ศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ปรากฎการณ์นักตบลูกยางสาวไทย ปัญหา ทางออก”
สืบเนื่องจากการที่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงรายการเนชั่นลีกส์ 2024 พบว่าผลงานในสัปดาห์แรกยังไม่เข้าตาแฟนๆมากนัก ประกอบกับมีกระแสที่เกี่ยวข้องตามมาในหลากหลายมิติ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสะท้อนมุมมองของประชาชนในมิติที่เกี่ยวกับความหวังและความสำเร็จของทีมชาติไทยสำหรับการเข้าร่วมแข่งขันรายการนี้ต่อไป
สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2567 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจข่าวสารทางการกีฬาซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,186 คนโดยแบ่งเป็นเพศชาย 673 คน คิดเป็นร้อยละ 56.75 เพศหญิง 513 คน คิดเป็นร้อยละ 43.25 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆโดยภาพรวมพบว่า
พัฒนาการของทีมชาติไทยกับการแข่งขันในสัปดาห์แรก ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.20 ต้องปรับปรุงแก้ไข รองลงมาร้อยละ 25.90 ถดถอย ร้อยละ 23.40 คงเดิม และร้อยละ 15.50 ดีขึ้น
โอกาสของความสำเร็จสำหรับการแข่งขันในสัปดาห์ต่อไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 25.90 มีโอกาสค่อนข้างน้อย รองลงมาร้อยละ 22.70 มีโอกาสค่อนข้างมาก ร้อยละ 18.30 มีโอกาสมาก ร้อยละ 14.50 มีโอกาสน้อย ร้อยละ 10.10 ไม่มีมีโอกาสเลย และร้อยละ 8.50 ไม่แน่ใจ
ปัจจัยหรือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของทีมชาติไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 28.60 ศักยภาพและความสามารถของหัวหน้าผู้ฝึกสอน รองลงมาร้อยละ 24.10 ศักยภาพและความสามารถนักกีฬา ร้อยละ 18.60 ระยะเวลาในการเตรียมทีม ร้อยละ 13.70 ศักยภาพและความสามารถของคู่แข่งขัน ร้อยละ12.40 การบริหารจัดการของสมาคมฯ และอื่นๆร้อยละ 2.60
ผู้รับผิดชอบกับผลงานที่ไม่เข้าตาประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.90 หัวหน้าผู้ฝึกสอนและทีมงาน รองลงมาร้อยละ 28.50 นายกสมาคม ร้อยละ18.60 ฝ่ายพัฒนาเทคนิค ร้อยละ 12.10 นักกีฬา ร้อยละ 6.50 สภากรรมการฯ และอื่นๆร้อยละ1.40
ข้อเสนอแนะหรือทางออกสำหรับความสำเร็จของทีมชาติไทย อันดับหนึ่ง ร้อยละ 86.00 เสนอให้เปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอน อันดับสอง ร้อยละ 80.50 จ้างผู้ฝึกสอนต่างชาติมาทำทีม อันดับสาม ร้อยละ 75.20 เตรียมทีมในระยะเวลาที่เหมาะสม อันดับสี่ ร้อยละ 72.90 เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับนักกีฬา อันดับห้า ร้อยละ 68.30 ปรับปรุงการบริหารของสมาคม
ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร กล่าวเพิ่มเติมว่าจากการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่าถึงแม้ผลงานการแข่งขันของทีมชาติไทยในสัปดาห์แรกไม่เป็นที่ประทับใจของแฟนกีฬามากนัก และเมื่อผนวกกับการที่กลุ่มตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการของทีมต้องปรับปรุงแก้ไขก็สอดคล้องกับมุมมองที่แฟนกีฬาเห็นว่าโอกาสในความสำเร็จมีค่อนข้างน้อย ขณะเดียวกันถ้าวิเคราะห์ในมิติที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะหรือทางออกสำหรับการแสวงหาแนวทางเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของทีมภายใต้มุมมองและเสียงสะท้อนของแฟนกีฬาโดยเฉพาะข้อเสนอที่เกี่ยวกับหัวหน้าผู้ฝึกสอน และผู้ที่สมควรรับผิดชอบกับผลงานที่ไม่เข้าตาประชาชนนั้นหากสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฟังความรอบด้านและนำปัญหาไปปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะประเด็นที่แฟนกีฬาต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการกีฬาวอลเลย์บอลโดยรวม
00000....
