เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1123088
ติดตามข่าวสารน่าสนใจมากมายได้ที่
https://www.bangkokbiznews.com
สวัสดิการผู้สูงอายุ สิทธิที่อยู่อาศัยของรัฐ เปิด 12 บ้านพักคนชรา พม.ให้อยู่ฟรีถ้าเข้าเกณฑ์ ไม่ได้มีแค่บ้านบางแค ค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ 40,000 บาท พร้อมแนวทางการเข้าอยู่และรับเงินครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ 3,000 บาท
สิทธิสวัสดิการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ
ค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ 40,000 บาท
ในการปรับสภาพแวดล้อมในบ้านผู้สูงอายุ หากสำรวจพบว่ามีจุดที่จะต้องปรับปรุง หากเป็นเรื่องเล็กน้อย จะมีช่างชุมชนที่มีความรู้เรื่องการออกแบบอารยสถาปัตย์เพื่อผู้สูงอายุให้บริการ
นอกจากนี้ กรมกิจการผู้สูงอายุมีเงินสนับสนุน เรื่องของค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ หลังละไม่เกิน 40,000 บาท โดยตั้งเป้าเบื้องต้นปี 2567ทั่วประเทศให้ได้ 4,000 หลัง
สำหรับซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย เช่น เปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ ติดราวจับเปลี่ยนฝ้าผนัง เพดาน ประตู หน้าต่าง หลังคา ปรับทางเดินให้เรียบ ดำเนินการเป็นอัตราเหมาจ่าย
คุณสมบัติขอรับค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ
มีฐานะยากจน หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ
ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ
ที่อยู่อาศัย ไม่มั่งคง ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
กรณีที่อยู่อาศัยและ/หรือที่ดินที่เป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัยไม่ได้เป็นของผู้สูงอายุ หรือทายาท ต้องอาศัยอยู่จริงไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
สามารถยื่นได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)
ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ 3,000 บาท
ปี 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) จะดำเนินการโครงการใหม่ “ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นครอบครัวที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน และไม่มีผู้ดูแลหรือ มีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้
ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเดือนละ 3,000 บาทให้แก่ลูกหลาน เครือญาติ หรือคนในชุมชน ที่ดูแลผู้สูงอายุเปราะบางแล้วไม่มีใครดูแล เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเข้าไปอยู่ในศูนย์พัฒนาการและสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จะให้การสนับสนุนจนกว่าผู้สูงอายุจะเข้มแข็งขึ้นหรือเสียชีวิต ปีแรกตั้งงบประมาณรองรับ 1,100 ราย จากนั้นจะประเมินผลและตั้งงบฯรองรับเพิ่มเติมต่อไป
เงื่อนไข ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ
มีสัญชาติไทย
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ซึ่งมีความพร้อมและศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ อาจได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ เป็นราย ๆ ไป
มีที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่งและอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับผู้สูงอายุ
ได้รับความยินยอมจากสมาชิกทุกคนในครอบครัวว่ามีความพร้อมในการคุ้มครองผู้สูงอายุ
ไม่เป็นผู้ต้องหาว่ากระท้าผิดอาญา และอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ยื่นคำขอได้ที่ กรมกิจการผู้สูงอายุ ,ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
บ้านพักคนชราของรัฐ อยู่ฟรี
สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีที่อยู่อาศัย หรืออยู่อาศัยคนเดียว รัฐโดยกรมกิจการผู้สูงอายุมี ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) หรือบ้านพักคนชราของรัฐพร้อมให้การดูแล 12 แห่ง โดยมีการจัดบริการผู้สูงอายุรูปแบบในสถาบัน ซึ่งเป็นการบริการด้านที่พักอาศัยแก่ผู้สูงอายุแบบเต็มเวลา จํานวน 11 แห่ง และรูปแบบDay Center 1 แห่ง ประกอบด้วย
1.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค(กรุงเทพฯ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์)
2.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต(ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ชุมพร)
3.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง(ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว)
4.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์(rพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี)
5.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม(นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุดรธานี ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ)
