จากการที่วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเริ่มเข้าสู่ยุคมืด ซึ่งสังเกตเห็นได้ในรายการวอลเลย์บอลเนชั่นลีก 2024 ที่เพิ่งจบไปนั้น ผลงานในรอบแรก ชนะเพียง 3 นัด แต่เป็นการชนะทีมคู่แข่งแบบ 3-2 เซต ถึง 2 นัด ซึ่งนั่นคือสัญญาณความตกต่ำของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยนั่นเอง
นอกจากนี้ในเพจ Main Stand ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น ซึ่งได้รองแชมป์ VNL โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือ การวางแผนระยะยาว ซึ่งนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น ในรุ่น U17, U18 และ U20 สังเกตดีๆ จะเห็นว่ามีกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ มองมาที่นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในรุ่น U17, U18 และ U20 ต่างกันมาก คือบางคนมีกล้ามเนื้อ แต่ส่วนมากจะมีแต่ไขมัน ซึ่งมีผู้แสดงความคิดเห็นไว้รายหนึ่ง ได้เสนอแนะว่า ทำไมไม่ลองปรับเรื่องโภชนาการด้านการกีฬาล่ะ คำนวณไปเลยว่า ในแต่ละวันต้องทาน โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามิน, เกลือแร่ และไขมัน อย่างละกี่แคลลอรี่ และเอาวิทยาศาสตร์ด้านการกีฬามาช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
และที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่คนดูอย่างเรามองเห็น ก็อยากนำเสนอให้เห็นเลยว่า วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยชุดใหญ่มีจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค อะไร ที่ทำให้วอลเลย์บอลหญิงไทย เข้าสู่ยุคมืด
จุดเด่น
1 มีนักกีฬาอาชีพเป็นจำนวนมาก ที่เล่นทั้งลีกในและลีกนอกประเทศ
2 มีการส่งทีมแข่งในระดับนานาชาติทั้งรุ่น U16/17, U18/19, U20/21 และทีมชาติชุดใหญ่
3 กลุ่มผู้สนับสนุน พร้อมให้การสนับสนุนด้านการเงิน
4 การมีลีกอาชีพ และรายการรุ่นอายุต่างๆ ทั้งรุ่น U12, U14, U16 และ U18 ทำให้สามารถหานักกีฬารุ่นใหม่ ขึ้นมาทดแทนรุ่นเก่าได้
5 มีการใช้นักกีฬาผู้ชายที่เป็นอดีตทีมชาติมาช่วยฝึกซ้อม
จุดด้อย
1 ผู้เล่นมีรูปร่างเล็กกว่าชาติอื่น ทำให้เสียเปรียบในการขึ้นตีบอล และชอบตีอัดบล็อกเป็นกิจจะลักษณะ
2 ผู้ฝึกสอนขาดกลยุทธ์ในการแก้เกมคู่แข่ง เมื่อคู่แข่งจับทางได้
3 นักกีฬาบางคนมีอาการตื่นสนาม เมื่อลงแข่งขัน
4 งบประมาณสนับสนุนมีน้อย
5 ระยะเวลาการเก็บตัวน้อยเกินไป ทำให้ผลการแข่งขันไม่เป็นที่พอใจ
6 โภชนาการนักกีฬารุ่นอายุต่าง ๆ เมื่อเทียบกับชาติอื่น ต่ำกว่ามาตรฐาน
7 ลีกอาชีพไม่เป็นที่จูงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสโมสรขนาดเล็ก ไม่สามารถจ้างนักกีฬาในราคาสูงได้
โอกาส
1 มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เฉพาะกีฬาซีเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิก
2 โครงการ 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ สามารถช่วยเหลือด้านงบประมาณของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยได้ระดับหนึ่ง
3 มีกลุ่มแฟนคลับของนักกีฬาเป็นจำนวนมาก
4 มีวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน
อุปสรรค
1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสำคัญกับกีฬาชนิดอื่น ซึ่งบางชนิดกีฬา ยังไม่เคยเป็นแชมป์เอเชียเลย ขณะที่วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เป็นแชมป์เอเชียมา 3 สมัย
2 เศรษฐกิจของประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโลก ทำให้เริ่มหาผู้สนับสนุนยากขึ้น โดยเฉพาะลีกอาชีพ
3 เมื่อมีความพ่ายแพ้ จะถูกสังคมโจมตีอย่างหนัก
