ตัดเกรด "ใจซ่อนรัก" = A

สิ้นสุดการเจียรนัยเพชรเม็ดงามของช่อง 3 หลิง หลิง ในเรื่องนี้ นับว่าครบเครื่องจริงๆ 
จากเมื่อก่อน สิ่งที่ไม่พร้อม คือ ทักษะการแสดง มาถึงเรื่องนี้ ศิลปะการถ่ายทอดความรู้สึกทำได้สุดและลงดีเทล
ซับซ้อน ทั้งรัก ทั้งเกลียด ทั้งแค้น ทั้ง Hurt รักไปช้ำไป 
แม้ว่าฟ้าลดาจะเป็นผู้หญิงที่ภายนอกดูเข้มแข็ง  แต่ข้างในพังครืน 
ซึ่งหลิงหลิง เล่นออกมา แต่ละช็อตๆ ยกระดับให้ตัวละครนี้เทียบเท่า
คุณหญิงกีรติ ในข้างหลังภาพ อังศุมาลิน ในคู่กรรม นารินในสวรรค์เบี่ยง
หากจะหาใครมาเล่นในเวอร์ชั่นต่อไป ก็ต้องยอดฝีมือ

การปรากฏตัวในแต่ละซีน ล้วนเป็นภาพจำ ด้วยคุณภาพการถ่ายทำ
และการเรียบเรียง ขั้นตอนทำได้ดี สายตาหนึ่งก็รัก สักพัก ก็มีความเจ้าเล่ห์และพร้อมแก้เผ็ด 
รูปลักษณ์ของนักแสดง ใบหน้า ดวงตา สื่อสารให้เข้าใจได้ถูกจังหวะ แม้ตัวละครจะพูดน้อย 
การเล่าความรู้สึกแค่ไม่กี่วินาที ถ่ายออกมาหลายเป็นช็อตๆ ให้ตัวละครสื่อสารด้วยสายตา เทคนิกนี้ น่าสนใจ 
จริงๆ อยากรู้ว่าใครคือ acting coach เค้าทำให้นักแสดงตีโจทย์แตก

ตัวละครฟ้าลดา เป็นผู้หญิงฉลาด ทรงบารมี น่าเกรงใจแต่ก็น่าเห็นใจในเวลาเดียวกัน
ด้วยหน้าที่การงาน ภาระผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัว 

ในขณะที่เอิร์นสาวชนชั้นกลาง ต้องแบกภาระชีวิตแม่ แต่แอบรู้สึกว่า ความเป็นเอิร์น น่าจะขยี้ได้มากกว่านี้ 
อย่าลืมว่าอุปสรรคที่แท้จริงของคู่นี้ ก็คือ ชนชั้น และการยอมรับทางสังคมเกี่ยวกับความรักที่เกิดขึ้น
นักแสดง(ออม) ร้องไห้เก่ง อันนี้คือจุดแข็ง น้ำตาสั่งได้  ซึ่งจริงๆ ภายนอกที่เหมือนเป็นเด็กอารมณ์ดี 
เขามีเรื่องที่ต้องน้อยใจเกี่ยวกับชนชั้นของตนเอง แต่เล่นออกมาแบบชั้นเดียว เน้นความอ่อนวัย ซึ่งทำให้พอ battle กับหลิง หลิง แล้ว
ได้อารมณ์แบบเสือ กับ กระต่าย แต่ถ้าเอาให้สุด ถ้าต่างก็เป็นแม่เหล็กดึงดูดทั้งคู่ แต่คนละแนว จะได้อารมณ์แบบสูสี 
ด้วยจังหวะการเล่นที่ค่อนข้างเร็ว ทำให้เอิร์นแชร์ความรู้สึกกับคนดูค่อนข้างลำบาก 

หากวางเป้า "นางเอกทั้งสองคน" Feedback จากกระทู้นี้ คือ พยายามอีกนิด เพื่อให้เอิร์นน่าค้นหา และน่าติดตาม
การแสดงไม่ใช่การเล่นเป็นตัวเอง แต่เป็นการอ่านบท กลั่นกรอง แล้วออกแบบ ดึงเสน่ห์ของตัวละคร ทำอย่างไรให้ตัวละคร
อยู่ในใจคนดู มีชั้นเชิงในการเรียกร้องความสนใจจากคนดู แต่ในภาพรวม ตัวละครเอิร์นก็ลื่นไหลดี เพียงแต่เปิดตัว ดูเบาไปนิดนึง
ภายใต้ความร่าเริง เอิร์นเผชิญปัญหาชีวิต ซึ่งต้องติดตามตอนต่อไป 

