วิกฤตโลก ภาวะอากาศสุดขั้ว หาทางออกไม่ได้ พ.ค.สิ้นสุดหน้าแล้งจริง แต่ฝนทิ้งช่วง ทำร้อนต่อถึงก.ย.
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4547534
โลกถึงจุดวิกฤต เกิดภาวะ อากาศสุดขั้ว ที่ยังหาทางออกไม่ได้ พ.ค.สิ้นสุดหน้าแล้งจริง แต่ฝนจะทิ้งช่วง ร้อนต่อถึงก.ย.แนะ ทำงานที่บ้าน ลดพลังงาน
วันที่ 27 เมษายน ดร.
ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า เปิดเผยกับมติชนออนไลน์ ว่า ขณะนี้ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ที่รุนแรงกว่าที่ผ่านมามากๆ เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะอากาศสุดขั้ว คือ มีความแปรปรวนที่รุนแรงทุกพื้นที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละพื้นที่เดิมคาดการไว้ว่าสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส แต่เวลานี้หลายที่เกินมาแล้ว ภาพรวมอุณหภูมิทั้งโลกค่าเฉลี่ยน่าจะถึง 2 องศาเซลเซียส
เมื่อถามว่า การที่ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นจะส่งผลอะไรบ้าง ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า นอกจากทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำแล้ง อากาศร้อนจัดแล้ว ส่งผลกับน้ำทะเลที่จะเป็นตัวดูดซับเอาความร้อนเอาไว้มากที่สุด เมื่อน้ำทะเลร้อนมากก็พยายามที่จะรักษาสมดุลโดยปล่อยพลัง คือ ระเหยออกมามาก ผลก็คือ ทำให้เกิดพายุที่รุนแรง ฝนตกหนัก ซึ่งภาวะอากาศสุดขั้วแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วในหลายพื้นที่ และก็มีแนวโน้มว่าจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้อุณหภูมิน้ำทะเล โดยเฉพาะในมหาสมุทร หากเกิน 27 หรือ 28 องศาเซลเซียส ซึ่งเวลานี้เกินมาแล้ว มีผลทำให้เกิดฝนตก และมีพายุที่รุนแรงมากทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอากาศอย่างมาก แค่ขึ้นมา 0.5 องศาเซลเซียสก็มีผลแล้ว หากเพิ่มขึ้นมามากกว่านี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ
“
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกังวลมากในเวลานี้ก็คือ ที่บริเวณขั้วโลก คือเวลานี้ น้ำแข็งที่เป็นแผ่นๆที่คลุมผิวน้ำอยู่นั้นละลายเกือบหมดแล้ว ตอนนี้น้ำแข็งลูกใหญ่กำลังจะละลาย ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างมาก ทั้งในเรื่องแร่ธาตุบางอย่าง และสัตว์น้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด”ดร.
ปกรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า อากาศในเวลานี้ จะร้อนไปถึงไหน ร้อนสูงสุดได้เท่าไร ดร.
ปกรณ์ กล่าวว่า เวลานี้ มี2 อย่าง คือ อุณหภูมิจริงๆ กับ อุณหภูมิที่เรารู้สึก โดยอุณหภูมิจริงๆจะอยู่ที่ประมาณ 40-41 องศาเซลเซียส บางที่อุณหภูมิความรู้สึกอาจะถึง 50 องศาเซลเซียส แต่ความเป็นจริงไม่ได้ถึงขนาดนั้น โดยเวลานี้ ประเทศไทยผ่านช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดมาแล้ว
ดร.
