ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอุตฯ ร่วง 2 เดือนติด เหตุกำลังซื้อหด-หนี้เสียสูง
https://ch3plus.com/news/economy/morning/404810
ม.ล.
ปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 88.5 ปรับตัวลดลงจาก 90.3 ในเดือนเมษายน โดยลดลงทั้งยอดขาย ยอดคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ซึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อในประเทศที่ยังเปราะบาง เนื่องจากเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน
รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงและสัดส่วนหนี้เสีย (NPLs) ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคสินค้าชะลอลง ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต รวมถึงอัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนไม่ทัน เนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่นานขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ตลอดจนผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ที่เข้ามาแข่งขันในไทยและอาเซียนมากขึ้น ทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้ยาก รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร
โดยสภาอุสาหกรรมฯ เสนอให้ภาครัฐออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันและก๊าซ เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งสินค้า และตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนไม่ทัน เนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่นานขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อช่วยพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ รวมถึงปรับปรุงเงื่อนไขและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
ให้ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมการซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์ของไทย โดยเฉพาะอาหารไทย เครื่องนุ่งห่ม และสินค้ากีฬา เป็นต้น
ธุรกิจท่องเที่ยว ร้องเจอพิษทัวร์ทุบตลาด วอนรัฐเร่งแก้ใน 1 ปี ช้ากว่านี้อยู่ไม่ได้แล้ว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4635661
ธุรกิจท่องเที่ยว ร้องเจอพิษทัวร์ทุบตลาด หั่นราคาไม่สนขาดทุนฉุดกำลังผู้ประกอบการน้ำดี ภาพลักษณ์ไทยเสียหายหนัก วอนรัฐเร่งแก้ใน 1 ปี ช้ากว่านี้อยู่ไม่ได้แล้ว
นาย
ศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่เป็นทุนต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ผ่านการจัดตั้งโดยใช้นอมินีเป็นคนไทย ทำตลาดด้วยการขายทัวร์แบบตัดราคาต่ำสุดในประวัติศาสตร์ เป็นราคาที่ต่ำกว่าทัวร์ศูนย์เหรียญที่เคยเป็นปัญหาในอดีตด้วย ยกตัวอย่างคือ ขายทัวร์ให้นักท่องเที่ยวใช้ราคาห้องพักในโรงแรม 1,000-1,500 บาท ซึ่งความเป็นจริงทำไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อเข้ามาเที่ยวไทยจะบังคับเชิงข่มขู่ให้ซื้อสินค้า หรือใช้จ่ายแบบช้อปปิ้งในจำนวนเงินตามที่กำหนดไว้ ประมาณ 7 หมื่นถึง 1 แสนบาท ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบจนอยู่ไม่ได้ โดยหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาภายใน 1 ปีนี้ ผู้ประกอบการคนไทยคงอยู่ไม่ได้แล้วแน่นอน
“
เกิดมาในชีวิตนี้ยังไม่เคยเจอแบบนี้เลย เพราะสถานการณ์ทัวร์ทุบตลาดมีความรุนแรงมากกว่าช่วงเกิดการระบาดโควิดด้วย มีความสาหัสมากกว่าทัวร์ซื้อหัว (kick back) หรือศูนย์เหรียญอีก ซึ่งการมีคนทำแบบนี้ไม่กี่คนก็ทำให้ตลาดพังหมดแล้ว เพราะข่าวสารจะออกไปทั่ว คนวงการเดียวกันรู้กันหมด การแก้ไขปัญหาต้องแก้ไขให้ถูกจุด ไม่ใช่การเหวี่ยงแห เพราะจะกระทบกับผู้ประกอบการคนไทยที่ทำดีอยู่แล้ว รัฐบาลต้องใช้ไม้อ่อนก่อนไปใช้ไม้แข็ง ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะที่ผ่านมาในนามของเอกชนและสมาคม ก็พยายามประคับประคองในการแก้ไขปัญหาให้ได้ เพื่อไม่ให้ภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยเสียหาย” นาย
ศิษฎิวัชรกล่าว
นาย