4 ไม่มีหุ่นยนต์ช่วยการฝึกซ้อม แบบประเทศอื่น
แผนกลยุทธ์
1 กลยุทธ์เชิงรุก
1.1 ต้องส่งเสริมและประชาสัมพันธ์วอลเลย์บอลลีกอาชีพ ให้เป็นที่นิยม เพราะในปัจจุบัน วอลเลย์บอลีกอาชีพ ยังมีผู้ชมน้อย
1.2 การแข่งขันวอลเลย์บอลในรุ่นอายุต่าง ๆ ต้องเป็นรายการหาช้างเผือกเข้าสโมสร และสถานศึกษาที่มีความพร้อม ต้องทำโครงการ อะคาเดมี่ลีกขึ้นมา เพื่อให้นักวอลเลย์บอลหน้าใหม่ได้มีเวทีลองทีม
1.3 การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐวิสาหกิจ ต้องได้รับมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาจ้างโค้ชต่างชาติในการทำทีมระยะยาว
2 กลยุทธ์เชิงรับ
2.1 เสนอโครงการวิจัยให้แก่สถานศึกษา เพื่อจัดทำหุ่นยนต์ช่วยฝึกซ้อมร่วมกับนักกีฬาชายที่เป็นอดีตทีมชาติ
3 กลยุทธ์เชิงแก้ไข
3.1 โภชนาการการกีฬา ต้องเข้าถึง โดยคำนวณปริมาณสารอาหารเป็นแคลอรี่ ว่าใน 1 วัน ต้องได้รับ เกลือแร่, วิตามิน, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต และไขมัน อย่างละกี่แคลอรี่ และต้องเน้น เนื้อ, นม และไข่ เป็นหลัก
3.2 วิทยาศาสตร์การกีฬา ต้องเข้าถึงทุกรุ่นอายุ
3.3 การได้รับโอกาสให้ลงสนามในลีกอาชีพ จะทำให้มีความกล้าในการเล่นมากขึ้น
4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน
4.1 การสนับสนุนด้านงบประมาณจากภาครัฐต้องมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะผลงานสมารถพัฒนาไปได้อีกในอนาคต จึงเห็นสมควรปรับลดงบประมาณสนับสนุนบางชนิดกีฬาที่ไม่มีโอกาสไประดับโลก แต่มีทุนหนาลงอย่างน้อย 30% ของวงเงินสนับสนุน เพื่อพัฒนาวงการวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยต่อไป
4.2 ลีกอาชีพต้องมีค่าจ้างนักกีฬา อย่างน้อยคนละ 20,000 บาท/เดือน เนื่องจากเคยมีปัญหาค้างค่าจ้างนักกีฬาหลายเดือนติดกัน และรายได้ต่อเดือน แค่ 5,000 บาท และดึงนักกีฬาที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศมาร่วมทีมสโมสรละ 2 คน แต่ลงได้ครั้งละ 1 คน/เซต
เสนอยุทธศาสตร์รีแบรนด์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยใหม่
นอกจากนี้ในเพจ Main Stand ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น ซึ่งได้รองแชมป์ VNL โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือ การวางแผนระยะยาว ซึ่งนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น ในรุ่น U17, U18 และ U20 สังเกตดีๆ จะเห็นว่ามีกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ มองมาที่นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยในรุ่น U17, U18 และ U20 ต่างกันมาก คือบางคนมีกล้ามเนื้อ แต่ส่วนมากจะมีแต่ไขมัน ซึ่งมีผู้แสดงความคิดเห็นไว้รายหนึ่ง ได้เสนอแนะว่า ทำไมไม่ลองปรับเรื่องโภชนาการด้านการกีฬาล่ะ คำนวณไปเลยว่า ในแต่ละวันต้องทาน โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามิน, เกลือแร่ และไขมัน อย่างละกี่แคลลอรี่ และเอาวิทยาศาสตร์ด้านการกีฬามาช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
และที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่คนดูอย่างเรามองเห็น ก็อยากนำเสนอให้เห็นเลยว่า วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยชุดใหญ่มีจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค อะไร ที่ทำให้วอลเลย์บอลหญิงไทย เข้าสู่ยุคมืด
จุดเด่น
1 มีนักกีฬาอาชีพเป็นจำนวนมาก ที่เล่นทั้งลีกในและลีกนอกประเทศ
2 มีการส่งทีมแข่งในระดับนานาชาติทั้งรุ่น U16/17, U18/19, U20/21 และทีมชาติชุดใหญ่
3 กลุ่มผู้สนับสนุน พร้อมให้การสนับสนุนด้านการเงิน
