พี่จอนคือหนุ่มมาดเท่ที่คลาสสิกสุดๆ ทั้งเท่ทั้งกวน
แต่ก็ชวนมองตลอด
เรามาแวะดูประวัติพี่จอนกันเลยนะครับ
https://guru.sanook.com/5578/
ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย มีชื่อเล่นว่า "จอน" มีชื่อเสียงจากการแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง
"รักแรกอุ้ม" ในปี พ.ศ. 2531 และ "พริกขี้หนูกับหมูแฮม" ในปี พ.ศ. 2532
จากนั้นในปี พ.ศ. 2534 ได้แสดงในบท ตวง ในภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์เรื่องแรก
และเรื่องเดียวของวงการภาพยนตร์ไทยตราบจนปัจจุบันนี้ คือ "กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน"
ประกบคู่กับสุรศักดิ์ วงษ์ไทย และอังคณา ทิมดี
จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 จอนพลิกบทบาทของตัวเองครั้งใหญ่ กลายเป็นร็อคเกอร์หนุ่ม
ด้วยท่าทีที่ยียวน ชอบหลิ่วตาและทำปากเบ้เหมือนโรเบิร์ต มิตชั่ม ดาราฮอลลีวู้ด
ขจรศักดิ์จึงได้ออกอัลบั้มเพลงในสังกัดแกรมมี่ในมาดกวน ๆ ในชื่อชุด "สงวนลิขสิทธิ์"
มีเพลงที่ฮิตและได้รับความนิยมมาจนปัจจุบัน คือ "อย่าคิดมาก", "ใครไม่เกี่ยวก็ถอยไป", "พ่อ" เป็นต้น
แม้ว่า จอน จะห่างหายจากวงการบันเทิงไปบ้าง แต่เมื่อมีภาพยนตร์ดี ๆ โปรเจคใหญ่ ๆ
ชื่อและฝีมือการแสดงของเขา เป็นที่ต้องการและนึกถึงอันดับต้น ๆ ของผู้กำกับอยู่เสมอ
ได้รับบทเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์บางเรื่องบ้าง เช่น เสือ โจรพันธุ์เสือ ในปี พ.ศ. 2541,
102 ปิดกรุงเทพปล้น ในปี พ.ศ. 2547, รักสยามเท่าฟ้า ในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้น
เกร็ด จาก พริกขี้หนูกับหมูแฮม
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=konrakjav&month=01-2018&date=02&group=1&gblog=13
หลังความสำเร็จของ รักแรกอุ้ม (1988) ที่นอกจากเป็นผลงานหนังเรื่องแรกของ คิง-สมจริง ศรีสุภาพ แล้ว ตัวหนังยังแจ้งเกิดให้กับสองนักแสดงนำ ขจรศักดิ์ รัตนนิสัย และ จันทร์จิรา จูแจ้ง กลายเป็นดาราคู่ขวัญคู่ใหม่อีกด้วย โดยในผลงานเรื่องที่สองของสมจริงก็ยังได้ทั้งสองกลับมาร่วมงานอีกครั้งใน ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ หนึ่งในหนังโรแมนติกสุดคลาสสิค ภายใต้ฉากหลังเมืองในฝันอย่าง ซานฟรานซิสโก ที่กลายเป็นแลนด์มาร์คที่หนุ่มสาวไทยใฝ่ฝันถึง
ในโอกาสที่ทาง MONOMAXXX ได้นำ ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ มารีมาสเตอร์ใหม่ เราจึงขอพาเพื่อนๆ ระลึกถึงหนังเรื่องนี้ ผ่านความทรงจำในการทำงาน ณ ต่างประเทศครั้งแรกของสมจริงเมื่อ 28 ปีที่แล้ว
