ชัยธวัช นำเปิดเวทีฝ่ายค้านพบปชช. สงขลา ชี้ 3 ล็อก ทำศก.ใต้ โตต่ำกว่าภาคอื่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4594452
ชัยธวัช นำเปิดเวทีฝ่ายค้านพบปชช. สงขลา ชี้ 3 ล็อก ทำศก.ใต้ โตต่ำกว่าภาคอื่น-ชะงักงันข้ามทศวรรษ ชงรื้อโครงสร้างแก้ทั้งระบบ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จ.สงขลา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ร่วมเปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีทั้งตัวแทนจากภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานราชการ ร่วมเวทีในวันนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เวทีช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยการกล่าวปาฐกถาของนายชัยธวัช ในหัวข้อ “
3 ล็อกเศรษฐกิจภาคใต้” จากนั้นนาย
ชัยธวัช และคณะร่วมกันลงพื้นที่รับฟังปัญหาประชาชนรอบบริเวณทะเลสาบสงขลาในช่วงเย็น
โดยนาย
ชัยธวัชกล่าวปาฐกถา หัวข้อ “
3 ล็อกเศรษฐกิจภาคใต้” ว่า ล็อกที่หนึ่ง เมื่อดูข้อมูลภาพรวมรายได้ของภาคใต้ จะเห็นว่ามีอัตราเติบโตน้อยและถดถอยลงตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา โดยเพิ่มขึ้นช้ากว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ค่าเฉลี่ยรายได้จากที่เคยสูงก็ต่ำลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีแล้ว การเติบโตของรายได้ในภาคใต้กระจุกตัวอยู่แค่ไม่กี่จังหวัด บางจังหวัดก็จนลงด้วย ศักยภาพในการสร้างมูลค่าและรายได้ต่อหัวเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2554 ภาคใต้เคยคิดเป็น 77% แต่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2565 เหลือแค่ 57% และหากดูรายจังหวัดก็จะเห็นได้ว่าจีดีพีต่อหัวไม่เพิ่มขึ้นเลย และมีเพียงสามจังหวัดเท่านั้นที่โตเกิน 2% คือภูเก็ต ชุมพร และพังงา
ล็อกที่สองคือด้านอาชีพ ภาคใต้ในช่วงหลังพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่วนเครื่องยนต์อื่นๆ แทบไม่โตเลยในภาพรวม ภาคใต้ไม่มีอย่างอื่นโตเลยนอกจากการท่องเที่ยวซึ่งมีความผันผวนง่าย เศรษฐกิจหลังโควิดภาคใต้ก็ยังโตช้าเมื่อเทียบกับภาคอื่น ส่วนล็อกที่สามคือคุณภาพชีวิต จะเห็นว่าสัดส่วนครัวเรือนยากจนยังสูง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะความเหลื่อมล้ำในระยะยาวได้ ไม่มีงานให้ทำมากพอ อัตราอาชญากรรมก็สูงกว่าค่าเฉลี่ย สัดส่วนประชากรยากจนก็สูง ครัวเรือนในภาคใต้ที่มีความเสี่ยงกับภัยพิบัติก็สูงกว่าภาพรวมของทั้งประเทศ
นาย
ชัยธวัชกล่าวต่อว่า เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นในภาคเกษตร การท่องเที่ยวอุตสาหกรรม อยู่ในสภาวะที่ควรตั้งคำถามว่าจะไปอย่างไรต่อ ในภาคเกษตรแม้จะมีการเปลี่ยนสัดส่วนผลผลิต แต่มูลค่าผลผลิตโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง การท่องเที่ยวก็ยังฟื้นตัวช้า ที่ฟื้นตัวเร็วได้แค่ไม่กี่จังหวัดเท่านั้น นักท่องเที่ยวกลับมาปริมาณมากขึ้นแต่การจับจ่ายใช้สอยไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทย ทำให้ต้องพึ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นอีก ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศตอนนี้ก็กลับมาแค่ประมาณ 71% ของช่วงก่อนโควิดเท่านั้น