โพสต์ที่แล้วผมเคยบอกว่า 3 เหตุผลที่ผมยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้านะครับมีข้อแรกที่ผมบอกว่าผมอยากรอให้เทคโนโลยีของแบตเตอรี่มันพัฒนาขึ้นจากเดิมอีกนิด อย่างน้อยก็ให้ได้ถึงแบบที่เทคโนโลยี se-mi โซลิดสเตท ก็ยังดี เพราะอย่างน้อยก็ระยะทางวิ่งที่เคลมก็ควรจะถึง 1,000 กิโลแล้ว ใช้จริงๆเหลือซัก 500 - 600 แค่นี้พอสมใจอยากของผมแล้ว
พูดถึงระยะทางการวิ่งของแบตฯรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นของจีน หรือของ tesla แบรนด์อเมริกัน หรือพวกรถยุโรปทั้งหลาย เรามักจะเห็นทางแบรนด์เขาเคลมระยะทางการวิ่งไว้ในการโฆษณาขายเกือบทุกยี่ห้อ
บางครั้งเราดูระยะทางที่เขาเคลมมา แล้วมาดูจากการที่เราใช้งานรถยนต์น้ำมันปัจจุบันบางทีแล้วก็คิดว่ารถรุ่นนี้น่าจะพอเพียงต่อการใช้งาน ของเรา
แต่เอาเข้าจริงแล้วระยะทางที่เขาเคลมมาไม่มีคันไหนถึงตามที่เขาบอกสักคัน บริษัทพวกนี้เขาโกหกเราหรือเปล่า ขอตอบได้เลยว่าเขาไม่ได้โกหกเราเพียงแต่เขาไม่ได้บอกทั้งหมด
เพราะรถยนต์ที่เขาผลิตจะมีการทดสอบระยะทางวิ่งตามมาตรฐานต่างๆที่มีใช้ในโลกใบนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายมาตรฐานที่เขาใช้กำหนดกันอยู่ เราจะสังเกตเห็นว่าเวลาเขาพิมพ์บอกระยะทางวิ่งสูงสุดที่ทำได้ของรถรุ่นนั้นๆ เขามักจะห้อยท้ายด้วยคำว่ามาตรฐานชื่อนั้นชื่อนี้อยู่เสมอ
เช่น วิ่งไกลสูงสุด 200 km. ตามมาตรฐาน NEDC เป็นต้น
โดยมาตรฐานระยะทางวิ่งสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในปัจุบัน มีดังนี้
NEDC มาตรฐานเก่า ที่ทางยุโรปตั้งขึ้นมาใช้นานมาแล้ว เป็นการทดสอบในห้องแลป ที่ดูไม่ใกล้เคียงความเป็นจริงในการใช้งานเลย ซึ่งในการทดสอบจะวิ่งระยะทางใกล้ๆและใช้ความเร็วต่ำๆ จากนั้นเอามาคำนวณหาอัตราสิ้นเปลืองของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งดูไม่ใกล้เคียงความจริงในการใช้งานจริงเลยแม้แต่น้อย ... สรุป แม่นยำน้อยมากๆ
CLTC มาตรฐานใหม่ที่ประเทศจีนเพิ่งตั้งขึ้นมาใช้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศจีน ข้อมูลไม่มีมากนักแต่เขาว่ากันว่าน่าจะเป็นมาตรฐานที่ดีกว่า NEDC หน่อย แต่ก็นะที่จีนเน้นตัวเลขเยอะไว้ก่อน ใช้ได้จริงมั้ย ค่อยว่ากัน (อันนี้ได้ยินมา เท็จจริง ยังไม่แน่ใจ).. สรุป แม่นยำน้อย
