ธุรกิจร้านอาหารวอนรัฐต่อลมหายใจ กำลังซื้อคนไทยไม่มีเหลือ ต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง 50%
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1133788
‘ชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร’ ร่อนหนังสือถึงนายกฯ ‘เศรษฐา’ ออกมาตรการต่อลมหายใจด่วน ก่อนธุรกิจร้านอาหารจะได้รับความเสียหาย ปิดกิจการไปมากกว่านี้ หลังกำลังซื้อคนไทยไม่มีเหลือ สภาพเศรษฐกิจซบเซาหนัก ต้นทุนค่าวัตถุดิบและพลังงานพุ่งกระฉูด
นาย
สรเทพ โรจน์พจนารัช ประธานชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เปิดเผยว่า ชมรมฯ ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาเร่งด่วนเรื่องมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่ธุรกิจ ร้านอาหารจะปิดตัวลงมากกว่านี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันซบเซาอย่างหนัก จากกำลังซื้อของประชาชนคนไทยที่ไม่มีเหลือ รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบทั้งผักสดและอื่นๆ ขึ้นราคาสูงถึง 50% รวมทั้งค่าไฟฟ้าที่เป็นปัญหาหลัก ที่สำคัญนักท่องเที่ยวยังมาน้อยลงอย่างมาก
ดังนั้น ทางชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารอยากให้ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือเป็นการด่วน ตั้งแต่ร้านอาหารสตรีทฟู้ดริมทาง จนถึงร้านอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ก่อนที่จะได้รับความเสียหายตายกันหมด ที่สำคัญธุรกิจร้านอาหารยังสามารถสร้างจีดีพีของประเทศให้โตขึ้นได้ เพราะเป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ซัพพลายเชนใหญ่มาก ส่งผลกับผู้ค้าขายในตลาดสด ภาคการเกษตรต่างๆ ภาคแรงงาน และพนักงานในธุรกิจนี้มหาศาล
โดยชมรมฯ เสนอให้เร่งพิจารณาเป็นการด่วนในมาตรการเหล่านี้ ซึ่งจะพอช่วยพยุงให้ภาคเศรษฐกิจร้านอาหารยังต่อลมหายใจไปได้ ดังนี้
1. แก้ไขกฎหมายที่ล้าหลังในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารในช่วงเวลา 14.00 น. - 17.00 น. ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2515 โดยคำสั่งคณะปฏิวัติ โดยในช่วงนั้นเป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อป้องกันข้าราชการไปนั่งดื่มในเวลางาน ขัดแย้งกับยุคสมัยในปัจจุบันที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมามาก และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นหลัก
2. ลดภาษีโรงเรือนให้สำหรับธุรกิจร้านอาหาร เพราะเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ทุกวันนี้โดนภาษีต่างๆ มากมายอยู่แล้วและยังมาโดนภาษีโรงเรือนที่เปลี่ยนมาใช้อัตราก้าวหน้าอีก ทำให้เป็นภาระใหญ่กับผู้ประกอบการมาก
3. เร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- มาตรการกระตุ้นให้กับร้านอาหารอย่างกลุ่ม SMEs เช่น บุคคลธรรมดาสามารถเก็บใบกำกับภาษี เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 20,000 บาท และในส่วนของบริษัท ห้างร้าน นิติบุคคล สามารถนำบิลไปลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น
- ออกมาตรการเงินสด ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนทั่วไปคนละ 2,000 บาท 3 เดือน โดยให้เป็นเงินเติมในแอป “เป๋า ตัง” เพื่อให้ประชาชนไปใช้จ่ายซื้ออาหารได้อย่างเดียว ตั้งแต่ร้านข้างทางไปจนถึงร้าน SMEs ด้วย
เปิดผล ‘ธำรงศักดิ์โพล’ ชี้ 62.71% หนุนยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญ ภาคอีสานเห็นด้วยเยอะสุด
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4657475
เปิดผล ‘ธำรงศักดิ์โพล’ ชี้ 62.71% หนุนยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญ สูงกว่าผลการรวจช่วงเดือน เม.ย.66 พบภาคอีสานเห็นด้วยเยอะสุด ร้อยละ 67.40 ตามด้วยกรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม รศ.ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยงานวิจัยส่วนบุคคล “
