ตะวัน โพสต์ซึ้งถึง บุ้ง เล่าช่วงเวลาอยู่ด้วยกัน ถามเมื่อไหร่หนูจะตื่นจากฝันร้ายได้สักที
https://www.matichon.co.th/politics/news_4600957
’ตะวัน‘ โพสต์ซึ้งถึง ‘บุ้ง’ เล่าช่วงเวลาอยู่ด้วยกัน บอก เมื่อไหร่จะตื่นจากฝันร้ายได้สักที
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 น.ส.
ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึง น.ส.
เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ
บุ้ง ทะลุวัง โดยมีเนื้อหาระบุว่า
ถึง พี่
บุ้ง
พี่
บุ้งเคยพูดกับหนูว่า “
นี่แหละ เราต้องสู้เพื่อทุกคน ไม่ใช่สู้เพื่อแค่นักโทษการเมือง” พี่บุ้งพูดกับหนูตอนเรานั่งคุยกันถึงเหตุการณ์ที่ผู้คุมทำร้ายร่างกายและด่าทอผู้ต้องขัง เรานั่งคุยกันปนความตลกร้ายว่า ทั้งๆที่เราอดน้ำอดอาหารมาแล้วหลายวัน แต่เรายังมีแรงฮึดลุกขึ้นมาปะทะวาจากับผู้คุมคนนั้น เพื่อช่วยผู้ต้องขัง
น.ส.
ทานตะวัน ระบุต่อว่า มีผู้ต้องขังคนนึงเดินเข้ามาคุยกับเราถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า ทีแรกเขาคิดว่า เราเป็นผู้ต้องขังจิตเวชที่โวยวายเสียงดัง เพราะเขาไม่รู้ว่า เราโวยวายว่าอะไร เพื่ออะไร เราหลุดหัวเราะออกมาที่เขาคิดว่า เราเป็นจิตเวช หลังจากนั้นเรานั่งคุยกับเขาว่า วันนั้นเราโวยวายว่าอะไร เพื่ออะไร และเพื่อใคร จนท้ายที่สุดเขาก็เข้าใจพวกเรา
เช่นเดียวกันกับผู้ต้องขังหลายคนที่ได้คุยกับเราทั้งคู่ เหมือนกับผู้คนในสังคมข้างนอกเลยเนอะพี่
บุ้ง เขาได้ยินแค่ว่าเราโวยวายเสียงดังก้าวร้าว แต่คงต่างกันที่ผู้คนภายนอกโลกกว้างไม่ได้มานั่งคุยกับเราเหมือนผู้ต้องขังภายในโลกที่คับแคบอย่างคุก แต่พี่
บุ้งมักจะพูดเสมอว่า พี่
บุ้งไม่แคร์ว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับพี่บุ้ง พี่
บุ้งสนใจแค่ว่า พี่
บุ้งจะสู้เพื่อทุกคน
น.ส.
