“สวนดุสิตโพล” มองเลือกตั้งนายก อบจ.บ้านใหญ่มีอิทธิพลส่งผลระดับชาติ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_745652/
“สวนดุสิตโพล” คนรู้มีเลือกตั้งนายก อบจ. 62.21%มองบ้านใหญ่มีอิทธิพลอย่างมาก ส่งผลระดับชาติ “ก้าวไกล” ยังคะแนนนิยมพุ่ง นำเพื่อไทย
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เรื่อง “
ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งนายก อบจ.” จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,188 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2567
ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อถามประชาชนรู้หรือไม่ว่าช่วงนี้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น หรือ การเลือกตั้งนายก อบจ.ในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.16 รู้ และทราบรายละเอียดการเลือกตั้ง ร้อยละ 36.95 รู้ แต่ไม่ทราบรายละเอียดการเลือกตั้ง และร้อยละ 21.89 ไม่รู้เลยว่ามีการเลือกตั้ง
ส่วนประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งนายก อบจ. มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในด้านใดบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.76 การพัฒนาท้องถิ่น ร้อยละ 58.81 การพัฒนาสาธารณูปโภค ร้อยละ 55.68 การพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างงาน ร้อยละ 52.63การบริการสาธารณะ และร้อยละ 50.42 การดูแลสุขภาพและสาธารณสุข
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าตนเองและครอบครัวได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 39.14 ได้รับประโยชน์น้อย ร้อยละ 36.78ได้รับประโยชน์มาก ร้อยละ 18.02 ไม่ได้รับประโยชน์ และร้อยละ 6.06 ไม่แน่ใจ ส่วนประชาชนคิดว่า “บ้านใหญ่” มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นในพื้นที่มากน้อยเพียงใด พบว่า ร้อยละ 62.21 มีอิทธิพลมาก ร้อยละ 18.86 มีอิทธิพลน้อย ร้อยละ 9.93 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 9 ไม่มีอิทธิพล
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าผลการเลือกตั้งนายก อบจ. จะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไปหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.44 มีผล และร้อยละ 22.56 ไม่มีผล
ขณะที่ความเห็นประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 57.66 มี ร้อยละ 26.01 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 16.33 ไม่มี
ท้ายที่สุดเมื่อถามในเรื่องการแก้ปัญหาท้องถิ่น ประชาชนเชื่อมั่นในพรรคใดมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ก้าวไกล ร้อยละ 32.53 อันดับ 2 เพื่อไทย ร้อยละ 19.79 อัน 3 พลังประชารัฐ ร้อยละ 17.30 อันดับ 4 ภูมิใจไทย ร้อยละ 9.29 และอันดับ 5 ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.63
เอสเอ็มอีลั่นขอรัฐ ‘ตรึงค่าไฟ’ ฝีนปรับขึ้นยิ่งซ้ำเติม ย้ำอย่าแค่สร้างภาพวาจาประดิษฐ์
https://www.dailynews.co.th/news/3638463/
เอสเอ็มอีลั่นขอรัฐตรึงค่าไฟ 4.18 บ.ตามเดิม หรือถ้าเป็นไปได้ขอให้ลดค่าไฟ ชี้หากปรับขึ้นค่าไฟแม้ต่ำสุดขึ้น 11% เอสเอ็มอีอยู่ยากแน่ ยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์แย่ลง ทั้งเจอสารพัดปัจจัยลงรุมกระหน่ำทั้งน้ำมันแพง ค่าแรงจ่อขึ้น เศรษฐกิจดิ่ง กำลังซื้อประชาชนทรุด ย้ำอย่าแค่สร้างภาพวาจาประดิษฐ์ลดเหลื่อมล้ำ แต่ไร้การแก้ปัญหาประชาชนแท้จริง
นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยถึงกรณีสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน เปิดสำรวยความเห็นข้อเสนอ 3 ทางเลือกปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในงวดสุดท้ายของปี (ก.ย. – ธ.ค.) ประกอบด้วยแนวทางแรกขึ้นค่าไฟฟ้าไม่มาก และทยอยคืนหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
เพียงเล็กน้อย ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย, ขึ้นค่าไฟฟ้าพร้อมกับคืนหนี้ กฟผ.บางส่วน ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย และขึ้นค่าไฟฟ้าสูงสุดตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อคืนหนี้ให้ กฟผ.เต็มวงเงิน ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันค่าไฟอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วยว่า หากสุดท้ายกกพ.เลือกที่จะปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าครั้งนี้ แม้ว่า จะปรับน้อยสุดตามข้อเสนอ 4.65 บาทหรือ 11% เทียบกับงวดปัจจุบัน ถือเป็นการซ้ำเติมธุรกิจเอสเอ็มอี และประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนเป็นห่วงโซ่อย่างแน่นอน
ทั้งนี้เมื่อบวกกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งหนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบ ทำให้เอสเอ็มอียิ่งอยู่รอดยากในสภาวะค่าครองชีพสูง ค่าแรงงานเตรียมปรับ รวมทั้งต้นทุนดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอีที่ถาโถมกระหน่ำไม่หยุดยั้ง ซึ่งถ้ารัฐบาลและภาครัฐหน่วยงานที่ดูแลพลังงานไม่สามารถทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับความเป็นธรรมในต้นทุน และราคาที่เหมาะสมกับการยังชีพดำเนินชีวิต ธุรกิจที่แข่งขันได้จะเป็นตัวเร่งความเหลื่อมล้ำถ่างห่างออกไป และจะขยายวงเป็นวิกฤตความยั่งยืนไทย ที่แต่ละหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องปักหมุดเป็นเป้าหมายก็จะเป็นแค่ “
วาจาประดิษฐ์สร้างภาพลักษณ์ที่งดงาม แต่ปราศจากการแก้ไขที่ตอบโจทย์ประชาชนอย่างแท้จริง”
“
แนวทางของเอมสเอ็มอีขอให้รัฐช่วยหาวิธีตรึงค่าไฟเท่าเดิม หรือถ้าเป็นไปได้ขอให้ปรับลดค่าไฟลงมา เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่มีกำลังซื้อลดลง อัตราหการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ไตรมาส 1 ปี 67 เพียง 1.5% ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ส่งผลกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกขนาด การเพิ่มขึ้นของต้นทุน วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต ดอกเบี้ย ตามมาด้วยค่าน้ำมันก่อนหน้านี้ที่ปรับเพิ่มถึง 10% ส่งผลกระทบภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคการบริการ ภาคธุรกิจเกษตรและภาคขนส่งที่มีการปรับราคาค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 3-9 % ขณะที่ข้อมูลกระทรวงพลังงานพบว่า โครงสร้างการใช้พลังงานไฟฟ้ามีสัดส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ 33% บ้านเรือนที่อยู่อาศัย 31% รายกลาง 16% รายย่อม 14% เห็นได้ว่า ถ้ายิ่งปรับขึ้นค่าไฟ จะยิ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผลสำรวจความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลายๆสำนัก ระบุตรงกันว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้แก้ไขต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดค่าไฟ การลดอัตราการเก็บค่าสาธารณูปโภค การควบคุมราคาสินค้าและวัตถุดิบ”
โอด “ขึ้นค่าไฟ” ตัวเร่งปิดกิจการเพิ่ม ถ.ข้าวสาร ชงลดเก็บภาษี 50% ชดเชยรายได้.