ธำรงศักดิ์โพล” โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,310 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 8-21 เมษายน 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต 127 คน เก็บแบบสอบถามใน 47 จังหวัด ประเด็นการเลือก ส.ว.67 ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า เห็นควรต้องยกเลิก ส.ว.สูงขึ้นจากปี 2566 ที่ร้อยละ 55.24 เป็นปี 2567 ร้อยละ 62.71
เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าควรต้องยกเลิกการมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในรัฐธรรมนูญได้แล้วหรือยัง ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,296 คนตอบคำถามข้อนี้) ต้องยกเลิก ร้อยละ 62.71 (2,694 คน) ยังไม่ควรยกเลิก ร้อยละ 16.06 (690 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 21.23 (916 คน)
เมื่อพิจารณารายภาค พบว่า ภาคที่มีทัศนคติว่า ต้องยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือภาคอีสาน ร้อยละ 67.40 ตามด้วยกรุงเทพฯ ร้อยละ 66.60 สามจังหวัดใต้ ร้อยละ 64.20 ภาคกลาง ร้อยละ 62.90 ภาคใต้ ร้อยละ 58.4 ภาคเหนือ ร้อยละ 50.0
ภาคที่มีทัศนคติว่ายังไม่ควรยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือภาคเหนือ ร้อยละ 23.50 รองลงมาเป็น ภาคใต้ ร้อยละ 20.20 ภาคกลาง ร้อยละ 15.40 กรุงเทพฯ ร้อยละ15.20 ภาคอีสาน ร้อยละ 13.00
เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจทัศนคติของประชาชนเดือนเมษายน 2566 และเดือนเมษายน 2567 เป็นดังนี้
1. ต้องยกเลิก ผลสำรวจเมื่อเมษายน 2566 ร้อยละ 55.24 ส่วนเมษายน 2567 ร้อยละ 62.71 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.47
2. ยังไม่ควรยกเลิก ผลสำรวจเมื่อเมษายน 2566 ร้อยละ 18.29 ส่วนเมษายน 2567 ร้อยละ 16.06 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.23
3. ไม่แสดงความเห็น ผลสำรวจเมื่อเมษายน 2566 ร้อยละ 26.47 ส่วนเมษายน 2567 ร้อยละ 21.23 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.24
สำหรับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเดือนเมษายน 2567
เพศ : หญิง 2,199 คน (51.02%) ชาย 1,891 คน (43.88%) เพศหลากหลาย 220 คน (5.10%)
อายุ : Gen Z (18-27 ปี) 2,194 คน (50.90%) Gen Y (28-44 ปี) 902 คน (20.93%) Gen X (45-59 ปี) 789 คน (18.31%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (60 ปีขึ้นไป) 425 คน (9.86%)
การศึกษา : ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 461 คน (10.70%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 1,053 คน (24.43%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 493 คน (11.43%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,079 คน (48.24%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 224 คน (5.20%)
อาชีพ : นักเรียนนักศึกษา 1,758 คน (40.79%) เกษตรกร 374 คน (8.68%) พนักงานเอกชน 457คน (10.60%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 472 คน (10.95%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 480 คน (11.14%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 403 คน (9.35%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 237 คน (5.50%) อื่นๆ 129 คน (2.99%)
รายได้ต่อเดือน : ไม่มีรายได้ 958 คน (22.23%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,031 คน (23.92%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,189 คน (27.59%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 611 คน (14.18%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 243 คน (5.64%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 278 คน (6.44%)
ขณะที่ ข้อมูลพื้นฐานเดือนเมษายน 2566 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน ใน 57 จังหวัด หญิงร้อยละ 53.16 ชาย ร้อยละ 44.09 เพศหลากหลาย ร้อยละ 2.75
กลุ่มอดีตผู้สมัคร สว. ร้อง กกต. ชะลอประกาศรับรอง 200 ว่าที่ สว.