ปกรณ์ กล่าวอีกว่า ที่เป็นความเปลี่ยนแปลง ที่นักวิทยาศาสตร์เองยัง งง งง อยู่ก็คือ เวลานี้ เอลนีโญเริ่มมีสภาพเป็นกลางแล้ว ซึ่งปกติจะมีการสะสมพลังงาน 1-2 ปีแล้ว กลายเป็นลานีญา แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดคือ เมื่อเอลนีโญแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นลานีญาทันที นั้นคือ อุณหภูมิฝั่งทะเลแปซิฟิคจะต่ำกว่าค่าปกติ ประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส
“
เอลนีโญในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม แต่ไม่ได้หมายความว่า อากาศร้อนจะสิ้นสุดลง ความร้อนยังมีอยู่ เนื่องจาก เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน จะมีฝนทิ้งช่วง คือ มีภาวะแล้งต่อ อาจจะไปถึงเดือนกันยายน ถึงตุลาคมก็ได้” ดร.
ปกรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ทั้งหมดนี้ พอจะมีทางออก และรับมือกับภาวะอากาศสุดขั้วหรือไม่ ดร.
ปกรณ์ กล่าวว่า การรับมือที่ดีที่สุด คือการปรับตัว เพราะต้องยอมรับว่า เราแก้ปัญหาอะไรไม่ได้มากแล้ว ซึ่งการปรับตัวนี้ก็ต้องบริหารจัดการให้ดี ทำอย่างเป็นระบบร่วมกัน เช่น เกษตรกร ปรับการปลูกพืช อาจจะต้องปรับเวลาเพาะปลูก หรือปลูกพืชที่เหมาะสมใช้น้ำน้อย ส่วนประชาชนทั่วไป อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันบ้าง เช่น การทำงานที่บ้าน หรือ เวิร์ก ฟรอมโฮม ลดการเดินทางเพื่อประหยัดพลังงาน อันนี้ช่วยได้เยอะ เป็นต้น
ก้าวไกล เตรียมจัดงานใหญ่กลางพ.ค. ‘Policy Festival: มหกรรมนโยบาย’ ชู 6 วิสัยทัศน์พรรค หวังนำเสนออนาคตปทท.อีกมุมภายใต้รบ.ก้าวไกล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4548097
ก้าวไกล เตรียมจัดงานใหญ่กลางพ.ค. ‘Policy Festival: มหกรรมนโยบาย’ ชู 6 วิสัยทัศน์พรรค หวังนำเสนออนาคตปทท.อีกมุมภายใต้รบ.ก้าวไกล
เมื่อวันที่ 27 เมษายน นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงพรรค ก.ก. เตรียมจัดงาน ‘Policy Festival’ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ว่า Policy Festival หรือมหกรรมนโยบาย จะจัดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ไบเทคบางนา ซึ่งจุดประสงค์หลักมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. เป็นการพยายามรวบรวมและนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับด้านต่างๆ ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ ประชาชนที่มีความสนใจในด้านต่างๆ และมุมมองของบุคลากรพรรค ก.ก. 2. เป็นการขยายเครือข่าย หรือคนที่สนใจมาขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มาร่วมกับ ก.ก. มากขึ้น 3. เป็นการรณรงค์ทางความคิดเพื่อชี้ให้เห็นว่า แนวคิดภายใต้การบริหารประเทศของพรรค ก.ก. จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร โดยกิจกรรมหลักๆ ในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย วงเสวนา และมีกิจกรรมให้ประชาชนได้ร่วมตามบูธต่างๆ เพื่อต้องการเชิญชวนให้ประชาชนเห็นว่า อนาคตของประเทศไทยภายใต้การเป็นรัฐบาลของพรรค ก.ก. จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
นาย
พริษฐ์ กล่าวต่อว่า ภายในงานจะมีการนำเสนอวิสัยทัศน์ของพรรคทั้ง 6 ด้าน ตามที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ก.ก. เคยแถลงไว้ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประกอบไปด้วย 1. ประชาธิปไตยเต็มใบ 2. การยกระดับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ 3. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชนบทไทย 4. การปฏิรูปรัฐครั้งใหญ่ 5. การส่งเสริมการเรียนรู้ที่เท่าทันโลก และ 6. การกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบมีคุณภาพ
นายพริษฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หวังว่ากิจกรรมนี้จะทำให้ประชาชนเห็นว่า เมื่อใดที่เราได้รับโอกาสจากประชาชน เราก็พร้อมบริหารพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ก้าวหน้าและดีขึ้น ซึ่งการจัดมหกรรมนโยบายนับเป็นครั้งแรกของพรรค ก.ก. ส่วนในอนาคตจะมีการจัดกิจกรรมนี้อีกหรือไม่ คงต้องวางแผนกันอีกครั้ง
เอาไม่อยู่! ‘ไข่ไก่’ ปรับราคาขึ้นอีกแผงละ 6 บาท มีผล 29 เม.ย.นี้.