WLTP มาตรฐานใหม่ ที่อัพเดทขึ้นมาจาก NEDC ใช้การทดสอบในแลป ที่มีการกำหนดการทดสอบที่เข้มงวดมากขึ้น มีการกำหนดความเร็วทดสอบ แบบช้าแบบปานกลางแบบเร็วและแบบเร็วมาก ใกล้เคียงความเป็นจริงขึ้นมานิด แต่ถ้าเทียบกับความเป็นจริงแล้วมันก็ไม่สามารถคอนเฟิร์มได้ว่าระยะทางนั้นใช้ได้จริงตามนั้นเพราะในห้องแลปมันยังขาดปัจจัยในการทดสอบที่ทำให้เหมือนการใช้งานจริงอีกหลายประการ..สรุป แม่นยำปานกลาง
EPA มาตรฐานที่ใช้กันในอเมริกา รถยนต์ tesla ใช้มาตรฐานนี้ในการทดสอบ เป็นการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าในสภาพแวดล้อมจริง เอาไปวิ่งจริงๆ บนถนนสภาพต่างๆและความเร็วที่ระยะต่างๆ เสมือนขับจริงจังบนท้องถนน โดยขับวิ่งทดสอบที่แบตตั้งแต่ 100% จนแบตเหลือเกือบ 0% แล้วเอาไปชาร์จให้เต็ม จากนั้นก็ทดสอบแบบเดิมนี้ อีกหลายรอบ ซึ่งมาตรฐานการทดสอบนี้ น่าจะเป็นมาตรฐานระยะทางที่ใกล้เคียงความจริงในการใช้งานของรถยนต์มากที่สุดแล้ว..สรุป แม่นยำมาก
** ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า toyota bz4x แบบมอเตอร์เดี่ยว ขนาดแบตฯ 71.4 kWh รถรุ่นนี้เป็นไฟฟ้า 100% ระยะทางวิ่งถ้าทดสอบตามมาตรฐานแบบต่างๆ จะเป็นดังนี้
NEDC. = 626 km.
CLTC = 615 km.
WLTP = 510 km.
EPA = 406 km.
สรุปคือ ค่าที่แม่นยำสุด คือรถรุ่นนี้วิ่งจากแบต 100 % - 0 % จะวิ่งได้ 406 km. นั้นเอง
ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขายในไทยปัจจุบัน
ตัวอย่างรถไฟฟ้าจีนที่ขายในไทย
Neta v ii 382 km. มาตรฐาน NEDC
BYD Dolphin (รุ่น top) 490 km. มาตรฐาน NEDC
New BYD Atto 3 410 km. มาตรฐาน NEDC
Deepal S07 485 km. มาตรฐาน NEDC
ตัวอย่างรถไฟฟ้ายุโรปที่ขายในไทย
Benz EQE 558 km. มาตรฐาน WLTP
ตัวอย่างรถไฟฟ้าอเมริกา
Tesla model Y 533 km. มาตรฐาน WLTP (รุ่นขายในไทย)
**รุ่นที่ขายอเมริกา 308 ไมล์ (496 km.) มาตรฐาน EPA
ในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วรถที่เป็นที่นิยมก็มักจะเป็นรถจากประเทศจีน เท่าที่ผมดูมักจะใช้มาตรฐาน NEDC ซะเป็นส่วนมาก ซึ่งเอาเข้าจริงเวลาใช้งานจริงตัวที่เขาเคลมไว้เวลามาใช้จริงบนท้องถนนตัวเลขก็ไม่ถึงอยู่แล้ว เพราะการทดสอบในแลปด้วยความเร็วต่ำๆนั้น มันเทียบไม่ได้กับเวลาขับจริงบนถนนบ้านเรา
อยู่แล้ว นั่นหมายความว่าระยะทางที่เขาเคลมยังไงเราก็ไปไม่ถึง
อีกอย่าง เท่าที่ผมเคยได้ยินมาเขามักจะพูดว่าแบตลิเธียมนั้น เราไม่ควรใช้พลังงานให้ต่ำกว่า 20% และไม่ควรชาร์จให้เต็ม 100% บ่อยๆ เพราะจะช่วยยืดอายุและรักษาแบตฯให้อยู่กับเราไปนานๆ การเดินทางส่วนใหญ่ถ้าเดินทางไกลๆ ชาร์จปั๊มแบบชาร์จเร็ว เรามักจะชาร์จแบตเมื่อมันเหลือที่ 20% แล้วให้ขึ้นถึงประมาณ 80% จากนั้นเราก็พอแค่นี้แล้วเราก็ไปต่อ แสดงว่าเรามักจะใช้แบตเตอรี่ในการเดินทางจริงแค่ไม่เกิน 60% ของความจุแบตฯทั้งหมด เท่านั้น ยกเว้นหาจุดชาร์จไม่ได้ วิ่งจนแบตเกือบหมด หรือ เรามีเวลาเหลือเฟือก็เลยชาร์จเต็ม 100% ทุกครั้ง