https://ch3plus.com/news/political/morning/406510
1 ก.ค. 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายจักรพงษ์ คงปัญญา อดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กลุ่ม 12 พร้อมตัวแทนอดีตผู้สมัครสว. เข้ายื่นต่อ กกต. คัดค้านการประกาศชื่อ สว. 200 คน ที่ได้รับเลือก โดย นายจักรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากที่เลือก สว.แล้วเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา และได้ชื่อ สว.แล้ว แต่กฎหมายให้เว้นไว้ 5 วัน แล้วประกาศรับรอง 200 สว. ฉะนั้นกระบวนการที่ กกต.จัดเลือกตั้ง เราไม่ได้ไปกล่าวหาเขา แต่เมื่อผลของการเลือกคนให้ได้ตรงกับอาชีพอย่างสุจริตและเที่ยงธรรมนั้น หา สว.ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสายอาชีพกลุ่มนั้นๆ 20 กลุ่มอาชีพ แล้วได้ สว.เป็นอย่างไร เราก็คงเห็นตามหน้าสื่อแล้ว แต่นี่เป็นที่ระบบ ซึ่งถ้าเราไม่ช่วยกันติดตามตรวจสอบก็จะไม่เกิดผลดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบบดีอยู่บ้างที่เป็นประชาธิปไตยแม้ว่าจะไม่เต็มใบ แต่ก็ดีกว่ายกเลิกแล้วไปทำอย่างอื่น วันนี้เรามาคัดค้านตามกฎหมาย ไม่ใช่ว่าเราแพ้แล้วมาหาเรื่อง หรือเป็นขี้แพ้ชวนตี
นายจักรพงษ์ กล่าวว่า มีคนที่มีความรู้ จบสูงๆยังตกตั้งแต่รอบอำเภอ แต่หลายคนที่เข้าแรกคือใส่รองเท้าแตะเสื้อยืด ยังได้เข้าระบบเต็มไปหมด นี่เป็นคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบ การตรวจสอบคุณสมบัติ กกต.ได้ทำอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือยัง แล้วดำเนินการด้วยความมีมาตรฐานแล้วหรือไม่ในการรับสมัคร รับรอง และตรวจสอบ มีหลายคนที่มีชื่อเสียงร่วงระนาวก็ยังไม่รู้ว่าเพราะอะไร ซึ่งหน้าที่ของกกต.ต้องตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้มงวด ไม่ให้คนที่มีคุณสมบัติผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องเข้ามาในระบบ เมื่อไม่มีการตรวจหรือตรวจไม่จริงจัง ก็จะทำให้ได้คนหลายกลุ่มหลายพื้นที่ไหลเข้ามาสู่ระบบ แล้วมาปนกับคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เมื่อเป็นแบบนี้จึงมีความไม่ยุติธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว
นายจักรพงษ์ กล่าวอีกว่า วันนี้ตัวแทนอดีตผู้สมัคร สว. ร่วมตัวเพื่อยื่นเรียกร้องต่อ กกต. คือ
1. ให้ กกต.หยุดการประกาศชื่อรับรอง 200 ชื่อ ว่าที่ สว.เอาไว้ก่อน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคะแนนทุกคะแนน ว่าการเลือก สว. ครั้งนี้มีการเอาเปรียบผู้สมัครคนอื่นหรือไม่ ที่เรียกว่ามีการฮั้วกัน
2. หากพบว่าผลการตรวจสอบว่าคะแนนมีมูลหรือเหตุควรชื่อว่ามีการฮั้วลงคะแนนให้กัน ให้กกต.ประกาศให้ผลการเลือก สว.ครั้งนี้เป็นโมฆะ และสั่งให้มีการเลือกสว.ใหม่ทันที
3. ก่อนการเลือกใหม่ให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครใหม่ทั้งหมด เพื่อป้องกันผู้สมัครใหม่ที่ไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมายจริงทั้ง 20 กลุ่มอาชีพ
4. ในวันเลือกใหม่ กกต.จะต้องเข้มงวดไม่ให้ผู้สมัครนำเอกสาร หรือโพย หรือการจด การทำตัวเลขใดๆบนร่างกายร วมทั้งเครื่องมือสื่อสารใดๆเข้าสู่สถานที่เลือกโดยเด็ดขาด
5. ให้ กกต.จัดพิมพ์เอกสารแนะนำตัวหรือ สว.3ใหม่ แล้วแจกให้ผู้สมัครใหม่ก่อนเข้าช่องรอลงคะแนน โดยไม่ใช่การแจกให้ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนเลือกเหมือนครั้งนี้ เพื่อป้องกันการจดโพยกัน