โจทย์ใหญ่ของการท่องเที่ยวภาคใต้ตอนนี้อยู่ที่จะกระจายสัดส่วนการกระจุกตัวของการท่องเที่ยวที่อยู่แค่ประมาณ 5 จังหวัด กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา ได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน ในภาคอุตสาหกรรมก็มีปัญหาเรื่องการกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมขั้นต้นเท่านั้น คือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาคือ อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนในราคาภาคเกษตรของโลกตามไปด้วยโดยตรง อย่างที่เคยเกิดขึ้นและยังคงเกิดอยู่กับราคายางพาราในปัจจุบัน
นาย
ชัยธวัชยังกล่าวว่า สิ่งที่ต้องคิดวันนี้ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเป็นรายมาตรการหรือรายธุรกิจ แต่เป็นการแก้ปัญหาในเชิงระบบ วันนี้พี่น้องประชาชนหลายคนสะท้อนเรื่องการจัดการปัญหาที่ดิน หลายคนพูดเรื่องการกระจายอำนาจ เราให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้เพราะเราเชื่อว่าการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจในต่างจังหวัดไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาทีละเรื่อง แต่ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบโครงสร้าง อย่างเช่นการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบเพื่อจัดการโครงสร้างที่ดินใหม่ การกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบงบประมาณ เป็นต้น
ต่อมาเป็นเวทีเสวนาหัวข้อ “ปัญหาและโอกาสทางเศรษฐกิจของภาคใต้” โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้าร่วม ประกอบด้วย น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล, น.ส.
พลอยทะเล ลักษมีแสงจันทร์ จากพรรคประชาธิปัตย์, นาย
ชวลิต วิชยสุทธิ์ จากพรรคไทยสร้างไทย, นาย
กัณวีร์ สืบแสง จากพรรคเป็นธรรม, นาย
วิชาญ ช่างวาด จากพรรคครูไทยเพื่อประชาชน และนาย
ธนกร สังข์โพธิ์ จากพรรคใหม่ โดยรูปแบบของวงเสวนาเป็นการเปิดเวทีให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนใน จ.สงขลา มาร่วมสะท้อนปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้ตัวแทนพรรคฝ่ายค้านได้รับฟังข้อมูลร่วมกัน ก่อนร่วมตอบคำถามและแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นเศรษฐกิจของภาคใต้
น.ส.
ศิริกัญญาระบุว่า ประเด็นที่สะท้อนมาจากภาคประชาชนและภาคเอกชนมีหลายเรื่องที่ฝ่ายค้านสามารถรับนำไปผลักดันได้ทันที หลายเรื่องเป็นประเด็นที่ต้องผลักดันผ่านร่างกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.โรงแรม ฯลฯ ส่วนอีกประเด็นที่ตัวแทนภาคประชาชนสะท้อนขึ้นมา คือเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ซึ่งสถานะล่าสุดวันนี้ยังไม่มีร่าง พ.ร.บ.ที่เป็นของคณะรัฐมนตรีออกมา ที่น่ากังวลคือถ้าร่างของคณะรัฐมนตรีออกมาเมื่อไหร่ ก็อาจจะเข้าสภา อย่างรวดเร็วและผ่านการพิจารณาอย่างรวดเร็ว จนอาจขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แม้โดยเนื้อหาหลักหลายเรื่องจะมีความคล้ายคลึงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แต่พอเป็น SEC บริบทค่อนข้างแตกต่างกันเพราะ EEC เป็นการต่อยอดจากพื้นที่ที่มีพื้นฐานอุตสาหกรรมดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่ SEC เป็นการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น ทำให้การดำเนินโครงการจำเป็นต้องมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เวลาพูดถึงเศรษฐกิจของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม หรือภาคเกษตรของภาคใต้ เราอยากเห็นบทบาทของรัฐที่มาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนมากยิ่งขึ้น หลายครั้งที่รัฐเหมือนจะมีแนวคิดแต่ก็ไม่ได้ขับเคลื่อนให้สุดหรือไม่ได้ทำเลย อย่างเช่นรับเบอร์ซิตี้ (Rubber City) ที่เดิมวางให้เป็นโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราในขั้นปลายมากขึ้น ถึงขั้นตั้งนิคมอุตสาหกรรมรับเบอร์ซิตี้ขึ้นมา แต่สุดท้ายก็กลายเป็นนิคมร้าง เราอยากเห็นอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่พัฒนาจากขั้นพื้นฐานให้ก้าวหน้ามากขึ้น แต่รัฐก็ต้องมีบทบาทนำมากกว่านี้ และแน่นอนว่าภาคเกษตรยังเป็นปัญหาโครงสร้างใหญ่สำคัญของภาคใต้ เพราะการพึ่งพิงพืชเศรษฐกิจไม่กี่ตัว อาจทำให้มีความเปราะบางที่เสี่ยงต่อรายได้ที่ผันผวน ภาคใต้เคยเป็นภาคที่มีอัตราส่วนของเด็กที่เรียนต่อในระดับภาคบังคับสูงที่สุดในประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น 10 ปี กลายเป็นภาคที่มีเด็กต้องตกหล่นจากระบบการศึกษาประมาณหนึ่งในสาม สะท้อนภาพใหญ่ของเศรษฐกิจที่เปราะบางผันผวนของภาคใต้
'ก้าวไกล' วอนรัฐหยุดขยายสัมปทานทางด่วน ชี้อาจจงใจเอื้อประโยชน์นายทุน ทำรัฐเสียรายได้
https://prachatai.com/journal/2024/05/109343
สส.สุรเชษฐ์ พรรคก้าวไกล วอนรัฐหยุดขยายสัมปทานทางด่วน ชี้อาจจงใจเอื้อประโยชน์นายทุน ทำรัฐเสียรายได้ แนะ กทพ. ต้องหยุดการขยายสัญญาสัมปทานออกไปเรื่อย ๆ รวมถึงควรเร่งพิจารณาโครงการตามต่างจังหวัดด้วย
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 ว่านาย
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล แถลงข่าว หัวข้อ “
ทวงคืนทางด่วน หยุดหาเรื่องขยายสัมปทาน เอื้อประโยชน์ให้นายทุนไปเรื่อย” ว่ามีความพยายามของนายทุนในการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน ผ่านการขายนโยบายลดค่าทางด่วนโดยรัฐบาล โดยวันที่ 25 เม.ย.67 ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศว่าจะลดค่าทางด่วนให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ แต่เป็นการลดแบบมีเงื่อนไข ซึ่งต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นผลดีต่อประเทศในภาพรวมหรือไม่
นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ตนมองว่าการลดค่าทองด่วนไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมด้วย 3 เหตุผล คือ 1. การเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นการแข่งขันระหว่างรูปแบบการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวกับระบบขนส่งสาธารณะ การลดค่าทางด่วนจะย้อนแย้งกับนโยบายของรัฐที่บอกว่าอยากให้คนหันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพราะเมื่อลดค่าทางด่วน ก็จูงใจให้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น 2. ทางด่วนเป็นสินค้าที่ผู้ใช้เป็นผู้จ่าย (Pay per use) แต่การลดหรือฟรีค่าทางด่วนจะทำให้ความยุติธรรมนี้ลดลง รัฐสูญเสียรายได้ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนา และ 3. นายทุนมักเอาเปรียบรัฐมากขึ้นเมื่อได้เซ็นสัญญาใหม่ โดยปัจจุบันนายทุนได้เซ็นสัญญาขยายสัมปทานไปแล้ว 15 ปี 8 เดือน ตนขอตั้งข้อสังเกตว่าหากเอกชนไม่ได้ผลประโยชน์มากขึ้นจากสัญญานั้นเอกชนแห่งนั้นจะยอมเซ็นหรือไม่ ดังนั้น การลดราคาค่าทางด่วน รัฐแลกมาด้วยการสูญเสียรายได้จากส่วนแบ่งค่าทางด่วน รวมถึงสูญเสียรายได้ที่รัฐควรจะได้ในอนาคต