ศิษฎิวัชรกล่าวว่า รูปแบบการทำทัวร์ทุบตลาด คือผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาในไทยจะขายทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยวในราคาต่ำๆ เป็นการวัดดวงแบบไม่สนใจเรื่องต้นทุน นำนักท่องเที่ยวเข้ามาก่อน เมื่อเข้ามาแล้วก็ให้ใช้จ่ายช้อปปิ้งให้ได้ตามเป้า แข่งขันแบบไม่เป็นธรรมในด้านราคา แม้ขาดทุนก็ไม่เป็นไร เพราะมีกลุ่มอื่นเข้ามาใหม่ วนไปแบบนี้ เป็นการทุบตลาดให้ผู้ประกอบการเดิมอยู่ไม่ได้ก่อน จากนั้นจะเข้ามาครองตลาดเต็มตัวแล้วจึงปรับราคาขึ้น ซึ่งผลกระทบที่รุนแรงเกิดขึ้นกับท่องเที่ยวไทย ที่นักท่องเที่ยวคิดว่าไทยเป็นประเทศที่เที่ยวได้ในราคาถูกมากๆ โดยพบปัญหาในกลุ่มประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย ที่เห็นมากขึ้นในปัจจุบัน
นาย
ศิษฎิวัชรกล่าวอีกว่า ภาคเอกชนจำเป็นต้องอาศัยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดำเนินการจับกุม แต่ไม่ใช่จับทุกจุดไปหมด เพราะแม้ที่ผ่านมามีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ไม่ได้เป็นผลเชิงบวกมากนัก เพราะบางบริษัทในเครือข่ายมี 4-5 บริษัท พอถูกจับกุมไป 1-2 บริษัท ก็เปลี่ยนไปใช้บริษัทที่เหลือแทน จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐสื่อสารไปถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวคนไทยอย่างชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรตามขั้นตอน ทำได้แค่เท่าใด เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะหากเป็นการแข่งขันตามกลไกตลาดก็ไม่ว่ากัน แต่ราคาต่ำสุดจะต้องไม่เกินเท่าใด หากเกินจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่มี เป็นการขอความร่วมมือจากบริษัททัวร์คนไทยที่ทำดีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
นาย
ศิษฎิวัชรกล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมได้หารือเรื่องนี้กับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รับทราบสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในตอนนี้แล้ว ทั้งการเข้ามาของทุนต่างชาติที่ทำให้เกิดการทุบราคาตลาดแบบไม่สมเหตุสมผลจนกระทบผู้ประกอบการไทยแต่เดิม ทั้งยังส่งผลเชิงลบต่อภาพท่องเที่ยวไทยด้วย ทั้งที่เคยมีการพูดถึงว่าต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย จากที่เป็นกลุ่มท่องเที่ยวราคาถูก ให้เป็นกลุ่มท่องเที่ยวที่มีราคาสูงหรือพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
แอมเนสตี้ ชี้สมรสเท่าเทียมเวลาแห่งชัยชนะหลากหลายทางเพศ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_734732/
แอมเนสตี้ ชี้ การผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ถือเป็นช่วงเวลาแห่งชัยชนะของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แสดงข้อคิดเห็นต่อการผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ โดยวุฒิสภาว่า ประเทศไทยได้ก้าวครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไปสู่การเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการแต่งงานของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศในทางกฎหมาย ช่วงเวลาสำคัญนี้เป็นรางวัลสำหรับการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของนักกิจกรรม ภาคประชาสังคม และสมาชิกสภานิติบัญญัติที่ต่อสู้เพื่อชัยชนะครั้งนี้
“
แม้ว่ากฎหมายรับรองการแต่งงานสำหรับคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศจะถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ยังมีสิ่งที่ต้องทำต่ออีกมากเพื่อรับประกันการคุ้มครองกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศอย่างเต็มที่
ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยยังคงเผชิญกับความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านการใช้เทคโนโลยี (Technology-facilitated Gender-Based Violence – TfGBV) ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีในการข่มขู่และก่อให้เกิดความรุนแรง โดยมักมุ่งเป้าไปที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ทางการไทยต้องผลักดันและดำเนินการขั้นต่อไปเพื่อปกป้องสิทธิและประกันสิทธิการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและองค์กรที่เกี่ยวข้อง” หลังจากนี้ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะถูกส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี และจะถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไทย โดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งกฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง 120 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