https://www.matichon.co.th/economy/news_4547899
เอาไม่อยู่! ‘ไข่ไก่’ ปรับราคาขึ้นอีกแผงละ 6 บาท มีผล 29 เม.ย.นี้
วันที่ 27 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ได้ออกประกาศแจ้งสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ปรับราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มกษตรกร ขึ้นราคาอีกแผงละ 6 บาท หรือฟองละ 20 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายนเป็นต้นไป หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม น้ำหนัก 20.5 กก.ขึ้นไป จากปัจจุบันอยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท เป็นฟองละ 3.80 บาท นับเป็นการปรับขึ้นรอบสองของเดือนเมษายน หลังรอบแรกปรับขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
งานวิจัยชี้น้ำท่วมใหญ่ ‘โอมาน-ยูเออี’ อาจเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน
https://www.dailynews.co.th/news/3381079/
ผลการศึกษาโดยกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศนานาชาติ (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอ) ระบุว่า ฝนตกหนักและน้ำท่วมในโอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจเชื่อมโยงกับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์เอลนีโญ
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ว่า ภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล ‘มีแนวโน้มมากที่สุด’ ในการเป็นสาเหตุของฝนตกหนักในยูเออีและโอมาน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและก่อให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ดับเบิลยูดับเบิลยูเอ กล่าวว่า ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจาก ‘
ปรากฏการณ์เอลนีโญ’ จะมีปริมาณฝนตกหนักมากขึ้นร้อยละ 10 ถึง 40 และ ‘
มีความเป็นไปได้’ ว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด
พายุฝนและน้ำท่วมครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 ราย ในโอมาน และ 4 รายในยูเออี ถือเป็นผลกระทบจากฝนตกหนักที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่ที่เคยได้บันทึกไว้ตลอด 75 ปีที่ผ่านมา
“
ภาวะโลกร้อนอาจเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุด สำหรับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น” นักวิทยาศาสตร์กล่าว
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาบทบาทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว นักวิทยาสตร์ระบุว่า ‘ไม่มีคำอธิบายอื่น ๆ ที่พิสูจน์ได้’ สำหรับสาเหตุของปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ยูเออีและโอมาน ประเทศผลิตน้ำมันรายใหญ่ กำลังเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน โดยเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ศาสตราจารย์
โซเนีย เซเนวิรัตเน สมาชิกดับเบิลยูดับเบิลยูเอ ระบุว่า “
น้ำท่วมในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และโอมาน แสดงให้เห็นว่าแม้แต่พื้นที่แห้งแล้ง ก็อาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์ฝนตก ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากผลกระทบที่รุนแรงขึ้นของภาวะโลกร้อน”
ดับเบิลยูดับเบิลยูเอวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศในอดีต และแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝนในพื้นที่ รวมไปถึงในปีที่เกิดเอลนีโญ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า ฝนตกหนักมีความรุนแรงน้อยลงมากในยุคก่อนอุตสาหกรรม หลายปีก่อนที่อุณหภูมิของโลกจะอุ่นขึ้น 1.2 องศาเซลเซียส
ดร.