นาย
สุรเชษฐ์ กล่าวถึง ขณะนี้บอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กำลังพิจารณาเรื่องการขยายสัมปทานเพื่อลากยาวไปถึง 31 มี.ค.2601 หรืออีก 34 ปีข้างหน้า ดังนั้น เป้าหมายที่แท้จริงของรัฐบาล คือ การช่วยเอกชนหาเรื่องขยายสัญญาสัมปทาน แต่กลับใช้แนวทางการตลาดอ้างว่าเป็นการลดค่าทางด่วน ซึ่งต้องแลกด้วยส่วนแบ่งรายได้รัฐที่ลดลง สิ่งสำคัญ คือ รัฐบาลต้องทวงคืนทางด่วน หยุดการขยายสัญญาสัมปทานออกไปเรื่อย ๆ รวมถึงควรเร่งพิจารณาโครงการตามต่างจังหวัดด้วย และยังมีอีกหลายทางเลือกที่ไม่ต้องเอื้อประโยชน์ให้นายทุนด้วยการขยายสัญญาสัมปทาน
จุลพงษ์ ชมเวทีมติชนฟอรั่ม ข้อมูลแน่น ได้ความรู้มาก แนะรัฐบาลสานต่อระเบียงมนุษยธรรมแนวชายแดน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4594354
จุลพงษ์ ชมเวทีมติชนฟอรั่ม ข้อมูลแน่น ได้ความรู้มาก หนุนจับมือ อาเซียน-จีน แก้ปมเมียนมา แนะรัฐบาลสานต่อระเบียงมนุษยธรรมแนวชายแดน
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม นาย
จุลพงศ์ อยู่เกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงการบรรยายของ รศ.ดร.
ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ ‘
ผ่าเมียนมา ทะลุไทยและอาเซียน วิเคราะห์จุดเดือดสมรภูมิรบภูมิรัฐศาสตร์’ บนเวทีมติชนฟอรั่ม ‘
Thailand 2024 : Surviving Geopolitics’ เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์และหนทางปรับตัว ภายใต้ปัจจัย ‘
ภูมิรัฐศาสตร์’ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรโลก ภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนประชาชนคนไทย ทั้งในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ได้ความรู้เยอะ ข้อมูลแน่น เพราะวิทยากรมีความรู้เรื่องภายในพม่าเยอะ ส่วนเรื่องที่น่าสนใจคือ การอธิบายแยกชนกลุ่มน้อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ
นาย
จุลพงศ์กล่าวต่อว่า ในส่วนข้อเสนอเสนอกลยุทธ์ 4 ลู่ 2 แกน ก็เป็นข้อเสนอเชิงวิชาการที่ดี แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลทหารเมียนมาก็ไม่รับเลย ไม่ว่าเราจะเข้าหาทางด้านไหน ทั้งนี้ ตนคิดว่าอาเซียนต้องมีการจับมือกันมากขึ้น รวมถึงประเทศจีน เพราะมีอิทธิพลในเมียนมามาก
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นกรรมาธิการ (กมธ.) การต่างประเทศ มองว่าบทบาทของรัฐบาลต่อเรื่องนี้ ควรเป็นอย่างไร นาย
จุลพงศ์กล่าวว่า ตนคิดว่านาย
ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วางแนวทางไว้ดีแล้ว คือการแยกเป็นสองส่วน เรื่องการเจรจาภายใน ต้องทําเงียบ ๆ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ควรจะสานต่อในเรื่องระเบียงมนุษยธรรมตามชายแดน ซึ่งก็จะตรงกับข้อเสนอของ รศ.ดร.