ฉะนั้น ถ้า กกต.ดำเนินการตามที่เราเรียกร้องแล้วนั้น ผลจะออกมาเป็นอย่างไรขอให้ทุกฝ่ายยอมรับ และเราพร้อมยอมรับและถือเป็นการสิ้นสุดการลงคะแนนเพื่อให้สว. 200 คน มาทำงานและให้ประเทศเดินหน้าต่อ อย่างไรก็ตามตอนนี้เราไม่ได้มาใส่ร้ายใคร จนกว่าพวกเราจะช่วยกันตรวจสอบ แต่ไม่ใช่ไปตรวจในห้องกัน 2 คน แล้วมาบอกว่าถูกทั้งหมด หรือไปบอกว่าผิดทั้งหมดนั้นก็ไม่ใช่ และกระบวนการตรวจสอบก็ควรหาผู้เชี่ยวชาญจริงๆมาตรวจ เรื่องนี้เป็นเรื่องระเบียบข้อกฎหมายที่เราต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป แต่ระบบดีอยู่แล้ว กกต.ก็ทำงานดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราพบปัญหา เราก็ต้องให้มีการตรวจสอบ อย่าเดินหน้าต่อ เพราะท่านติดกระดุมเม็ดแรกผิดแล้ว คืออนุญาตให้คนไม่มีคุณสมบัติเข้ามาในระบบ และวันนี้ท่านกำลังจะติดกระดุมเม็ดสุดท้าย คือการประกาศ 200 ชื่อสว. แต่ตนเชื่อว่าติดไม่ได้ เพราะท่านติดผิดตั้งแต่เม็ดแรกแล้ว
JJNY : ร้านอาหารวอนรัฐต่อลมหายใจ│ชี้ 62.71% หนุนยกเลิก ส.ว.│ร้อง กกต. ชะลอรับรองว่าที่ สว.│ยุโรปเผชิญสภาพอากาศเลวร้าย
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1133788
‘ชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร’ ร่อนหนังสือถึงนายกฯ ‘เศรษฐา’ ออกมาตรการต่อลมหายใจด่วน ก่อนธุรกิจร้านอาหารจะได้รับความเสียหาย ปิดกิจการไปมากกว่านี้ หลังกำลังซื้อคนไทยไม่มีเหลือ สภาพเศรษฐกิจซบเซาหนัก ต้นทุนค่าวัตถุดิบและพลังงานพุ่งกระฉูด
นายสรเทพ โรจน์พจนารัช ประธานชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เปิดเผยว่า ชมรมฯ ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาเร่งด่วนเรื่องมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่ธุรกิจ ร้านอาหารจะปิดตัวลงมากกว่านี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันซบเซาอย่างหนัก จากกำลังซื้อของประชาชนคนไทยที่ไม่มีเหลือ รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบทั้งผักสดและอื่นๆ ขึ้นราคาสูงถึง 50% รวมทั้งค่าไฟฟ้าที่เป็นปัญหาหลัก ที่สำคัญนักท่องเที่ยวยังมาน้อยลงอย่างมาก
ดังนั้น ทางชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารอยากให้ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือเป็นการด่วน ตั้งแต่ร้านอาหารสตรีทฟู้ดริมทาง จนถึงร้านอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ก่อนที่จะได้รับความเสียหายตายกันหมด ที่สำคัญธุรกิจร้านอาหารยังสามารถสร้างจีดีพีของประเทศให้โตขึ้นได้ เพราะเป็นธุรกิจที่มีห่วงโซ่ซัพพลายเชนใหญ่มาก ส่งผลกับผู้ค้าขายในตลาดสด ภาคการเกษตรต่างๆ ภาคแรงงาน และพนักงานในธุรกิจนี้มหาศาล
โดยชมรมฯ เสนอให้เร่งพิจารณาเป็นการด่วนในมาตรการเหล่านี้ ซึ่งจะพอช่วยพยุงให้ภาคเศรษฐกิจร้านอาหารยังต่อลมหายใจไปได้ ดังนี้
1. แก้ไขกฎหมายที่ล้าหลังในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารในช่วงเวลา 14.00 น. - 17.00 น. ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2515 โดยคำสั่งคณะปฏิวัติ โดยในช่วงนั้นเป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อป้องกันข้าราชการไปนั่งดื่มในเวลางาน ขัดแย้งกับยุคสมัยในปัจจุบันที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมามาก และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นหลัก
