ดัชนีเชื่อมั่น ปชช. 14 จว.ใต้ ดิ่ง ค่าครองชีพสูงหนี้ครัวเรือนพุ่ง กังวลความโปร่งใสใช้งบ 67
https://www.matichon.co.th/economy/news_4605595
ความเชื่อมั่นประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ต่อรัฐบาล ดิ่งเหว สินค้าอุปโภคปรับตัวสูงขึ้น หนี้สินครัวเรือน พุ่ง ภาคการเกษตรรายได้เดือนละ 6,975 บาทรายได้น้อยมากเทียบกับค่าครองชีพปัจจุบัน เรียกร้องภาครัฐควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค “เผย” โมบายแบงค์กิ้งซ้ำเติมกลุ่มเปราะบาง “วอน” นัการเมืองฝ่ายค้านตรวจสอบการใช้งบ
ผศ.ดร.
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ 420 ตัวอย่าง ในด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือน พ.ค.67 พบว่าปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน เม.ย.
ผศ.ดร.วิวัฒน์ เปิดเผยว่า ที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การลดลงของหนี้สิน การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
“
ปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนต้องปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยประชาชนส่วนหนึ่งเลือกใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและมีราคาถูก เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้เหมาะสมกับรายได้ ส่งผลทำให้การบริโภคในประเทศชะลอตัว”
ผศ.ดร
.วิวัฒน์ เปิดเผยว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีกำลังซื้อจำกัด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนน้อยกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
ผู้จัดการศูนย์วิจัยฯ กล่าวต่อว่า ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ส่วนหนึ่งที่ไม่มีภาระหนี้สิน ยังลดการใช้จ่ายลงเช่นกัน เนื่องจากมองว่าค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศยังมีความไม่แน่นอน จึงเก็บออมเงินไว้ เพื่อใช้จ่ายในยามที่จำเป็น ภาครัฐควรออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
“
ปัจจุบันโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ประชากรที่เป็นผู้สูงอายุเริ่มมีจำนวนที่มากขึ้น ในขณะที่ประชากรที่เป็นวัยแรงงานมีจำนวนน้อยลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่เกิดขึ้น ทำให้ภาระในการหารายได้ในครอบครัวไปตกอยู่กับวัยแรงงานที่มีจำนวนน้อยลง ส่งผลต่อรายได้ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มุ่งเน้นเกษตรกรรม หากแต่แรงงานในภาคการเกษตรจำนวนมากมีรายได้น้อย โดยมีรายได้เฉลี่ยเพียง 6,975 บาทต่อเดือน ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นความท้าทายเร่งด่วนที่ภาครัฐต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ผศ.ดร.วิวัฒน์เปิดเผยว่าจากการสัมภาษณ์ประชาชน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการทยอยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ประชาชนจึงต้องการให้ภาครัฐควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่จำเป็น กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศให้มากขึ้น ต้องการให้ภาครัฐออกโครงการเพื่อช่วยลดค่าครองชีพและกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน อาทิ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
“
ประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับความโปร่งใสและความคุ้มค่าของโครงการภาครัฐที่กำลังดำเนินการ ซึ่งเริ่มมีการเบิกจ่ายโครงการงบประมาณแผ่นดิน ปี 67 เช่น การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนมองว่าเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่น”
ผศ.ดร.