ทานตะวัน ระบุอีกว่า ผู้ใหญ่ในประเทศนี้ใจร้ายจังเนอะ คืนหนึ่งหนูผวาหวาดกลัวว่า จะมีคนมาทำร้ายจนความดันขึ้นสูงจากเหตุการณ์ที่เขามาอุ้มพี่บุ้งออกจากรพ.ราชทัณฑ์ กลับไปทัณฑสถานหญิงกลาง คืนนั้นหนูผวาจนความดันขึ้นสูง ส่วนพี่บุ้งอ้วกเป็นเลือด และอ้วกเป็นเลือดอยู่เป็นอาทิตย์ กว่าเขาจะส่งตัวพี่บุ้งกลับไปรพ.ราชทัณฑ์ และกว่าเขาจะส่งตัวพี่
บุ้งไปรพ.ธรรมศาสตร์ จนแล้วจนเล่า เขาก็ยังใจร้ายกับเราไม่หยุด เขาเอาพี่บุ้งกลับจากรพ.ธรรมศาสตร์ไปรพ.ราชทัณฑ์ ทั้งๆที่อาการและผลเลือดพี่บุ้งยังไม่ได้ปกติเลย หนูขอ กลับไปสู้กับพี่
บุ้ง ที่รพ.ราชทัณฑ์ พี่บุ้งบอกหนูว่า พี่
บุ้งไม่อยากให้หนูตามกลับมาเลย เพราะมันทั้งร้อน และลำบาก แต่เราสู้มาด้วยกันไงพี่
บุ้ง ร้อนก็ต้องร้อนด้วยกัน ลำบากก็ต้องลำบากด้วยกันสิ
”
มีอยู่วันนึงหนูหยิบสมุดของพี่บุ้ง แล้วก็เหลือบไปเห็นข้อความที่พี่บุ้งเขียนไว้ในสมุดว่า เมื่อใดที่เราหยุดสู้เพื่อคนอื่น คือช่วงเวลาที่เราสูญสิ้นความเป็นมนุษย์ไปแล้ว หนูยิ่งมั่นใจว่า พี่บุ้งเป็นพี่บุ้งที่สู้เพื่อคนอื่นมาเสมอ แค่ 3 เดือนกว่าเอง มันกลับเหมือนฝันร้ายที่ยาวนานเลย แต่ความเป็นจริงที่พี่บุ้งไม่อยู่แล้ว มันตอกย้ำกับหนูว่า มันไม่ใช่แค่ฝันร้าย หลายครั้งที่หนูตื่นมาแล้วเข้าใจว่าพี่บุ้งยังอยู่ แต่ก็ต้องจบลงด้วยการต้องมานั่งทบทวนและยอมรับความเป็นจริงว่าพี่บุ้งไม่อยู่แล้ว แล้วเมื่อไหร่หนูจะตื่นจากฝันร้ายนี้ได้สักที“ น.ส.
ทานตะวัน ระบุ
ไอลอว์ เผยผู้สมัครส.ว. ถูกตัดสิทธิ แม้ลาออกจากพรรค จี้ กกต.แก้ปัญหาระบบฐานข้อมูล
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4601037
ไอลอว์ เผยผู้สมัครส.ว. ถูกตัดสิทธิ แม้ลาออกจากพรรค จี้ กกต.แก้ปัญหาระบบฐานข้อมูล
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “iLaw” โพสต์ข้อความระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่รายชื่อผู้สมัครสมาชิกกวุฒิสภาที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม โดยพบว่ามีผู้สมัครจำนวน 2,021 คนถูกตัดสิทธิเนื่องจากขาดคุณสมบัติ โดยหนึ่งสาเหตุหลักคือการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งมีถึง 1,402 คนที่ กกต. ลบชื่อผู้สมัครไปเพราะยังมีสถานะสมาชิกพรรคก่อนการสมัคร ส.ว.
อย่างไรก็ดี พบว่ามีผู้สมัคร ส.ว. หลายคนที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองก่อนยื่นใบสมัคร ส.ว. แล้ว แต่ก็ยังโดน กกต. ตัดสิทธิ การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ว. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 (พ.ร.ป.สว. ฯ) ทั้งนี้ ประชาชนยังสามารถสมัคร ส.ว. ได้หากดำเนินการลาออกก่อนการยื่นใบสมัครโดยไม่ต้องมีระยะเวลาเว้นวรรค
ผู้สมัครสามารถลาออกจากพรรคได้ทั้งกับ กกต. หรือพรรคการเมือง โดยสถานะสมาชิกพรรคจะสิ้นสุดทันทีเมื่อนายทะเบียนหรือนายทะเบียนสมาชิกได้รับใบลาออกแล้ว ดังนั้น หากการดำเนินการถูกต้อง ผู้สมัครสามารถลาออกก่อนการสมัคร ส.ว. เพียงหนึ่งวันก็ได้ แต่ก็ยังพบกรณีที่ลาออกแล้วแต่ยังโดนตัดสิทธิ เช่น ผู้สมัครคนหนึ่งลาออกจากพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 โดยสถานะลาออกแสดงผลแล้วในระบบตรวจสอบสมาชิกพรรคของ กกต. และสมัคร ส.ว. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ที่จังหวัดสมุทรปราการ
ปัญหาของผู้สมัครถูกตัดสิทธิทั้งที่ลาออกจากพรรคการเมืองก่อนแล้วอาจจะเป็นได้หลายเหตุผล อาจจะเป็นเพราะระบบของ กกต. อับเดตข้อมูลการลาออกไม่ทัน หรือนายทะเบียนของพรรคการเมืองใช้เวลานานในการรายงานการลาออกกับ กกต. (ระยะเวลาสูงสุดคือเจ็ดวัน) หรือการตรวจสอบตกหล่น
กกต. จึงต้องหาทางออกให้กับผู้สมัครที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวให้เร็วที่สุด โดยอาจจะเป็นการตรวจสอบสถานะสมาชิกพรรคอีกครั้งหนึ่งเมื่อระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองอับเดตถึงล่าสุดแล้ว
สำหรับผู้สมัครที่เผชิญปัญหาโดนตัดสิทธิสมัคร ส.ว. ต้องไปร้องทวงสิทธิกับศาลฎีกาภายในสามวันหรือถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2567 เท่านั้น สามารถดูวิธีการร้องกับศาลฎีกาได้ที่
https://www.ilaw.or.th/articles/38142 หรือโทรติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์WeWatch 02-114-3189
เยาวลักษ์ x ศศินันท์ ศูนย์ทนายหัวแข็ง? 10 ปีวิสามัญยุติธรรม รายการประชาธิปไตย 2 สี โดย ใบตองแห้ง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4600854
รายการ ประชาธิปไตย 2 สี :
อธึกกิต แสวงสุข หรือ ใบตองแห้ง EP.9 สัมภาษณ์พิเศษ ทนาย
แจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ส.ส.พรรคก้าวไกล x
เยาวลักษ์ อนุพันธ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ประเด็นศูนย์ทนายหัวแข็ง? 10 ปีวิสามัญยุติธรรม
ภาคยานยนต์ระส่ำ ยอดผลิต-ขาย ร่วง เป็นรองมาเลเซีย ผู้ซื้อกว่าครึ่งถูกปฏิเสธสินเชื่อ
https://www.matichon.co.th/economy/auto/news_4600792
ภาคยานยนต์ระส่ำ ยอดผลิต-ขาย ร่วง เป็นรองมาเลเซีย ผู้ซื้อกว่าครึ่งถูกปฏิเสธสินเชื่อ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นาย