คุณแม่ของพี่หมอ เลิศ เฉียบ น้อยแต่มาก พูดออกมาด้วยธรรมชาติคุณแม่ไฮโซ แต่แทงใจไปทุกวรรค
การแสดงแบบ masterful สมจริง ดึงดูด มีน้ำหนัก และดูมีศิลปะ
ชอบคำพูดคุณแม่ (หวังว่าคงอนุญาตให้เรียกคุณแม่) เป็นปมศูนย์กลางของเรื่องที่สมบูรณ์ ดูได้หลายรอบ ซีนแม่พูด บทลงตัว 
และชื่นชมเอิร์นที่สามารถตอบโต้ด้วยน้ำตา ทุกๆซีน ที่ต้องโต้ตอบด้วยน้ำตา ออมเอาอยู่

ซีนที่ชอบ : ตอนฟ้าลดาเอามือกันหัวเอิร์นไม่ให้โขกโต๊ะ  ภาษารัก อาจจะเคยมีในหนัง/ละครบางเรื่อง
ที่ปิดเหลี่ยมโต๊ะ เพื่อคนรัก แต่ก็เอ้อ คิดได้นะ ละเอียดอ่อนดี ใครชอบซีนอื่นๆ  ลองแชร์กัน

จุดเด่น 
1. ภาพสวยมาก การจัดวางภาพ แสง งดงาม
2. เสื้อผ้า สวยงาม 
3. กำกับอินเน่อร์ได้ดี 
4. เรียบเรียงเข้าใจง่าย 

สาเหตุที่ไม่ให้ A+
ถ้าเรื่องเลือกที่จะไม่เล่าประเด็นสังคมมากมาย แบบ ในวันที่ฝนพร่างพราย เรื่องผูกโยงกับตัวละครอื่นๆด้วย
แต่เรื่องนี้ โฟกัสความรักของคนสองคน เน้นการเล่าแนวลึกไม่ใช่แนวกว้าง ซึ่งถ้าคลี่ปัญหาต่างๆ
ของเอิร์นออกมาอีกสักนิด ที่ทำให้ฟ้าลดา ผู้หญิงนิ่ง ลึกๆแล้วใจดี มีความเอ็นดูต่อเอิร์น ถ้าเลือกที่จะเล่าว่า
มันไม่ใช่แค่ป๊ะกันแล้วชอบเลย แต่เกิดจากการซึมซับความงดงามภายในจิตใจด้วย มันก็จะทำให้เรื่องราวไม่ง่ายเกินไป

บท 
บทพูดเกี่ยวกับความรัก เสี่ยวๆ อยู่บ้าง แบบแฟนปกติคุยกัน 
เราดูละคร เพราะตัวละครคือ คู่รักแห่งตำนาน ดังนั้น คำพูดคำจา เวลาเขาพลอดรัก 
น่าจะเขียนออกมาแบบวรรคทอง ฟังกี่รอบก็อมตะ เช่น ข้างหลังภาพ คู่กรรม
ในวันที่ฝนพร่างพราย เขียนบทรักได้น่าประทับใจ ผ่านกระบวนการคิดให้ตัวละครพูดออกมาแล้วดูพิเศษกว่าคนทั่วๆไป

ภาษารัก แม้จะเป็นร้อยแก้ว แต่เป็นบทกวี มีความหมายแฝง ทวีความโรแมนติก
มีละครญี่ปุ่นเรื่องนึง พระเอกพูดแนวๆว่า "ถ้าเลือกได้ ผมก็ยอมเป็นท้องฟ้ายามมืดมิด เพื่อให้ดวงดาวอย่างคุณได้เปล่งประกาย"
ตัวละครไม่จำเป็นต้องพูดว่า ฉันชอบเธอ เธอน่ารัก เพราะภาษาแบบนี้ จำกัดความหมาย มันไม่สร้าง impact ทางความรู้สึกแบบไร้ขอบเขต 
มุขตื่นขึ้นมา แล้วบอกคนรักว่า "อรุณสวัสดิ์/สวัสดีความรัก" อันนี้ ซื้อนะ แปลกใหม่ดี

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียง 1 feedback ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำละครเรื่องต่อไป 
ละครเรื่องนี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมากมายที่ต่างรอคอยให้ถึงวันจันทร์ 
ความสำเร็จของละคร  คือ คนดูติด เหมือนติดกาแฟ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่