8 Minute History On Stage (2023) - การแข่งขันของอารยธรรมโลก และความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์

 8 Minute History On Stage: ประวัติศาสตร์ 8 นาทีออนสเตจ

 "History repeats itself... ประวัติศาสตร์ย้อนรอยตัวเองเสมอ"


เล่าเรื่องโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน (เฮียวิทย์)

สวัสดีครับ ! ล่าสุดผมพบว่า 8 Minute History On Stage หรือ "ทอร์กโชว์ประวัติศาสตร์" จาก The Standard ที่จองบัตรไม่ทันในปีที่แล้ว ตอนนี้ได้เข้า Netflix เป็นที่เรียบร้อย

ดังนั้นในฐานะที่เป็นแฟนรายการ 8 Minute History ของเฮียวิทย์ เราก็พลาดไม่ได้ที่จะรับชมโชว์นี้ และชอบจนอยากจะมาบอกต่อกัน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
The Standard 8 Minute History On Stage | Netflix

ความรู้สึกหลังชม

- เกริ่นก่อนว่า 8 Minute History เป็นรายการเล่าประวัติศาสตร์สั้น ๆ ของสำนักข่าว The Standard ที่ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน (เฮียวิทย์) 

ในรายการมีรูปแบบการเล่าประวัติศาสตร์ที่ฟังง่าย สนุก พร้อมกับเชื่อมโยงแต่ละส่วนของโลกให้เห็นเป็นภาพ ทำให้รายการนี้มีผู้ชมติดตามมากมาย นำมาสู่การทำโชว์ "8 Minute History On Stage" ทอร์กโชว์ประวัติศาสตร์ที่เห็นไม่บ่อยในเมืองไทย

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
‘เฮียวิทย์’ พูดแบบนี้ มีบางชาติสะดุ้งแน่ - The Standard 8 Minute History On Stage | Netflix

- Concept หลักของทอร์กโชว์ครั้งนี้ คือ การเล่าถึงธีม "Race of Civilization" หรือ "การแข่งขันของอารยธรรมโลก"

ถ้าเปรียบเทียบประวัติศาสตร์ของ "อารยธรรม" กับ "การวิ่งมาราธอน" โลกของเราต่างประกอบไปด้วยอารยธรรมที่แตกต่าง ในแต่ละช่วงเวลา จะมีนักวิ่งที่โดดเด่นและนักวิ่งที่วิ่งตามหลังสลับไปมาบนหน้าไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ แม้แต่ประเทศไทยก็มีช่วงที่โดดเด่นในภูมิภาคและช่วงที่ไม่มีพื้นที่หน้าสื่อ เพราะ มีนักวิ่งที่โดดเด่นกว่ามาแย่งพื้นที่ไป

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
The History of the World's Civilizations in 2 Minutes

โชว์นี้จึงเป็นโชว์สรุปถึงสาระสำคัญของ "Race of Civilization" ที่มีผลต่อความเป็นไปของโลก เราจะได้เห็นถึงสาเหตุ ไม่ว่าจะความรุ่งโรจน์และการร่วงหล่นของจักรวรรดิสำคัญ อันส่งผลต่อสภาพหน้าตาโลกยุคปัจจุบัน

(นึกถึงเกมส์ Sid Meier’s Civilization ที่เราต้องแข่งกันพัฒนาอารยธรรมให้ชนะผู้เล่นคนอื่น ๆ)

- ในโชว์จะมีธีมการเล่าประจำองก์ โดยมีหัวใจหลักเรื่องราวอยู่ที่ "การพัฒนาและปฏิวัติองค์ความรู้ของแต่ละอารยธรรม" ซึ่งนับเป็นหนึ่งในใจความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ทีเดียว

-- เริ่มต้นที่ยุคแห่งการเผยแพร่องค์ความรู้ ผ่าน "แท่นพิมพ์ของกูเทนเบิร์ก" ทำให้การส่งต่อความรู้เป็นไปได้โดยง่าย เมื่อมนุษยชาติพิมพ์หนังสือจำนวนมากได้ในคราวเดียว

Artist's visualization of Johannes Gutenberg in his workshop, showing his first proof sheet.

-- ยุคแห่งของสำรวจของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก เช่น เรื่องราวของ "เจิ้ง เหอ" ตัวแทนนักสำรวจจากอารยธรรมจีนที่นำกองเรือขนาดมหึมาไปสำรวจไปไกลถึงแอฟริกา และเรื่องราวนักสำรวจตะวันตกหลายท่านจากจักรวรรดิโปรตุเกสและสเปนที่สำรวจเส้นทางการค้าขาย นำไปสู่การค้นพบทวีปใหม่ เช่น ทวีปอเมริกา

เส้นทางการเดินเรือรอบโลกของ "เฟอร์ดินาน แมกเจลแลน"

-- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์จากนักคิดมุสลิมสู่การท้าทายความเชื่อศาสนจักรของ "กาลิเลโอ" เพื่อการตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment)


-- ผลกระทบจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์นำไปสู่การ Disruption สิ่งต่าง ๆ เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม การแบ่งแยกชนชั้น และการตั้งคำถามถึงแนวคิดทางการเมืองการปกครอง รวมถึงสภาพนักวิ่งที่โดน Disrupt จนวิ่งก้าวตามยุโรปไม่ทันอย่าง "จักรวรรดิจีน" และ "ออสโตมัน"

A Roberts loom in a weaving shed in the United Kingdom in 1835

-- สงครามโลกครั้งที่ 2 ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และการกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งของ "จักรวรรดิจีนยุคใหม่" ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์

The "Big Three" at the Yalta Conference, Winston Churchill, Franklin D. Roosevelt 

- จากไทม์ไลน์ทั้งหมดนำไปสู่การตั้งคำถามที่ว่า "เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่ออะไร เรียนไปทำไม และเราจะอยู่ที่ไหนบนประวัติศาสตร์"

ต้องบอกว่า "การเรียนประวัติศาสตร์" แตกต่างจากการเรียนสายวิชาชีพที่สามารถนำไปทำงานได้ทันที แต่การเรียนประวัติศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อขัดเกลาปัญญาให้เข้าใจถึงเหตุและผลของการเป็น "เรา" ในทุกวันนี้

มันจึงเป็นสิ่งที่ไม่การันตีว่า "เรียนแล้ว จะร่ำรวยหรือเหนือกว่าคนอื่น" แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราจะนำหลักคิดที่ได้จากการเรียนรู้ไปปรับใช้อย่างไร จะเขียนประวัติศาสตร์ของตัวเองให้มีหน้าตาแบบไหน เมื่อเรามี "ความร่ำรวยทางปัญญา" มากขึ้น และเข้าใจในคำกล่าวที่ว่า "History repeats itself" (ประวัติศาสตร์ย้อนรอยตัวเองเสมอ)

"สี จินผิง" ประนาธิบดีคนปัจจุบันของจีน

- นอกจากนี้เฮียวิทย์ยังแนะนำทริคในการเรียนประวัติศาสตร์ว่า "การเรียนประวัติศาสตร์ต้องเริ่มที่ 'การจำ'"

อันที่จริง "การจำ" ถือเป็นพื้นฐานในเรียนทุกศาสตร์ ก่อนที่เราจะพัฒนาไปหาที่มาที่ไปของสิ่งที่ศึกษา หรือเริ่มเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ได้ ต้องเริ่มต้นจากการจำและเข้าใจในพื้นฐานให้แน่นและแม่นยำก่อน แล้วเติมแพชชั่นเข้าไปในสิ่งนั้น


- ในทอร์กโชว์นี้ เฮียวิทย์เล่าเรื่องได้อย่างสนุกสนานครบรส ฟังเพลินไม่มีเบื่อตลอด 2 ชั่วโมง 16 นาที แต่หากใครคาดหวัง เนื้อหาประวัติศาสตร์ลึก ๆ อาจจะไม่เหมาะนัก เพราะ ทอร์กโชว์นี้แทบจะเรียกว่า Introduction: History 101 มากกว่า

ส่วนตัวมองว่า นี่น่าจะเป็นโชว์แรกที่ควรดูก่อนไปดู 8 Minute History ทุก ๆ ตอนใน Youtube ด้วยซ้ำ เพราะโชว์นี้เล่าถึงแก่นสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รวมถึงสาระสำคัญใน timeline ที่ควรจะรู้เนิ่น ๆ ก่อนที่จะกระโดดไปเจาะลึกในส่วนต่าง ๆ ของโลก เรียกว่า เป็นการทำให้เราเห็นภาพร่างของอารยธรรมมนุษย์ชัดเจนขึ้น

- ประวัติศาสตร์ไทยไม่ได้มีแตะ เพราะบทบาทไม่ได้มากในเวทีอารยธรรมโลก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ประวัติศาสตร์สนทนา วิชาประวัติศาสตร์ในฝัน | 8 Minute History ‘Mini Forum’

สรุป

นับว่าโชคดีที่ยุคนี้ มีสิ่งที่ทำให้ความรู้ ความบันเทิงแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าแท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก

8 Minute History On Stage นับว่าเป็นทอร์กที่สร้างแรงบันดาลใจดี ๆ จนอยากแนะนำให้ทุกคนได้ดูกัน ไม่เฉพาะน้อง ๆ เด็ก ๆ ที่กำลังเรียนวิชาประวัติศาสตร์อยู่ในโรงเรียน แต่เหมาะสำหรับทุกคนที่สนใจใครรู้ในประวัติศาสตร์

ไม่แน่ว่า การฟังประวัติศาสตร์ผ่าน Podcast อาจจะเป็นอีกกิจกรรมดี ๆ ที่ทำให้ท่านติดงอมแงมก็ได้... ใครสนใจ ดูโชว์ได้บน Netflix ส่วน Podcast สามารถติดตามได้บน Youtube Channel - 8 Minute History !

____________________________________

ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อ

   
Lemon8: BENJI Review
IG: benjireview
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่