สันติ-วีณาเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จฯทอดพระเนตร
สันติ-วีณาเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี 35 มม.และ
เป็นผลงานภาพยนตร์ชิ้นแรกของบริษัทหนุมานภาพยนตร์ โดย รัตน์ เปสตันยี
ซึ่งเป็นทั้งผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพและลำดับภาพ
กำกับศิลป์โดย อุไร ศิริสมบัติ
กำกับภาพยนตร์โดย มารุต
นำแสดงโดย
พูนพันธ์ รังควร (สันติ)
เรวดี ศิริวิไล (วีณา)
จหมื่นมานพนริศร์ (หลวงตา)
ไพจิต ภูติยศ (ไกร)
เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลจากการประกวดนานาชาติ
โดยได้มา 3 รางวัลจากงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 1 ที่กรุงโตเกียว ที่ประเทศญี่ปุ่น
ได้แก่ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ)
และรางวัลพิเศษเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ จากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา
สำหรับภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่น
ภาพเปิดเรื่องงดงามยิ่ง
ฉากพระธุดงค์นี่ประทับใจมากเพราะเป็นการธุดงค์ที่มีอุปกรณ์ครบและสวยงาม
สมัยนั้น ถ้าชาวบ้านรู้ว่ามีพระธุดงค์มา ก็ต่างมาถวายอาหารและไหว้พระขอพร
ไม่ว่ายุคใดและที่ไหน เรามักจะเห็นการแบ่งชนชั้น
ของเขามีควายถึง 2 ตัว เทียมเกวียนด้วย
ของเรามันควายตัวเดียว ไปแบบซื่อๆ
เห็นฉากครูเขียนกระดานดำแล้วน้ำตาจะไหล
ตอนประถมก็แบบนี้เลย ผมเป็นรองหัวหน้าห้อง
ตอนเช้าก็ต้องมาเขียนวันที่บนกระดานดำว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่
รู้สึกดีที่รับหน้าที่นี้เพราะเหมือนเป็นข้อความศักดิ์สิทธิ์
ห้ามลบ ใครลบ ครูเอาตาย
ตกเย็นก่อนกลับ ผมก็ต้องมาลบเอง
เช้ามา ก็ต้องมาเขียนวันที่เหมือนเดิม เป็นกิจวัตร
โรงเรียนในหนังเหมือนเป็นชนบทอันไกลโพ้น อุปกรณ์กีฬาก็ไม่มี
พื้นที่ก็ไม่มี ช่วงพักเที่ยง เด็กๆเลยเลือกมารำวงกัน
เพราะเป็นกิจกรรมที่เล่นได้หลายคน เด้กยุคนั้น มักชวนทุกคนมาเล่นด้วยกัน
อยากให้เพื่อนๆทำกิจกรรมด้วยกัน สิ่งสำคัญไม่ใช่กิจกรรม
แต่สิ่งสำคัญคือได้สื่อสาร รู้จักกัน ซาบซึ้งกับคำว่าเพื่อน
ฉากลอยกระทงเห็นแล้วตะลึงมาก กระทงแต่ละอันไม่เหมือนกันเลย
ล้วนทำจากวัสดุธรรมชาติและลอยน้ำได้
กระทงแต่ละอันมีความคิดสร้างสรรค์มาก น่าจะขั้นสุดของ Bloom’s Taxonomy of Learning
ปี 2497 ชาวบ้านทำกระทงได้งดงามและสร้างสรรค์ได้ถึงขนาดนี้
นี่มันคือนวัตกรรมเลยละครับ ทั้งสวยงาม ไม่เหมือนใครและลอยน้ำได้จริง
ที่น่าทึ่งมากๆคือฉากนี้ หนุ่มสาวยืนบนเรือ ร้องเพลงเรือจีบกัน
ต่างคนต่างรำสวยมากแม้จะอยู่ในพื้นที่จำกัด
ที่น่าตกใจคือเรือนิ่งมาก ไม่โยกเยกเลย และยังพายได้จริง
โห สุดยอดมาก ทำได้ไงครับเนี่ย
ชอบฉากที่นางเอกรำกับเพื่อนมาก
พื้นที่การจัดงานเรียบง่าย ไม่มีสิ่งเลิศหรูเลย
สิ่งที่ให้ความสำคัญคือชุดรำและอุปกรณ์ต่างๆ
จะจนจะรวยก็ต้องหามาให้ได้
แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือท่ารำ การรำ
ฉากงานแต่งงานนี่ชอบสุดๆ มันเรียบมาก
แต่หรูทางด้านวัฒนธรรม องค์ประกอบทางวัฒนธรรมต้องครบ
ไม่หรูไม่เป็นไร แต่เรื่องชูใจต้องมาก่อน
การจัดที่นั่งบ่าวสาวก็ต้องต่ำหน่อย เพราะคนมารดน้ำมีแต่ผู้ใหญ่
ฉากนี้โทนสีสวย มันเรียบง่ายแต่ดูขลัง
ดูมาหลายฉากแล้ว มันแสดงให้เห็นว่าคนชนบทสมัยก่อน
เขารู้ว่าควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดในชีวิต
ดูแล้วมันดี มันกินใจ
ฉากนี้ชอบมาก พระเดินบิณฑบาตรลงจากเขา
ต้นไม้ในฉากไม่มีใบ ดูแห้งแล้ง แต่พระดูงดงาม
ดูแล้วคือวัฒธรรมมันงามนะ พอไปอยู่กับสิ่งแห้งแล้งก็
ทำให้สิ่งนั้นดูงดงามขึ้นมาได้
ภาพที่คัดมาเขียนถือว่าน้อยแล้วนะครับ
ในหนังยังมีภาพดีๆอีกมาก หลายภาพแฝงแนวคิดทางปรัชญาไว้อย่างคมคาย
หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังสารคดีนะครับ เป็นหนังทั่วไป
เรื่องราวมีที่มาที่ไป มีประเด็นดราม่า แต่ไม่อยากเล่าแม้กระทั่งเรื่องย่อ
อยากให้ทุกท่านไปชมเองมากกว่า
เมื่อปี 2016 เทศกาลหนังเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสได้เลือก สันติ-วีณา
ไปฉายในสาย Cannes Classics สร้างความตื่นตาตื่นใจอีกครั้ง
บทความในนิตยสาร investor ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 กล่าวว่า อาจจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ดีที่สุดที่มีการสร้างมา
และนี่คือส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ไทยเรื่อง สันติ-วีณา ครับ
*** ภาพหาดูยาก - ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่อง สันติ-วีณา ณ โรงหนังเอ็มไพร์ 30 ธันวาคม 2497 ***
สันติ-วีณาเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จฯทอดพระเนตร
สันติ-วีณาเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มสี 35 มม.และ
เป็นผลงานภาพยนตร์ชิ้นแรกของบริษัทหนุมานภาพยนตร์ โดย รัตน์ เปสตันยี
ซึ่งเป็นทั้งผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพและลำดับภาพ
กำกับศิลป์โดย อุไร ศิริสมบัติ
กำกับภาพยนตร์โดย มารุต
นำแสดงโดย
พูนพันธ์ รังควร (สันติ)
เรวดี ศิริวิไล (วีณา)
จหมื่นมานพนริศร์ (หลวงตา)
ไพจิต ภูติยศ (ไกร)
เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลจากการประกวดนานาชาติ
โดยได้มา 3 รางวัลจากงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 1 ที่กรุงโตเกียว ที่ประเทศญี่ปุ่น
ได้แก่ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ)
และรางวัลพิเศษเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ จากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกา
สำหรับภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่น
ภาพเปิดเรื่องงดงามยิ่ง
ฉากพระธุดงค์นี่ประทับใจมากเพราะเป็นการธุดงค์ที่มีอุปกรณ์ครบและสวยงาม
สมัยนั้น ถ้าชาวบ้านรู้ว่ามีพระธุดงค์มา ก็ต่างมาถวายอาหารและไหว้พระขอพร
ไม่ว่ายุคใดและที่ไหน เรามักจะเห็นการแบ่งชนชั้น
ของเขามีควายถึง 2 ตัว เทียมเกวียนด้วย
ของเรามันควายตัวเดียว ไปแบบซื่อๆ
เห็นฉากครูเขียนกระดานดำแล้วน้ำตาจะไหล
ตอนประถมก็แบบนี้เลย ผมเป็นรองหัวหน้าห้อง
ตอนเช้าก็ต้องมาเขียนวันที่บนกระดานดำว่าวันนี้วันที่เท่าไหร่
รู้สึกดีที่รับหน้าที่นี้เพราะเหมือนเป็นข้อความศักดิ์สิทธิ์
ห้ามลบ ใครลบ ครูเอาตาย
ตกเย็นก่อนกลับ ผมก็ต้องมาลบเอง
เช้ามา ก็ต้องมาเขียนวันที่เหมือนเดิม เป็นกิจวัตร
โรงเรียนในหนังเหมือนเป็นชนบทอันไกลโพ้น อุปกรณ์กีฬาก็ไม่มี
พื้นที่ก็ไม่มี ช่วงพักเที่ยง เด็กๆเลยเลือกมารำวงกัน
เพราะเป็นกิจกรรมที่เล่นได้หลายคน เด้กยุคนั้น มักชวนทุกคนมาเล่นด้วยกัน
อยากให้เพื่อนๆทำกิจกรรมด้วยกัน สิ่งสำคัญไม่ใช่กิจกรรม
แต่สิ่งสำคัญคือได้สื่อสาร รู้จักกัน ซาบซึ้งกับคำว่าเพื่อน
ฉากลอยกระทงเห็นแล้วตะลึงมาก กระทงแต่ละอันไม่เหมือนกันเลย
ล้วนทำจากวัสดุธรรมชาติและลอยน้ำได้
กระทงแต่ละอันมีความคิดสร้างสรรค์มาก น่าจะขั้นสุดของ Bloom’s Taxonomy of Learning
ปี 2497 ชาวบ้านทำกระทงได้งดงามและสร้างสรรค์ได้ถึงขนาดนี้
นี่มันคือนวัตกรรมเลยละครับ ทั้งสวยงาม ไม่เหมือนใครและลอยน้ำได้จริง
ที่น่าทึ่งมากๆคือฉากนี้ หนุ่มสาวยืนบนเรือ ร้องเพลงเรือจีบกัน
ต่างคนต่างรำสวยมากแม้จะอยู่ในพื้นที่จำกัด
ที่น่าตกใจคือเรือนิ่งมาก ไม่โยกเยกเลย และยังพายได้จริง
โห สุดยอดมาก ทำได้ไงครับเนี่ย
ชอบฉากที่นางเอกรำกับเพื่อนมาก
พื้นที่การจัดงานเรียบง่าย ไม่มีสิ่งเลิศหรูเลย
สิ่งที่ให้ความสำคัญคือชุดรำและอุปกรณ์ต่างๆ
จะจนจะรวยก็ต้องหามาให้ได้
แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือท่ารำ การรำ
ฉากงานแต่งงานนี่ชอบสุดๆ มันเรียบมาก
แต่หรูทางด้านวัฒนธรรม องค์ประกอบทางวัฒนธรรมต้องครบ
ไม่หรูไม่เป็นไร แต่เรื่องชูใจต้องมาก่อน
การจัดที่นั่งบ่าวสาวก็ต้องต่ำหน่อย เพราะคนมารดน้ำมีแต่ผู้ใหญ่
ฉากนี้โทนสีสวย มันเรียบง่ายแต่ดูขลัง
ดูมาหลายฉากแล้ว มันแสดงให้เห็นว่าคนชนบทสมัยก่อน
เขารู้ว่าควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดในชีวิต
ดูแล้วมันดี มันกินใจ
ฉากนี้ชอบมาก พระเดินบิณฑบาตรลงจากเขา
ต้นไม้ในฉากไม่มีใบ ดูแห้งแล้ง แต่พระดูงดงาม
ดูแล้วคือวัฒธรรมมันงามนะ พอไปอยู่กับสิ่งแห้งแล้งก็
ทำให้สิ่งนั้นดูงดงามขึ้นมาได้
ภาพที่คัดมาเขียนถือว่าน้อยแล้วนะครับ
ในหนังยังมีภาพดีๆอีกมาก หลายภาพแฝงแนวคิดทางปรัชญาไว้อย่างคมคาย
หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังสารคดีนะครับ เป็นหนังทั่วไป
เรื่องราวมีที่มาที่ไป มีประเด็นดราม่า แต่ไม่อยากเล่าแม้กระทั่งเรื่องย่อ
อยากให้ทุกท่านไปชมเองมากกว่า
เมื่อปี 2016 เทศกาลหนังเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศสได้เลือก สันติ-วีณา
ไปฉายในสาย Cannes Classics สร้างความตื่นตาตื่นใจอีกครั้ง
บทความในนิตยสาร investor ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 กล่าวว่า อาจจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ดีที่สุดที่มีการสร้างมา
และนี่คือส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ไทยเรื่อง สันติ-วีณา ครับ