วิวัฒน์เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่านโยบายของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ต้องการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์และธุรกิจสีเทาที่มีจำนวนมากในปัจจุบัน ได้ออกมาตรการที่จะให้ทางธนาคารทำการระงับการใช้โมบายแบงก์กิ้ง สำหรับผู้ที่มีชื่อบัญชีธนาคารไม่ตรงกับชื่อที่จดทะเบียนซิมโทรศัพท์มือถือ มาตรการดังกล่าวทำให้ประชาชนที่มีความบกพร่องทางร่ายกายและสุขภาพ ผู้สูงวัยที่ไม่สะดวกในการเดินทางได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถเดินทางไปเปลี่ยนชื่อซิมโทรศัพท์มือถือได้
“
แก๊งคอลเซ็นเตอร์และกลุ่มธุรกิจสีเทาที่ใช้บัญชีม้าในการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ยังสามารถดำเนินการจ้างผู้ที่เปิดบัญชีม้าไว้ก่อนหน้านี้ ให้เปิดซิมโทรศัพท์มือถือใหม่ เพื่อให้ชื่อในหมายเลขโทรศัพท์มือถือตรงกับชื่อบัญชีม้า ได้จ้างให้ผู้ที่จะมาเปิดบัญชีม้ารายใหม่ให้ทำการเปิดซิมโทรศัพท์มือถือด้วย ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่า มาตรการไม่สามารถแก้ปัญหาบัญชีม้าได้ แต่กลับเป็นการสร้างปัญหาและความไม่สะดวกให้กลุ่มเปราะบาง ที่ใช้โมบายแบงก์กิ้ง แต่ใช้เบอร์โทรศัพท์ของญาติ”
UN ส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทย เผยผู้รายงานพิเศษฯ กังวลโทษจำคุก 50 ปี คดี ม.112 บัสบาส
https://prachatai.com/journal/2024/05/109419
องค์การสหประชาชาติส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทย ระบุผู้รายงานพิเศษฯ รู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่งกับโทษจำคุก 50 ปี ข้อหา ม.112 ในคดีของบัสบาส
31 พ.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา กลไกพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ UN Special
Procedures โดยผู้รายงานพิเศษฯ หลายด้านร่วมกันส่งหนังสือ (Joint Allegation Letter) ถึงรัฐบาลไทยแสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการลงโทษจำคุก 50 ปี ในคดีของ
บัสบาส มงคล ถิระโคตร ภายใต้ประมวกฎหมายอาญา มาตรา 112
กลไกการติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับกฎหมาย ม.112 ของประมวลกฎหมายอาญาไทยมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งหนังสือร่วมของผู้รายงานพิเศษฯ เกี่ยวกับกรณีของ
บัสบาสเป็นการสื่อสารครั้งที่ 9 ที่กลไกพิเศษของสหประชาชาติได้ส่งให้รัฐบาลไทย นับตั้งแต่ปี 2563
“
พวกเรารู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อโทษจำคุก 50 ปีของคุณถิระโคตร ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็น การตอบโต้ต่อกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ของเขา รวมไปถึงการที่เขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย เรากังวลกับสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการคุกคามและการกลั่นแกล้งอย่างเป็นระบบ อันเนื่องมาจากการที่เขาใช้สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ และการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเขา เรายังกังวลว่าในขณะนี้คุณถิระโคตร ยังมีคดีที่สามที่กำลังรอการพิจารณาอยู่ ซึ่งอาจมีโทษหนักอีกด้วย”
กลไกพิเศษของ UN กล่าวว่า โทษจำคุก 50 ปีของบัสบาสเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึง การที่รัฐบาลไทย ใช้มาตรา 112 ในทางที่ผิด (abuse) โดยกีดกันและปิดปาก (deter and silence) นักวิจารณ์ ศัตรูทางการเมือง นักข่าว ภาคประชาสังคม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่ต้องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