2. ลดภาษีโรงเรือนให้สำหรับธุรกิจร้านอาหาร เพราะเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ทุกวันนี้โดนภาษีต่างๆ มากมายอยู่แล้วและยังมาโดนภาษีโรงเรือนที่เปลี่ยนมาใช้อัตราก้าวหน้าอีก ทำให้เป็นภาระใหญ่กับผู้ประกอบการมาก
3. เร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- มาตรการกระตุ้นให้กับร้านอาหารอย่างกลุ่ม SMEs เช่น บุคคลธรรมดาสามารถเก็บใบกำกับภาษี เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 20,000 บาท และในส่วนของบริษัท ห้างร้าน นิติบุคคล สามารถนำบิลไปลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น
- ออกมาตรการเงินสด ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนทั่วไปคนละ 2,000 บาท 3 เดือน โดยให้เป็นเงินเติมในแอป “เป๋า ตัง” เพื่อให้ประชาชนไปใช้จ่ายซื้ออาหารได้อย่างเดียว ตั้งแต่ร้านข้างทางไปจนถึงร้าน SMEs ด้วย
เปิดผล ‘ธำรงศักดิ์โพล’ ชี้ 62.71% หนุนยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญ ภาคอีสานเห็นด้วยเยอะสุด
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4657475
เปิดผล ‘ธำรงศักดิ์โพล’ ชี้ 62.71% หนุนยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญ สูงกว่าผลการรวจช่วงเดือน เม.ย.66 พบภาคอีสานเห็นด้วยเยอะสุด ร้อยละ 67.40 ตามด้วยกรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยงานวิจัยส่วนบุคคล “ธำรงศักดิ์โพล” โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,310 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 8-21 เมษายน 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต 127 คน เก็บแบบสอบถามใน 47 จังหวัด ประเด็นการเลือก ส.ว.67 ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า เห็นควรต้องยกเลิก ส.ว.สูงขึ้นจากปี 2566 ที่ร้อยละ 55.24 เป็นปี 2567 ร้อยละ 62.71
เมื่อถามว่า ท่านคิดว่าควรต้องยกเลิกการมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในรัฐธรรมนูญได้แล้วหรือยัง ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,296 คนตอบคำถามข้อนี้) ต้องยกเลิก ร้อยละ 62.71 (2,694 คน) ยังไม่ควรยกเลิก ร้อยละ 16.06 (690 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 21.23 (916 คน)
เมื่อพิจารณารายภาค พบว่า ภาคที่มีทัศนคติว่า ต้องยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือภาคอีสาน ร้อยละ 67.40 ตามด้วยกรุงเทพฯ ร้อยละ 66.60 สามจังหวัดใต้ ร้อยละ 64.20 ภาคกลาง ร้อยละ 62.90 ภาคใต้ ร้อยละ 58.4 ภาคเหนือ ร้อยละ 50.0
ภาคที่มีทัศนคติว่ายังไม่ควรยกเลิก ส.ว.ในรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือภาคเหนือ ร้อยละ 23.50 รองลงมาเป็น ภาคใต้ ร้อยละ 20.20 ภาคกลาง ร้อยละ 15.40 กรุงเทพฯ ร้อยละ15.20 ภาคอีสาน ร้อยละ 13.00
เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจทัศนคติของประชาชนเดือนเมษายน 2566 และเดือนเมษายน 2567 เป็นดังนี้
1. ต้องยกเลิก ผลสำรวจเมื่อเมษายน 2566 ร้อยละ 55.24 ส่วนเมษายน 2567 ร้อยละ 62.71 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.47