ที่มาของหนัง ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’
สมจริง : มันเริ่มมาจากเรากับ พี่เติม (ชนินทร ประเสริฐประศาสน์ –ปัจจุบันคือ ผกก.ละคร) ซึ่งเขียนบทร่วมกันในเรื่องนี้ ตอนนั้นนิตยสาร ลลนา มีงานเขียนชิ้นหนึ่งของพี่ วาณิช จรุงกิจอนันต์ เรื่อง ‘จดหมายถึงเพื่อน’ ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับคนไทยที่ไปเรียนอยู่ที่อเมริกาในรูปแบบของจดหมาย พอเราอ่านก็มีความรู้สึกว่าหนังไทยที่ถ่ายทำในต่างประเทศมันก็ห่างหายไปจากวงการสักระยะหนึ่งละ ซึ่งก่อนหน้านั้นมันก็มีหนังของ พรพจน์-รัชนีวรรณ (กนิษฐเสน – สองสามีภรรยาอดีตนักพากย์ที่ผันตัวมาเป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับภาพยนตร์) ที่นิยมไปถ่ายทำในฝั่งยุโรป ถ่ายวิวสวยๆ ชวนพาฝัน ก็เลยคิดว่าทำไมเราไม่เอาเรื่องจริงๆ ที่เล่าเรื่องของโรบินฮูด คนที่ไปใช้ชีวิต ไปเรียนไปหางานทำที่อเมริกามาลองทำเป็นหนังบ้าง ก็เลยได้ประเด็นนี้มาเป็นไอเดียแรก ซึ่งตอนนั้นงานเขียนชิ้นนี้ของพี่วาณิชเองก็ดังมากๆ
ในช่วงเวลานั้น การไปถ่ายทำภาพยนตร์ในต่างประเทศมีความยากยังไงบ้าง
สมจริง : ในอเมริกายาก แต่เราก็ไม่รู้ไงว่าถ้าเป็นที่ยุโรปมันยากไหม ซึ่งอเมริกาเองมันก็มีระเบียบต้องทำเอกสารมากมาย ซึ่งมันก็ยังเป็นแบบนั้นมาจนถึงทุกวันนี้
พี่คิงมีความรู้สึกอย่างไรกับอเมริกาในช่วงเวลานั้น
สมจริง : ตอนนั้นความเป็นระเบียบของเมืองมันก็อาจจะไม่เท่าสมัยปัจจุบัน หรืออย่างนิวยอร์คเองเมื่อก่อนมันก็ยังเป็นเมืองที่มีอาชญากรรมสูงอยู่ซึ่งมันไม่เหมือนปัจจุบัน หรืออย่างซานฟรานซิสโกเองมันก็มีความเป็นเมืองในฝัน ด้วยบรรยากาศของเมืองที่อยู่บนภูเขา มีสโลบ มีวิวทะเล ทิวทัศน์มันเลยเหมาะกับหนังรัก มากกว่าที่แอลเอซึ่งเราเองก็ไปดูสถานที่มาเหมือนกัน ซึ่งที่แอลเอมันเป็นเมืองที่ต้องใช้รถเป็นหลักมากกว่า แต่กับซานฟรานฯ มันมีรถราง ก็เลยตัดสินใจไปถ่ายที่นั่น
ใช้เวลาการถ่ายทำนานไหมครับ
สมจริง : ก็ไปถ่ายทำกันประมาณเดือนหนึ่ง ก็มีทั้งข้างนอกเมือง ร้านอาหารที่อยู่ที่นั้น หรือโถงทางเดินอพาร์ตเม็นต์ของตัวละครพระเอกนางเอก แม้แต่ฉากบนด่านฟ้า หรือฉากที่ยืนริมระเบียงเราก็ถ่ายทำที่นั่นหมด ซึ่งเป็นโรงแรมกลางเมืองซานฟรานฯ แต่เจ้าของคือคนไทย ก็เลยทำให้คุยกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งปกติแล้วบนนั้นเขาจะไม่ให้ขึ้นเพราะมันไม่ได้แข็งแรงมาก มันจะเป็นเหมือนยางมะตอยราดแล้วพื้นออกจะยวบๆ หน่อย แต่ก็มีบางส่วนที่เรากลับมาเซ็ตอัพถ่ายทำเพิ่มในสตูดิโอที่ไทยคือห้องของทั้งสองตัวละคร ซึ่งในยุคนั้นสินค้าจากอเมริกามันก็ยังไม่มีมาขายที่ไทยมากเหมือนปัจจุบัน เราก็ต้องขนทั้งกล่องนม กล่องน้ำส้ม สารพัดกล่องสินค้าทุกสิ่งอย่างจากที่นั่นกลับมาไทย แล้วค่อยเอามาขยายออกเติมน้ำเข้าไปใหม่