ดุลยภาค
JJNY : 5in1 ชัยธวัชนำเปิดเวที│'ก้าวไกล'วอนหยุดขยายสัมปทาน│จุลพงษ์ชมเวทีมติชน│ฝนตก น้ำท่วมในอัฟกานิสถาน│ไต้หวันจวกจีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4594452
ชัยธวัช นำเปิดเวทีฝ่ายค้านพบปชช. สงขลา ชี้ 3 ล็อก ทำศก.ใต้ โตต่ำกว่าภาคอื่น-ชะงักงันข้ามทศวรรษ ชงรื้อโครงสร้างแก้ทั้งระบบ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จ.สงขลา นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ร่วมเปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีทั้งตัวแทนจากภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานราชการ ร่วมเวทีในวันนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เวทีช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยการกล่าวปาฐกถาของนายชัยธวัช ในหัวข้อ “3 ล็อกเศรษฐกิจภาคใต้” จากนั้นนายชัยธวัช และคณะร่วมกันลงพื้นที่รับฟังปัญหาประชาชนรอบบริเวณทะเลสาบสงขลาในช่วงเย็น
โดยนายชัยธวัชกล่าวปาฐกถา หัวข้อ “3 ล็อกเศรษฐกิจภาคใต้” ว่า ล็อกที่หนึ่ง เมื่อดูข้อมูลภาพรวมรายได้ของภาคใต้ จะเห็นว่ามีอัตราเติบโตน้อยและถดถอยลงตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา โดยเพิ่มขึ้นช้ากว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ค่าเฉลี่ยรายได้จากที่เคยสูงก็ต่ำลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีแล้ว การเติบโตของรายได้ในภาคใต้กระจุกตัวอยู่แค่ไม่กี่จังหวัด บางจังหวัดก็จนลงด้วย ศักยภาพในการสร้างมูลค่าและรายได้ต่อหัวเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2554 ภาคใต้เคยคิดเป็น 77% แต่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2565 เหลือแค่ 57% และหากดูรายจังหวัดก็จะเห็นได้ว่าจีดีพีต่อหัวไม่เพิ่มขึ้นเลย และมีเพียงสามจังหวัดเท่านั้นที่โตเกิน 2% คือภูเก็ต ชุมพร และพังงา
ล็อกที่สองคือด้านอาชีพ ภาคใต้ในช่วงหลังพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่วนเครื่องยนต์อื่นๆ แทบไม่โตเลยในภาพรวม ภาคใต้ไม่มีอย่างอื่นโตเลยนอกจากการท่องเที่ยวซึ่งมีความผันผวนง่าย เศรษฐกิจหลังโควิดภาคใต้ก็ยังโตช้าเมื่อเทียบกับภาคอื่น ส่วนล็อกที่สามคือคุณภาพชีวิต จะเห็นว่าสัดส่วนครัวเรือนยากจนยังสูง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะความเหลื่อมล้ำในระยะยาวได้ ไม่มีงานให้ทำมากพอ อัตราอาชญากรรมก็สูงกว่าค่าเฉลี่ย สัดส่วนประชากรยากจนก็สูง ครัวเรือนในภาคใต้ที่มีความเสี่ยงกับภัยพิบัติก็สูงกว่าภาพรวมของทั้งประเทศ
นายชัยธวัชกล่าวต่อว่า เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นในภาคเกษตร การท่องเที่ยวอุตสาหกรรม อยู่ในสภาวะที่ควรตั้งคำถามว่าจะไปอย่างไรต่อ ในภาคเกษตรแม้จะมีการเปลี่ยนสัดส่วนผลผลิต แต่มูลค่าผลผลิตโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง การท่องเที่ยวก็ยังฟื้นตัวช้า ที่ฟื้นตัวเร็วได้แค่ไม่กี่จังหวัดเท่านั้น นักท่องเที่ยวกลับมาปริมาณมากขึ้นแต่การจับจ่ายใช้สอยไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทย ทำให้ต้องพึ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นอีก ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศตอนนี้ก็กลับมาแค่ประมาณ 71% ของช่วงก่อนโควิดเท่านั้น โจทย์ใหญ่ของการท่องเที่ยวภาคใต้ตอนนี้อยู่ที่จะกระจายสัดส่วนการกระจุกตัวของการท่องเที่ยวที่อยู่แค่ประมาณ 5 จังหวัด กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา ได้อย่างไร