2. ยังไม่ควรยกเลิก ผลสำรวจเมื่อเมษายน 2566 ร้อยละ 18.29 ส่วนเมษายน 2567 ร้อยละ 16.06 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.23
3. ไม่แสดงความเห็น ผลสำรวจเมื่อเมษายน 2566 ร้อยละ 26.47 ส่วนเมษายน 2567 ร้อยละ 21.23 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.24
สำหรับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเดือนเมษายน 2567
เพศ : หญิง 2,199 คน (51.02%) ชาย 1,891 คน (43.88%) เพศหลากหลาย 220 คน (5.10%)
อายุ : Gen Z (18-27 ปี) 2,194 คน (50.90%) Gen Y (28-44 ปี) 902 คน (20.93%) Gen X (45-59 ปี) 789 คน (18.31%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (60 ปีขึ้นไป) 425 คน (9.86%)
การศึกษา : ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 461 คน (10.70%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 1,053 คน (24.43%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 493 คน (11.43%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,079 คน (48.24%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 224 คน (5.20%)
อาชีพ : นักเรียนนักศึกษา 1,758 คน (40.79%) เกษตรกร 374 คน (8.68%) พนักงานเอกชน 457คน (10.60%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 472 คน (10.95%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 480 คน (11.14%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 403 คน (9.35%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 237 คน (5.50%) อื่นๆ 129 คน (2.99%)
รายได้ต่อเดือน : ไม่มีรายได้ 958 คน (22.23%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,031 คน (23.92%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,189 คน (27.59%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 611 คน (14.18%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 243 คน (5.64%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 278 คน (6.44%)
ขณะที่ ข้อมูลพื้นฐานเดือนเมษายน 2566 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน ใน 57 จังหวัด หญิงร้อยละ 53.16 ชาย ร้อยละ 44.09 เพศหลากหลาย ร้อยละ 2.75
กลุ่มอดีตผู้สมัคร สว. ร้อง กกต. ชะลอประกาศรับรอง 200 ว่าที่ สว.
https://ch3plus.com/news/political/morning/406510
1 ก.ค. 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายจักรพงษ์ คงปัญญา อดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กลุ่ม 12 พร้อมตัวแทนอดีตผู้สมัครสว. เข้ายื่นต่อ กกต. คัดค้านการประกาศชื่อ สว. 200 คน ที่ได้รับเลือก โดย นายจักรพงษ์ กล่าวว่า หลังจากที่เลือก สว.แล้วเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา และได้ชื่อ สว.แล้ว แต่กฎหมายให้เว้นไว้ 5 วัน แล้วประกาศรับรอง 200 สว. ฉะนั้นกระบวนการที่ กกต.จัดเลือกตั้ง เราไม่ได้ไปกล่าวหาเขา แต่เมื่อผลของการเลือกคนให้ได้ตรงกับอาชีพอย่างสุจริตและเที่ยงธรรมนั้น หา สว.ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสายอาชีพกลุ่มนั้นๆ 20 กลุ่มอาชีพ แล้วได้ สว.เป็นอย่างไร เราก็คงเห็นตามหน้าสื่อแล้ว แต่นี่เป็นที่ระบบ ซึ่งถ้าเราไม่ช่วยกันติดตามตรวจสอบก็จะไม่เกิดผลดี แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบบดีอยู่บ้างที่เป็นประชาธิปไตยแม้ว่าจะไม่เต็มใบ แต่ก็ดีกว่ายกเลิกแล้วไปทำอย่างอื่น วันนี้เรามาคัดค้านตามกฎหมาย ไม่ใช่ว่าเราแพ้แล้วมาหาเรื่อง หรือเป็นขี้แพ้ชวนตี
