JJNY : นัดถกโควตาประมุขสภาสูง│วิกฤตศก.ลามเฟอร์นิเจอร์│เนชั่นพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วน│นาโตเริ่มส่ง “เอฟ-16” ให้ยูเครน

สว.กลุ่มอิสระ นัดถกโควตาประมุขสภาสูง เดินหน้าดันผู้หญิง นั่งรองประธาน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_777777825616
 
“สว.กลุ่มอิสระ” นัดรายงานตัวพร้อมกัน 15 ก.ค. เตรียมหารือโควตาตำแหน่งประมุขสภาสูง เล็งดันผู้หญิงนั่งรองประธาน คาดประชุมนัดแรกปลายเดือน ก.ค.
 
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกสว. จำนวน 200 คน ล่าสุด มีความเคลื่อนไหวของสว.ในกลุ่มอิสระที่นัดหารือถึงการเข้ารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในวันที่ 15 ก.ค. เวลา 11.00 น. และนัดพูดคุยถึงการพิจารณาส่งบุคคลเพื่อชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา

โดยนางนันทนา นันทวโรภาส สว. กล่าวว่า หลังจากที่กกต.รับรองผลการเลือกสว.แล้ว ทางกลุ่มได้นัดหมายที่จะเข้าไปรายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในวันที่ 15 ก.ค. เวลา 11.00 น. นี้ เนื่องจากวันนี้ (11 ก.ค.) หลายคนเดินทางมาจากต่างจังหวัด
 
เมื่อถามถึงวาระแรกของการประชุมที่จะมีการเลือกตำแหน่งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา มองอย่างไรต่อกรณีที่มีการล็อกตัวคนที่จะทำหน้าที่แล้ว นางนันทนา กล่าวว่า ทางกลุ่มจะหารือต่อประเด็นดังกล่าวในช่วงเสาร์หรืออาทิตย์นี้
 
นางนันทนา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าหากตำแหน่งดังกล่าวแบ่งสัดส่วนให้เหมาะสมกับกลุ่มของสว. จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต รวมถึงการพิจารณากำหนดสัดส่วนของประธานกรรมาธิการ (กมธ.) คณะต่างๆ ด้วย

ขณะที่นางอังคณา นีละไพจิต สว. กล่าวว่า ตนได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาฯ แล้ว เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ก่อนที่กกต.จะรับรอง เพื่อไม่ให้มีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน
 
นางอังคณา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ตนรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ผลักดันหรือนำเสนอประเด็นที่อยากฝากให้สภาฯ รับไปพิจารณา โดยเฉพาะรายละเอียดของผู้ที่ต้องคดีมาตรา 112 จากการแสดงออก ซึ่งไม่ใช่ประเด็นอาฆาตมาดร้าย แต่ไม่เป็นไร เพราะเมื่อสภาฯ ยกร่างกฎหมายแล้วและผ่านมายังวุฒิสภา ตนก็ยังมีโอกาสพิจารณาได้ ส่วนการเข้ารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภานั้น ตนตั้งใจจะเข้ารายงานตัวในวันที่ 12 ก.ค.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับตำแหน่งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา ที่จะเลือกในวาระแรกของการประชุมวุฒิสภานั้น คาดว่าจะเป็นช่วงปลายเดือน ก.ค. เบื้องต้นจะให้สัดส่วนกับสว.สตรี ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาด้วย ซึ่งในส่วน สว.กลุ่มอิสระ ก็มีแนวคิดที่จะผลักดัน สว. ในเครือข่ายเข้ารับตำแหน่งด้วย
 


วิกฤตเศรษฐกิจ-อสังหา ลามธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ผู้ผลิตกว่า 3 พันราย ลดการผลิตต่อเนื่อง
https://www.matichon.co.th/economy/news_4674548

วิกฤตเศรษฐกิจ-อสังหา ลามธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ ผู้ผลิตกว่า 3 พันราย ลดการผลิตต่อเนื่อง
 
ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังซบเซา ทำให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องซึมตามไปด้วย หนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์
ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มธุรกิจไว้อย่างน่าสนใจ โดยสรุปแนวโน้มธุรกิจ ISIC : 52310000 การผลิตเฟอร์นิเจอร์ในระยะ 1 ปีข้างหน้าธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์มีแนวโน้ม “Negative” คาดว่าการผลิตจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงอัตราการใช้กำลังการผลิตจะยังต่ำกว่าระดับ 50% โดยตลาดในประเทศยังคงถูกกดดันจากการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และกำลังซื้อที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้
 
ขณะที่ตลาดส่งออกมีเพียงตลาดสหรัฐอเมริกาที่สามารถฟื้นตัวได้ดี แต่ตลาดรองลงมาอย่างญี่ปุ่นและจีนยังถูกกดดันจากกำลังซื้อในประเทศ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ยังถูกกดดันจากราคาวัตถุดิบสำคัญอย่างไม้ยางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อการทำกำไร และราคาขายของสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นต้องปรับสูงขึ้นตาม และส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
 
สำหรับภาพรวมธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ในปี 2566 มีปริมาณการผลิตเฟอร์นิเจอร์ทั้งสิ้น 7.1 ล้านชิ้น ลดลง 29.9% โดยคิดเป็นมูลค่าการจำหน่ายรวมส่งออกราว 8,245 ล้านบาท ลดลง 14.6% ซึ่งมูลค่าการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ในช่วงปี 2564-2566 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องราว 5.1% ต่อปีโดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 ปริมาณการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ 2.4 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น 12.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เป็นฐานต่ำ แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564-2566 ที่ราว 3.5 ล้านชิ้น โดยในปี 2566 มีสัดส่วนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้และโลหะที่ร้อยละ 82 และ 18 ตามลำดับ
 
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในส่วนของดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ทั้งเฟอร์นิเจอร์ไม้ และโลหะ หลังการปรับปีฐานใหม่ เป็นปี 2564 โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (OIE) พบว่าตั้งแต่ปี 2565 ดัชนีการผลิตมีการปรับตัวลงต่อเนื่องในทั้ง 2 กลุ่มสินค้า จากระดับสูงกว่า 100 ลงมาที่ระดับ 51.64 ในเดือนเมษายน 2567 สำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ และระดับ 32.41 สำหรับเฟอร์นิเจอร์โลหะ แม้ว่าดัชนีผลผลิตของเฟอร์นิเจอร์ไม้จะมีการปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ในช่วง 50 ถึงปัจจุบัน
 
ด้านสถานการณ์ด้านการจำหน่ายและส่งออก ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบเป็นธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก จากข้อมูลของ OIE พบว่าในปี 2566 ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์มีสัดส่วนปริมาณการผลิตเพื่อส่งออกราว 69% และจำหน่ายในประเทศ 31% โดยการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในช่วงปี 2564-2566 ลดลงถึง 19.6% ต่อปี ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 ยอดจำหน่ายในประเทศยังคงลดลง 2.6% เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ตามปกติ ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงและส่งผลต่อความกังวลของผู้บริโภดที่ชะลอการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย ตลอดจนการซะลอตัวต่อเนื่องของตลาดอสังหาริมทรัพย์
 
ขณะที่สถานการณ์การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบของปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกที่ 1,358.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 15.6% แม้ว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 จะมีมูลค่าส่งออก 565.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดิบโตจากช่วงเดียวกันปีก่อนราว 4.8% แต่เป็นการฟื้นตัวจากช่วงฐานต่ำ ซึ่งคู่ค้าสำคัญที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัว คือ สหรัฐอเมริกาเติบโต 11.9%, ขณะที่ญี่ปุ่น และจีนซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 และ 3 มีมูลค่าการส่งออกลดลง 7.1% และ 19.1% ตามลำดับ
 
อย่างไรก็ดี สภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงชะลอตัวจากปัญหาค่าครองชีพ และอัตราดอกเบี้ยสูงซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้จ่ายของครัวเรือน จึงต้องชะลอการซื้อกลุ่มสินค้าดงทน และสินค้าฟุ้มเฟือยออกไป
 