มาเรียม ซาคาริยาห์ กล่าวว่า “
เหตุการณ์ฝนตกหนักในยูเออีและโอมาน รุนแรงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10” เธออธิบายเพิ่มเติมว่า “
การค้นพบนี้ สอดคล้องกับหลักฟิสิกส์พื้นฐานที่ว่า บรรยากาศอุ่นกว่าจะสามารถกักเก็บความชื้นได้มากกว่า”
พายุฝนลูกดังกล่าวขึ้นฝั่งโอมานครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 ราย จากน้ำท่วมฉับพลัน และอุบัติเหตุอื่น ๆ และพายุได้พัดเข้าสู่ยูเออีเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักเทียบเท่าปริมาณน้ำฝนในระยะเวลา 2 ปี ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือน ถนน ห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน และผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย
เมืองศูนย์กลางทางการเงินอย่างดูไบ ต้องเผชิญกับภาวะหยุดชะงักอย่างรุนแรงหลายวัน เนื่องจากถนนสายหลักถูกน้ำท่วม ไฟฟ้าดับ และประชาชนไม่สามารถออกจากบ้านได้
มากไปกว่านั้น สนามบินนานาชาติดูไบ ซึ่งเป็นสนามบินมีนักท่องเที่ยวพลุกพล่านมากที่สุดของโลก มีเที่ยวบินถูกยกเลิกกว่า 2,155 เที่ยวบิน เปลี่ยนเส้นทาง 115 เที่ยวบิน และไม่สามารถกลับมาให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ จนกระทั่งวันอังคารที่ผ่านมา
ขณะที่รัฐบาลยูเออี ปฏิเสธข้อกล่าวหาในการใช้เทคโนโลยีเร่งและเพิ่มปริมาณฝน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
รายงานของดับเบิลยูดับเบิลยูเอระบุว่า นักวิจัยไม่ได้ตรวจสอบ ‘
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดเมฆ’ แต่เมื่อพิจารณาจากพายุซึ่งมีขนาดมหึมา ดังนั้น ฝนที่ตกลงมาอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเพาะเมฆ
เมื่อปี 2566 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) ครั้งที่ 28 ซึ่งนานาประเทศได้บรรลุข้อตกลงสำคัญในการ ‘เปลี่ยนผ่าน’ จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด
JJNY : 5in1 ร้อนต่อถึงก.ย.│ก้าวไกลเตรียมจัดงานใหญ่│‘ไข่ไก่’ขึ้นอีก│ชี้น้ำท่วมอาจเชื่อมโยงโลกร้อน│จีนดำเนินกิจกรรมทหารอีก
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4547534
โลกถึงจุดวิกฤต เกิดภาวะ อากาศสุดขั้ว ที่ยังหาทางออกไม่ได้ พ.ค.สิ้นสุดหน้าแล้งจริง แต่ฝนจะทิ้งช่วง ร้อนต่อถึงก.ย.แนะ ทำงานที่บ้าน ลดพลังงาน
วันที่ 27 เมษายน ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า เปิดเผยกับมติชนออนไลน์ ว่า ขณะนี้ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ที่รุนแรงกว่าที่ผ่านมามากๆ เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะอากาศสุดขั้ว คือ มีความแปรปรวนที่รุนแรงทุกพื้นที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละพื้นที่เดิมคาดการไว้ว่าสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส แต่เวลานี้หลายที่เกินมาแล้ว ภาพรวมอุณหภูมิทั้งโลกค่าเฉลี่ยน่าจะถึง 2 องศาเซลเซียส
เมื่อถามว่า การที่ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นจะส่งผลอะไรบ้าง ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า นอกจากทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำแล้ง อากาศร้อนจัดแล้ว ส่งผลกับน้ำทะเลที่จะเป็นตัวดูดซับเอาความร้อนเอาไว้มากที่สุด เมื่อน้ำทะเลร้อนมากก็พยายามที่จะรักษาสมดุลโดยปล่อยพลัง คือ ระเหยออกมามาก ผลก็คือ ทำให้เกิดพายุที่รุนแรง ฝนตกหนัก ซึ่งภาวะอากาศสุดขั้วแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วในหลายพื้นที่ และก็มีแนวโน้มว่าจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้อุณหภูมิน้ำทะเล โดยเฉพาะในมหาสมุทร หากเกิน 27 หรือ 28 องศาเซลเซียส ซึ่งเวลานี้เกินมาแล้ว มีผลทำให้เกิดฝนตก และมีพายุที่รุนแรงมากทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอากาศอย่างมาก แค่ขึ้นมา 0.5 องศาเซลเซียสก็มีผลแล้ว หากเพิ่มขึ้นมามากกว่านี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ
“สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกังวลมากในเวลานี้ก็คือ ที่บริเวณขั้วโลก คือเวลานี้ น้ำแข็งที่เป็นแผ่นๆที่คลุมผิวน้ำอยู่นั้นละลายเกือบหมดแล้ว ตอนนี้น้ำแข็งลูกใหญ่กำลังจะละลาย ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างมาก ทั้งในเรื่องแร่ธาตุบางอย่าง และสัตว์น้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด”ดร.ปกรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า อากาศในเวลานี้ จะร้อนไปถึงไหน ร้อนสูงสุดได้เท่าไร ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า เวลานี้ มี2 อย่าง คือ อุณหภูมิจริงๆ กับ อุณหภูมิที่เรารู้สึก โดยอุณหภูมิจริงๆจะอยู่ที่ประมาณ 40-41 องศาเซลเซียส บางที่อุณหภูมิความรู้สึกอาจะถึง 50 องศาเซลเซียส แต่ความเป็นจริงไม่ได้ถึงขนาดนั้น โดยเวลานี้ ประเทศไทยผ่านช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดมาแล้ว
ดร.ปกรณ์ กล่าวอีกว่า ที่เป็นความเปลี่ยนแปลง ที่นักวิทยาศาสตร์เองยัง งง งง อยู่ก็คือ เวลานี้ เอลนีโญเริ่มมีสภาพเป็นกลางแล้ว ซึ่งปกติจะมีการสะสมพลังงาน 1-2 ปีแล้ว กลายเป็นลานีญา แต่สิ่งที่กำลังจะเกิดคือ เมื่อเอลนีโญแล้ว ก็จะเปลี่ยนเป็นลานีญาทันที นั้นคือ อุณหภูมิฝั่งทะเลแปซิฟิคจะต่ำกว่าค่าปกติ ประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส
“เอลนีโญในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม แต่ไม่ได้หมายความว่า อากาศร้อนจะสิ้นสุดลง ความร้อนยังมีอยู่ เนื่องจาก เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน จะมีฝนทิ้งช่วง คือ มีภาวะแล้งต่อ อาจจะไปถึงเดือนกันยายน ถึงตุลาคมก็ได้” ดร.ปกรณ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ทั้งหมดนี้ พอจะมีทางออก และรับมือกับภาวะอากาศสุดขั้วหรือไม่ ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า การรับมือที่ดีที่สุด คือการปรับตัว เพราะต้องยอมรับว่า เราแก้ปัญหาอะไรไม่ได้มากแล้ว ซึ่งการปรับตัวนี้ก็ต้องบริหารจัดการให้ดี ทำอย่างเป็นระบบร่วมกัน เช่น เกษตรกร ปรับการปลูกพืช อาจจะต้องปรับเวลาเพาะปลูก หรือปลูกพืชที่เหมาะสมใช้น้ำน้อย ส่วนประชาชนทั่วไป อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันบ้าง เช่น การทำงานที่บ้าน หรือ เวิร์ก ฟรอมโฮม ลดการเดินทางเพื่อประหยัดพลังงาน อันนี้ช่วยได้เยอะ เป็นต้น
ก้าวไกล เตรียมจัดงานใหญ่กลางพ.ค. ‘Policy Festival: มหกรรมนโยบาย’ ชู 6 วิสัยทัศน์พรรค หวังนำเสนออนาคตปทท.อีกมุมภายใต้รบ.ก้าวไกล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4548097
ก้าวไกล เตรียมจัดงานใหญ่กลางพ.ค. ‘Policy Festival: มหกรรมนโยบาย’ ชู 6 วิสัยทัศน์พรรค หวังนำเสนออนาคตปทท.อีกมุมภายใต้รบ.ก้าวไกล
เมื่อวันที่ 27 เมษายน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงพรรค ก.ก. เตรียมจัดงาน ‘Policy Festival’ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ว่า Policy Festival หรือมหกรรมนโยบาย จะจัดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ไบเทคบางนา ซึ่งจุดประสงค์หลักมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. เป็นการพยายามรวบรวมและนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับด้านต่างๆ ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ ประชาชนที่มีความสนใจในด้านต่างๆ และมุมมองของบุคลากรพรรค ก.