นายจักรพงษ์ กล่าวว่า มีคนที่มีความรู้ จบสูงๆยังตกตั้งแต่รอบอำเภอ แต่หลายคนที่เข้าแรกคือใส่รองเท้าแตะเสื้อยืด ยังได้เข้าระบบเต็มไปหมด นี่เป็นคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบ การตรวจสอบคุณสมบัติ กกต.ได้ทำอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือยัง แล้วดำเนินการด้วยความมีมาตรฐานแล้วหรือไม่ในการรับสมัคร รับรอง และตรวจสอบ มีหลายคนที่มีชื่อเสียงร่วงระนาวก็ยังไม่รู้ว่าเพราะอะไร ซึ่งหน้าที่ของกกต.ต้องตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้มงวด ไม่ให้คนที่มีคุณสมบัติผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องเข้ามาในระบบ เมื่อไม่มีการตรวจหรือตรวจไม่จริงจัง ก็จะทำให้ได้คนหลายกลุ่มหลายพื้นที่ไหลเข้ามาสู่ระบบ แล้วมาปนกับคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เมื่อเป็นแบบนี้จึงมีความไม่ยุติธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว
นายจักรพงษ์ กล่าวอีกว่า วันนี้ตัวแทนอดีตผู้สมัคร สว. ร่วมตัวเพื่อยื่นเรียกร้องต่อ กกต. คือ
1. ให้ กกต.หยุดการประกาศชื่อรับรอง 200 ชื่อ ว่าที่ สว.เอาไว้ก่อน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคะแนนทุกคะแนน ว่าการเลือก สว. ครั้งนี้มีการเอาเปรียบผู้สมัครคนอื่นหรือไม่ ที่เรียกว่ามีการฮั้วกัน
2. หากพบว่าผลการตรวจสอบว่าคะแนนมีมูลหรือเหตุควรชื่อว่ามีการฮั้วลงคะแนนให้กัน ให้กกต.ประกาศให้ผลการเลือก สว.ครั้งนี้เป็นโมฆะ และสั่งให้มีการเลือกสว.ใหม่ทันที
3. ก่อนการเลือกใหม่ให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครใหม่ทั้งหมด เพื่อป้องกันผู้สมัครใหม่ที่ไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมายจริงทั้ง 20 กลุ่มอาชีพ
4. ในวันเลือกใหม่ กกต.จะต้องเข้มงวดไม่ให้ผู้สมัครนำเอกสาร หรือโพย หรือการจด การทำตัวเลขใดๆบนร่างกายร วมทั้งเครื่องมือสื่อสารใดๆเข้าสู่สถานที่เลือกโดยเด็ดขาด
5. ให้ กกต.จัดพิมพ์เอกสารแนะนำตัวหรือ สว.3ใหม่ แล้วแจกให้ผู้สมัครใหม่ก่อนเข้าช่องรอลงคะแนน โดยไม่ใช่การแจกให้ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนเลือกเหมือนครั้งนี้ เพื่อป้องกันการจดโพยกัน
ฉะนั้น ถ้า กกต.ดำเนินการตามที่เราเรียกร้องแล้วนั้น ผลจะออกมาเป็นอย่างไรขอให้ทุกฝ่ายยอมรับ และเราพร้อมยอมรับและถือเป็นการสิ้นสุดการลงคะแนนเพื่อให้สว. 200 คน มาทำงานและให้ประเทศเดินหน้าต่อ อย่างไรก็ตามตอนนี้เราไม่ได้มาใส่ร้ายใคร จนกว่าพวกเราจะช่วยกันตรวจสอบ แต่ไม่ใช่ไปตรวจในห้องกัน 2 คน แล้วมาบอกว่าถูกทั้งหมด หรือไปบอกว่าผิดทั้งหมดนั้นก็ไม่ใช่ และกระบวนการตรวจสอบก็ควรหาผู้เชี่ยวชาญจริงๆมาตรวจ เรื่องนี้เป็นเรื่องระเบียบข้อกฎหมายที่เราต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป แต่ระบบดีอยู่แล้ว กกต.ก็ทำงานดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราพบปัญหา เราก็ต้องให้มีการตรวจสอบ อย่าเดินหน้าต่อ เพราะท่านติดกระดุมเม็ดแรกผิดแล้ว คืออนุญาตให้คนไม่มีคุณสมบัติเข้ามาในระบบ และวันนี้ท่านกำลังจะติดกระดุมเม็ดสุดท้าย คือการประกาศ 200 ชื่อสว. แต่ตนเชื่อว่าติดไม่ได้ เพราะท่านติดผิดตั้งแต่เม็ดแรกแล้ว