- มองว่าเป็นภาคต่อ หรือ ภาคแยกของ Drive My Car (2021) คงคิดเช่นนั้นแล้วมโนต่อเองว่า หลังจากที่ได้แยกทางกับคุณ Yusuke แล้วบอกว่าย้ายไปเกาหลีแล้วนึกว่าชีวิตหลังจากนี้จะสุขสบาย แต่เปล่า ? คุณเธอยังอยู่ในญี่ปุ่นนี่แหล่ะ นั่งทำงานเป็นพนักงาน Call Center อยู่ แล้วเหมือนว่าเธอกำลังตกอยู่ Loop ของวัยกลางคนที่มีสภาพไม่ต่างกับคุณ Yusuke ในเรื่องของความสับสนในจิตใจ ซึ่งวัยนี้เป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การเริ่มต้นสร้างครอบครัวตามอุดมคติ ขณะเดียวกันการตัดสินใจที่จะเริ่มต้นใหม่ ๆ ก็มีตัวเลือกไม่มากนัก แล้วด้วย Status ของเธอยังโสดอยู่เลยถูกเพ่งเล็งจากกรอบแนวคิดที่สังคมบัญญัติผ่านปากของแม่หัวโบราณกรอกหูตาม Pattern ว่า โตแล้วนะ จะใช้ชีวิตไร้แก่นสารแบบนี้ไม่ได้ ควรหาผัวไว ๆ ได้แล้วจะได้มีลูกให้กูอวดไว ๆ ซะที โดยที่ไม่ได้มองถึงสภาพความเป็นจริง Status ที่ประสบอยู่ หรือความรู้สึกจริง ๆ ว่ากูต้องการหรือเปล่า ? ขณะดูไปเลยรับรู้ถึงมวลอึดอัด ความกดดันที่ค่อย ๆ สะสมเป็นแผลในใจผ่านสีหน้าเรียบเฉยของนางเอกเป็นระยะได้อย่างรวดเร็ว
- ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 44 นาที ดูง่าย เรื่อย ๆ มีความเป็นตัวตนในชาติลักษณ์ เยิ่นเย้อประปรายแต่ถูกไหลไปกับบรรยากาศข้างทางในโทนเบา ๆ ดนตรีสบาย ๆ โดยไม่รู้สึกว่านานแต่อย่างใดเลยรอดตัวเนียน ๆ มีความเป็นหนัง 2 เรื่องที่เคยดูผสมหน่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น Scene เปิดเรื่องที่นางเอกนั่งกินข้าวกับเพื่อนร่วมงานในร้านอาหารแล้วพูด Topic ถึงหนัง ทำให้นึกถึง Like Someone in Love (2012) หรือ การตั้งเงื่อนไขกับตัวเองว่า กูไม่ใฝ่หาความรัก กูไม่แต่งงาน และ กูไม่เอา Sex ก็ทำให้นึกถึง Return to Seoul (2022) ใน way ที่ไม่หวือหวาและมุ่งเน้นจนสุดอารมณ์ทางใดทางหนึ่ง แต่ Details ที่แฝงมากับคำพูดหรือการนั่งดูทะเลตามลำพังก็มีความหมายชวนน่าค้นหาโดยมีบรรดาตัวละครสมทบที่เข้ามารบกวนเพื่อหวังอะไรบางอย่าง เช่น แม่ที่ชอบจุ้นจ้านลูกด้วยการคลุมถุงชน , น้องสาวที่ปากบอกอารีแต่น้ำใจเชือดคอนิ่ม ๆ , คู่หมั้นร้านราเม็งที่พยายามเป็นสุภาพบุรุษเพื่อแลกกับการมี Sex กระทั่ง การมาเจอกับเพื่อนสาวที่ชายหาดจนทำให้เธอเผลอเอาใจไปเล่น ก็เป็นตัวเร่งสำคัญให้ปมของนางเอกมีมิติที่จับต้องได้พร้อมกับตั้งคำถามตามมาเกี่ยวกับกลไกทางสังคมเหมือนกำลังรอคอยอะไรบางอย่างที่ดูท่าจะมีหวังไม่มากไม่น้อย
- ด้านนักแสดงนำอย่าง Toko Miura ที่เคยประทับใจจาก Drive My Car (2021) มาแล้วมารอบนี้เธอยังคงทำหน้าที่ได้ดีไม่มีเปลี่ยน เล่นพอดีที่ให้เยอะแถมเป็นตัวเดินที่มี Story น่าสนใจและชวนให้ติดตามไปอย่างพิศวง บางช่วงมี Drop ลงไปตรงช่วงที่เจอกับเพื่อนเก่าสาวที่ชายหายเป็นต้นมารู้สึกว่าเริ่มถูกกลืนไปกับภาพขาวโพลน ไม่มีเสียงดนตรีหรือเหตุการณ์ฉุกละหุกเข้ามาแทรกจนเกือบจะวูบหลับจนถึงตอนที่เพื่อนสาวบุกไปด่านายกเทศมนตรีขณะปราศรัยบนเวทีที่ไปดูถูกนางเอกที่ไป Present เรื่องเพศให้เด็กนักเรียนมันฟังที่เนอสเซอรี่ นี่แหล่ะที่ตื่นขึ้นทันที และ อีก Scene ที่นางเอกบอกความรู้สึกที่อัดอั้นกับคนในครอบครัวขณะกินข้าว ซึ่ง 2 Scene ที่กล่าวมานี้นอกจากจะเป็น Scene ที่เค้นอารมณ์ได้เอาเรื่องแล้ว ถ้าหนังตั้งใจเล่นและขยี้ในส่วน Drama เยอะ ๆ จะดีต่อใจกว่านี้ เพราะเจตนารมย์ของหนังมันมา way นี้อยู่แล้ว