ขณะเดียวกัน ในภาคอุตสาหกรรมก็มีปัญหาเรื่องการกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมขั้นต้นเท่านั้น คือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาคือ อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนในราคาภาคเกษตรของโลกตามไปด้วยโดยตรง อย่างที่เคยเกิดขึ้นและยังคงเกิดอยู่กับราคายางพาราในปัจจุบัน
นายชัยธวัชยังกล่าวว่า สิ่งที่ต้องคิดวันนี้ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเป็นรายมาตรการหรือรายธุรกิจ แต่เป็นการแก้ปัญหาในเชิงระบบ วันนี้พี่น้องประชาชนหลายคนสะท้อนเรื่องการจัดการปัญหาที่ดิน หลายคนพูดเรื่องการกระจายอำนาจ เราให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้เพราะเราเชื่อว่าการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจในต่างจังหวัดไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาทีละเรื่อง แต่ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบโครงสร้าง อย่างเช่นการปฏิรูปที่ดินทั้งระบบเพื่อจัดการโครงสร้างที่ดินใหม่ การกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบงบประมาณ เป็นต้น
ต่อมาเป็นเวทีเสวนาหัวข้อ “ปัญหาและโอกาสทางเศรษฐกิจของภาคใต้” โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้าร่วม ประกอบด้วย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล, น.ส.พลอยทะเล ลักษมีแสงจันทร์ จากพรรคประชาธิปัตย์, นายชวลิต วิชยสุทธิ์ จากพรรคไทยสร้างไทย, นายกัณวีร์ สืบแสง จากพรรคเป็นธรรม, นายวิชาญ ช่างวาด จากพรรคครูไทยเพื่อประชาชน และนายธนกร สังข์โพธิ์ จากพรรคใหม่ โดยรูปแบบของวงเสวนาเป็นการเปิดเวทีให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนใน จ.สงขลา มาร่วมสะท้อนปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้ตัวแทนพรรคฝ่ายค้านได้รับฟังข้อมูลร่วมกัน ก่อนร่วมตอบคำถามและแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นเศรษฐกิจของภาคใต้
น.ส.ศิริกัญญาระบุว่า ประเด็นที่สะท้อนมาจากภาคประชาชนและภาคเอกชนมีหลายเรื่องที่ฝ่ายค้านสามารถรับนำไปผลักดันได้ทันที หลายเรื่องเป็นประเด็นที่ต้องผลักดันผ่านร่างกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.โรงแรม ฯลฯ ส่วนอีกประเด็นที่ตัวแทนภาคประชาชนสะท้อนขึ้นมา คือเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ซึ่งสถานะล่าสุดวันนี้ยังไม่มีร่าง พ.ร.บ.