หนังสือได้แสดงความกังวลอีกว่า ข้อกล่าวหาต่อ
บัสบาสมีรูปแบบจัดการที่เป็นระบบต่อผู้ที่เห็นต่าง ซึ่งมีลักษณะทั้งการกักขังโดยพลการและการดำเนินคดีทางกฎหมาย
“
การลงโทษที่สูงอย่างมากต่อคุณถิระโคตร สร้างบรรยากาศให้ผู้คนระหวาดระแวงว่าสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแสดงออกทางการเมือง รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์”
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้พิพากษา ในคดีของ
บัสบาส พ่อค้าขายเสื้อผ้าออนไลน์และนักกิจกรรมในจังหวัดเชียงรายวัย 30 ปี ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กรวม 27 โพสต์ เมื่อช่วง มี.ค. และ เม.ย. 2564 ผิด 14 กระทง และศาลยังเห็นว่า บัสบาส มีความผิดในอีก 11 กระทง ในคดีที่ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้ว โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษลงหนึ่งในสาม เหลือจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 22 ปี เมื่อรวมกับโทษจำคุก 28 ปี ในอีก 14 กระทงก่อนหน้านี้
บัสบาสจึงต้องรับโทษจำคุกรวม 50 ปี
วิสุทธิ์ รับมีส.ส.เพื่อไทย ไม่พอใจตั้งวิษณุ จ่อเรียกประชุมเคลียร์ มั่นใจนายกฯคิดดีแล้ว.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4605683
“วิสุทธิ์” รับ มีคนเพื่อไทยไม่พอใจ ตั้ง “วิษณุ” ช่วยงานกฎหมายรัฐบาล แต่มั่นใจ นายกฯคิดดีแล้ว เชื่อ เคลียร์จบในที่ประชุมพรรค
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 นาย
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวว่า มีส.ส.และสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคน ไม่พอใจการแต่งตั้ง นาย
วิษณุ เครืองาม เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยงานด้านกฎหมายของรัฐบาลว่า ก็มีบางคนพูดอยู่ แต่ก็ไม่ได้รุนแรงอะไร มีคนถามว่าทำไมไม่ตั้งคนในพรรค เป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนถูกใจและไม่ถูกใจ เพราะเคยอยู่ฝั่งตรงข้ามกันมาหลายครั้ง มีการวิจารณ์กันบ้าง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักคือ เราต้องใช้ความสามารถของคนที่รู้ หากนายกฯ เป็นคนตั้ง ก็คงมีเหตุผล ตนมองว่า เป็นเรื่องดี ไม่มีอะไรเสียหาย เชื่อว่านายกฯ คิดดีแล้ว แต่ไม่ทราบว่าในอนาคต จะตั้งคนในพรรคมาดูแลเรื่องกฎหมายจริงจังหรือไม่ ทั้งนี้ เชื่อว่าจะทำความเข้าใจกันได้ในที่ประชุมพรรค วันที่ 4 มิถุนายนนี้
JJNY : ดัชนีเชื่อมั่นปชช. 14 จว.ใต้ดิ่ง│UN ส่งหนังสือถึงรบ.│วิสุทธิ์รับมีส.ส.พท.ไม่พอใจตั้งวิษณุ│อินเดียเจออากาศร้อนจัด
https://www.matichon.co.th/economy/news_4605595
ความเชื่อมั่นประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ต่อรัฐบาล ดิ่งเหว สินค้าอุปโภคปรับตัวสูงขึ้น หนี้สินครัวเรือน พุ่ง ภาคการเกษตรรายได้เดือนละ 6,975 บาทรายได้น้อยมากเทียบกับค่าครองชีพปัจจุบัน เรียกร้องภาครัฐควบคุมราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค “เผย” โมบายแบงค์กิ้งซ้ำเติมกลุ่มเปราะบาง “วอน” นัการเมืองฝ่ายค้านตรวจสอบการใช้งบ
ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ 420 ตัวอย่าง ในด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือน พ.ค.67 พบว่าปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน เม.ย.