- บทสรุปช่วงท้ายไม่ได้ตื่นเต้นใด ๆ แต่ถือว่าหาทางลงได้สวยอยู่แต่ไม่ได้งดงามถึงกับยกเป็น Scene ที่น่าจดจำ เพราะทั้งเรื่องก็ไม่ได้เน้นขยี้เค้นอารมณ์ใด ๆ อยู่แล้วตามสไตล์หนังญี่ปุ่น จะ Drama ก็ไม่สุด จะ Comedy ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ โทนมันลอยทางสายกลางตลอด แม้กระทั่งสารที่ยังถ่ายทอดออกมาได้ไม่เฉียบคมแต่อย่างน้อยมันสามารถเป็นตัวตั้งคำถามปลายเปิดให้ไปคิดต่อได้ลึกซิ้งในภายหลัง โดยเฉพาะประเด็นในสังคมญี่ปุ่นที่บางอย่างมีความคล้ายกับบ้านเราในเรื่องของจารีตนิยมความกตัญญ เพราะ การที่นางเอกถูกกดทับจากคนในครอบครัวด้วยกรอบแนวคิดในสังคมสะสมเพียงแค่ความหวังดีปนเสร่อว่าลูกฉันต้องเป็นแบบนี้ ๆ โดยที่ไม่ถาม และ ไม่ใส่ใจว่ามันใช่ในสิ่งที่เธอต้องการหรือเปล่า ? แม้กระทั่งการยอมรับตัวตนให้โลกรู้ก็พูดได้ไม่เต็มปากเช่นกัน แต่ยังดีที่พ่อของเธอเข้าใจว่าชอบอะไรเลยทำให้มีความหวังขึ้นมาบ้าง ซึ่งผมว่ามันสื่อตามชื่อเรื่องตรงตัวดี
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like & Share บทความของผม By : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.102 I am what I am (2022) : ฉันเป็นใคร ? แล้ว ใครเป็นฉัน ? / By Japanese Films Festival 2024
- มองว่าเป็นภาคต่อ หรือ ภาคแยกของ Drive My Car (2021) คงคิดเช่นนั้นแล้วมโนต่อเองว่า หลังจากที่ได้แยกทางกับคุณ Yusuke แล้วบอกว่าย้ายไปเกาหลีแล้วนึกว่าชีวิตหลังจากนี้จะสุขสบาย แต่เปล่า ? คุณเธอยังอยู่ในญี่ปุ่นนี่แหล่ะ นั่งทำงานเป็นพนักงาน Call Center อยู่ แล้วเหมือนว่าเธอกำลังตกอยู่ Loop ของวัยกลางคนที่มีสภาพไม่ต่างกับคุณ Yusuke ในเรื่องของความสับสนในจิตใจ ซึ่งวัยนี้เป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การเริ่มต้นสร้างครอบครัวตามอุดมคติ ขณะเดียวกันการตัดสินใจที่จะเริ่มต้นใหม่ ๆ ก็มีตัวเลือกไม่มากนัก แล้วด้วย Status ของเธอยังโสดอยู่เลยถูกเพ่งเล็งจากกรอบแนวคิดที่สังคมบัญญัติผ่านปากของแม่หัวโบราณกรอกหูตาม Pattern ว่า โตแล้วนะ จะใช้ชีวิตไร้แก่นสารแบบนี้ไม่ได้ ควรหาผัวไว ๆ ได้แล้วจะได้มีลูกให้กูอวดไว ๆ ซะที โดยที่ไม่ได้มองถึงสภาพความเป็นจริง Status ที่ประสบอยู่ หรือความรู้สึกจริง ๆ ว่ากูต้องการหรือเปล่า ? ขณะดูไปเลยรับรู้ถึงมวลอึดอัด ความกดดันที่ค่อย ๆ สะสมเป็นแผลในใจผ่านสีหน้าเรียบเฉยของนางเอกเป็นระยะได้อย่างรวดเร็ว
- ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง 44 นาที ดูง่าย เรื่อย ๆ มีความเป็นตัวตนในชาติลักษณ์ เยิ่นเย้อประปรายแต่ถูกไหลไปกับบรรยากาศข้างทางในโทนเบา ๆ ดนตรีสบาย ๆ โดยไม่รู้สึกว่านานแต่อย่างใดเลยรอดตัวเนียน ๆ มีความเป็นหนัง 2 เรื่องที่เคยดูผสมหน่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น Scene เปิดเรื่องที่นางเอกนั่งกินข้าวกับเพื่อนร่วมงานในร้านอาหารแล้วพูด Topic ถึงหนัง ทำให้นึกถึง Like Someone in Love (2012) หรือ การตั้งเงื่อนไขกับตัวเองว่า กูไม่ใฝ่หาความรัก กูไม่แต่งงาน และ กูไม่เอา Sex ก็ทำให้นึกถึง Return to Seoul (2022) ใน way ที่ไม่หวือหวาและมุ่งเน้นจนสุดอารมณ์ทางใดทางหนึ่ง แต่ Details ที่แฝงมากับคำพูดหรือการนั่งดูทะเลตามลำพังก็มีความหมายชวนน่าค้นหาโดยมีบรรดาตัวละครสมทบที่เข้ามารบกวนเพื่อหวังอะไรบางอย่าง เช่น แม่ที่ชอบจุ้นจ้านลูกด้วยการคลุมถุงชน , น้องสาวที่ปากบอกอารีแต่น้ำใจเชือดคอนิ่ม ๆ , คู่หมั้นร้านราเม็งที่พยายามเป็นสุภาพบุรุษเพื่อแลกกับการมี Sex กระทั่ง การมาเจอกับเพื่อนสาวที่ชายหาดจนทำให้เธอเผลอเอาใจไปเล่น ก็เป็นตัวเร่งสำคัญให้ปมของนางเอกมีมิติที่จับต้องได้พร้อมกับตั้งคำถามตามมาเกี่ยวกับกลไกทางสังคมเหมือนกำลังรอคอยอะไรบางอย่างที่ดูท่าจะมีหวังไม่มากไม่น้อย
- ด้านนักแสดงนำอย่าง Toko Miura ที่เคยประทับใจจาก Drive My Car (2021) มาแล้วมารอบนี้เธอยังคงทำหน้าที่ได้ดีไม่มีเปลี่ยน เล่นพอดีที่ให้เยอะแถมเป็นตัวเดินที่มี Story น่าสนใจและชวนให้ติดตามไปอย่างพิศวง บางช่วงมี Drop ลงไปตรงช่วงที่เจอกับเพื่อนเก่าสาวที่ชายหายเป็นต้นมารู้สึกว่าเริ่มถูกกลืนไปกับภาพขาวโพลน ไม่มีเสียงดนตรีหรือเหตุการณ์ฉุกละหุกเข้ามาแทรกจนเกือบจะวูบหลับจนถึงตอนที่เพื่อนสาวบุกไปด่านายกเทศมนตรีขณะปราศรัยบนเวทีที่ไปดูถูกนางเอกที่ไป Present เรื่องเพศให้เด็กนักเรียนมันฟังที่เนอสเซอรี่ นี่แหล่ะที่ตื่นขึ้นทันที และ อีก Scene ที่นางเอกบอกความรู้สึกที่อัดอั้นกับคนในครอบครัวขณะกินข้าว ซึ่ง 2 Scene ที่กล่าวมานี้นอกจากจะเป็น Scene ที่เค้นอารมณ์ได้เอาเรื่องแล้ว ถ้าหนังตั้งใจเล่นและขยี้ในส่วน Drama เยอะ ๆ จะดีต่อใจกว่านี้ เพราะเจตนารมย์ของหนังมันมา way นี้อยู่แล้ว
- บทสรุปช่วงท้ายไม่ได้ตื่นเต้นใด ๆ แต่ถือว่าหาทางลงได้สวยอยู่แต่ไม่ได้งดงามถึงกับยกเป็น Scene ที่น่าจดจำ เพราะทั้งเรื่องก็ไม่ได้เน้นขยี้เค้นอารมณ์ใด ๆ อยู่แล้วตามสไตล์หนังญี่ปุ่น จะ Drama ก็ไม่สุด จะ Comedy ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ โทนมันลอยทางสายกลางตลอด แม้กระทั่งสารที่ยังถ่ายทอดออกมาได้ไม่เฉียบคมแต่อย่างน้อยมันสามารถเป็นตัวตั้งคำถามปลายเปิดให้ไปคิดต่อได้ลึกซิ้งในภายหลัง โดยเฉพาะประเด็นในสังคมญี่ปุ่นที่บางอย่างมีความคล้ายกับบ้านเราในเรื่องของจารีตนิยมความกตัญญ เพราะ การที่นางเอกถูกกดทับจากคนในครอบครัวด้วยกรอบแนวคิดในสังคมสะสมเพียงแค่ความหวังดีปนเสร่อว่าลูกฉันต้องเป็นแบบนี้ ๆ โดยที่ไม่ถาม และ ไม่ใส่ใจว่ามันใช่ในสิ่งที่เธอต้องการหรือเปล่า ? แม้กระทั่งการยอมรับตัวตนให้โลกรู้ก็พูดได้ไม่เต็มปากเช่นกัน แต่ยังดีที่พ่อของเธอเข้าใจว่าชอบอะไรเลยทำให้มีความหวังขึ้นมาบ้าง ซึ่งผมว่ามันสื่อตามชื่อเรื่องตรงตัวดี
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like & Share บทความของผม By : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้