https://www.pptvhd36.com/sport/news/224717
ศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ เผยผลสำรวจ ข้อเสนอทางออกสำหรับความสำเร็จ ร้อยละ 86.00 เสนอให้เปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอน
ศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ปรากฎการณ์นักตบลูกยางสาวไทย ปัญหา ทางออก”
สืบเนื่องจากการที่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงรายการเนชั่นลีกส์ 2024 พบว่าผลงานในสัปดาห์แรกยังไม่เข้าตาแฟนๆมากนัก ประกอบกับมีกระแสที่เกี่ยวข้องตามมาในหลากหลายมิติ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสะท้อนมุมมองของประชาชนในมิติที่เกี่ยวกับความหวังและความสำเร็จของทีมชาติไทยสำหรับการเข้าร่วมแข่งขันรายการนี้ต่อไป
สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2567 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจข่าวสารทางการกีฬาซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,186 คนโดยแบ่งเป็นเพศชาย 673 คน คิดเป็นร้อยละ 56.75 เพศหญิง 513 คน คิดเป็นร้อยละ 43.25 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆโดยภาพรวมพบว่า
พัฒนาการของทีมชาติไทยกับการแข่งขันในสัปดาห์แรก ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.20 ต้องปรับปรุงแก้ไข รองลงมาร้อยละ 25.90 ถดถอย ร้อยละ 23.40 คงเดิม และร้อยละ 15.50 ดีขึ้น
โอกาสของความสำเร็จสำหรับการแข่งขันในสัปดาห์ต่อไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 25.90 มีโอกาสค่อนข้างน้อย รองลงมาร้อยละ 22.70 มีโอกาสค่อนข้างมาก ร้อยละ 18.30 มีโอกาสมาก ร้อยละ 14.50 มีโอกาสน้อย ร้อยละ 10.10 ไม่มีมีโอกาสเลย และร้อยละ 8.50 ไม่แน่ใจ
ปัจจัยหรือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของทีมชาติไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 28.60 ศักยภาพและความสามารถของหัวหน้าผู้ฝึกสอน รองลงมาร้อยละ 24.10 ศักยภาพและความสามารถนักกีฬา ร้อยละ 18.60 ระยะเวลาในการเตรียมทีม ร้อยละ 13.70 ศักยภาพและความสามารถของคู่แข่งขัน ร้อยละ12.40 การบริหารจัดการของสมาคมฯ และอื่นๆร้อยละ 2.60
ผู้รับผิดชอบกับผลงานที่ไม่เข้าตาประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.90 หัวหน้าผู้ฝึกสอนและทีมงาน รองลงมาร้อยละ 28.50 นายกสมาคม ร้อยละ18.60 ฝ่ายพัฒนาเทคนิค ร้อยละ 12.10 นักกีฬา ร้อยละ 6.50 สภากรรมการฯ และอื่นๆร้อยละ1.40
ข้อเสนอแนะหรือทางออกสำหรับความสำเร็จของทีมชาติไทย อันดับหนึ่ง ร้อยละ 86.00 เสนอให้เปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอน อันดับสอง ร้อยละ 80.50 จ้างผู้ฝึกสอนต่างชาติมาทำทีม อันดับสาม ร้อยละ 75.20 เตรียมทีมในระยะเวลาที่เหมาะสม อันดับสี่ ร้อยละ 72.90 เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับนักกีฬา อันดับห้า ร้อยละ 68.30 ปรับปรุงการบริหารของสมาคม
ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร กล่าวเพิ่มเติมว่าจากการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่าถึงแม้ผลงานการแข่งขันของทีมชาติไทยในสัปดาห์แรกไม่เป็นที่ประทับใจของแฟนกีฬามากนัก และเมื่อผนวกกับการที่กลุ่มตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการของทีมต้องปรับปรุงแก้ไขก็สอดคล้องกับมุมมองที่แฟนกีฬาเห็นว่าโอกาสในความสำเร็จมีค่อนข้างน้อย ขณะเดียวกันถ้าวิเคราะห์ในมิติที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะหรือทางออกสำหรับการแสวงหาแนวทางเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของทีมภายใต้มุมมองและเสียงสะท้อนของแฟนกีฬาโดยเฉพาะข้อเสนอที่เกี่ยวกับหัวหน้าผู้ฝึกสอน และผู้ที่สมควรรับผิดชอบกับผลงานที่ไม่เข้าตาประชาชนนั้นหากสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฟังความรอบด้านและนำปัญหาไปปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะประเด็นที่แฟนกีฬาต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการกีฬาวอลเลย์บอลโดยรวม
00000.... https://www.pptvhd36.com/sport/news/224717