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกับ “มติชนออนไลน์” ถึงกรณีกระแสข่าว ค่ายรถยนต์ SUBARU จากประเทศญี่ปุ่น เตรียมหยุดผลิตรถยนต์ในไทย 30 ธันวาคม 2567 ว่า ต้องขอตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง โดย SUBARU เป็นสมาชิกของอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. น่าจะมีรายละเอียดทางการในเร็วๆนี้ ส่วนตัวมองว่าแบรนด์ได้รับความนิยมและได้รับคำชมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเรื่องความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้ต่างชื่นชอบ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยไม่สู้ดีนัก ยอดผลิตและยอดขายตกลงไปมาก สาเหตุหลักจากปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ บวกกับประชาชนต้องเจอกับต้นทุนดอกเบี้ยสูง ต้นทุนการเงิน อาทิ อัตราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 8% ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ไฟแนนซ์มีความกังวลจึงเข้มงวดเรื่องสินเชื่อ ทำให้ปัจจุบันยอดสินเชื่อรถยนต์ถูกปฏิเสธสูงถึง 50% หมายถึงครึ่งหนึ่งของผู้ต้องการซื้อรถถูกปฏิเสธ
ตัวเลขการถูกปฏิเสธสินเชื่อรถยนต์ปัจจุบันเป็นระดับเดียวกับตัวเลขการถูกปฏิเสธสินเชื่อบ้าน แต่ที่ผ่านมาภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับการดูแลเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว ผ่านมาตรการอสังหาฯครั้งใหญ่ แต่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ที่รัฐบาลสนับสนุนอยู่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ผ่านส่วนลดหลักแสนบาทต่อคัน แต่กลุ่มรถยนต์สันดาปภายในยังไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนอกจากกระทบค่ายรถยนต์แล้ว ยังกระทบกับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดซัพพลายเชน ทั้งอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมหนัง อุตสาหกรรมกระจก ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีแรงงานในระบบประมาณ 7.5-8 แสนคน ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของไทย เห็นได้จากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(เอ็มพีไอ) ลดลงต่อเนื่อง สาเหตุหลักก็มาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ลดลงอย่างมาก
และทำให้อันดับยอดขายรถยนต์ในประเทศของไทยตกลงไปเป็นอันดับ 3 รองจากมาเลเซีย จากที่ไทยเป็นอันดับ 2 มาตลอด ตัวเลขนี้สะท้อนการเติบโตของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ซึ่งมาเลเซียช่วงปี 2563 มียอดขายรถยนต์ในประเทศประมาณ 5 แสนคัน ขณะที่ไทยมียอดขาย 9 แสนคัน ถึง 1 ล้านคัน แต่ปีนี้ ยอดสะสมช่วงไตรมาสแรก มาเลเซียขึ้นมาระดับ 7 แสนคัน ขณะที่ไทยลดลงเหลือระดับ 7 แสนคัน แต่มาเลเซียยอดสุทธิสูงกว่า
จากสถานการณ์ภาพรวมทั้งหมด ทั้งปัญหาหนี้ และกำลังซื้อไม่ฟื้น หากไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ฟื้นตัว อาจทำให้ค่ายรถยนต์ปรับแผน ชะลอการลงทุนเพื่อดูทิศทาง
JJNY : ตะวันโพสต์ซึ้งถึงบุ้ง│ไอลอว์จี้กกต.แก้ปัญหา│ศูนย์ทนายหัวแข็ง? 10ปีวิสามัญยุติธรรม│ภาคยานยนต์ระส่ำ│เวียดนามเกินดุล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4600957
’ตะวัน‘ โพสต์ซึ้งถึง ‘บุ้ง’ เล่าช่วงเวลาอยู่ด้วยกัน บอก เมื่อไหร่จะตื่นจากฝันร้ายได้สักที
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึง น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง โดยมีเนื้อหาระบุว่า
ถึง พี่บุ้ง
พี่บุ้งเคยพูดกับหนูว่า “นี่แหละ เราต้องสู้เพื่อทุกคน ไม่ใช่สู้เพื่อแค่นักโทษการเมือง” พี่บุ้งพูดกับหนูตอนเรานั่งคุยกันถึงเหตุการณ์ที่ผู้คุมทำร้ายร่างกายและด่าทอผู้ต้องขัง เรานั่งคุยกันปนความตลกร้ายว่า ทั้งๆที่เราอดน้ำอดอาหารมาแล้วหลายวัน แต่เรายังมีแรงฮึดลุกขึ้นมาปะทะวาจากับผู้คุมคนนั้น เพื่อช่วยผู้ต้องขัง
