บางกอกคณิกา ดูแล้วหดหู่มากเลย ได้แง่คิดเกี่ยวกับอาชีพทาสและคณิกา

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกฎหมาย “พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทร์ศก 127” มีสาระสำคัญอยู่ 5 ข้อหลัก ๆ คือ
1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับหรือล่อลวงมามิได้
2) ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ (ถือว่าแพงลิบลิ่วมากในสมัยนั้น)
3) นายโรงหญิงนครโสเภณี (ที่ต่อมานิยมเรียกว่า “แม่เล้า”) ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง
4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย่ง ล้อเลียน เป็นต้น
5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไป เพื่อนำสมาชิกมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสั่งพักใช้ใบอนุญาต 

สามนางเอกสื่อให้เห็นเลยว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากขายบริการ ถึงแม้จะเงินดีแต่ทุกคนทำเพราะความจำเป็น เก็บเงินรอวันไถ่ตัวไปมีชีวิตชาวบ้าน

แม่ที่เสียสละเพื่อลูก

ลูกที่เสียสละเพื่อแม่

บางกอกคณิกา ปี 2435 ยุคสมัยที่การค้าประเวณีรุ่งเรืองที่สุด เป็นยุคที่ยังไม่ถือกำเนิดกฎหมายเลิกทาส

“พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา

สรุปว่านับจากปัจจุบันในละคร
ต้องรออีก 3 ปี กุหลาบ โบตั๋น เทียนหยด จึงจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.โรคสัญจรฯ
ต้องรออีก 13 ปี กุหลาบ โบตั๋น เทียนหยด จึงจะพ้นจากความเป็นทาสโดยผลของกฎหมาย
อมยิ้ม14อมยิ้ม14อมยิ้ม14สงสารพวกนางเอกมากเลย ทางเร่งด่วนสุดคือต้องล้มพระยาจรัล แล้วล่ะมั้ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่