หายนะของจริยธรรมทางวิชาชีพ ในละคร #ในวันที่ฝนพร่างพราย
มาค่ะ มาถึง EP10 ของละคร #ในวันที่ฝนพร่างพราย แล้ว ก็คงสามารถยืนยันในส่วนของมหัตภัยความผิดพลาดอันใหญ่หลวงที่ไม่สามารถยอมรับได้ของละครเรื่องนี้ คือ ส่วนของเนื้อเรื่องที่ปลายฝน นักสังคมสงเคราะห์ ที่ได้ช่วยเหลือไม้ (พระเอก) และแม่จากเหตุความรุนแรงในครอบครัว กำลังจะได้กับไม้ อดีตเคสของตนเองที่ตอนนี้เติบโตมาเป็นทนายอาสาให้กับมูลนิธิที่ฝนทำงานอยู่
หายนะ ของหนังเรื่องนี้คือการที่ละครปูเส้นเรื่องและสื่อสารเรื่องราวความรักของฝน (นักสังคมสงเคราะห์) และไม้ (อดีตเคสที่ฝนเคยให้ความช่วยเหลือจากความรุนแรงในครอบครัว) โดยพยายาม romanticize ความรักนี้ให้เป็นความงดงามของคนสองคนที่ต่างเปราะบางและมีประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวด โดยความเจ็บปวดและความเข้าอกเข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่างกันนี้ ได้ถักทอเป็นเส้นใยรักที่แสนงดงาม
ด้วยเส้นเรื่องนี้ ก็คงอนุมานได้ว่าทั้งผู้เขียนหนังสือ และผู้เขียนบทละคร ไม่ได้มีความเข้าใจในบทบาทและการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์เลย หากเข้าใจก็รู้จักเพียงแค่ผิวเผินเท่านั้น เพราะองค์ประกอบสำคัญของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ นอกจากความรู้ ทักษะ ทัศนคติ แล้ว การดำรงตนอยู่ในจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพคือสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ทุกคน
ตอนแรกแอดมินเองแอบคิดว่า เอ๊ะ หรือผู้จัดและคนแต่งต้องการสะท้อนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ดี และให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ แต่การติดตามบทสัมภาษณ์ของผู้จัด และจากงานเสวนาล่าสุดแล้ว ก็คงเป็นเรื่องสุดวิสัยจริง ๆ ที่ผู้จัดอาจจะยังไม่ทราบว่าความผิดของเนื้อเรื่องตรงนี้มันสะท้อนความไม่เข้าใจในวิชาชีพนี้ขนาดไหน แต่เราเชื่อว่า อะไรที่เกิดขึ้นแล้วดีทั้งนั้นค่ะ ก็ถือซะว่าเป็นโอกาสให้แอดอิน ในฐานะนักสังคมสงเคราะห์สาวสวยคนหนึ่ง (สวยไม่แพ้ปลายฝน) ได้มีโอกาสชี้แจง เป็นประเด็นต่อจากละครได้เลยค่ะ
ทำไมนักสังคมสงเคราะห์ถึงรักกับเคสไม่ได้ ความรักเป็นสิ่งสวยงามไม่ใช่เหรอ นักสังคมสงเคราะห์ก็เป็นมนุษย์ป่ะ?
1. เราต้องตระหนักก่อนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วนักสังคมสงเคราะห์ทำงานกับบุคคลที่อยู่สภาวะเปราะบางจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะความเปราะบางทางใจ ที่หลายต่อหลายครั้ง ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ไม่ได้รับความรักอย่างเหมาะสมจากที่บ้าน หรือโดนผู้ใหญ่ที่ควรเป็นบุคคลที่ไว้วางใจ กลับทำให้รู้สึกหวาดกลัวและเปลี่ยวเหงา เคสในลักษณะนี้ หากไม่ได้รับผลกระทบในแง่ของการไว้เนื้อเชื่อใจคนยาก ก็อาจจะเป็นผู้ที่กำลังอยู่ในสภาวะโหยหาความรัก และการมีใครที่ไว้วางใจ หรือเป็นหลักยึดทางใจได้
2. ด้วยบทบาทหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์แล้ว สิ่งหนึ่งที่พวกเราตระหนักกันเสมอคือ "สิทธิพิเศษทางวิชาชีพ" และ "อำนาจเหนือทางวิชาชีพ" กล่าวคือ เราได้รับสิทธิพิเศษให้เข้าถึงตัวกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีความเปราะบาง รับรู้ประวัติศาสตร์ชีวิต และล่วงรู้ไปในจุดที่เปราะบางที่สุดในชีวิตของพวกเขา บวกกับเป็นบุคคลที่ถือทรัพยากรและมีอำนาจตัดสินใจที่จะให้การช่วยเหลือ ทำให้เราตกอยู่ในสถานะที่ "สามารถล่วงละเมิดผู้ใช้บริการได้โดยง่าย" หากไม่มีกรอบจริยธรรม และจรรยาบรรณคอยกำกับเราให้อยู่ในลู่ในทาง