น.ส.ทานตะวัน ระบุต่อว่า มีผู้ต้องขังคนนึงเดินเข้ามาคุยกับเราถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า ทีแรกเขาคิดว่า เราเป็นผู้ต้องขังจิตเวชที่โวยวายเสียงดัง เพราะเขาไม่รู้ว่า เราโวยวายว่าอะไร เพื่ออะไร เราหลุดหัวเราะออกมาที่เขาคิดว่า เราเป็นจิตเวช หลังจากนั้นเรานั่งคุยกับเขาว่า วันนั้นเราโวยวายว่าอะไร เพื่ออะไร และเพื่อใคร จนท้ายที่สุดเขาก็เข้าใจพวกเรา
เช่นเดียวกันกับผู้ต้องขังหลายคนที่ได้คุยกับเราทั้งคู่ เหมือนกับผู้คนในสังคมข้างนอกเลยเนอะพี่บุ้ง เขาได้ยินแค่ว่าเราโวยวายเสียงดังก้าวร้าว แต่คงต่างกันที่ผู้คนภายนอกโลกกว้างไม่ได้มานั่งคุยกับเราเหมือนผู้ต้องขังภายในโลกที่คับแคบอย่างคุก แต่พี่บุ้งมักจะพูดเสมอว่า พี่บุ้งไม่แคร์ว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับพี่บุ้ง พี่บุ้งสนใจแค่ว่า พี่บุ้งจะสู้เพื่อทุกคน
น.ส.ทานตะวัน ระบุอีกว่า ผู้ใหญ่ในประเทศนี้ใจร้ายจังเนอะ คืนหนึ่งหนูผวาหวาดกลัวว่า จะมีคนมาทำร้ายจนความดันขึ้นสูงจากเหตุการณ์ที่เขามาอุ้มพี่บุ้งออกจากรพ.ราชทัณฑ์ กลับไปทัณฑสถานหญิงกลาง คืนนั้นหนูผวาจนความดันขึ้นสูง ส่วนพี่บุ้งอ้วกเป็นเลือด และอ้วกเป็นเลือดอยู่เป็นอาทิตย์ กว่าเขาจะส่งตัวพี่บุ้งกลับไปรพ.ราชทัณฑ์ และกว่าเขาจะส่งตัวพี่บุ้งไปรพ.ธรรมศาสตร์ จนแล้วจนเล่า เขาก็ยังใจร้ายกับเราไม่หยุด เขาเอาพี่บุ้งกลับจากรพ.ธรรมศาสตร์ไปรพ.ราชทัณฑ์ ทั้งๆที่อาการและผลเลือดพี่บุ้งยังไม่ได้ปกติเลย หนูขอ กลับไปสู้กับพี่บุ้ง ที่รพ.ราชทัณฑ์ พี่บุ้งบอกหนูว่า พี่บุ้งไม่อยากให้หนูตามกลับมาเลย เพราะมันทั้งร้อน และลำบาก แต่เราสู้มาด้วยกันไงพี่บุ้ง ร้อนก็ต้องร้อนด้วยกัน ลำบากก็ต้องลำบากด้วยกันสิ
”มีอยู่วันนึงหนูหยิบสมุดของพี่บุ้ง แล้วก็เหลือบไปเห็นข้อความที่พี่บุ้งเขียนไว้ในสมุดว่า เมื่อใดที่เราหยุดสู้เพื่อคนอื่น คือช่วงเวลาที่เราสูญสิ้นความเป็นมนุษย์ไปแล้ว หนูยิ่งมั่นใจว่า พี่บุ้งเป็นพี่บุ้งที่สู้เพื่อคนอื่นมาเสมอ แค่ 3 เดือนกว่าเอง มันกลับเหมือนฝันร้ายที่ยาวนานเลย แต่ความเป็นจริงที่พี่บุ้งไม่อยู่แล้ว มันตอกย้ำกับหนูว่า มันไม่ใช่แค่ฝันร้าย หลายครั้งที่หนูตื่นมาแล้วเข้าใจว่าพี่บุ้งยังอยู่ แต่ก็ต้องจบลงด้วยการต้องมานั่งทบทวนและยอมรับความเป็นจริงว่าพี่บุ้งไม่อยู่แล้ว แล้วเมื่อไหร่หนูจะตื่นจากฝันร้ายนี้ได้สักที“ น.ส.ทานตะวัน ระบุ
ไอลอว์ เผยผู้สมัครส.ว. ถูกตัดสิทธิ แม้ลาออกจากพรรค จี้ กกต.แก้ปัญหาระบบฐานข้อมูล
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4601037
ไอลอว์ เผยผู้สมัครส.ว. ถูกตัดสิทธิ แม้ลาออกจากพรรค จี้ กกต.แก้ปัญหาระบบฐานข้อมูล
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “iLaw” โพสต์ข้อความระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่รายชื่อผู้สมัครสมาชิกกวุฒิสภาที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม โดยพบว่ามีผู้สมัครจำนวน 2,021 คนถูกตัดสิทธิเนื่องจากขาดคุณสมบัติ โดยหนึ่งสาเหตุหลักคือการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งมีถึง 1,402 คนที่ กกต. ลบชื่อผู้สมัครไปเพราะยังมีสถานะสมาชิกพรรคก่อนการสมัคร ส.ว.
อย่างไรก็ดี พบว่ามีผู้สมัคร ส.ว. หลายคนที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองก่อนยื่นใบสมัคร ส.ว. แล้ว แต่ก็ยังโดน กกต. ตัดสิทธิ การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ว. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 (พ.ร.ป.สว. ฯ) ทั้งนี้ ประชาชนยังสามารถสมัคร ส.ว. ได้หากดำเนินการลาออกก่อนการยื่นใบสมัครโดยไม่ต้องมีระยะเวลาเว้นวรรค
ผู้สมัครสามารถลาออกจากพรรคได้ทั้งกับ กกต. หรือพรรคการเมือง โดยสถานะสมาชิกพรรคจะสิ้นสุดทันทีเมื่อนายทะเบียนหรือนายทะเบียนสมาชิกได้รับใบลาออกแล้ว ดังนั้น หากการดำเนินการถูกต้อง ผู้สมัครสามารถลาออกก่อนการสมัคร ส.ว. เพียงหนึ่งวันก็ได้ แต่ก็ยังพบกรณีที่ลาออกแล้วแต่ยังโดนตัดสิทธิ เช่น ผู้สมัครคนหนึ่งลาออกจากพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 โดยสถานะลาออกแสดงผลแล้วในระบบตรวจสอบสมาชิกพรรคของ กกต. และสมัคร ส.ว. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ที่จังหวัดสมุทรปราการ
ปัญหาของผู้สมัครถูกตัดสิทธิทั้งที่ลาออกจากพรรคการเมืองก่อนแล้วอาจจะเป็นได้หลายเหตุผล อาจจะเป็นเพราะระบบของ กกต. อับเดตข้อมูลการลาออกไม่ทัน หรือนายทะเบียนของพรรคการเมืองใช้เวลานานในการรายงานการลาออกกับ กกต. (ระยะเวลาสูงสุดคือเจ็ดวัน) หรือการตรวจสอบตกหล่น
กกต. จึงต้องหาทางออกให้กับผู้สมัครที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวให้เร็วที่สุด โดยอาจจะเป็นการตรวจสอบสถานะสมาชิกพรรคอีกครั้งหนึ่งเมื่อระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองอับเดตถึงล่าสุดแล้ว
สำหรับผู้สมัครที่เผชิญปัญหาโดนตัดสิทธิสมัคร ส.ว. ต้องไปร้องทวงสิทธิกับศาลฎีกาภายในสามวันหรือถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2567 เท่านั้น สามารถดูวิธีการร้องกับศาลฎีกาได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/38142 หรือโทรติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์WeWatch 02-114-3189
เยาวลักษ์ x ศศินันท์ ศูนย์ทนายหัวแข็ง? 10 ปีวิสามัญยุติธรรม รายการประชาธิปไตย 2 สี โดย ใบตองแห้ง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4600854
รายการ ประชาธิปไตย 2 สี : อธึกกิต แสวงสุข หรือ ใบตองแห้ง EP.9 สัมภาษณ์พิเศษ ทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ส.ส.พรรคก้าวไกล x เยาวลักษ์ อนุพันธ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ประเด็นศูนย์ทนายหัวแข็ง? 10 ปีวิสามัญยุติธรรม
ภาคยานยนต์ระส่ำ ยอดผลิต-ขาย ร่วง เป็นรองมาเลเซีย ผู้ซื้อกว่าครึ่งถูกปฏิเสธสินเชื่อ
https://www.matichon.co.th/economy/auto/news_4600792
ภาคยานยนต์ระส่ำ ยอดผลิต-ขาย ร่วง เป็นรองมาเลเซีย ผู้ซื้อกว่าครึ่งถูกปฏิเสธสินเชื่อ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกับ “มติชนออนไลน์” ถึงกรณีกระแสข่าว ค่ายรถยนต์ SUBARU จากประเทศญี่ปุ่น เตรียมหยุดผลิตรถยนต์ในไทย 30 ธันวาคม 2567 ว่า ต้องขอตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง โดย SUBARU เป็นสมาชิกของอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. น่าจะมีรายละเอียดทางการในเร็วๆนี้ ส่วนตัวมองว่าแบรนด์ได้รับความนิยมและได้รับคำชมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเรื่องความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้ต่างชื่นชอบ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยไม่สู้ดีนัก ยอดผลิตและยอดขายตกลงไปมาก สาเหตุหลักจากปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ บวกกับประชาชนต้องเจอกับต้นทุนดอกเบี้ยสูง ต้นทุนการเงิน อาทิ อัตราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 8% ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ไฟแนนซ์มีความกังวลจึงเข้มงวดเรื่องสินเชื่อ ทำให้ปัจจุบันยอดสินเชื่อรถยนต์ถูกปฏิเสธสูงถึง 50% หมายถึงครึ่งหนึ่งของผู้ต้องการซื้อรถถูกปฏิเสธ
ตัวเลขการถูกปฏิเสธสินเชื่อรถยนต์ปัจจุบันเป็นระดับเดียวกับตัวเลขการถูกปฏิเสธสินเชื่อบ้าน แต่ที่ผ่านมาภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับการดูแลเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว ผ่านมาตรการอสังหาฯครั้งใหญ่ แต่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ที่รัฐบาลสนับสนุนอยู่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ผ่านส่วนลดหลักแสนบาทต่อคัน แต่กลุ่มรถยนต์สันดาปภายในยังไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนอกจากกระทบค่ายรถยนต์แล้ว ยังกระทบกับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตลอดซัพพลายเชน ทั้งอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมหนัง อุตสาหกรรมกระจก ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีแรงงานในระบบประมาณ 7.5-8 แสนคน ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของไทย เห็นได้จากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(เอ็มพีไอ) ลดลงต่อเนื่อง สาเหตุหลักก็มาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ลดลงอย่างมาก
และทำให้อันดับยอดขายรถยนต์ในประเทศของไทยตกลงไปเป็นอันดับ 3 รองจากมาเลเซีย จากที่ไทยเป็นอันดับ 2 มาตลอด ตัวเลขนี้สะท้อนการเติบโตของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ซึ่งมาเลเซียช่วงปี 2563 มียอดขายรถยนต์ในประเทศประมาณ 5 แสนคัน ขณะที่ไทยมียอดขาย 9 แสนคัน ถึง 1 ล้านคัน แต่ปีนี้ ยอดสะสมช่วงไตรมาสแรก มาเลเซียขึ้นมาระดับ 7 แสนคัน ขณะที่ไทยลดลงเหลือระดับ 7 แสนคัน แต่มาเลเซียยอดสุทธิสูงกว่า
จากสถานการณ์ภาพรวมทั้งหมด ทั้งปัญหาหนี้ และกำลังซื้อไม่ฟื้น หากไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ฟื้นตัว อาจทำให้ค่ายรถยนต์ปรับแผน ชะลอการลงทุนเพื่อดูทิศทาง