6.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา(สงขลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรม สุราษฎร์ธานี)
7.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์(เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน)
8.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ(ยะลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส)
9.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น(รูปแบบDay Center)
10.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์(บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี)
11.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง(ลำปาง พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์)
12.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี(ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี นครนายก นครปฐม กาญจนบุรี)
อย่างไรก็ตาม
หลักเกณฑ์เข้าอยู่บ้านพักคนชราของรัฐ
ผู้สูงอายุที่มีความประสงค์เข้าใช้บริการในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
ไม่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทําผิดอาญาและอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ไม่เป็นโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
มีความสมัครใจ
สามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจําวัน
ไม่มีอาการทางจิตที่รุนแรง หรือมีพฤติกรรมด้านลบที่จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่น
ไม่ติดสารเสพติด หรือติดสุรา
กรณีคนเร่ร่อน ถูกทอดทิ้งหรือคนไร้ที่พึ่ง ต้องผ่านกระบวนการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 2557 ก่อน
ต้องเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ มีฐานะยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย
ขาดผู้อุปการะ หรือผู้ให้ความช่วยเหลือดูแล
ประเภทของผู้รับบริการ บ้านพักคนชราบางแค
ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ระบุ ประเภทของผู้รับบริการ
1. ประเภทสามัญ ให้การอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น
2. ประเภทเสียค่าบริการแบบหอพัก แบ่งออกเป็นห้องเดี่ยว เสียค่าบริการคนละ 1,500 บาทต่อเดือน และห้องคู่เดือนละ 2,000 บาท มีบริการทั้งหมด 40 ห้อง
3. ประเภทพิเศษ (บังกะโล) เป็นบ้านเดี่ยวที่ปลูกสร้างตามแบบแปลนที่กำหนดในที่ดินของศูนย์พัฒนาฯ โดยผู้ปลูกสร้างสามารถพักอาศัยอยู่ได้จนถึงแก่กรรม
ค่าบำรุงแรกเข้า เป็นเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมบังกะโลที่จะเข้าพัก
ค่าบริการรายเดือนกรณีพักคนเดียว เดือนละ 1,500 บาท และในกรณีเข้าพัก 2 คน เช่น คู่สามีภรรยา หรือพี่น้องเพศเดียวกัน เดือนละ 2,000 บาท
ค่าน้ำประปา เดือนละ 100 บาทต่อคน และค่าไฟฟ้าคิดค่าใฃ้จ่ายตามจริง
12 บ้านพักคนชราของรัฐ ผู้สูงอายุอยู่ฟรี ถ้าเข้าเกณฑ์
https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1123088
ติดตามข่าวสารน่าสนใจมากมายได้ที่
https://www.bangkokbiznews.com
สวัสดิการผู้สูงอายุ สิทธิที่อยู่อาศัยของรัฐ เปิด 12 บ้านพักคนชรา พม.ให้อยู่ฟรีถ้าเข้าเกณฑ์ ไม่ได้มีแค่บ้านบางแค ค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ 40,000 บาท พร้อมแนวทางการเข้าอยู่และรับเงินครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ 3,000 บาท
สิทธิสวัสดิการที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ
ค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ 40,000 บาท
ในการปรับสภาพแวดล้อมในบ้านผู้สูงอายุ หากสำรวจพบว่ามีจุดที่จะต้องปรับปรุง หากเป็นเรื่องเล็กน้อย จะมีช่างชุมชนที่มีความรู้เรื่องการออกแบบอารยสถาปัตย์เพื่อผู้สูงอายุให้บริการ
นอกจากนี้ กรมกิจการผู้สูงอายุมีเงินสนับสนุน เรื่องของค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ หลังละไม่เกิน 40,000 บาท โดยตั้งเป้าเบื้องต้นปี 2567ทั่วประเทศให้ได้ 4,000 หลัง
สำหรับซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย เช่น เปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ ติดราวจับเปลี่ยนฝ้าผนัง เพดาน ประตู หน้าต่าง หลังคา ปรับทางเดินให้เรียบ ดำเนินการเป็นอัตราเหมาจ่าย
คุณสมบัติขอรับค่าซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ
มีฐานะยากจน หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ
ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ
ที่อยู่อาศัย ไม่มั่งคง ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
กรณีที่อยู่อาศัยและ/หรือที่ดินที่เป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัยไม่ได้เป็นของผู้สูงอายุ หรือทายาท ต้องอาศัยอยู่จริงไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
สามารถยื่นได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)
ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ 3,000 บาท