JJNY : เชื่อมั่นผู้ประกอบการอุตฯ ร่วง│ท่องเที่ยว ร้องเจอพิษทัวร์│แอมเนสตี้ ชี้สมรสเท่าเทียม│สวีเดนรับรองข้อตกลงกับสหรัฐ
https://ch3plus.com/news/economy/morning/404810
ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 88.5 ปรับตัวลดลงจาก 90.3 ในเดือนเมษายน โดยลดลงทั้งยอดขาย ยอดคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ซึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อในประเทศที่ยังเปราะบาง เนื่องจากเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน
รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงและสัดส่วนหนี้เสีย (NPLs) ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคสินค้าชะลอลง ขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต รวมถึงอัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนไม่ทัน เนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่นานขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ตลอดจนผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ที่เข้ามาแข่งขันในไทยและอาเซียนมากขึ้น ทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้ยาก รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร
โดยสภาอุสาหกรรมฯ เสนอให้ภาครัฐออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันและก๊าซ เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเรือขนส่งสินค้า และตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนไม่ทัน เนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่นานขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อช่วยพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ รวมถึงปรับปรุงเงื่อนไขและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้
ให้ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมการซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์ของไทย โดยเฉพาะอาหารไทย เครื่องนุ่งห่ม และสินค้ากีฬา เป็นต้น
ธุรกิจท่องเที่ยว ร้องเจอพิษทัวร์ทุบตลาด วอนรัฐเร่งแก้ใน 1 ปี ช้ากว่านี้อยู่ไม่ได้แล้ว
https://www.matichon.co.th/economy/news_4635661
ธุรกิจท่องเที่ยว ร้องเจอพิษทัวร์ทุบตลาด หั่นราคาไม่สนขาดทุนฉุดกำลังผู้ประกอบการน้ำดี ภาพลักษณ์ไทยเสียหายหนัก วอนรัฐเร่งแก้ใน 1 ปี ช้ากว่านี้อยู่ไม่ได้แล้ว
นายศิษฎิวัชร ชีวรัตนพร นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่เป็นทุนต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ผ่านการจัดตั้งโดยใช้นอมินีเป็นคนไทย ทำตลาดด้วยการขายทัวร์แบบตัดราคาต่ำสุดในประวัติศาสตร์ เป็นราคาที่ต่ำกว่าทัวร์ศูนย์เหรียญที่เคยเป็นปัญหาในอดีตด้วย ยกตัวอย่างคือ ขายทัวร์ให้นักท่องเที่ยวใช้ราคาห้องพักในโรงแรม 1,000-1,500 บาท ซึ่งความเป็นจริงทำไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อเข้ามาเที่ยวไทยจะบังคับเชิงข่มขู่ให้ซื้อสินค้า หรือใช้จ่ายแบบช้อปปิ้งในจำนวนเงินตามที่กำหนดไว้ ประมาณ 7 หมื่นถึง 1 แสนบาท ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบจนอยู่ไม่ได้ โดยหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาภายใน 1 ปีนี้ ผู้ประกอบการคนไทยคงอยู่ไม่ได้แล้วแน่นอน
“เกิดมาในชีวิตนี้ยังไม่เคยเจอแบบนี้เลย เพราะสถานการณ์ทัวร์ทุบตลาดมีความรุนแรงมากกว่าช่วงเกิดการระบาดโควิดด้วย มีความสาหัสมากกว่าทัวร์ซื้อหัว (kick back) หรือศูนย์เหรียญอีก ซึ่งการมีคนทำแบบนี้ไม่กี่คนก็ทำให้ตลาดพังหมดแล้ว เพราะข่าวสารจะออกไปทั่ว คนวงการเดียวกันรู้กันหมด การแก้ไขปัญหาต้องแก้ไขให้ถูกจุด ไม่ใช่การเหวี่ยงแห เพราะจะกระทบกับผู้ประกอบการคนไทยที่ทำดีอยู่แล้ว รัฐบาลต้องใช้ไม้อ่อนก่อนไปใช้ไม้แข็ง ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพราะที่ผ่านมาในนามของเอกชนและสมาคม ก็พยายามประคับประคองในการแก้ไขปัญหาให้ได้ เพื่อไม่ให้ภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยเสียหาย” นายศิษฎิวัชรกล่าว