และหลายต่อหลายครั้งแอดมินเองก็เคยได้มีโอกาสเรียนรู้และได้ยินเหตุการณ์ที่ Helping Professions หรือคนที่อยู่ในวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือโดยเฉพาะผู้ให้คำปรึกษา เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่ในมูลนิธิ องค์กรด้านมนุษยธรรม ได้ใช้สิทธิพิเศษนี้ค่อย ๆ กล่อมเกลา (grooming) ให้ผู้ใช้บริการรู้สึกรักและไว้วางใจ จนนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศในที่สุด
หากย้อนกลับไปใน EP แรก ๆ เราจะเห็นว่าฝน ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ที่มิได้จบตรง และก็คงไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งก็นั่นทำให้ฝนไม่รู้จักการสร้าง "ขอบเขตทางวิชาชีพที่เหมาะสม" ตั้งแต่ต้นกับไม้ (Note ไว้ว่า ต่อให้นักสังคมสงเคราะห์จบตรง มีใบประกอบฯ ก็อาจจะเป็นพวกผีบ้าได้เช่นกัน แต่สองสิ่งนี้ควรเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการเข้าสู่การเป็นนักสังคมสงเคราะห์ในทุกองค์กร)
หลายต่อหลายครั้ง ฝนเป็นคนอนุญาตให้ไม้เข้ามาใกล้ชิด เป็นคนอนุญาตให้ไม้ได้มีความหวัง และวางตัวอย่างไม่เหมาะสม ทั้งการพบปะกับไม้สองต่อสอง การออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ กับไม้นอกเหนือเวลางาน ไปกินหมูกระทะ นั่งรถเล่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ปกติแล้ว นักสังคมสงเคราะห์ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ เพราะผิดหลักการและจรรยาบรรณ! ซึ่งนั่นก็แสดงว่าฝนได้ใช้ "สิทธิพิเศษ และอำนาจทางวิชาชีพ" โดยมิชอบ
ฝนต้องตระหนักเสมอค่ะ ว่าฝนเจอไม้ ในขณะที่ตัวเองเป็นนักสังคมสงเคราะห์ และเจอกันในฐานะ นักสังคมสงเคราะห์ และ ผู้ใช้บริการ ไม่ใช่ไปเดินสะดุดเจอกันแถวสยาม และเกิดปิ้งปั้งกันจนกลายเป็นความรัก มันมีเรื่องบทบาทหน้าที่ทางวิชาชีพ อำนาจ สิทธิพิเศษ การใช้ประโยชน์จากความเปราะบางของผู้ใช้บริการมาก่อร่างสร้างรัก สิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญที่เราต้องตระหนักรู้
ในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ เป็นเรื่องปกติค่ะ ที่เคสจะจีบเรา แซวเรา นักสังคมสงเคราะห์หลายคนอิชั้นเชื่อว่าก็เคยเจอกัน แต่สิ่งที่พวกเราทำต่างไปจากฝนคือการตั้งขอบเขตทางวิชาชีพอย่างชัดเจน และชี้แจงให้ผู้ใช้บริการทราบว่า อะไรที่ทำได้ ทำไม่ได้ และไม่เหมาะสมที่จะทำ
3. มากไปกว่านั้น จากข้อมูลของละคร มีความก้ำกึ่งมากว่าฝนอาจจะได้เจอไม้ และทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นในขณะที่ไม้ยังเป็นเด็กด้วยซ้ำ ซึ่งนี้ยิ่งเป็นประเด็นที่ไม่สามารถรับได้เข้าไปใหญ่ และจะยิ่งเป็นเรื่องร้ายแรงมากเข้าไปอีก
สรุปแล้ว เส้นเรื่องใหญ่สุดที่หนังกำลังนำเสนอ ซึ่งคือความรักของฝนและไม้ กลับกลายเป็นหายนะทางจริยธรรมทางวิชาชีพที่ไม่อาจยอมรับได้เลย บทเรียนสำคัญนี้คงส่งเสียงไปให้กับผู้แต่งหนังสือ ผู้จัดละคร ที่จำเป็นต้องศึกษาวิจัยบทให้ดีกว่านี้ และหาที่ปรึกษาทางวิชาชีพที่ช่วยดูเรื่องความถูกต้องแม่นยำทางวิชาการให้มาก ๆ นะคะ
เพจวิจารณ์บทละครในวันที่ฝนพร่างพราย
มาค่ะ มาถึง EP10 ของละคร #ในวันที่ฝนพร่างพราย แล้ว ก็คงสามารถยืนยันในส่วนของมหัตภัยความผิดพลาดอันใหญ่หลวงที่ไม่สามารถยอมรับได้ของละครเรื่องนี้ คือ ส่วนของเนื้อเรื่องที่ปลายฝน นักสังคมสงเคราะห์ ที่ได้ช่วยเหลือไม้ (พระเอก) และแม่จากเหตุความรุนแรงในครอบครัว กำลังจะได้กับไม้ อดีตเคสของตนเองที่ตอนนี้เติบโตมาเป็นทนายอาสาให้กับมูลนิธิที่ฝนทำงานอยู่
หายนะ ของหนังเรื่องนี้คือการที่ละครปูเส้นเรื่องและสื่อสารเรื่องราวความรักของฝน (นักสังคมสงเคราะห์) และไม้ (อดีตเคสที่ฝนเคยให้ความช่วยเหลือจากความรุนแรงในครอบครัว) โดยพยายาม romanticize ความรักนี้ให้เป็นความงดงามของคนสองคนที่ต่างเปราะบางและมีประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวด โดยความเจ็บปวดและความเข้าอกเข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่างกันนี้ ได้ถักทอเป็นเส้นใยรักที่แสนงดงาม
ด้วยเส้นเรื่องนี้ ก็คงอนุมานได้ว่าทั้งผู้เขียนหนังสือ และผู้เขียนบทละคร ไม่ได้มีความเข้าใจในบทบาทและการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์เลย หากเข้าใจก็รู้จักเพียงแค่ผิวเผินเท่านั้น เพราะองค์ประกอบสำคัญของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ นอกจากความรู้ ทักษะ ทัศนคติ แล้ว การดำรงตนอยู่ในจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพคือสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ทุกคน
ตอนแรกแอดมินเองแอบคิดว่า เอ๊ะ หรือผู้จัดและคนแต่งต้องการสะท้อนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ดี และให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ แต่การติดตามบทสัมภาษณ์ของผู้จัด และจากงานเสวนาล่าสุดแล้ว ก็คงเป็นเรื่องสุดวิสัยจริง ๆ ที่ผู้จัดอาจจะยังไม่ทราบว่าความผิดของเนื้อเรื่องตรงนี้มันสะท้อนความไม่เข้าใจในวิชาชีพนี้ขนาดไหน แต่เราเชื่อว่า อะไรที่เกิดขึ้นแล้วดีทั้งนั้นค่ะ ก็ถือซะว่าเป็นโอกาสให้แอดอิน ในฐานะนักสังคมสงเคราะห์สาวสวยคนหนึ่ง (สวยไม่แพ้ปลายฝน) ได้มีโอกาสชี้แจง เป็นประเด็นต่อจากละครได้เลยค่ะ
ทำไมนักสังคมสงเคราะห์ถึงรักกับเคสไม่ได้ ความรักเป็นสิ่งสวยงามไม่ใช่เหรอ นักสังคมสงเคราะห์ก็เป็นมนุษย์ป่ะ?
1. เราต้องตระหนักก่อนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วนักสังคมสงเคราะห์ทำงานกับบุคคลที่อยู่สภาวะเปราะบางจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะความเปราะบางทางใจ ที่หลายต่อหลายครั้ง ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ไม่ได้รับความรักอย่างเหมาะสมจากที่บ้าน หรือโดนผู้ใหญ่ที่ควรเป็นบุคคลที่ไว้วางใจ กลับทำให้รู้สึกหวาดกลัวและเปลี่ยวเหงา เคสในลักษณะนี้ หากไม่ได้รับผลกระทบในแง่ของการไว้เนื้อเชื่อใจคนยาก ก็อาจจะเป็นผู้ที่กำลังอยู่ในสภาวะโหยหาความรัก และการมีใครที่ไว้วางใจ หรือเป็นหลักยึดทางใจได้
2. ด้วยบทบาทหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์แล้ว สิ่งหนึ่งที่พวกเราตระหนักกันเสมอคือ "สิทธิพิเศษทางวิชาชีพ" และ "อำนาจเหนือทางวิชาชีพ" กล่าวคือ เราได้รับสิทธิพิเศษให้เข้าถึงตัวกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีความเปราะบาง รับรู้ประวัติศาสตร์ชีวิต และล่วงรู้ไปในจุดที่เปราะบางที่สุดในชีวิตของพวกเขา บวกกับเป็นบุคคลที่ถือทรัพยากรและมีอำนาจตัดสินใจที่จะให้การช่วยเหลือ ทำให้เราตกอยู่ในสถานะที่ "สามารถล่วงละเมิดผู้ใช้บริการได้โดยง่าย" หากไม่มีกรอบจริยธรรม และจรรยาบรรณคอยกำกับเราให้อยู่ในลู่ในทาง
และหลายต่อหลายครั้งแอดมินเองก็เคยได้มีโอกาสเรียนรู้และได้ยินเหตุการณ์ที่ Helping Professions หรือคนที่อยู่ในวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือโดยเฉพาะผู้ให้คำปรึกษา เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่ในมูลนิธิ องค์กรด้านมนุษยธรรม ได้ใช้สิทธิพิเศษนี้ค่อย ๆ กล่อมเกลา (grooming) ให้ผู้ใช้บริการรู้สึกรักและไว้วางใจ จนนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศในที่สุด
หากย้อนกลับไปใน EP แรก ๆ เราจะเห็นว่าฝน ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ที่มิได้จบตรง และก็คงไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งก็นั่นทำให้ฝนไม่รู้จักการสร้าง "ขอบเขตทางวิชาชีพที่เหมาะสม" ตั้งแต่ต้นกับไม้ (Note ไว้ว่า ต่อให้นักสังคมสงเคราะห์จบตรง มีใบประกอบฯ ก็อาจจะเป็นพวกผีบ้าได้เช่นกัน แต่สองสิ่งนี้ควรเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการเข้าสู่การเป็นนักสังคมสงเคราะห์ในทุกองค์กร)
หลายต่อหลายครั้ง ฝนเป็นคนอนุญาตให้ไม้เข้ามาใกล้ชิด เป็นคนอนุญาตให้ไม้ได้มีความหวัง และวางตัวอย่างไม่เหมาะสม ทั้งการพบปะกับไม้สองต่อสอง การออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ กับไม้นอกเหนือเวลางาน ไปกินหมูกระทะ นั่งรถเล่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ปกติแล้ว นักสังคมสงเคราะห์ไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ เพราะผิดหลักการและจรรยาบรรณ! ซึ่งนั่นก็แสดงว่าฝนได้ใช้ "สิทธิพิเศษ และอำนาจทางวิชาชีพ" โดยมิชอบ
ฝนต้องตระหนักเสมอค่ะ ว่าฝนเจอไม้ ในขณะที่ตัวเองเป็นนักสังคมสงเคราะห์ และเจอกันในฐานะ นักสังคมสงเคราะห์ และ ผู้ใช้บริการ ไม่ใช่ไปเดินสะดุดเจอกันแถวสยาม และเกิดปิ้งปั้งกันจนกลายเป็นความรัก มันมีเรื่องบทบาทหน้าที่ทางวิชาชีพ อำนาจ สิทธิพิเศษ การใช้ประโยชน์จากความเปราะบางของผู้ใช้บริการมาก่อร่างสร้างรัก สิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญที่เราต้องตระหนักรู้
ในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ เป็นเรื่องปกติค่ะ ที่เคสจะจีบเรา แซวเรา นักสังคมสงเคราะห์หลายคนอิชั้นเชื่อว่าก็เคยเจอกัน แต่สิ่งที่พวกเราทำต่างไปจากฝนคือการตั้งขอบเขตทางวิชาชีพอย่างชัดเจน และชี้แจงให้ผู้ใช้บริการทราบว่า อะไรที่ทำได้ ทำไม่ได้ และไม่เหมาะสมที่จะทำ
3. มากไปกว่านั้น จากข้อมูลของละคร มีความก้ำกึ่งมากว่าฝนอาจจะได้เจอไม้ และทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นในขณะที่ไม้ยังเป็นเด็กด้วยซ้ำ ซึ่งนี้ยิ่งเป็นประเด็นที่ไม่สามารถรับได้เข้าไปใหญ่ และจะยิ่งเป็นเรื่องร้ายแรงมากเข้าไปอีก
สรุปแล้ว เส้นเรื่องใหญ่สุดที่หนังกำลังนำเสนอ ซึ่งคือความรักของฝนและไม้ กลับกลายเป็นหายนะทางจริยธรรมทางวิชาชีพที่ไม่อาจยอมรับได้เลย บทเรียนสำคัญนี้คงส่งเสียงไปให้กับผู้แต่งหนังสือ ผู้จัดละคร ที่จำเป็นต้องศึกษาวิจัยบทให้ดีกว่านี้ และหาที่ปรึกษาทางวิชาชีพที่ช่วยดูเรื่องความถูกต้องแม่นยำทางวิชาการให้มาก ๆ นะคะ