4 การมีลีกอาชีพ และรายการรุ่นอายุต่างๆ ทั้งรุ่น U12, U14, U16 และ U18 ทำให้สามารถหานักกีฬารุ่นใหม่ ขึ้นมาทดแทนรุ่นเก่าได้
5 มีการใช้นักกีฬาผู้ชายที่เป็นอดีตทีมชาติมาช่วยฝึกซ้อม
จุดด้อย
1 ผู้เล่นมีรูปร่างเล็กกว่าชาติอื่น ทำให้เสียเปรียบในการขึ้นตีบอล และชอบตีอัดบล็อกเป็นกิจจะลักษณะ
2 ผู้ฝึกสอนขาดกลยุทธ์ในการแก้เกมคู่แข่ง เมื่อคู่แข่งจับทางได้
3 นักกีฬาบางคนมีอาการตื่นสนาม เมื่อลงแข่งขัน
4 งบประมาณสนับสนุนมีน้อย
5 ระยะเวลาการเก็บตัวน้อยเกินไป ทำให้ผลการแข่งขันไม่เป็นที่พอใจ
6 โภชนาการนักกีฬารุ่นอายุต่าง ๆ เมื่อเทียบกับชาติอื่น ต่ำกว่ามาตรฐาน
7 ลีกอาชีพไม่เป็นที่จูงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสโมสรขนาดเล็ก ไม่สามารถจ้างนักกีฬาในราคาสูงได้
โอกาส
1 มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เฉพาะกีฬาซีเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิก
2 โครงการ 1 กีฬา 1 รัฐวิสาหกิจ สามารถช่วยเหลือด้านงบประมาณของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยได้ระดับหนึ่ง
3 มีกลุ่มแฟนคลับของนักกีฬาเป็นจำนวนมาก
4 มีวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน
อุปสรรค
1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสำคัญกับกีฬาชนิดอื่น ซึ่งบางชนิดกีฬา ยังไม่เคยเป็นแชมป์เอเชียเลย ขณะที่วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย เป็นแชมป์เอเชียมา 3 สมัย
2 เศรษฐกิจของประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโลก ทำให้เริ่มหาผู้สนับสนุนยากขึ้น โดยเฉพาะลีกอาชีพ
3 เมื่อมีความพ่ายแพ้ จะถูกสังคมโจมตีอย่างหนัก
4 ไม่มีหุ่นยนต์ช่วยการฝึกซ้อม แบบประเทศอื่น
แผนกลยุทธ์
1 กลยุทธ์เชิงรุก
1.1 ต้องส่งเสริมและประชาสัมพันธ์วอลเลย์บอลลีกอาชีพ ให้เป็นที่นิยม เพราะในปัจจุบัน วอลเลย์บอลีกอาชีพ ยังมีผู้ชมน้อย
1.2 การแข่งขันวอลเลย์บอลในรุ่นอายุต่าง ๆ ต้องเป็นรายการหาช้างเผือกเข้าสโมสร และสถานศึกษาที่มีความพร้อม ต้องทำโครงการ อะคาเดมี่ลีกขึ้นมา เพื่อให้นักวอลเลย์บอลหน้าใหม่ได้มีเวทีลองทีม
1.3 การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐวิสาหกิจ ต้องได้รับมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาจ้างโค้ชต่างชาติในการทำทีมระยะยาว
2 กลยุทธ์เชิงรับ
2.1 เสนอโครงการวิจัยให้แก่สถานศึกษา เพื่อจัดทำหุ่นยนต์ช่วยฝึกซ้อมร่วมกับนักกีฬาชายที่เป็นอดีตทีมชาติ
3 กลยุทธ์เชิงแก้ไข
3.1 โภชนาการการกีฬา ต้องเข้าถึง โดยคำนวณปริมาณสารอาหารเป็นแคลอรี่ ว่าใน 1 วัน ต้องได้รับ เกลือแร่, วิตามิน, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต และไขมัน อย่างละกี่แคลอรี่ และต้องเน้น เนื้อ, นม และไข่ เป็นหลัก
3.2 วิทยาศาสตร์การกีฬา ต้องเข้าถึงทุกรุ่นอายุ
3.3 การได้รับโอกาสให้ลงสนามในลีกอาชีพ จะทำให้มีความกล้าในการเล่นมากขึ้น
4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน
4.1 การสนับสนุนด้านงบประมาณจากภาครัฐต้องมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะผลงานสมารถพัฒนาไปได้อีกในอนาคต จึงเห็นสมควรปรับลดงบประมาณสนับสนุนบางชนิดกีฬาที่ไม่มีโอกาสไประดับโลก แต่มีทุนหนาลงอย่างน้อย 30% ของวงเงินสนับสนุน เพื่อพัฒนาวงการวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยต่อไป
4.2 ลีกอาชีพต้องมีค่าจ้างนักกีฬา อย่างน้อยคนละ 20,000 บาท/เดือน เนื่องจากเคยมีปัญหาค้างค่าจ้างนักกีฬาหลายเดือนติดกัน และรายได้ต่อเดือน แค่ 5,000 บาท และดึงนักกีฬาที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศมาร่วมทีมสโมสรละ 2 คน แต่ลงได้ครั้งละ 1 คน/เซต