41.1°C ทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดเดิมของกรุงเทพฯตั้งแต่ได้บันทึกมา

เมื่อวานนี้ (30 เม.ย.) อุณหภูมิสูงสุดของพื้นที่กรุงเทพมหานครตรวจวัดได้ที่ สนามบินดอนเมือง มีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 41.1°C ทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดเดิมของกรุงเทพมหานครตั้งแต่ได้มีการบันทึกมา (ในคาบ 74 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494) ซึ่งสถิติเดิมอยู่ ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ตรวจวัดได้ที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ สูงสุดอยู่ที่ 41.0°C 


รายงานสภาพอากาศรายครึ่งชั่วโมงของเมื่อวาน อุณหภูมิพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
แค่ 12.30น. อุณหภูมิก็แตะ 40°C แล้ว และไปพีคในช่วง 14.00-14.30น.

โดยปัจจัยน่าจะมาจาก
- ดวงอาทิตย์เพิ่งตั้งฉากกับกรุงเทพไป ช่วงสัปดาห์นี้แดดจะร้อนแรงมาก ท้องฟ้าโปร่ง
- แนวลมที่ไม่ใช่ลมใต้ในช่วงแรก หรือลมอ่อนและความชื้นต่ำ พอลมใต้เริ่มพัดแรงอุณหภูมิเริ่มลดลง

และเท่าที่สังเกต เมื่อเกิดแบบนี้ทีไรฝุ่นก็เริ่มกลับมาทุกครั้ง

สรุปสั้น ๆ กับสภาพอากาศกรุงเทพฯ ในช่วงฤดุร้อน(เฉพาะวันที่ปราศจากเมฆฝน)
- แดดจัด+ลมใต้แรง = ฝุ่นไม่สะสม วันนั้นอุณหภูมิจะไม่สูงพีค ความชื้นปกติ
- แดดจัด+ลมใต้อ่อน = ฝุ่นสะสม วันนั้นอุณหภูมิจะสูงเกิน 39°C ขึ้นไป ความชื้นต่ำกว่าปกติ

ปล. ปีหน้าเป็นลานีญา คาดว่าน่าจะไม่พีคไปกว่าปีนี้แล้วครับ



(Edited on May 2, 2024)
(เพิ่มเติม) สถิติอุณหภูมิของกรุงเทพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา

มีวันที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 40°C อยู่ 3 วันด้วยกัน คือวันที่ 1, 21 และ 30 เม.ย.
มีฝนตกในวันที่ 10 เม.ย. วันเดียว วัดได้ 0.4 มม.

อุณหภูมิสูงสุด 41.1°C
อุณหภูมิต่ำสุด 28.2°C
ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงสุด 38.2°C
ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ำสุด 29.7°C
ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิทั้งเดือน 33.9°C

สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 อันดับแรก
41.1°C • วันที่ 30 เม.ย. 2567 - สนามบินดอนเมือง
41.0°C • วันที่ 7 พ.ค. 2566 - ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
40.8°C • วันที่ 22 พ.ค. 2526 - สนามบินดอนเมือง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่