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ยังมีความเสี่ยงจากการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ประกอบการจำนวนมาก แต่อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำ โดยในปี 2564 – 2567 มีจำนวนผู้ประกอบการผลิตเฟอร์นิเจอร์ใน TSIC 31000 ราว 3,180 ราย แต่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย ลดลงต่อเนื่องจาก 59.5% ในปี 2564 มาอยู่ที่ราว 36.0%ในปี 2566

สำหรัยแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจทิศทางธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบปี 2567 ดาดตลาดในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญของยอดขายเฟอร์นิเจอร์ยังไม่ฟื้นตัว แม้จะมีการขยายมาตรการช่วยเหลือให้ครอบคลุมอสังหาฯ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 7 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นแล้ว

รวมถึงตลาดลูกค้าทั่วไปที่ต้องการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ยังคงชะลอตัวเพื่อรักษาสภาพคล่อง และหลีกเลี่ยงสินค้าที่ไม่จำเป็น โดยกลุ่มที่ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้จะเป็นกลุ่มลูกค้า Hi-End สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ราคาสูงมากกว่า 7 ล้านบาท ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ รวมถึงกลุ่มธุรกิจที่พัก โรงแรม จำเป็นต้องมีการปรับปรุงห้องพักและสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติม เพื่อรองรับการฟื้นตัวกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
 
ขณะที่การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ ปี 2567 คาดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อยจากตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา แต่ในตลาดสำคัญอันดับรองลงมาอย่างญี่ปุ่นและจีน ที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก
อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตควรพิจารณาขยายตลาดส่งออกไปยังที่มีการเติบโตสูงอย่าง ออสเตรเลีย และอินเดีย ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกอยู่ใน 10 อันดับแรกของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ในปี 2566 และมีมูลค่าส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 เดิบโตถึง 31.8% และ 35.3% ตามลำดับ



ด่วน! เนชั่น ประกาศพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนพนักงาน เหตุเม็ดเงินโฆษณาลดลง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_777777825678

เนชั่น ออกประกาศพักจ่ายเงินเดือนบางส่วนพนักงาน เหตุเม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสื่อทั้งระบบลดลงจำนวนมาก
 
วันที่ 11 ก.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า NATION GROUP ออกประกาศ เลขที่ 015/2567 เรื่อง การพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันสุ่มเสี่ยงจะเกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสื่อทั้งระบบลดลงจำนวนมาก
 
ด้วยเหตุนี้ ทางบริษัทฯ จำเป็นต้องดำเนินการปรับลดค่าใช้จ่ายในหลายด้านเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน จึงขอแจ้งให้พนักงานทราบว่า บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการ “พักการจ่าย เงินเดือนบางส่วน” สำหรับพนักงานที่มีรายได้ ตั้งแต่ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 67 – 31 ธ.ค. 67
 
ทั้งนี้ การพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนจะเป็นแบบชั้นบันได โดยพักการจ่ายเงินเดือนตั้งแต่ 10 – 30 % ตามอัตราเงินเดือน อีกทั้งประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารยินดีที่จะไม่รับเงินเดือนและผลประโยชน์ ตอบแทนใดๆ จากบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถจัดสรรผลประโยชน์ดังกล่าวให้แก่พนักงานที่มีความจำเป็นต่อไป
 
บริษัทฯ เข้าใจดีว่าการพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วน อาจส่งผลกระทบต่อพนักงานทุกท่าน และขอยืนยันว่า การตัดสินใจนี้เป็นไปอย่างรอบคอบและจำเป็น เพื่อให้บริษัทฯ สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มผ่อนชำระคืนเงินที่ พักไว้ เริ่มตั้งแต่การจ่ายเงินเดือนงวดเดือน มกราคม 2568 เป็นต้นไป

โดยบริษัทฯ จะชำระคืนภายในครึ่งปีแรกของปี 2568 หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่านั้น จะแจ้งให้ทราบต่อไป จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน โดยลงนามในประเทศโดย นายฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

รายงานข่าวแจ้งว่า ประกาศดังกล่าวเป็นความจริง โดยในวันนี้ จะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องจำนวนเงินตามขั้นบันไดที่จะพักจ่าย และอาจจะมีการประกาศภายในให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่