เคยเป็นกันไหม รู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยง่าย หายใจถี่ ๆ และเริ่มมีอาการแน่นตรงหน้าอก หรือรู้สึกอึดอัดขณะหายใจ
ส่งผลให้เกิดสภาวะ “หายใจไม่อิ่ม” และไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้อย่างเต็มที่
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ ทำไม..หายใจไม่อิ่ม
หายใจไม่อิ่ม Dyspnea หรือ Shortness_of_Breath
เป็นอาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถสูดอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ จนลมหายใจมีลักษณะเป็นการหายใจสั้น ๆ
หรือคล้ายอาการหายใจไม่ออก โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันในช่วงสั้น ๆ และอาจเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง
สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่มเฉียบพลัน
อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดจากสภาพอารมณ์และการใช้ร่างกายในช่วงเวลานั้นๆ เป็นส่วนใหญ่
ส่งผลให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม แน่นอกในระยะสั้น เมื่อหยุดการกระทำที่ก่อให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม
อาการดังกล่าวจะหายไปเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์
อาการหายใจไม่อิ่มเฉียบพลัน มีดังนี้
ใช้ร่างกายหนักเป็นระยะเวลานาน การใช้ร่างกายหนัก อาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า
จนทำให้ร่างเกิดอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม
ไม่ค่อยออกกำลังกาย ขยับร่างกายน้อย การออกกำลังกายน้อยเกินไป
ส่งผลให้ความดันต่ำจนร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ เกิดเป็นอาการเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม เวียนหัวได้
พักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันหลายคืน การพักผ่อนน้อย
มีผลทำให้หลอดเลือดทำงานได้น้อยละ และยังมีผลเกี่ยวกับระบบควบคุมการหายใจอีกด้วย
เกิดภาวะตกใจ ช็อก เกิดจากเมื่อเราตกใจ ฮอร์โมนอะดรีนาลีนจะหลั่งอย่างฉับพลัน
ทำให้ใจเต้นแรง หายใจไม่อิ่ม ความดันโลหิตสูง
มีความวิตกกังวล ความเครียด ซึมเศร้า ความเครียดความกังวลสามารถส่งผลกับร่างกายได้หลายอย่าง
สาเหตุที่ทำให้หายใจไม่อิ่ม อาจเกิดจากความดันโลหิตที่สูงขึ้นจากปฏิกิริยาของร่างกาย
อยู่ในที่ที่มีความกดอากาศต่ำ หรือ อากาศร้อนมาก สถานที่ดังกล่าวมักมีออกซิเจนในอากาศน้อยกว่าปกติ
สมองส่วนที่ควบคุมการหายใจ (อยู่ภายในส่วน Medulla) ส่วนให้เราหายใจมากกว่าปกติ
อาการภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้ก่อให้เกิดการหายใจไม่อิ่มได้ชั่วคราว เนื่องจากหากเราหายใจเอาสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้เข้าไป
จะทำให้ระบบหายใจเกิดการอักเสบและบวมขึ้นชั่วคราว จนหายใจได้ยาก บางครั้งก่อให้เกิดอาการของโรคหอบหืด
ทั้งนี้หากมีอาการหายใจไม่อิ่มรุนแรงจากการสัมผัสสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่มแบบเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีความเสี่ยงมากขึ้นไปตามอายุ
ยิ่งเรามีอายุที่มากขึ้น และมีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน
จะยิ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคขึ้นได้ด้วย
และผู้ป่วยโรคนี้ในอายุที่มากขึ้นจะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไปเป็นหนึ่งในอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคทางปอด มีอยู่ด้วยกันอยู่หลายชนิด เช่น หอบหืด ปอดบวม วัณโรค หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง เป็นต้น
โรคที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก และมักจะส่งผล กระทบต่อการหายใจโดยตรง เช่น การหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจไม่เต็มปอด
ระดับความรุนแรงของอาการหายใจไม่อิ่ม
ความรู้สึกหายใจไม่ออก หรือรู้สึกจะขาดใจ ไม่ใช่ข้อบ่งชี้เดียวของการเป็นโรคหายใจไม่อิ่ม
ข้อสังเกตอีกอย่างที่จะรู้ได้จากการสังเกตตัวเอง คือระดับความเหนื่อยหอบเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ
โดยทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็นสเกล เรียกว่า “Dyspnea Scale” (mMRC (Modified Medical Research Council) Dyspnea Scale)
ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ 0 : หายใจไม่อิ่มจากการออกกำลังกายหนักเพียงอย่างเดียว
ระดับ 1 : หายใจไม่อิ่มขณะเดินเร็ว หรือเดินขึ้นเนินที่ไม่ได้ชันมาก
ระดับ 2 : เดินช้ากว่าผู้ที่มีอายุเท่ากัน เนื่องจากการหายใจไม่อิ่ม หรือจะต้องพักหยุดหายใจหลังจากเดินระยะหนึ่ง
ระดับ 3 : ต้องหยุดหายใจหลังจากเดินได้เพียง 90 เมตร หรือเดินเป็นเวลาไม่กี่นาที
ระดับ 4 : หายใจไม่อิ่มมากเสียจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ หรือรู้สึกเหนื่อยหอบจากการแต่งตัว
วิธีแก้อาการหายใจไม่อิ่ม มีด้วยกัน 2 วิธีที่แพทย์แนะนำให้ทำ
ได้แก่ การฝึกหายใจ และการปรับอิริยาบถให้สามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น
ฝึกหายใจด้วยท้อง - การหายใจด้วยท้องจะสามารถทำให้เราสามารถหายใจได้ลึกมากขึ้น
โดยการฝึกสามารถทำได้ทั้งการนั่งและยืนหลังตรง รวมถึงท่านอน ให้วางฝ่ามือสองข้างไว้ที่หน้าท้อง
เมื่อหายใจเข้าต้องรู้สึกว่าท้องป่อง จึงจะถือว่าใช้กล้ามเนื้อในการหายใจอย่างถูกต้อง
เมื่อหายใจออกให้ใช้ฝ่ามือกดหน้าท้องเล็กน้อยเพื่อให้ลมออกจนหมด
ฝึกหายใจทั้งทางจมูกและปาก - โดยการฝึกหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก
ซึ่งการหายใจออกทางปาก จะต้องห่อริมฝีปาก ให้ลมค่อยๆออกมาช้าๆ
วิธีนี้จะทำให้หายใจยาวขึ้น และช้าลง ช่วงลดอาการหายใจไม่อิ่มได้
สามารถใช้ขณะฝึกหายใจด้วยท้อง หรือขณะออกกำลังกายได้ด้วยเช่นกัน
คนไข้ควัหมั่นสังเกตการหายใจของตนเองอยู่เสมอ ว่ามีอาการหายใจไม่อิ่มหรือไม่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งไหม
หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหายใจไม่ออกที่รุนแรง ควรนับพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นะค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=lzCQgdh9Vec
ทำไม..หายใจไม่อิ่ม
ส่งผลให้เกิดสภาวะ “หายใจไม่อิ่ม” และไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้อย่างเต็มที่
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ ทำไม..หายใจไม่อิ่ม
หายใจไม่อิ่ม Dyspnea หรือ Shortness_of_Breath
เป็นอาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถสูดอากาศเข้าไปได้อย่างเต็มที่ จนลมหายใจมีลักษณะเป็นการหายใจสั้น ๆ
หรือคล้ายอาการหายใจไม่ออก โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันในช่วงสั้น ๆ และอาจเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง
สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่มเฉียบพลัน
อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดจากสภาพอารมณ์และการใช้ร่างกายในช่วงเวลานั้นๆ เป็นส่วนใหญ่
ส่งผลให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม แน่นอกในระยะสั้น เมื่อหยุดการกระทำที่ก่อให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม
อาการดังกล่าวจะหายไปเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์
อาการหายใจไม่อิ่มเฉียบพลัน มีดังนี้
ใช้ร่างกายหนักเป็นระยะเวลานาน การใช้ร่างกายหนัก อาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า
จนทำให้ร่างเกิดอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม
ไม่ค่อยออกกำลังกาย ขยับร่างกายน้อย การออกกำลังกายน้อยเกินไป
ส่งผลให้ความดันต่ำจนร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ เกิดเป็นอาการเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม เวียนหัวได้
พักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันหลายคืน การพักผ่อนน้อย
มีผลทำให้หลอดเลือดทำงานได้น้อยละ และยังมีผลเกี่ยวกับระบบควบคุมการหายใจอีกด้วย
เกิดภาวะตกใจ ช็อก เกิดจากเมื่อเราตกใจ ฮอร์โมนอะดรีนาลีนจะหลั่งอย่างฉับพลัน
ทำให้ใจเต้นแรง หายใจไม่อิ่ม ความดันโลหิตสูง