ผศ.ดร.วิวัฒน์ เปิดเผยว่า ที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การลดลงของหนี้สิน การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
“ปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนต้องปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยประชาชนส่วนหนึ่งเลือกใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและมีราคาถูก เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้เหมาะสมกับรายได้ ส่งผลทำให้การบริโภคในประเทศชะลอตัว”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ เปิดเผยว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีกำลังซื้อจำกัด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนน้อยกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
ผู้จัดการศูนย์วิจัยฯ กล่าวต่อว่า ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ส่วนหนึ่งที่ไม่มีภาระหนี้สิน ยังลดการใช้จ่ายลงเช่นกัน เนื่องจากมองว่าค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศยังมีความไม่แน่นอน จึงเก็บออมเงินไว้ เพื่อใช้จ่ายในยามที่จำเป็น ภาครัฐควรออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
“ปัจจุบันโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ประชากรที่เป็นผู้สูงอายุเริ่มมีจำนวนที่มากขึ้น ในขณะที่ประชากรที่เป็นวัยแรงงานมีจำนวนน้อยลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่เกิดขึ้น ทำให้ภาระในการหารายได้ในครอบครัวไปตกอยู่กับวัยแรงงานที่มีจำนวนน้อยลง ส่งผลต่อรายได้ที่อาจจะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มุ่งเน้นเกษตรกรรม หากแต่แรงงานในภาคการเกษตรจำนวนมากมีรายได้น้อย โดยมีรายได้เฉลี่ยเพียง 6,975 บาทต่อเดือน ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นความท้าทายเร่งด่วนที่ภาครัฐต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
ผศ.ดร.วิวัฒน์เปิดเผยว่าจากการสัมภาษณ์ประชาชน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการทยอยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ประชาชนจึงต้องการให้ภาครัฐควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่จำเป็น กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศให้มากขึ้น ต้องการให้ภาครัฐออกโครงการเพื่อช่วยลดค่าครองชีพและกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน อาทิ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
“ประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับความโปร่งใสและความคุ้มค่าของโครงการภาครัฐที่กำลังดำเนินการ ซึ่งเริ่มมีการเบิกจ่ายโครงการงบประมาณแผ่นดิน ปี 67 เช่น การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ประชาชนมองว่าเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สุ่มเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่น”
ผศ.ดร.วิวัฒน์เปิดเผยว่า ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่านโยบายของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ต้องการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์และธุรกิจสีเทาที่มีจำนวนมากในปัจจุบัน ได้ออกมาตรการที่จะให้ทางธนาคารทำการระงับการใช้โมบายแบงก์กิ้ง สำหรับผู้ที่มีชื่อบัญชีธนาคารไม่ตรงกับชื่อที่จดทะเบียนซิมโทรศัพท์มือถือ มาตรการดังกล่าวทำให้ประชาชนที่มีความบกพร่องทางร่ายกายและสุขภาพ ผู้สูงวัยที่ไม่สะดวกในการเดินทางได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถเดินทางไปเปลี่ยนชื่อซิมโทรศัพท์มือถือได้
“แก๊งคอลเซ็นเตอร์และกลุ่มธุรกิจสีเทาที่ใช้บัญชีม้าในการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ยังสามารถดำเนินการจ้างผู้ที่เปิดบัญชีม้าไว้ก่อนหน้านี้ ให้เปิดซิมโทรศัพท์มือถือใหม่ เพื่อให้ชื่อในหมายเลขโทรศัพท์มือถือตรงกับชื่อบัญชีม้า ได้จ้างให้ผู้ที่จะมาเปิดบัญชีม้ารายใหม่ให้ทำการเปิดซิมโทรศัพท์มือถือด้วย ประชาชนส่วนหนึ่งมองว่า มาตรการไม่สามารถแก้ปัญหาบัญชีม้าได้ แต่กลับเป็นการสร้างปัญหาและความไม่สะดวกให้กลุ่มเปราะบาง ที่ใช้โมบายแบงก์กิ้ง แต่ใช้เบอร์โทรศัพท์ของญาติ”
UN ส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทย เผยผู้รายงานพิเศษฯ กังวลโทษจำคุก 50 ปี คดี ม.112 บัสบาส
https://prachatai.com/journal/2024/05/109419
องค์การสหประชาชาติส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทย ระบุผู้รายงานพิเศษฯ รู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่งกับโทษจำคุก 50 ปี ข้อหา ม.112 ในคดีของบัสบาส
31 พ.ค. 2567 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา กลไกพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ UN Special
Procedures โดยผู้รายงานพิเศษฯ หลายด้านร่วมกันส่งหนังสือ (Joint Allegation Letter) ถึงรัฐบาลไทยแสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการลงโทษจำคุก 50 ปี ในคดีของบัสบาส มงคล ถิระโคตร ภายใต้ประมวกฎหมายอาญา มาตรา 112
กลไกการติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับกฎหมาย ม.112 ของประมวลกฎหมายอาญาไทยมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งหนังสือร่วมของผู้รายงานพิเศษฯ เกี่ยวกับกรณีของบัสบาสเป็นการสื่อสารครั้งที่ 9 ที่กลไกพิเศษของสหประชาชาติได้ส่งให้รัฐบาลไทย นับตั้งแต่ปี 2563
“พวกเรารู้สึกกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อโทษจำคุก 50 ปีของคุณถิระโคตร ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็น การตอบโต้ต่อกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ของเขา รวมไปถึงการที่เขาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย เรากังวลกับสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการคุกคามและการกลั่นแกล้งอย่างเป็นระบบ อันเนื่องมาจากการที่เขาใช้สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ และการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเขา เรายังกังวลว่าในขณะนี้คุณถิระโคตร ยังมีคดีที่สามที่กำลังรอการพิจารณาอยู่ ซึ่งอาจมีโทษหนักอีกด้วย”
กลไกพิเศษของ UN กล่าวว่า โทษจำคุก 50 ปีของบัสบาสเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงถึง การที่รัฐบาลไทย ใช้มาตรา 112 ในทางที่ผิด (abuse) โดยกีดกันและปิดปาก (deter and silence) นักวิจารณ์ ศัตรูทางการเมือง นักข่าว ภาคประชาสังคม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่ต้องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
หนังสือได้แสดงความกังวลอีกว่า ข้อกล่าวหาต่อบัสบาสมีรูปแบบจัดการที่เป็นระบบต่อผู้ที่เห็นต่าง ซึ่งมีลักษณะทั้งการกักขังโดยพลการและการดำเนินคดีทางกฎหมาย
“การลงโทษที่สูงอย่างมากต่อคุณถิระโคตร สร้างบรรยากาศให้ผู้คนระหวาดระแวงว่าสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแสดงออกทางการเมือง รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์”
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้พิพากษา ในคดีของบัสบาส พ่อค้าขายเสื้อผ้าออนไลน์และนักกิจกรรมในจังหวัดเชียงรายวัย 30 ปี ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊กรวม 27 โพสต์ เมื่อช่วง มี.ค. และ เม.ย. 2564 ผิด 14 กระทง และศาลยังเห็นว่า บัสบาส มีความผิดในอีก 11 กระทง ในคดีที่ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้ว โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษลงหนึ่งในสาม เหลือจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 22 ปี เมื่อรวมกับโทษจำคุก 28 ปี ในอีก 14 กระทงก่อนหน้านี้ บัสบาสจึงต้องรับโทษจำคุกรวม 50 ปี
วิสุทธิ์ รับมีส.ส.เพื่อไทย ไม่พอใจตั้งวิษณุ จ่อเรียกประชุมเคลียร์ มั่นใจนายกฯคิดดีแล้ว.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4605683
“วิสุทธิ์” รับ มีคนเพื่อไทยไม่พอใจ ตั้ง “วิษณุ” ช่วยงานกฎหมายรัฐบาล แต่มั่นใจ นายกฯคิดดีแล้ว เชื่อ เคลียร์จบในที่ประชุมพรรค
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวว่า มีส.ส.และสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคน ไม่พอใจการแต่งตั้ง นายวิษณุ เครืองาม เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยงานด้านกฎหมายของรัฐบาลว่า ก็มีบางคนพูดอยู่ แต่ก็ไม่ได้รุนแรงอะไร มีคนถามว่าทำไมไม่ตั้งคนในพรรค เป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนถูกใจและไม่ถูกใจ เพราะเคยอยู่ฝั่งตรงข้ามกันมาหลายครั้ง มีการวิจารณ์กันบ้าง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักคือ เราต้องใช้ความสามารถของคนที่รู้ หากนายกฯ เป็นคนตั้ง ก็คงมีเหตุผล ตนมองว่า เป็นเรื่องดี ไม่มีอะไรเสียหาย เชื่อว่านายกฯ คิดดีแล้ว แต่ไม่ทราบว่าในอนาคต จะตั้งคนในพรรคมาดูแลเรื่องกฎหมายจริงจังหรือไม่ ทั้งนี้ เชื่อว่าจะทำความเข้าใจกันได้ในที่ประชุมพรรค วันที่ 4 มิถุนายนนี้