แล้วอย่างฉากสำคัญเช่น ฉากรสบัส หรือการถ่ายทำบนเฮลิคอปเตอร์
สมจริง : คือซานฟรานฯ มันเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว และทุกอย่างมันถูกอนุญาตให้ถ่ายได้ เราก็เลยเช่าเฮลิคอปเตอร์ท่องเที่ยวแล้วถ่ายทำประมาณชั่วโมงหนึ่ง คือเราไปถ่ายทำที่นั้นเราใช้เช่า Grapper ริก เครื่องไฟ หรืออุปกรณ์ถ่ายทำจากที่นั่น ซึ่งมันก็ไม่ได้ยากมาก
อะไรคือสิ่งที่พี่คิงอยากเล่าผ่านหนังเรื่องนี้
สมจริง : คือโดยปกติหนังไทยที่ไปถ่ายทำในต่างประเทสมันก็มักจะเป็นมุมมองที่สวยงามเสียส่วนใหญ่ แต่ใน ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ มันก็เป็นมุมของคนไทยที่ไปใช้ชีวิตต่างประเทศที่ไม่ได้สวยงามสักเท่าไหร่ มีมุมมองต่อผู้คนที่หลากหลาย มีทั้งคนที่มีน้ำใจ หรือคนที่จะเอาเปรียบคนอื่น ไปจนถึงฉายให้เห็นสังคมของคนไทยกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ที่นั่น มันก็มีการอิจฉาริษยากัน ซึ่งแม้แต่น้องที่กลับมาจากไปอยู่ที่นั่นมาเล่าให้ฟังมันก็ยังมีสิ่งเหล่านี้อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง มันคือความเป็นมนุษย์ เวลาใครไปเปิดร้านอาหารแล้วได้ดิบได้ดี ก็โดนเมาท์ หรือแม้แต่พนักงานเสริฟทั้งชายหญิงที่ไปทำงานที่นั่น มันก็โดนเมาท์โดนนินทา คือแม้เวลาจะเปลี่ยนแปลง แต่ความเป็นมนุษย์มันก็ยังคงเหมือนเดิม รักโลภ โกรธ หลง มันก็ยังมีอยู่
แล้วในแง่ส่วนตัว หนังเรื่องนี้สำคัญอย่างไรกับตัวพี่บ้างครับ
สมจริง : เราเองตอนนั้นก็เป็นผู้กำกับใหม่พึ่งทำหนังได้แค่เรื่องเดียว การไปถ่ายทำหนังในต่างประเทศจึงเป็นอะไรที่หาญกล้ามาก (หัวเราะ) เพราะมันก็ขอวีซ่ายากมากๆ หรือแม้แต่ทักษะภาษาอังกฤษของเราเองก็ไม่ได้ดีมาก โชคดีที่เราก็ได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยซึ่งอาศัยที่ซานฟรานฯ ทั้งร้าน มโนราห์ ซึ่งเป็นร้านอาหารไทยที่ดังที่สุดระดับท็อปเท็น นักวิจารณ์ให้ห้าดาวจนคนต้องต่อคิวรอ เราก็ได้รับอนุญาตให้ไปถ่ายที่ร้าน หรืออย่างรถตู้ที่มีทีมงานและนักแสดงเขาก็มาช่วยขับให้ ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการติดต่อถามสารทุกข์สุกดิบกันบ้าง แล้วก็หายๆ กันไป
คิดว่าเพราะอะไร ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ ยังเป็นหนังไทยที่ถูกพูดถึงจนทุกวันนี้