https://www.matichon.co.th/economy/news_4680083
ธุรกิจบริการโอด”ขึ้นค่าไฟ” ตัวเร่งปิดกิจการเพิ่ม ถ.ข้าวสาร ชงลดเก็บภาษี 50% ชดเชยรายได้
นาย
สง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยกับมติชน ว่า ทุกครั้งที่มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าสำหรับภาคบริการและสถานบันเทิง ย่อมส่งผลกระทบต่อโดยตรงต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายของธุรกิจเพิ่มขึ้น และยิ่งการขึ้นในช่วงนี้ ถือเป็นการกดดันการประกอบธุรกิจให้แย่ลงอีก
ด้วยขณะนี้ผู้ประกอบการกำลังประสบปัญหากำลังซื้อถดถอยและเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว สะท้อนจากอัตราเข้าพักของนักท่องเที่ยวเหลือ 40% ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเรื่อยมา จากไตรมาสแรกอัตราเข้าพักดีเฉลี่ย 80% บวกกับคนไทยมาใช้จ่ายในถนนข้าวสารก็ลดลง จึงทำให้รายได้ตกลงมาก 30-40% ถือว่ารุนแรงมากต่อการทำธุรกิจ ซึ่งเมื่อต้นทุนเพิ่ม จนไม่อาจแบกรับได้ไหว ก็ต้องผลักดันผ่านการปรับขึ้นราคากับผู้บริโภค
ส่วนอัตราขึ้นเท่าไหร่ ต้องดูจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เช่น เคยเสียค่าไฟฟ้าเดือนละ 10,000 บาท ปรับเพิ่มเป็น 12,000 บาท หรือปรับขึ้น 20% ก็ต้องพิจารณาว่าจะปรับอย่างไร ที่ไม่กระทบต่อลูกค้าด้วย เพราะเขาก็มีภาระเพิ่มจากค่าไฟและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เพิ่มขึ้น
“
ธุรกิจกังวลต่อการปรับค่าไฟฟ้า หรือต้นทุนจากอื่น หากดีเซลขึ้น ค่าแรงปรับ ท่องเที่ยวช่วงโลว์ซีซั่น กำลังซื้อประชาชนหดตัวรุนแรง ตอนนี้เจอปัญหารุมเร้ามาก อีกทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง อย่างเรื่องกัญชา จะกลับไปเข้าบัญชียาเสพติด ส่งผลรุนแรงต่อผู้ที่กำลังเจรจาขายธุรกิจกับต่างชาติ เจ้าของฟาร์มเสียหาย และ ร้านที่เช่าทำธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อนหน้านี้ จ่อยกเลิก กระทบรายได้ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าก็เว้นว่าง รายได้หดหายจากนโยบายรัฐที่ไม่ต่อเนื่อง กลายเป็นอุปสรรค
โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะออกมาอย่างไร งบประมาณปี2567 ล่าช้า 6 เดือน จะพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 3 ช่วงโลว์ซีซั่นจนถึงไตรมาส 4 จึงกลับมาอีกครั้ง ดูจากยอดจองบินลดลงกว่า 10% ยอดจองห้องผ่านแพลตฟอร์มดังเคยขายได้ 2-3 พันบาทต่อเดือน
ตอนนี้ต่ำกว่า 1 พันบาทแล้ว ช่วงเข้าพรรษาคนไทยเที่ยวน้อยลงอีก ไตรมาสสาม คงต้องรัดเข็มขัดกันทุกฝ่าย ก็เริ่มเห็นการยกเลิกเช่าพื้นที่ทำธุรกิจโดยเฉพาะรายย่อยรายเล็ก หากช่วง 2-3 เดือนนี้ หากสถานการณ์กำลังซื้อไม่ฟื้นตัว จะเห็นการชะลอการลงทุนใหม่อีกยาว และเห็นการเลิกกิจการมากขึ้น ” นาย
สง่า กล่าว
นาย
สง่า กล่าวต่อว่า ในส่วนของธุรกิจภาคบริการ อยากขอให้รัฐช่วยลดต้นทุนและชะลอปัญหาเฉพาะหน้า โดยการออกมาตรการช่วยเหลือด้านภาษี โดยการลดอัตราเก็บภาษีป้ายและภาษีโรงเรือน เหลือ 50% ในรอบการจัดเก็บปี 2568 พร้อมกับเร่งรัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรม อย่างโครงการเงินดิจิทัล 10000 บาท มาตรการจูงใจท่องเที่ยว สร้างความมั้นใจเรื่องความต่อเนื่องนโยบายรัฐบาล อย่าซ้ำรอยเรื่องกัญชา รวมถึงการดูแลเรื่องต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่าเพิ่งปรับขึ้นในภาวะกำลังซื้อและเศรษฐกิจไม่ดีอย่างวันนี้
JJNY : “สวนดุสิตโพล”มองเลือกตั้งอบจ.│เอสเอ็มอีลั่น‘ตรึงค่าไฟ’│โอด“ขึ้นค่าไฟ”ตัวเร่งปิดกิจการเพิ่ม│เซเลนสกี“ไม่ถือสาไบเดน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_745652/
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งนายก อบจ.” จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,188 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 9-12 กรกฎาคม 2567
ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อถามประชาชนรู้หรือไม่ว่าช่วงนี้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น หรือ การเลือกตั้งนายก อบจ.ในหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.16 รู้ และทราบรายละเอียดการเลือกตั้ง ร้อยละ 36.95 รู้ แต่ไม่ทราบรายละเอียดการเลือกตั้ง และร้อยละ 21.89 ไม่รู้เลยว่ามีการเลือกตั้ง
ส่วนประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งนายก อบจ. มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในด้านใดบ้าง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.76 การพัฒนาท้องถิ่น ร้อยละ 58.81 การพัฒนาสาธารณูปโภค ร้อยละ 55.68 การพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างงาน ร้อยละ 52.63การบริการสาธารณะ และร้อยละ 50.42 การดูแลสุขภาพและสาธารณสุข
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าตนเองและครอบครัวได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 39.14 ได้รับประโยชน์น้อย ร้อยละ 36.78ได้รับประโยชน์มาก ร้อยละ 18.02 ไม่ได้รับประโยชน์ และร้อยละ 6.06 ไม่แน่ใจ ส่วนประชาชนคิดว่า “บ้านใหญ่” มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นในพื้นที่มากน้อยเพียงใด พบว่า ร้อยละ 62.21 มีอิทธิพลมาก ร้อยละ 18.86 มีอิทธิพลน้อย ร้อยละ 9.93 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 9 ไม่มีอิทธิพล
เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าผลการเลือกตั้งนายก อบจ. จะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไปหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.44 มีผล และร้อยละ 22.56 ไม่มีผล
ขณะที่ความเห็นประชาชนคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 57.66 มี ร้อยละ 26.01 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 16.33 ไม่มี
ท้ายที่สุดเมื่อถามในเรื่องการแก้ปัญหาท้องถิ่น ประชาชนเชื่อมั่นในพรรคใดมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ก้าวไกล ร้อยละ 32.53 อันดับ 2 เพื่อไทย ร้อยละ 19.79 อัน 3 พลังประชารัฐ ร้อยละ 17.30 อันดับ 4 ภูมิใจไทย ร้อยละ 9.29 และอันดับ 5 ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.63
เอสเอ็มอีลั่นขอรัฐ ‘ตรึงค่าไฟ’ ฝีนปรับขึ้นยิ่งซ้ำเติม ย้ำอย่าแค่สร้างภาพวาจาประดิษฐ์
https://www.dailynews.co.th/news/3638463/
เอสเอ็มอีลั่นขอรัฐตรึงค่าไฟ 4.18 บ.ตามเดิม หรือถ้าเป็นไปได้ขอให้ลดค่าไฟ ชี้หากปรับขึ้นค่าไฟแม้ต่ำสุดขึ้น 11% เอสเอ็มอีอยู่ยากแน่ ยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์แย่ลง ทั้งเจอสารพัดปัจจัยลงรุมกระหน่ำทั้งน้ำมันแพง ค่าแรงจ่อขึ้น เศรษฐกิจดิ่ง กำลังซื้อประชาชนทรุด ย้ำอย่าแค่สร้างภาพวาจาประดิษฐ์ลดเหลื่อมล้ำ แต่ไร้การแก้ปัญหาประชาชนแท้จริง
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยถึงกรณีสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน เปิดสำรวยความเห็นข้อเสนอ 3 ทางเลือกปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในงวดสุดท้ายของปี (ก.ย. – ธ.ค.) ประกอบด้วยแนวทางแรกขึ้นค่าไฟฟ้าไม่มาก และทยอยคืนหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
เพียงเล็กน้อย ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย, ขึ้นค่าไฟฟ้าพร้อมกับคืนหนี้ กฟผ.บางส่วน ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย และขึ้นค่าไฟฟ้าสูงสุดตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อคืนหนี้ให้ กฟผ.เต็มวงเงิน ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันค่าไฟอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วยว่า หากสุดท้ายกกพ.เลือกที่จะปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าครั้งนี้ แม้ว่า จะปรับน้อยสุดตามข้อเสนอ 4.65 บาทหรือ 11% เทียบกับงวดปัจจุบัน ถือเป็นการซ้ำเติมธุรกิจเอสเอ็มอี และประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าได้รับความเดือดร้อนเป็นห่วงโซ่อย่างแน่นอน
ทั้งนี้เมื่อบวกกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งหนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบ ทำให้เอสเอ็มอียิ่งอยู่รอดยากในสภาวะค่าครองชีพสูง ค่าแรงงานเตรียมปรับ รวมทั้งต้นทุนดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอีที่ถาโถมกระหน่ำไม่หยุดยั้ง ซึ่งถ้ารัฐบาลและภาครัฐหน่วยงานที่ดูแลพลังงานไม่สามารถทำให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับความเป็นธรรมในต้นทุน และราคาที่เหมาะสมกับการยังชีพดำเนินชีวิต ธุรกิจที่แข่งขันได้จะเป็นตัวเร่งความเหลื่อมล้ำถ่างห่างออกไป และจะขยายวงเป็นวิกฤตความยั่งยืนไทย ที่แต่ละหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องปักหมุดเป็นเป้าหมายก็จะเป็นแค่ “วาจาประดิษฐ์สร้างภาพลักษณ์ที่งดงาม แต่ปราศจากการแก้ไขที่ตอบโจทย์ประชาชนอย่างแท้จริง”
“ แนวทางของเอมสเอ็มอีขอให้รัฐช่วยหาวิธีตรึงค่าไฟเท่าเดิม หรือถ้าเป็นไปได้ขอให้ปรับลดค่าไฟลงมา เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่มีกำลังซื้อลดลง อัตราหการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ไตรมาส 1 ปี 67 เพียง 1.5% ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ส่งผลกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกขนาด การเพิ่มขึ้นของต้นทุน วัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต ดอกเบี้ย ตามมาด้วยค่าน้ำมันก่อนหน้านี้ที่ปรับเพิ่มถึง 10% ส่งผลกระทบภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคการบริการ ภาคธุรกิจเกษตรและภาคขนส่งที่มีการปรับราคาค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 3-9 % ขณะที่ข้อมูลกระทรวงพลังงานพบว่า โครงสร้างการใช้พลังงานไฟฟ้ามีสัดส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ 33% บ้านเรือนที่อยู่อาศัย 31% รายกลาง 16% รายย่อม 14% เห็นได้ว่า ถ้ายิ่งปรับขึ้นค่าไฟ จะยิ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผลสำรวจความต้องการผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลายๆสำนัก ระบุตรงกันว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้แก้ไขต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดค่าไฟ การลดอัตราการเก็บค่าสาธารณูปโภค การควบคุมราคาสินค้าและวัตถุดิบ”
โอด “ขึ้นค่าไฟ” ตัวเร่งปิดกิจการเพิ่ม ถ.ข้าวสาร ชงลดเก็บภาษี 50% ชดเชยรายได้.
https://www.matichon.co.th/economy/news_4680083
ธุรกิจบริการโอด”ขึ้นค่าไฟ” ตัวเร่งปิดกิจการเพิ่ม ถ.ข้าวสาร ชงลดเก็บภาษี 50% ชดเชยรายได้
นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยกับมติชน ว่า ทุกครั้งที่มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าสำหรับภาคบริการและสถานบันเทิง ย่อมส่งผลกระทบต่อโดยตรงต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายของธุรกิจเพิ่มขึ้น และยิ่งการขึ้นในช่วงนี้ ถือเป็นการกดดันการประกอบธุรกิจให้แย่ลงอีก
ด้วยขณะนี้ผู้ประกอบการกำลังประสบปัญหากำลังซื้อถดถอยและเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัว สะท้อนจากอัตราเข้าพักของนักท่องเที่ยวเหลือ 40% ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเรื่อยมา จากไตรมาสแรกอัตราเข้าพักดีเฉลี่ย 80% บวกกับคนไทยมาใช้จ่ายในถนนข้าวสารก็ลดลง จึงทำให้รายได้ตกลงมาก 30-40% ถือว่ารุนแรงมากต่อการทำธุรกิจ ซึ่งเมื่อต้นทุนเพิ่ม จนไม่อาจแบกรับได้ไหว ก็ต้องผลักดันผ่านการปรับขึ้นราคากับผู้บริโภค
ส่วนอัตราขึ้นเท่าไหร่ ต้องดูจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เช่น เคยเสียค่าไฟฟ้าเดือนละ 10,000 บาท ปรับเพิ่มเป็น 12,000 บาท หรือปรับขึ้น 20% ก็ต้องพิจารณาว่าจะปรับอย่างไร ที่ไม่กระทบต่อลูกค้าด้วย เพราะเขาก็มีภาระเพิ่มจากค่าไฟและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เพิ่มขึ้น
“ธุรกิจกังวลต่อการปรับค่าไฟฟ้า หรือต้นทุนจากอื่น หากดีเซลขึ้น ค่าแรงปรับ ท่องเที่ยวช่วงโลว์ซีซั่น กำลังซื้อประชาชนหดตัวรุนแรง ตอนนี้เจอปัญหารุมเร้ามาก อีกทั้งความไม่แน่นอนทางการเมือง อย่างเรื่องกัญชา จะกลับไปเข้าบัญชียาเสพติด ส่งผลรุนแรงต่อผู้ที่กำลังเจรจาขายธุรกิจกับต่างชาติ เจ้าของฟาร์มเสียหาย และ ร้านที่เช่าทำธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อนหน้านี้ จ่อยกเลิก กระทบรายได้ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าก็เว้นว่าง รายได้หดหายจากนโยบายรัฐที่ไม่ต่อเนื่อง กลายเป็นอุปสรรค
โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะออกมาอย่างไร งบประมาณปี2567 ล่าช้า 6 เดือน จะพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 3 ช่วงโลว์ซีซั่นจนถึงไตรมาส 4 จึงกลับมาอีกครั้ง ดูจากยอดจองบินลดลงกว่า 10% ยอดจองห้องผ่านแพลตฟอร์มดังเคยขายได้ 2-3 พันบาทต่อเดือน
ตอนนี้ต่ำกว่า 1 พันบาทแล้ว ช่วงเข้าพรรษาคนไทยเที่ยวน้อยลงอีก ไตรมาสสาม คงต้องรัดเข็มขัดกันทุกฝ่าย ก็เริ่มเห็นการยกเลิกเช่าพื้นที่ทำธุรกิจโดยเฉพาะรายย่อยรายเล็ก หากช่วง 2-3 เดือนนี้ หากสถานการณ์กำลังซื้อไม่ฟื้นตัว จะเห็นการชะลอการลงทุนใหม่อีกยาว และเห็นการเลิกกิจการมากขึ้น ” นายสง่า กล่าว
นายสง่า กล่าวต่อว่า ในส่วนของธุรกิจภาคบริการ อยากขอให้รัฐช่วยลดต้นทุนและชะลอปัญหาเฉพาะหน้า โดยการออกมาตรการช่วยเหลือด้านภาษี โดยการลดอัตราเก็บภาษีป้ายและภาษีโรงเรือน เหลือ 50% ในรอบการจัดเก็บปี 2568 พร้อมกับเร่งรัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรม อย่างโครงการเงินดิจิทัล 10000 บาท มาตรการจูงใจท่องเที่ยว สร้างความมั้นใจเรื่องความต่อเนื่องนโยบายรัฐบาล อย่าซ้ำรอยเรื่องกัญชา รวมถึงการดูแลเรื่องต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่าเพิ่งปรับขึ้นในภาวะกำลังซื้อและเศรษฐกิจไม่ดีอย่างวันนี้