อีกอย่าง (อีกแระ) ถ้าใครเป็นสายโคตรซิ่ง โคตรวิ่ง อยู่นิ่งๆไม่ได้ เท้าหนักตลอดเวลา ความเร็วอยู่ในสายเลือด ไม่สนสภาพแวดล้อมที่รถกำลังวิ่ว พึงระลึกเสมอ รถท่านจะรับประทานแบตฯให้หมดอย่างไวปานสายฟ้าฟาด ระยะทางวิ่งมันจะต่างกับที่บริษัทรถเขาเคลมอย่างมาก ถึง มากที่สุด
สรุปง่ายๆก็คือ ถ้าอยากได้ระยะทางไกลๆ ต้องซื้อรถไฟฟ้าราคาที่แพงขึ้นมาหน่อย หรือถ้าซื้อราคาถูก ก็ต้องขยันเข้าจุดชาร์จ อันนี้สำหรับคนที่ตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้าแล้ว ย่อมมีทางออกเสมอในการแก้ปัญหา
สำหรับผมนั้น ตอนที่ผมกำลังมองหารถไฟฟ้า ถ้าเป็นรถจีน ผมมักจะเอาระยะทางวิ่งที่เขาเคลม หาร 2 เสมอ ทำให้ผมรู้ระยะทางวิ่งจริง อันนี้ส่วนตัวนะ
เช่น รถ neta v เคลมวิ่งได้ 382 km. เมื่อผมเอาหาร 2 จะเหลือ 191 km. ตีกลมๆก็ประมาณ 200 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นถ้าผมซื้อรถคันนี้ ตอนขับเดินทางไกล ผมต้องทำใจแล้วว่า ทุก 200 กิโลเมตร ผมต้องหาที่จอดชาร์จ อะไรประมาณนี้
ปล. รถยนต์ไฟฟ้าอยากได้ใจจะขาด แต่ขอรออีกหน่อยละกัน
มาตรฐานระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้า ที่บริษัทขายรถเคลมไว้ กับการใช้งานจริง?
โพสต์ที่แล้วผมเคยบอกว่า 3 เหตุผลที่ผมยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้านะครับมีข้อแรกที่ผมบอกว่าผมอยากรอให้เทคโนโลยีของแบตเตอรี่มันพัฒนาขึ้นจากเดิมอีกนิด อย่างน้อยก็ให้ได้ถึงแบบที่เทคโนโลยี se-mi โซลิดสเตท ก็ยังดี เพราะอย่างน้อยก็ระยะทางวิ่งที่เคลมก็ควรจะถึง 1,000 กิโลแล้ว ใช้จริงๆเหลือซัก 500 - 600 แค่นี้พอสมใจอยากของผมแล้ว
พูดถึงระยะทางการวิ่งของแบตฯรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นของจีน หรือของ tesla แบรนด์อเมริกัน หรือพวกรถยุโรปทั้งหลาย เรามักจะเห็นทางแบรนด์เขาเคลมระยะทางการวิ่งไว้ในการโฆษณาขายเกือบทุกยี่ห้อ
บางครั้งเราดูระยะทางที่เขาเคลมมา แล้วมาดูจากการที่เราใช้งานรถยนต์น้ำมันปัจจุบันบางทีแล้วก็คิดว่ารถรุ่นนี้น่าจะพอเพียงต่อการใช้งาน ของเรา
แต่เอาเข้าจริงแล้วระยะทางที่เขาเคลมมาไม่มีคันไหนถึงตามที่เขาบอกสักคัน บริษัทพวกนี้เขาโกหกเราหรือเปล่า ขอตอบได้เลยว่าเขาไม่ได้โกหกเราเพียงแต่เขาไม่ได้บอกทั้งหมด
เพราะรถยนต์ที่เขาผลิตจะมีการทดสอบระยะทางวิ่งตามมาตรฐานต่างๆที่มีใช้ในโลกใบนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายมาตรฐานที่เขาใช้กำหนดกันอยู่ เราจะสังเกตเห็นว่าเวลาเขาพิมพ์บอกระยะทางวิ่งสูงสุดที่ทำได้ของรถรุ่นนั้นๆ เขามักจะห้อยท้ายด้วยคำว่ามาตรฐานชื่อนั้นชื่อนี้อยู่เสมอ
เช่น วิ่งไกลสูงสุด 200 km. ตามมาตรฐาน NEDC เป็นต้น
โดยมาตรฐานระยะทางวิ่งสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในปัจุบัน มีดังนี้
NEDC มาตรฐานเก่า ที่ทางยุโรปตั้งขึ้นมาใช้นานมาแล้ว เป็นการทดสอบในห้องแลป ที่ดูไม่ใกล้เคียงความเป็นจริงในการใช้งานเลย ซึ่งในการทดสอบจะวิ่งระยะทางใกล้ๆและใช้ความเร็วต่ำๆ จากนั้นเอามาคำนวณหาอัตราสิ้นเปลืองของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งดูไม่ใกล้เคียงความจริงในการใช้งานจริงเลยแม้แต่น้อย ... สรุป แม่นยำน้อยมากๆ
CLTC มาตรฐานใหม่ที่ประเทศจีนเพิ่งตั้งขึ้นมาใช้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศจีน ข้อมูลไม่มีมากนักแต่เขาว่ากันว่าน่าจะเป็นมาตรฐานที่ดีกว่า NEDC หน่อย แต่ก็นะที่จีนเน้นตัวเลขเยอะไว้ก่อน ใช้ได้จริงมั้ย ค่อยว่ากัน (อันนี้ได้ยินมา เท็จจริง ยังไม่แน่ใจ).. สรุป แม่นยำน้อย
WLTP มาตรฐานใหม่ ที่อัพเดทขึ้นมาจาก NEDC ใช้การทดสอบในแลป ที่มีการกำหนดการทดสอบที่เข้มงวดมากขึ้น มีการกำหนดความเร็วทดสอบ แบบช้าแบบปานกลางแบบเร็วและแบบเร็วมาก ใกล้เคียงความเป็นจริงขึ้นมานิด แต่ถ้าเทียบกับความเป็นจริงแล้วมันก็ไม่สามารถคอนเฟิร์มได้ว่าระยะทางนั้นใช้ได้จริงตามนั้นเพราะในห้องแลปมันยังขาดปัจจัยในการทดสอบที่ทำให้เหมือนการใช้งานจริงอีกหลายประการ..สรุป แม่นยำปานกลาง
EPA มาตรฐานที่ใช้กันในอเมริกา รถยนต์ tesla ใช้มาตรฐานนี้ในการทดสอบ เป็นการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าในสภาพแวดล้อมจริง เอาไปวิ่งจริงๆ บนถนนสภาพต่างๆและความเร็วที่ระยะต่างๆ เสมือนขับจริงจังบนท้องถนน โดยขับวิ่งทดสอบที่แบตตั้งแต่ 100% จนแบตเหลือเกือบ 0% แล้วเอาไปชาร์จให้เต็ม จากนั้นก็ทดสอบแบบเดิมนี้ อีกหลายรอบ ซึ่งมาตรฐานการทดสอบนี้ น่าจะเป็นมาตรฐานระยะทางที่ใกล้เคียงความจริงในการใช้งานของรถยนต์มากที่สุดแล้ว..สรุป แม่นยำมาก
** ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้า toyota bz4x แบบมอเตอร์เดี่ยว ขนาดแบตฯ 71.4 kWh รถรุ่นนี้เป็นไฟฟ้า 100% ระยะทางวิ่งถ้าทดสอบตามมาตรฐานแบบต่างๆ จะเป็นดังนี้
NEDC. = 626 km.
CLTC = 615 km.
WLTP = 510 km.
EPA = 406 km.