สมจริง : อย่างหนึ่งคือการแสดง ที่เราใช้ทั้งความเป็นจันจิรา หรือความเป็นขจรศักดิ์เข้ามาไว้ในตัวละคร หรือแม้แต่ตัวแสดงทุกตัวในเรื่องมันมีความเป็นธรรมชาติ แล้วก็ดนตรีประกอบ หรือเพลง เติมใจให้กัน ที่ได้ พี่จิ (จิรพรรณ อังศวานนท์) วงเดอะ บัตเตอร์ฟลาย กับพี่ สินนภา สารสาส มาทำให้ และได้พี่จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง มาแต่งเนื้อให้ ซึ่งเป็นคนที่แต่งเนื้อได้เรียบง่ายและโดนใจคน ไปจนถึงเรื่องภาพที่ได้พี่เล็ก-ศิริเพ็ญ อยู่สมบูรณ์ (ภรรยาของ ฐนิสสพงศ์ ศศินมานพ ผู้กำกับภาพรุ่นใหญ่) ผู้กำกับภาพหญิงจากวงการโฆษณา ซึ่งเป็นก็หนังเรื่องเดียวที่พี่เขาถ่ายให้ ซึ่งธรรมดาหนังไทยที่เราเคยดูมันจะแบนๆ ไม่มีมิติ ที่ภาพที่พี่เล็กถ่ายมามันจะต่างออกไป มี Depth of field ที่มากขึ้นหรือแบ็คกราวด์ที่ละลายไปเลย ซึ่งเกิดจากการจัดแสงต่ำและเปิดหน้ากล้องกว้างมากๆ
...............................................................................................................................
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย (เอ็ม) เกิดวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2507
สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่วงการเมื่ออายุ 19 ปี โดยรับบทเป็นตัวประกอบในหนังเรื่อง "น้ำพุ" ในปี 2527 ต่อมาจึงได้รับบทแสดงนำเรื่องแรกคือ "ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย" ของไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จนมีชื่อเสียงโด่งดัง จึงมีงานแสดงภาพยนตร์ตามมาหลายเรื่อง อาทิ ฉลุย, ม่อก 2 ต้องได้สาม และ กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน ซึ่งเรื่องนี้เองได้รับรางวัลดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดภาพยนตร์แห่งชาติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2535
สุรศักดิ์มีผลงานละคร พิธีกร และภาพยนตร์ในเวลาไล่เลี่ยกัน อีกทั้งยังได้ออกผลงานเพลงอัลบั้ม "ตัว M" ของค่ายคีตา เรคคอร์ดส มีเพลงที่ฮิตและจดจำมาจนปัจจุบันคือ "อยู่ตัวอยู่แล้ว", "ละลาย", "อยากไปก็ไป"
ทางด้านงานแสดงละครโทรทัศน์ ได้แก่ จ่ากองร้อย, แก้วขนเหล็ก, เขยบ้านนอก (ทั้ง 2 ภาค), บัลลังก์เมฆ รับบทเป็น ปรก เป็นลูกของ ภัทราวดี มีชูธน และ สรพงษ์ ชาตรี หลังประสบความสำเร็จหน้ากล้องแล้ว จึงเริ่มจับงานหลังกล้อง เช่น เป็นครีเอทีฟให้กับพาเมล่า เบาว์เด้น เป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เช่นเรื่อง เสียดาย 2, สุริโยไท (ในเรื่องนี้เป็นเจ้าของมือที่เอื้อมมาสวมหน้ากากให้พระศพของสมเด็จหน่อพุทธางกูร) และกำกับละครเรื่อง เขยบ้านนอก ภาค 2 เป็นต้น
********** ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย VS สุรศักดิ์ วงษ์ไทย **********
พี่จอนคือหนุ่มมาดเท่ที่คลาสสิกสุดๆ ทั้งเท่ทั้งกวน
แต่ก็ชวนมองตลอด
เรามาแวะดูประวัติพี่จอนกันเลยนะครับ
https://guru.sanook.com/5578/
ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย มีชื่อเล่นว่า "จอน" มีชื่อเสียงจากการแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง
"รักแรกอุ้ม" ในปี พ.ศ. 2531 และ "พริกขี้หนูกับหมูแฮม" ในปี พ.ศ. 2532
จากนั้นในปี พ.ศ. 2534 ได้แสดงในบท ตวง ในภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์เรื่องแรก
และเรื่องเดียวของวงการภาพยนตร์ไทยตราบจนปัจจุบันนี้ คือ "กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน"
ประกบคู่กับสุรศักดิ์ วงษ์ไทย และอังคณา ทิมดี
จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 จอนพลิกบทบาทของตัวเองครั้งใหญ่ กลายเป็นร็อคเกอร์หนุ่ม
ด้วยท่าทีที่ยียวน ชอบหลิ่วตาและทำปากเบ้เหมือนโรเบิร์ต มิตชั่ม ดาราฮอลลีวู้ด
ขจรศักดิ์จึงได้ออกอัลบั้มเพลงในสังกัดแกรมมี่ในมาดกวน ๆ ในชื่อชุด "สงวนลิขสิทธิ์"
มีเพลงที่ฮิตและได้รับความนิยมมาจนปัจจุบัน คือ "อย่าคิดมาก", "ใครไม่เกี่ยวก็ถอยไป", "พ่อ" เป็นต้น
แม้ว่า จอน จะห่างหายจากวงการบันเทิงไปบ้าง แต่เมื่อมีภาพยนตร์ดี ๆ โปรเจคใหญ่ ๆ
ชื่อและฝีมือการแสดงของเขา เป็นที่ต้องการและนึกถึงอันดับต้น ๆ ของผู้กำกับอยู่เสมอ
ได้รับบทเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์บางเรื่องบ้าง เช่น เสือ โจรพันธุ์เสือ ในปี พ.ศ. 2541,
102 ปิดกรุงเทพปล้น ในปี พ.ศ. 2547, รักสยามเท่าฟ้า ในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้น
เกร็ด จาก พริกขี้หนูกับหมูแฮม
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=konrakjav&month=01-2018&date=02&group=1&gblog=13
หลังความสำเร็จของ รักแรกอุ้ม (1988) ที่นอกจากเป็นผลงานหนังเรื่องแรกของ คิง-สมจริง ศรีสุภาพ แล้ว ตัวหนังยังแจ้งเกิดให้กับสองนักแสดงนำ ขจรศักดิ์ รัตนนิสัย และ จันทร์จิรา จูแจ้ง กลายเป็นดาราคู่ขวัญคู่ใหม่อีกด้วย โดยในผลงานเรื่องที่สองของสมจริงก็ยังได้ทั้งสองกลับมาร่วมงานอีกครั้งใน ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ หนึ่งในหนังโรแมนติกสุดคลาสสิค ภายใต้ฉากหลังเมืองในฝันอย่าง ซานฟรานซิสโก ที่กลายเป็นแลนด์มาร์คที่หนุ่มสาวไทยใฝ่ฝันถึง
ในโอกาสที่ทาง MONOMAXXX ได้นำ ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ มารีมาสเตอร์ใหม่ เราจึงขอพาเพื่อนๆ ระลึกถึงหนังเรื่องนี้ ผ่านความทรงจำในการทำงาน ณ ต่างประเทศครั้งแรกของสมจริงเมื่อ 28 ปีที่แล้ว