มีความวิตกกังวล ความเครียด ซึมเศร้า ความเครียดความกังวลสามารถส่งผลกับร่างกายได้หลายอย่าง
สาเหตุที่ทำให้หายใจไม่อิ่ม อาจเกิดจากความดันโลหิตที่สูงขึ้นจากปฏิกิริยาของร่างกาย
อยู่ในที่ที่มีความกดอากาศต่ำ หรือ อากาศร้อนมาก สถานที่ดังกล่าวมักมีออกซิเจนในอากาศน้อยกว่าปกติ
สมองส่วนที่ควบคุมการหายใจ (อยู่ภายในส่วน Medulla) ส่วนให้เราหายใจมากกว่าปกติ
อาการภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้ก่อให้เกิดการหายใจไม่อิ่มได้ชั่วคราว เนื่องจากหากเราหายใจเอาสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้เข้าไป
จะทำให้ระบบหายใจเกิดการอักเสบและบวมขึ้นชั่วคราว จนหายใจได้ยาก บางครั้งก่อให้เกิดอาการของโรคหอบหืด
ทั้งนี้หากมีอาการหายใจไม่อิ่มรุนแรงจากการสัมผัสสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่มแบบเรื้อรัง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีความเสี่ยงมากขึ้นไปตามอายุ
ยิ่งเรามีอายุที่มากขึ้น และมีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน
จะยิ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคขึ้นได้ด้วย
และผู้ป่วยโรคนี้ในอายุที่มากขึ้นจะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไปเป็นหนึ่งในอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคทางปอด มีอยู่ด้วยกันอยู่หลายชนิด เช่น หอบหืด ปอดบวม วัณโรค หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง เป็นต้น
โรคที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก และมักจะส่งผล กระทบต่อการหายใจโดยตรง เช่น การหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจไม่เต็มปอด
ระดับความรุนแรงของอาการหายใจไม่อิ่ม
ความรู้สึกหายใจไม่ออก หรือรู้สึกจะขาดใจ ไม่ใช่ข้อบ่งชี้เดียวของการเป็นโรคหายใจไม่อิ่ม
ข้อสังเกตอีกอย่างที่จะรู้ได้จากการสังเกตตัวเอง คือระดับความเหนื่อยหอบเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ
โดยทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็นสเกล เรียกว่า “Dyspnea Scale” (mMRC (Modified Medical Research Council) Dyspnea Scale)
ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ 0 : หายใจไม่อิ่มจากการออกกำลังกายหนักเพียงอย่างเดียว
ระดับ 1 : หายใจไม่อิ่มขณะเดินเร็ว หรือเดินขึ้นเนินที่ไม่ได้ชันมาก
ระดับ 2 : เดินช้ากว่าผู้ที่มีอายุเท่ากัน เนื่องจากการหายใจไม่อิ่ม หรือจะต้องพักหยุดหายใจหลังจากเดินระยะหนึ่ง
ระดับ 3 : ต้องหยุดหายใจหลังจากเดินได้เพียง 90 เมตร หรือเดินเป็นเวลาไม่กี่นาที
ระดับ 4 : หายใจไม่อิ่มมากเสียจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ หรือรู้สึกเหนื่อยหอบจากการแต่งตัว
วิธีแก้อาการหายใจไม่อิ่ม มีด้วยกัน 2 วิธีที่แพทย์แนะนำให้ทำ
ได้แก่ การฝึกหายใจ และการปรับอิริยาบถให้สามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น
ฝึกหายใจด้วยท้อง - การหายใจด้วยท้องจะสามารถทำให้เราสามารถหายใจได้ลึกมากขึ้น
โดยการฝึกสามารถทำได้ทั้งการนั่งและยืนหลังตรง รวมถึงท่านอน ให้วางฝ่ามือสองข้างไว้ที่หน้าท้อง
เมื่อหายใจเข้าต้องรู้สึกว่าท้องป่อง จึงจะถือว่าใช้กล้ามเนื้อในการหายใจอย่างถูกต้อง
เมื่อหายใจออกให้ใช้ฝ่ามือกดหน้าท้องเล็กน้อยเพื่อให้ลมออกจนหมด
ฝึกหายใจทั้งทางจมูกและปาก - โดยการฝึกหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก
ซึ่งการหายใจออกทางปาก จะต้องห่อริมฝีปาก ให้ลมค่อยๆออกมาช้าๆ
วิธีนี้จะทำให้หายใจยาวขึ้น และช้าลง ช่วงลดอาการหายใจไม่อิ่มได้
สามารถใช้ขณะฝึกหายใจด้วยท้อง หรือขณะออกกำลังกายได้ด้วยเช่นกัน
คนไข้ควัหมั่นสังเกตการหายใจของตนเองอยู่เสมอ ว่ามีอาการหายใจไม่อิ่มหรือไม่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งไหม
หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหายใจไม่ออกที่รุนแรง ควรนับพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นะค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=lzCQgdh9Vec