สรุปคือ ค่าที่แม่นยำสุด คือรถรุ่นนี้วิ่งจากแบต 100 % - 0 % จะวิ่งได้ 406 km. นั้นเอง
ตัวอย่างรถยนต์ไฟฟ้าที่มีขายในไทยปัจจุบัน
ตัวอย่างรถไฟฟ้าจีนที่ขายในไทย
Neta v ii 382 km. มาตรฐาน NEDC
BYD Dolphin (รุ่น top) 490 km. มาตรฐาน NEDC
New BYD Atto 3 410 km. มาตรฐาน NEDC
Deepal S07 485 km. มาตรฐาน NEDC
ตัวอย่างรถไฟฟ้ายุโรปที่ขายในไทย
Benz EQE 558 km. มาตรฐาน WLTP
ตัวอย่างรถไฟฟ้าอเมริกา
Tesla model Y 533 km. มาตรฐาน WLTP (รุ่นขายในไทย)
**รุ่นที่ขายอเมริกา 308 ไมล์ (496 km.) มาตรฐาน EPA
ในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วรถที่เป็นที่นิยมก็มักจะเป็นรถจากประเทศจีน เท่าที่ผมดูมักจะใช้มาตรฐาน NEDC ซะเป็นส่วนมาก ซึ่งเอาเข้าจริงเวลาใช้งานจริงตัวที่เขาเคลมไว้เวลามาใช้จริงบนท้องถนนตัวเลขก็ไม่ถึงอยู่แล้ว เพราะการทดสอบในแลปด้วยความเร็วต่ำๆนั้น มันเทียบไม่ได้กับเวลาขับจริงบนถนนบ้านเรา
อยู่แล้ว นั่นหมายความว่าระยะทางที่เขาเคลมยังไงเราก็ไปไม่ถึง
อีกอย่าง เท่าที่ผมเคยได้ยินมาเขามักจะพูดว่าแบตลิเธียมนั้น เราไม่ควรใช้พลังงานให้ต่ำกว่า 20% และไม่ควรชาร์จให้เต็ม 100% บ่อยๆ เพราะจะช่วยยืดอายุและรักษาแบตฯให้อยู่กับเราไปนานๆ การเดินทางส่วนใหญ่ถ้าเดินทางไกลๆ ชาร์จปั๊มแบบชาร์จเร็ว เรามักจะชาร์จแบตเมื่อมันเหลือที่ 20% แล้วให้ขึ้นถึงประมาณ 80% จากนั้นเราก็พอแค่นี้แล้วเราก็ไปต่อ แสดงว่าเรามักจะใช้แบตเตอรี่ในการเดินทางจริงแค่ไม่เกิน 60% ของความจุแบตฯทั้งหมด เท่านั้น ยกเว้นหาจุดชาร์จไม่ได้ วิ่งจนแบตเกือบหมด หรือ เรามีเวลาเหลือเฟือก็เลยชาร์จเต็ม 100% ทุกครั้ง
อีกอย่าง (อีกแระ) ถ้าใครเป็นสายโคตรซิ่ง โคตรวิ่ง อยู่นิ่งๆไม่ได้ เท้าหนักตลอดเวลา ความเร็วอยู่ในสายเลือด ไม่สนสภาพแวดล้อมที่รถกำลังวิ่ว พึงระลึกเสมอ รถท่านจะรับประทานแบตฯให้หมดอย่างไวปานสายฟ้าฟาด ระยะทางวิ่งมันจะต่างกับที่บริษัทรถเขาเคลมอย่างมาก ถึง มากที่สุด
สรุปง่ายๆก็คือ ถ้าอยากได้ระยะทางไกลๆ ต้องซื้อรถไฟฟ้าราคาที่แพงขึ้นมาหน่อย หรือถ้าซื้อราคาถูก ก็ต้องขยันเข้าจุดชาร์จ อันนี้สำหรับคนที่ตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้าแล้ว ย่อมมีทางออกเสมอในการแก้ปัญหา
สำหรับผมนั้น ตอนที่ผมกำลังมองหารถไฟฟ้า ถ้าเป็นรถจีน ผมมักจะเอาระยะทางวิ่งที่เขาเคลม หาร 2 เสมอ ทำให้ผมรู้ระยะทางวิ่งจริง อันนี้ส่วนตัวนะ
เช่น รถ neta v เคลมวิ่งได้ 382 km. เมื่อผมเอาหาร 2 จะเหลือ 191 km. ตีกลมๆก็ประมาณ 200 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นถ้าผมซื้อรถคันนี้ ตอนขับเดินทางไกล ผมต้องทำใจแล้วว่า ทุก 200 กิโลเมตร ผมต้องหาที่จอดชาร์จ อะไรประมาณนี้
ปล. รถยนต์ไฟฟ้าอยากได้ใจจะขาด แต่ขอรออีกหน่อยละกัน