ที่มาของหนัง ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’
สมจริง : มันเริ่มมาจากเรากับ พี่เติม (ชนินทร ประเสริฐประศาสน์ –ปัจจุบันคือ ผกก.ละคร) ซึ่งเขียนบทร่วมกันในเรื่องนี้ ตอนนั้นนิตยสาร ลลนา มีงานเขียนชิ้นหนึ่งของพี่ วาณิช จรุงกิจอนันต์ เรื่อง ‘จดหมายถึงเพื่อน’ ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับคนไทยที่ไปเรียนอยู่ที่อเมริกาในรูปแบบของจดหมาย พอเราอ่านก็มีความรู้สึกว่าหนังไทยที่ถ่ายทำในต่างประเทศมันก็ห่างหายไปจากวงการสักระยะหนึ่งละ ซึ่งก่อนหน้านั้นมันก็มีหนังของ พรพจน์-รัชนีวรรณ (กนิษฐเสน – สองสามีภรรยาอดีตนักพากย์ที่ผันตัวมาเป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับภาพยนตร์) ที่นิยมไปถ่ายทำในฝั่งยุโรป ถ่ายวิวสวยๆ ชวนพาฝัน ก็เลยคิดว่าทำไมเราไม่เอาเรื่องจริงๆ ที่เล่าเรื่องของโรบินฮูด คนที่ไปใช้ชีวิต ไปเรียนไปหางานทำที่อเมริกามาลองทำเป็นหนังบ้าง ก็เลยได้ประเด็นนี้มาเป็นไอเดียแรก ซึ่งตอนนั้นงานเขียนชิ้นนี้ของพี่วาณิชเองก็ดังมากๆ
ในช่วงเวลานั้น การไปถ่ายทำภาพยนตร์ในต่างประเทศมีความยากยังไงบ้าง
สมจริง : ในอเมริกายาก แต่เราก็ไม่รู้ไงว่าถ้าเป็นที่ยุโรปมันยากไหม ซึ่งอเมริกาเองมันก็มีระเบียบต้องทำเอกสารมากมาย ซึ่งมันก็ยังเป็นแบบนั้นมาจนถึงทุกวันนี้
พี่คิงมีความรู้สึกอย่างไรกับอเมริกาในช่วงเวลานั้น
สมจริง : ตอนนั้นความเป็นระเบียบของเมืองมันก็อาจจะไม่เท่าสมัยปัจจุบัน หรืออย่างนิวยอร์คเองเมื่อก่อนมันก็ยังเป็นเมืองที่มีอาชญากรรมสูงอยู่ซึ่งมันไม่เหมือนปัจจุบัน หรืออย่างซานฟรานซิสโกเองมันก็มีความเป็นเมืองในฝัน ด้วยบรรยากาศของเมืองที่อยู่บนภูเขา มีสโลบ มีวิวทะเล ทิวทัศน์มันเลยเหมาะกับหนังรัก มากกว่าที่แอลเอซึ่งเราเองก็ไปดูสถานที่มาเหมือนกัน ซึ่งที่แอลเอมันเป็นเมืองที่ต้องใช้รถเป็นหลักมากกว่า แต่กับซานฟรานฯ มันมีรถราง ก็เลยตัดสินใจไปถ่ายที่นั่น
ใช้เวลาการถ่ายทำนานไหมครับ
สมจริง : ก็ไปถ่ายทำกันประมาณเดือนหนึ่ง ก็มีทั้งข้างนอกเมือง ร้านอาหารที่อยู่ที่นั้น หรือโถงทางเดินอพาร์ตเม็นต์ของตัวละครพระเอกนางเอก แม้แต่ฉากบนด่านฟ้า หรือฉากที่ยืนริมระเบียงเราก็ถ่ายทำที่นั่นหมด ซึ่งเป็นโรงแรมกลางเมืองซานฟรานฯ แต่เจ้าของคือคนไทย ก็เลยทำให้คุยกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งปกติแล้วบนนั้นเขาจะไม่ให้ขึ้นเพราะมันไม่ได้แข็งแรงมาก มันจะเป็นเหมือนยางมะตอยราดแล้วพื้นออกจะยวบๆ หน่อย แต่ก็มีบางส่วนที่เรากลับมาเซ็ตอัพถ่ายทำเพิ่มในสตูดิโอที่ไทยคือห้องของทั้งสองตัวละคร ซึ่งในยุคนั้นสินค้าจากอเมริกามันก็ยังไม่มีมาขายที่ไทยมากเหมือนปัจจุบัน เราก็ต้องขนทั้งกล่องนม กล่องน้ำส้ม สารพัดกล่องสินค้าทุกสิ่งอย่างจากที่นั่นกลับมาไทย แล้วค่อยเอามาขยายออกเติมน้ำเข้าไปใหม่