ที่เป็นของคณะรัฐมนตรีออกมา ที่น่ากังวลคือถ้าร่างของคณะรัฐมนตรีออกมาเมื่อไหร่ ก็อาจจะเข้าสภา อย่างรวดเร็วและผ่านการพิจารณาอย่างรวดเร็ว จนอาจขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แม้โดยเนื้อหาหลักหลายเรื่องจะมีความคล้ายคลึงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แต่พอเป็น SEC บริบทค่อนข้างแตกต่างกันเพราะ EEC เป็นการต่อยอดจากพื้นที่ที่มีพื้นฐานอุตสาหกรรมดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่ SEC เป็นการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น ทำให้การดำเนินโครงการจำเป็นต้องมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เวลาพูดถึงเศรษฐกิจของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม หรือภาคเกษตรของภาคใต้ เราอยากเห็นบทบาทของรัฐที่มาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนมากยิ่งขึ้น หลายครั้งที่รัฐเหมือนจะมีแนวคิดแต่ก็ไม่ได้ขับเคลื่อนให้สุดหรือไม่ได้ทำเลย อย่างเช่นรับเบอร์ซิตี้ (Rubber City) ที่เดิมวางให้เป็นโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราในขั้นปลายมากขึ้น ถึงขั้นตั้งนิคมอุตสาหกรรมรับเบอร์ซิตี้ขึ้นมา แต่สุดท้ายก็กลายเป็นนิคมร้าง เราอยากเห็นอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่พัฒนาจากขั้นพื้นฐานให้ก้าวหน้ามากขึ้น แต่รัฐก็ต้องมีบทบาทนำมากกว่านี้ และแน่นอนว่าภาคเกษตรยังเป็นปัญหาโครงสร้างใหญ่สำคัญของภาคใต้ เพราะการพึ่งพิงพืชเศรษฐกิจไม่กี่ตัว อาจทำให้มีความเปราะบางที่เสี่ยงต่อรายได้ที่ผันผวน ภาคใต้เคยเป็นภาคที่มีอัตราส่วนของเด็กที่เรียนต่อในระดับภาคบังคับสูงที่สุดในประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น 10 ปี กลายเป็นภาคที่มีเด็กต้องตกหล่นจากระบบการศึกษาประมาณหนึ่งในสาม สะท้อนภาพใหญ่ของเศรษฐกิจที่เปราะบางผันผวนของภาคใต้
'ก้าวไกล' วอนรัฐหยุดขยายสัมปทานทางด่วน ชี้อาจจงใจเอื้อประโยชน์นายทุน ทำรัฐเสียรายได้
https://prachatai.com/journal/2024/05/109343
สส.สุรเชษฐ์ พรรคก้าวไกล วอนรัฐหยุดขยายสัมปทานทางด่วน ชี้อาจจงใจเอื้อประโยชน์นายทุน ทำรัฐเสียรายได้ แนะ กทพ. ต้องหยุดการขยายสัญญาสัมปทานออกไปเรื่อย ๆ รวมถึงควรเร่งพิจารณาโครงการตามต่างจังหวัดด้วย
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2567 ว่านายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล แถลงข่าว หัวข้อ “ทวงคืนทางด่วน หยุดหาเรื่องขยายสัมปทาน เอื้อประโยชน์ให้นายทุนไปเรื่อย” ว่ามีความพยายามของนายทุนในการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน ผ่านการขายนโยบายลดค่าทางด่วนโดยรัฐบาล โดยวันที่ 25 เม.ย.67 ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศว่าจะลดค่าทางด่วนให้แล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ แต่เป็นการลดแบบมีเงื่อนไข ซึ่งต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นผลดีต่อประเทศในภาพรวมหรือไม่
นายสุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ตนมองว่าการลดค่าทองด่วนไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมด้วย 3 เหตุผล คือ 1. การเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นการแข่งขันระหว่างรูปแบบการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวกับระบบขนส่งสาธารณะ การลดค่าทางด่วนจะย้อนแย้งกับนโยบายของรัฐที่บอกว่าอยากให้คนหันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพราะเมื่อลดค่าทางด่วน ก็จูงใจให้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น 2. ทางด่วนเป็นสินค้าที่ผู้ใช้เป็นผู้จ่าย (Pay per use) แต่การลดหรือฟรีค่าทางด่วนจะทำให้ความยุติธรรมนี้ลดลง รัฐสูญเสียรายได้ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนา และ 3. นายทุนมักเอาเปรียบรัฐมากขึ้นเมื่อได้เซ็นสัญญาใหม่ โดยปัจจุบันนายทุนได้เซ็นสัญญาขยายสัมปทานไปแล้ว 15 ปี 8 เดือน ตนขอตั้งข้อสังเกตว่าหากเอกชนไม่ได้ผลประโยชน์มากขึ้นจากสัญญานั้นเอกชนแห่งนั้นจะยอมเซ็นหรือไม่ ดังนั้น การลดราคาค่าทางด่วน รัฐแลกมาด้วยการสูญเสียรายได้จากส่วนแบ่งค่าทางด่วน รวมถึงสูญเสียรายได้ที่รัฐควรจะได้ในอนาคต
นายสุรเชษฐ์ กล่าวถึง ขณะนี้บอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กำลังพิจารณาเรื่องการขยายสัมปทานเพื่อลากยาวไปถึง 31 มี.ค.2601 หรืออีก 34 ปีข้างหน้า ดังนั้น เป้าหมายที่แท้จริงของรัฐบาล คือ การช่วยเอกชนหาเรื่องขยายสัญญาสัมปทาน แต่กลับใช้แนวทางการตลาดอ้างว่าเป็นการลดค่าทางด่วน ซึ่งต้องแลกด้วยส่วนแบ่งรายได้รัฐที่ลดลง สิ่งสำคัญ คือ รัฐบาลต้องทวงคืนทางด่วน หยุดการขยายสัญญาสัมปทานออกไปเรื่อย ๆ รวมถึงควรเร่งพิจารณาโครงการตามต่างจังหวัดด้วย และยังมีอีกหลายทางเลือกที่ไม่ต้องเอื้อประโยชน์ให้นายทุนด้วยการขยายสัญญาสัมปทาน
จุลพงษ์ ชมเวทีมติชนฟอรั่ม ข้อมูลแน่น ได้ความรู้มาก แนะรัฐบาลสานต่อระเบียงมนุษยธรรมแนวชายแดน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4594354
จุลพงษ์ ชมเวทีมติชนฟอรั่ม ข้อมูลแน่น ได้ความรู้มาก หนุนจับมือ อาเซียน-จีน แก้ปมเมียนมา แนะรัฐบาลสานต่อระเบียงมนุษยธรรมแนวชายแดน
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงการบรรยายของ รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ ‘ผ่าเมียนมา ทะลุไทยและอาเซียน วิเคราะห์จุดเดือดสมรภูมิรบภูมิรัฐศาสตร์’ บนเวทีมติชนฟอรั่ม ‘Thailand 2024 : Surviving Geopolitics’ เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์และหนทางปรับตัว ภายใต้ปัจจัย ‘ภูมิรัฐศาสตร์’ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรโลก ภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนประชาชนคนไทย ทั้งในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ได้ความรู้เยอะ ข้อมูลแน่น เพราะวิทยากรมีความรู้เรื่องภายในพม่าเยอะ ส่วนเรื่องที่น่าสนใจคือ การอธิบายแยกชนกลุ่มน้อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ
นายจุลพงศ์กล่าวต่อว่า ในส่วนข้อเสนอเสนอกลยุทธ์ 4 ลู่ 2 แกน ก็เป็นข้อเสนอเชิงวิชาการที่ดี แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลทหารเมียนมาก็ไม่รับเลย ไม่ว่าเราจะเข้าหาทางด้านไหน ทั้งนี้ ตนคิดว่าอาเซียนต้องมีการจับมือกันมากขึ้น รวมถึงประเทศจีน เพราะมีอิทธิพลในเมียนมามาก
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นกรรมาธิการ (กมธ.) การต่างประเทศ มองว่าบทบาทของรัฐบาลต่อเรื่องนี้ ควรเป็นอย่างไร นายจุลพงศ์กล่าวว่า ตนคิดว่านายปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วางแนวทางไว้ดีแล้ว คือการแยกเป็นสองส่วน เรื่องการเจรจาภายใน ต้องทําเงียบ ๆ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ควรจะสานต่อในเรื่องระเบียงมนุษยธรรมตามชายแดน ซึ่งก็จะตรงกับข้อเสนอของ รศ.ดร.ดุลยภาค