ก. 2. เป็นการขยายเครือข่าย หรือคนที่สนใจมาขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มาร่วมกับ ก.ก. มากขึ้น 3. เป็นการรณรงค์ทางความคิดเพื่อชี้ให้เห็นว่า แนวคิดภายใต้การบริหารประเทศของพรรค ก.ก. จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร โดยกิจกรรมหลักๆ ในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย วงเสวนา และมีกิจกรรมให้ประชาชนได้ร่วมตามบูธต่างๆ เพื่อต้องการเชิญชวนให้ประชาชนเห็นว่า อนาคตของประเทศไทยภายใต้การเป็นรัฐบาลของพรรค ก.ก. จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ภายในงานจะมีการนำเสนอวิสัยทัศน์ของพรรคทั้ง 6 ด้าน ตามที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ก.ก. เคยแถลงไว้ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประกอบไปด้วย 1. ประชาธิปไตยเต็มใบ 2. การยกระดับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ 3. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชนบทไทย 4. การปฏิรูปรัฐครั้งใหญ่ 5. การส่งเสริมการเรียนรู้ที่เท่าทันโลก และ 6. การกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบมีคุณภาพ
นายพริษฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หวังว่ากิจกรรมนี้จะทำให้ประชาชนเห็นว่า เมื่อใดที่เราได้รับโอกาสจากประชาชน เราก็พร้อมบริหารพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ก้าวหน้าและดีขึ้น ซึ่งการจัดมหกรรมนโยบายนับเป็นครั้งแรกของพรรค ก.ก. ส่วนในอนาคตจะมีการจัดกิจกรรมนี้อีกหรือไม่ คงต้องวางแผนกันอีกครั้ง
เอาไม่อยู่! ‘ไข่ไก่’ ปรับราคาขึ้นอีกแผงละ 6 บาท มีผล 29 เม.ย.นี้.
https://www.matichon.co.th/economy/news_4547899
เอาไม่อยู่! ‘ไข่ไก่’ ปรับราคาขึ้นอีกแผงละ 6 บาท มีผล 29 เม.ย.นี้
วันที่ 27 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ได้ออกประกาศแจ้งสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ปรับราคาไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มกษตรกร ขึ้นราคาอีกแผงละ 6 บาท หรือฟองละ 20 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายนเป็นต้นไป หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม น้ำหนัก 20.5 กก.ขึ้นไป จากปัจจุบันอยู่ที่ฟองละ 3.60 บาท เป็นฟองละ 3.80 บาท นับเป็นการปรับขึ้นรอบสองของเดือนเมษายน หลังรอบแรกปรับขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
งานวิจัยชี้น้ำท่วมใหญ่ ‘โอมาน-ยูเออี’ อาจเชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน
https://www.dailynews.co.th/news/3381079/
ผลการศึกษาโดยกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศนานาชาติ (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอ) ระบุว่า ฝนตกหนักและน้ำท่วมในโอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจเชื่อมโยงกับภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์เอลนีโญ
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ว่า ภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล ‘มีแนวโน้มมากที่สุด’ ในการเป็นสาเหตุของฝนตกหนักในยูเออีและโอมาน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและก่อให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ดับเบิลยูดับเบิลยูเอ กล่าวว่า ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจาก ‘ปรากฏการณ์เอลนีโญ’ จะมีปริมาณฝนตกหนักมากขึ้นร้อยละ 10 ถึง 40 และ ‘มีความเป็นไปได้’ ว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ดี ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด
พายุฝนและน้ำท่วมครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 ราย ในโอมาน และ 4 รายในยูเออี ถือเป็นผลกระทบจากฝนตกหนักที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่ที่เคยได้บันทึกไว้ตลอด 75 ปีที่ผ่านมา
“ภาวะโลกร้อนอาจเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุด สำหรับปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น” นักวิทยาศาสตร์กล่าว
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาบทบาทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว นักวิทยาสตร์ระบุว่า ‘ไม่มีคำอธิบายอื่น ๆ ที่พิสูจน์ได้’ สำหรับสาเหตุของปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ยูเออีและโอมาน ประเทศผลิตน้ำมันรายใหญ่ กำลังเผชิญกับอากาศที่ร้อนจัดอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน โดยเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ศาสตราจารย์โซเนีย เซเนวิรัตเน สมาชิกดับเบิลยูดับเบิลยูเอ ระบุว่า “น้ำท่วมในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และโอมาน แสดงให้เห็นว่าแม้แต่พื้นที่แห้งแล้ง ก็อาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์ฝนตก ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากผลกระทบที่รุนแรงขึ้นของภาวะโลกร้อน”
ดับเบิลยูดับเบิลยูเอวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศในอดีต และแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝนในพื้นที่ รวมไปถึงในปีที่เกิดเอลนีโญ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า ฝนตกหนักมีความรุนแรงน้อยลงมากในยุคก่อนอุตสาหกรรม หลายปีก่อนที่อุณหภูมิของโลกจะอุ่นขึ้น 1.2 องศาเซลเซียส
ดร.มาเรียม ซาคาริยาห์ กล่าวว่า “เหตุการณ์ฝนตกหนักในยูเออีและโอมาน รุนแรงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10” เธออธิบายเพิ่มเติมว่า “การค้นพบนี้ สอดคล้องกับหลักฟิสิกส์พื้นฐานที่ว่า บรรยากาศอุ่นกว่าจะสามารถกักเก็บความชื้นได้มากกว่า”
พายุฝนลูกดังกล่าวขึ้นฝั่งโอมานครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 ราย จากน้ำท่วมฉับพลัน และอุบัติเหตุอื่น ๆ และพายุได้พัดเข้าสู่ยูเออีเมื่อวันที่ 16 เม.ย. ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักเทียบเท่าปริมาณน้ำฝนในระยะเวลา 2 ปี ทำให้น้ำท่วมบ้านเรือน ถนน ห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน และผู้เสียชีวิตแล้ว 4 ราย
เมืองศูนย์กลางทางการเงินอย่างดูไบ ต้องเผชิญกับภาวะหยุดชะงักอย่างรุนแรงหลายวัน เนื่องจากถนนสายหลักถูกน้ำท่วม ไฟฟ้าดับ และประชาชนไม่สามารถออกจากบ้านได้
มากไปกว่านั้น สนามบินนานาชาติดูไบ ซึ่งเป็นสนามบินมีนักท่องเที่ยวพลุกพล่านมากที่สุดของโลก มีเที่ยวบินถูกยกเลิกกว่า 2,155 เที่ยวบิน เปลี่ยนเส้นทาง 115 เที่ยวบิน และไม่สามารถกลับมาให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ จนกระทั่งวันอังคารที่ผ่านมา
ขณะที่รัฐบาลยูเออี ปฏิเสธข้อกล่าวหาในการใช้เทคโนโลยีเร่งและเพิ่มปริมาณฝน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
รายงานของดับเบิลยูดับเบิลยูเอระบุว่า นักวิจัยไม่ได้ตรวจสอบ ‘สาเหตุที่อาจทำให้เกิดเมฆ’ แต่เมื่อพิจารณาจากพายุซึ่งมีขนาดมหึมา ดังนั้น ฝนที่ตกลงมาอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเพาะเมฆ
เมื่อปี 2566 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) ครั้งที่ 28 ซึ่งนานาประเทศได้บรรลุข้อตกลงสำคัญในการ ‘เปลี่ยนผ่าน’ จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด