สปสช. เพิ่มสิทธิ รักษาป่วยเข่าเสื่อมฟรี ด้วยการ ‘พอกเข่า’ สามารถเข้ารับบริการได้ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ กับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้มีมติเห็นชอบ ‘สิทธิประโยชน์บริการหัตถการพอกเข่า สำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม/โรคลมจับโปงแห้งเข่า หรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นรายการในชุดสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท)’ เพิ่มเติมให้กับประชาชนที่ไปรับบริการจากหน่วยบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า การให้บริการหัตถการพอกเข่าสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เป็นการดูแลกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปวดเข่าจากภาวะเข่าเสื่อม ให้ได้รับการรักษาจากหน่วยบริการการแพทย์แผนไทย วันละไม่เกิน 1 ครั้ง รวม 5 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์ จากหน่วยบริการที่ให้บริการแพทย์แผนไทยของรัฐ และหน่วยบริการนวัตกรรมสาธารณสุขวิถีใหม่ หรือ “คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น” ที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่
นอกจากนี้ ในส่วนงบประมาณสำหรับบริการชุดสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หน่วยบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รวมถึงหน่วยบริการนวัตกรรมที่ให้การรักษา สามารถเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการหัตถการพอกเข่าด้วยสมุนไพรสำหรับรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจาก สปสช. ในอัตรา 100 บาทต่อครั้งต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 5 ครั้งใน 2 สัปดาห์ ซึ่งคาดการณ์ปีงบประมาณ 2567 จะใช้วงเงินที่จำนวน 6.8 ล้านบาท ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยจำนวน 1.3 หมื่นคน และในส่วนปีงบประมาณ 2568 คาดว่าจะใช้งบประมาณในบริการดังกล่าวประมาณ 41 ล้านบาท ให้การดูแลผู้ป่วยประมาณ 8.2 หมื่นคน
‘การพอกเข่า’ ช่วยรักษาอาการ ‘โรคข้อเข่าเสื่อม’ ได้จริงหรือ?
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัยของหัตถการพอกเข่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า หรือโรคข้อเข่าเสื่อม ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สธ. ระบุว่า อาการปวดเข่าจะลดลงเมื่อรับบริการหัตถการพอกเข่าอย่างน้อย 1-5 ครั้ง อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการใช้งานข้อเข่าได้ดีกว่าเดิม และไม่มีอาการพึงประสงค์ตามมา
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยประมาณ 165,217 คน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลกระทบในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกายที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิต รวมไปถึงมีผลกระทบด้านจิตใจ เกิดความวิตกกังวล และยังเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจด้วย เพราะเป็นโรคที่ต้องรักษานานและมีค่าใช้จ่ายสูง
ภาพจาก:
AFP
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.tnnthailand.com/news/social/167697/
สปสช. เพิ่มสิทธิ ‘พอกเข่า’ รักษาป่วยเข่าเสื่อมฟรี รับบริการ 5 ครั้งต่อสัปดาห์
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า การให้บริการหัตถการพอกเข่าสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เป็นการดูแลกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปวดเข่าจากภาวะเข่าเสื่อม ให้ได้รับการรักษาจากหน่วยบริการการแพทย์แผนไทย วันละไม่เกิน 1 ครั้ง รวม 5 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์ จากหน่วยบริการที่ให้บริการแพทย์แผนไทยของรัฐ และหน่วยบริการนวัตกรรมสาธารณสุขวิถีใหม่ หรือ “คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น” ที่เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่
นอกจากนี้ ในส่วนงบประมาณสำหรับบริการชุดสิทธิประโยชน์ดังกล่าว หน่วยบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รวมถึงหน่วยบริการนวัตกรรมที่ให้การรักษา สามารถเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการหัตถการพอกเข่าด้วยสมุนไพรสำหรับรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจาก สปสช. ในอัตรา 100 บาทต่อครั้งต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 5 ครั้งใน 2 สัปดาห์ ซึ่งคาดการณ์ปีงบประมาณ 2567 จะใช้วงเงินที่จำนวน 6.8 ล้านบาท ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยจำนวน 1.3 หมื่นคน และในส่วนปีงบประมาณ 2568 คาดว่าจะใช้งบประมาณในบริการดังกล่าวประมาณ 41 ล้านบาท ให้การดูแลผู้ป่วยประมาณ 8.2 หมื่นคน
‘การพอกเข่า’ ช่วยรักษาอาการ ‘โรคข้อเข่าเสื่อม’ ได้จริงหรือ?
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิผลและความปลอดภัยของหัตถการพอกเข่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า หรือโรคข้อเข่าเสื่อม ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สธ. ระบุว่า อาการปวดเข่าจะลดลงเมื่อรับบริการหัตถการพอกเข่าอย่างน้อย 1-5 ครั้ง อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการใช้งานข้อเข่าได้ดีกว่าเดิม และไม่มีอาการพึงประสงค์ตามมา
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยประมาณ 165,217 คน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลกระทบในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกายที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิต รวมไปถึงมีผลกระทบด้านจิตใจ เกิดความวิตกกังวล และยังเป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจด้วย เพราะเป็นโรคที่ต้องรักษานานและมีค่าใช้จ่ายสูง
ภาพจาก: AFP
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tnnthailand.com/news/social/167697/