นายศิษฎิวัชรกล่าวว่า รูปแบบการทำทัวร์ทุบตลาด คือผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้ามาในไทยจะขายทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยวในราคาต่ำๆ เป็นการวัดดวงแบบไม่สนใจเรื่องต้นทุน นำนักท่องเที่ยวเข้ามาก่อน เมื่อเข้ามาแล้วก็ให้ใช้จ่ายช้อปปิ้งให้ได้ตามเป้า แข่งขันแบบไม่เป็นธรรมในด้านราคา แม้ขาดทุนก็ไม่เป็นไร เพราะมีกลุ่มอื่นเข้ามาใหม่ วนไปแบบนี้ เป็นการทุบตลาดให้ผู้ประกอบการเดิมอยู่ไม่ได้ก่อน จากนั้นจะเข้ามาครองตลาดเต็มตัวแล้วจึงปรับราคาขึ้น ซึ่งผลกระทบที่รุนแรงเกิดขึ้นกับท่องเที่ยวไทย ที่นักท่องเที่ยวคิดว่าไทยเป็นประเทศที่เที่ยวได้ในราคาถูกมากๆ โดยพบปัญหาในกลุ่มประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย ที่เห็นมากขึ้นในปัจจุบัน
นายศิษฎิวัชรกล่าวอีกว่า ภาคเอกชนจำเป็นต้องอาศัยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดำเนินการจับกุม แต่ไม่ใช่จับทุกจุดไปหมด เพราะแม้ที่ผ่านมามีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ไม่ได้เป็นผลเชิงบวกมากนัก เพราะบางบริษัทในเครือข่ายมี 4-5 บริษัท พอถูกจับกุมไป 1-2 บริษัท ก็เปลี่ยนไปใช้บริษัทที่เหลือแทน จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐสื่อสารไปถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวคนไทยอย่างชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรตามขั้นตอน ทำได้แค่เท่าใด เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะหากเป็นการแข่งขันตามกลไกตลาดก็ไม่ว่ากัน แต่ราคาต่ำสุดจะต้องไม่เกินเท่าใด หากเกินจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่มี เป็นการขอความร่วมมือจากบริษัททัวร์คนไทยที่ทำดีอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
นายศิษฎิวัชรกล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมได้หารือเรื่องนี้กับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รับทราบสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในตอนนี้แล้ว ทั้งการเข้ามาของทุนต่างชาติที่ทำให้เกิดการทุบราคาตลาดแบบไม่สมเหตุสมผลจนกระทบผู้ประกอบการไทยแต่เดิม ทั้งยังส่งผลเชิงลบต่อภาพท่องเที่ยวไทยด้วย ทั้งที่เคยมีการพูดถึงว่าต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย จากที่เป็นกลุ่มท่องเที่ยวราคาถูก ให้เป็นกลุ่มท่องเที่ยวที่มีราคาสูงหรือพรีเมียมมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย
แอมเนสตี้ ชี้สมรสเท่าเทียมเวลาแห่งชัยชนะหลากหลายทางเพศ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_734732/
แอมเนสตี้ ชี้ การผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ถือเป็นช่วงเวลาแห่งชัยชนะของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้แสดงข้อคิดเห็นต่อการผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ‘ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม’ โดยวุฒิสภาว่า ประเทศไทยได้ก้าวครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไปสู่การเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการแต่งงานของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศในทางกฎหมาย ช่วงเวลาสำคัญนี้เป็นรางวัลสำหรับการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของนักกิจกรรม ภาคประชาสังคม และสมาชิกสภานิติบัญญัติที่ต่อสู้เพื่อชัยชนะครั้งนี้
“แม้ว่ากฎหมายรับรองการแต่งงานสำหรับคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศจะถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ยังมีสิ่งที่ต้องทำต่ออีกมากเพื่อรับประกันการคุ้มครองกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศอย่างเต็มที่
ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยยังคงเผชิญกับความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านการใช้เทคโนโลยี (Technology-facilitated Gender-Based Violence – TfGBV) ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีในการข่มขู่และก่อให้เกิดความรุนแรง โดยมักมุ่งเป้าไปที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ทางการไทยต้องผลักดันและดำเนินการขั้นต่อไปเพื่อปกป้องสิทธิและประกันสิทธิการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและองค์กรที่เกี่ยวข้อง” หลังจากนี้ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะถูกส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี และจะถูกนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไทย โดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งกฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง 120 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา