ช่วงอาทิตย์ที่แล้ว ผมได้เข้าไปเยี่ยมตากับยายในจังหวัดเล็กๆทางภาคกลางตอนบน
หลานของน้าที่เรียนอยู่ในโรงเรียนประจำจังหวัดได้เข้ามาพูดคุยด้วย
หลานชายผมเล่าให้ฟังว่า เด็กส่วนใหญ่ของโรงเรียนเขาจะไปเรียนกันที่มหาวิทยาลัยปิดที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในจังหวัดใหญ่ใกล้เคียง บางส่วนก็ไปเรียนที่ราชภัฎด้วย มีแค่บางส่วนที่สอบติดเข้าไปเรียนใน ม.ดังๆอย่าง จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์
หลานผมติดจุฬาครับ แต่ติดได้ด้วยโครงการจุฬา-ชนบท และนักเรียนที่ติดส่วนใหญ่ก็ติดด้วยโครงการนี้ทั้งนั้น มีแค่ประมาณ 7-8 คนเองที่เข้าจุฬาได้
ซึ่งค่อนข้างน้อยมาก เพราะผมจบมาจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพ รุ่นผมเข้าจุฬาได้ประมาณ 105 คน เข้าธรรมศาสตร์อีก 92 คน ( ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ตัวเลขคร่าวๆประมาณนี้ บวกลบไม่เกินสิบ เพราะผ่านมาเกือบสิบปีแล้ว มันเป็นรายชื่อมาติดตรงบอร์ดใกล้เสาธงของโรงเรียนเลย )
ขนาดโรงเรียนประจำจังหวัดที่หลานชายผมเรียนอยู่ได้ไม่ถึงสิบคนเลย แปลว่าเนื้อหาโรงเรียนดังประจำจังหวัดมันต่างจากโรงเรียนในกรุงเทพหรอครับ?
ผมคิดว่าหลักสูตรของโรงเรียนประจำจังหวัดจะเข้มข้นเทียบกับโรงเรียนในกรุงเทพซะอีก หรือว่ามีปัจจัยอื่นๆเข้ามาด้วยครับ?
นักเรียนโรงเรียนประจำจังหวัดเข้าจุฬาได้น้อยขนาดนี้เลยหรอ
หลานของน้าที่เรียนอยู่ในโรงเรียนประจำจังหวัดได้เข้ามาพูดคุยด้วย
หลานชายผมเล่าให้ฟังว่า เด็กส่วนใหญ่ของโรงเรียนเขาจะไปเรียนกันที่มหาวิทยาลัยปิดที่มีชื่อเสียงที่อยู่ในจังหวัดใหญ่ใกล้เคียง บางส่วนก็ไปเรียนที่ราชภัฎด้วย มีแค่บางส่วนที่สอบติดเข้าไปเรียนใน ม.ดังๆอย่าง จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์
หลานผมติดจุฬาครับ แต่ติดได้ด้วยโครงการจุฬา-ชนบท และนักเรียนที่ติดส่วนใหญ่ก็ติดด้วยโครงการนี้ทั้งนั้น มีแค่ประมาณ 7-8 คนเองที่เข้าจุฬาได้
ซึ่งค่อนข้างน้อยมาก เพราะผมจบมาจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพ รุ่นผมเข้าจุฬาได้ประมาณ 105 คน เข้าธรรมศาสตร์อีก 92 คน ( ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ตัวเลขคร่าวๆประมาณนี้ บวกลบไม่เกินสิบ เพราะผ่านมาเกือบสิบปีแล้ว มันเป็นรายชื่อมาติดตรงบอร์ดใกล้เสาธงของโรงเรียนเลย )
ขนาดโรงเรียนประจำจังหวัดที่หลานชายผมเรียนอยู่ได้ไม่ถึงสิบคนเลย แปลว่าเนื้อหาโรงเรียนดังประจำจังหวัดมันต่างจากโรงเรียนในกรุงเทพหรอครับ?
ผมคิดว่าหลักสูตรของโรงเรียนประจำจังหวัดจะเข้มข้นเทียบกับโรงเรียนในกรุงเทพซะอีก หรือว่ามีปัจจัยอื่นๆเข้ามาด้วยครับ?