แล้วอย่างฉากสำคัญเช่น ฉากรสบัส หรือการถ่ายทำบนเฮลิคอปเตอร์
สมจริง : คือซานฟรานฯ มันเป็นเมืองท่องเที่ยวอยู่แล้ว และทุกอย่างมันถูกอนุญาตให้ถ่ายได้ เราก็เลยเช่าเฮลิคอปเตอร์ท่องเที่ยวแล้วถ่ายทำประมาณชั่วโมงหนึ่ง คือเราไปถ่ายทำที่นั้นเราใช้เช่า Grapper ริก เครื่องไฟ หรืออุปกรณ์ถ่ายทำจากที่นั่น ซึ่งมันก็ไม่ได้ยากมาก
อะไรคือสิ่งที่พี่คิงอยากเล่าผ่านหนังเรื่องนี้
สมจริง : คือโดยปกติหนังไทยที่ไปถ่ายทำในต่างประเทสมันก็มักจะเป็นมุมมองที่สวยงามเสียส่วนใหญ่ แต่ใน ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ มันก็เป็นมุมของคนไทยที่ไปใช้ชีวิตต่างประเทศที่ไม่ได้สวยงามสักเท่าไหร่ มีมุมมองต่อผู้คนที่หลากหลาย มีทั้งคนที่มีน้ำใจ หรือคนที่จะเอาเปรียบคนอื่น ไปจนถึงฉายให้เห็นสังคมของคนไทยกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ที่นั่น มันก็มีการอิจฉาริษยากัน ซึ่งแม้แต่น้องที่กลับมาจากไปอยู่ที่นั่นมาเล่าให้ฟังมันก็ยังมีสิ่งเหล่านี้อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง มันคือความเป็นมนุษย์ เวลาใครไปเปิดร้านอาหารแล้วได้ดิบได้ดี ก็โดนเมาท์ หรือแม้แต่พนักงานเสริฟทั้งชายหญิงที่ไปทำงานที่นั่น มันก็โดนเมาท์โดนนินทา คือแม้เวลาจะเปลี่ยนแปลง แต่ความเป็นมนุษย์มันก็ยังคงเหมือนเดิม รักโลภ โกรธ หลง มันก็ยังมีอยู่
แล้วในแง่ส่วนตัว หนังเรื่องนี้สำคัญอย่างไรกับตัวพี่บ้างครับ
สมจริง : เราเองตอนนั้นก็เป็นผู้กำกับใหม่พึ่งทำหนังได้แค่เรื่องเดียว การไปถ่ายทำหนังในต่างประเทศจึงเป็นอะไรที่หาญกล้ามาก (หัวเราะ) เพราะมันก็ขอวีซ่ายากมากๆ หรือแม้แต่ทักษะภาษาอังกฤษของเราเองก็ไม่ได้ดีมาก โชคดีที่เราก็ได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยซึ่งอาศัยที่ซานฟรานฯ ทั้งร้าน มโนราห์ ซึ่งเป็นร้านอาหารไทยที่ดังที่สุดระดับท็อปเท็น นักวิจารณ์ให้ห้าดาวจนคนต้องต่อคิวรอ เราก็ได้รับอนุญาตให้ไปถ่ายที่ร้าน หรืออย่างรถตู้ที่มีทีมงานและนักแสดงเขาก็มาช่วยขับให้ ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการติดต่อถามสารทุกข์สุกดิบกันบ้าง แล้วก็หายๆ กันไป
คิดว่าเพราะอะไร ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ ยังเป็นหนังไทยที่ถูกพูดถึงจนทุกวันนี้
