจจุบันการจัดอันดับ ESG สำหรับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแบบสมัครใจ โดยใช้วิธีการตอบแบบประเมินความยั่งยืน แต่การให้คะแนน ESG Data Model ของ FTSE Russell เน้นการประเมินจากข้อมูลที่ บจ. เปิดเผยสู่สาธารณะ (Public Disclosures) ซึ่งเป็น Methodology ที่ใช้ประเมินกว่า 8,000 หลักทรัพย์ทั่วโลก สร้างความเชื่อมั่นพร้อมดึงดูดความสนใจผู้ลงทุน และสามารถเปรียบเทียบผลประเมินกับบริษัททั้งในและต่างประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกัน
ตัวชี้วัด FTSE Russell
ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) เป็นส่วนหนึ่งของกรอบการประเมินการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ที่ FTSE Russell ใช้ โดยครอบคลุม 14 ธีม เช่น
ด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินผลกระทบของบริษัทจากการปล่อยคาร์บอน การใช้พลังงาน และการจัดการขยะ
ด้านสังคม ประเมินวิธีที่บริษัทจัดการความสัมพันธ์กับพนักงาน ซัพพลายเออร์ ลูกค้า และชุมชนที่บริษัทดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงมาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชน
และด้านธรรมาภิบาล พิจารณาถึงความเป็นผู้นำของบริษัท เงินเดือนผู้บริหาร การตรวจสอบ การควบคุมภายใน และสิทธิของผู้ถือหุ้น
โดยในระดับโลกจะมีการใช้ตัวชี้วัดต่าง ๆ มากกว่า 300 ตัวชี้วัด ขณะที่บริบทและลักษณะธุรกิจในประเทศไทยจะใช้ตัวชี้วัดเฉลี่ยที่ราว 140 ตัวชี้วัด
สำหรับการให้คะแนน บริษัทต่าง ๆ จะได้รับคะแนน ESG โดยรวม ซึ่งแบ่งออกเป็นคะแนนสำหรับแต่ละเสาหลักและธีม ระบบการให้คะแนนนี้ช่วยให้นักลงทุนเข้าใจถึงการเปิดรับและการจัดการปัญหา ESG ของบริษัทด้วย และช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบรู้
กระบวนการการปรับใช้
ช่วงนำร่อง 1-2 ปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจะทำการประเมินทั้ง 2 มาตรฐาน คือ SET ESG Rating และ FTSE Russell ESG Scores โดยยังไม่มีการเผยแพร่ผลประเมิน FTSE Russell ESG Scores เพื่อเปิดโอกาสให้ทาง บจ. ปรับตัวและแก้ไข
ทั้งนี้ ในปีแรกจะนำร่องด้วยการประเมิน 192 บริษัทที่อยู่ใน SET ESG Rating และอีก 35 บริษัทใน SET 100 ที่ยังไม่ได้เข้าประเมิน นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้ SMEs สมัครใจเข้าร่วมประเมินในปี 2568 ด้วย
ตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งเป้าเพิ่มการประเมินบริษัทที่อยู่ใน SET ESG Rating จาก 192 บริษัท เป็น 300-400 บริษัท
เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
“ภากร ปีตธวัชชัย” กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า SET ได้ศึกษาแนวทางการประเมิน ESG สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยมาตั้งแต่ปี 2565 และมุ่งพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
“ความร่วมมือครั้งนี้ ไม่เพียงช่วยสริมสร้างระบบนิเวศของตลาดทุนไทยสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน และสามารถพัฒนาการดำเนินงานด้าน ESG ได้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ยังช่วยลดภาระการตอบแบบประเมินความยั่งยืนแก่ บจ. ขณะเดียวกัน ผู้ลงทุนยังสามารถเปรียบเทียบผลประเมินกับบริษัททั้งในและต่างประเทศได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน”
นอกจากนี้ FTSE Russell ยังมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ Code of Conduct สากล โดย FTSE ESG Data Model ถูกกำกับดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจ ผู้ลงทุน NGOs และนักวิชาการ แนวทางและวิธีการประเมินจึงสะท้อนมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-1629313