สมจริง : อย่างหนึ่งคือการแสดง ที่เราใช้ทั้งความเป็นจันจิรา หรือความเป็นขจรศักดิ์เข้ามาไว้ในตัวละคร หรือแม้แต่ตัวแสดงทุกตัวในเรื่องมันมีความเป็นธรรมชาติ แล้วก็ดนตรีประกอบ หรือเพลง เติมใจให้กัน ที่ได้ พี่จิ (จิรพรรณ อังศวานนท์) วงเดอะ บัตเตอร์ฟลาย กับพี่ สินนภา สารสาส มาทำให้ และได้พี่จุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง มาแต่งเนื้อให้ ซึ่งเป็นคนที่แต่งเนื้อได้เรียบง่ายและโดนใจคน ไปจนถึงเรื่องภาพที่ได้พี่เล็ก-ศิริเพ็ญ อยู่สมบูรณ์ (ภรรยาของ ฐนิสสพงศ์ ศศินมานพ ผู้กำกับภาพรุ่นใหญ่) ผู้กำกับภาพหญิงจากวงการโฆษณา ซึ่งเป็นก็หนังเรื่องเดียวที่พี่เขาถ่ายให้ ซึ่งธรรมดาหนังไทยที่เราเคยดูมันจะแบนๆ ไม่มีมิติ ที่ภาพที่พี่เล็กถ่ายมามันจะต่างออกไป มี Depth of field ที่มากขึ้นหรือแบ็คกราวด์ที่ละลายไปเลย ซึ่งเกิดจากการจัดแสงต่ำและเปิดหน้ากล้องกว้างมากๆ
...............................................................................................................................
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย (เอ็ม) เกิดวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2507
สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่วงการเมื่ออายุ 19 ปี โดยรับบทเป็นตัวประกอบในหนังเรื่อง "น้ำพุ" ในปี 2527 ต่อมาจึงได้รับบทแสดงนำเรื่องแรกคือ "ซึมน้อยหน่อย กะล่อนมากหน่อย" ของไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จนมีชื่อเสียงโด่งดัง จึงมีงานแสดงภาพยนตร์ตามมาหลายเรื่อง อาทิ ฉลุย, ม่อก 2 ต้องได้สาม และ กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน ซึ่งเรื่องนี้เองได้รับรางวัลดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยมจากเวทีประกวดภาพยนตร์แห่งชาติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2535
สุรศักดิ์มีผลงานละคร พิธีกร และภาพยนตร์ในเวลาไล่เลี่ยกัน อีกทั้งยังได้ออกผลงานเพลงอัลบั้ม "ตัว M" ของค่ายคีตา เรคคอร์ดส มีเพลงที่ฮิตและจดจำมาจนปัจจุบันคือ "อยู่ตัวอยู่แล้ว", "ละลาย", "อยากไปก็ไป"
ทางด้านงานแสดงละครโทรทัศน์ ได้แก่ จ่ากองร้อย, แก้วขนเหล็ก, เขยบ้านนอก (ทั้ง 2 ภาค), บัลลังก์เมฆ รับบทเป็น ปรก เป็นลูกของ ภัทราวดี มีชูธน และ สรพงษ์ ชาตรี หลังประสบความสำเร็จหน้ากล้องแล้ว จึงเริ่มจับงานหลังกล้อง เช่น เป็นครีเอทีฟให้กับพาเมล่า เบาว์เด้น เป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เช่นเรื่อง เสียดาย 2, สุริโยไท (ในเรื่องนี้เป็นเจ้าของมือที่เอื้อมมาสวมหน้ากากให้พระศพของสมเด็จหน่อพุทธางกูร) และกำกับละครเรื่อง เขยบ้านนอก ภาค 2 เป็นต้น