ปี 2567 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) จะดำเนินการโครงการใหม่ “ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นครอบครัวที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน และไม่มีผู้ดูแลหรือ มีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้
ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเดือนละ 3,000 บาทให้แก่ลูกหลาน เครือญาติ หรือคนในชุมชน ที่ดูแลผู้สูงอายุเปราะบางแล้วไม่มีใครดูแล เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเข้าไปอยู่ในศูนย์พัฒนาการและสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จะให้การสนับสนุนจนกว่าผู้สูงอายุจะเข้มแข็งขึ้นหรือเสียชีวิต ปีแรกตั้งงบประมาณรองรับ 1,100 ราย จากนั้นจะประเมินผลและตั้งงบฯรองรับเพิ่มเติมต่อไป
เงื่อนไข ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ
มีสัญชาติไทย
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ซึ่งมีความพร้อมและศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ อาจได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ เป็นราย ๆ ไป
มีที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่งและอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับผู้สูงอายุ
ได้รับความยินยอมจากสมาชิกทุกคนในครอบครัวว่ามีความพร้อมในการคุ้มครองผู้สูงอายุ
ไม่เป็นผู้ต้องหาว่ากระท้าผิดอาญา และอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ยื่นคำขอได้ที่ กรมกิจการผู้สูงอายุ ,ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
บ้านพักคนชราของรัฐ อยู่ฟรี
สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีที่อยู่อาศัย หรืออยู่อาศัยคนเดียว รัฐโดยกรมกิจการผู้สูงอายุมี ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) หรือบ้านพักคนชราของรัฐพร้อมให้การดูแล 12 แห่ง โดยมีการจัดบริการผู้สูงอายุรูปแบบในสถาบัน ซึ่งเป็นการบริการด้านที่พักอาศัยแก่ผู้สูงอายุแบบเต็มเวลา จํานวน 11 แห่ง และรูปแบบDay Center 1 แห่ง ประกอบด้วย
1.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค(กรุงเทพฯ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์)
2.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต(ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ชุมพร)
3.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง(ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว)
4.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์(rพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี)
5.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม(นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุดรธานี ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ หนองคาย บึงกาฬ)
6.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา(สงขลา พัทลุง ตรัง นครศรีธรรม สุราษฎร์ธานี)
7.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านธรรมปกรณ์(เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน)
8.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ(ยะลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส)
9.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น(รูปแบบDay Center)
10.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์(บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี)
11.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง(ลำปาง พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์)
12.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี(ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี นครนายก นครปฐม กาญจนบุรี)
อย่างไรก็ตาม
หลักเกณฑ์เข้าอยู่บ้านพักคนชราของรัฐ
ผู้สูงอายุที่มีความประสงค์เข้าใช้บริการในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย
ไม่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทําผิดอาญาและอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
ไม่เป็นโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
มีความสมัครใจ
สามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจําวัน
ไม่มีอาการทางจิตที่รุนแรง หรือมีพฤติกรรมด้านลบที่จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่น
ไม่ติดสารเสพติด หรือติดสุรา
กรณีคนเร่ร่อน ถูกทอดทิ้งหรือคนไร้ที่พึ่ง ต้องผ่านกระบวนการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งพ.ศ. 2557 ก่อน
ต้องเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ มีฐานะยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย
ขาดผู้อุปการะ หรือผู้ให้ความช่วยเหลือดูแล
ประเภทของผู้รับบริการ บ้านพักคนชราบางแค
ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ระบุ ประเภทของผู้รับบริการ
1. ประเภทสามัญ ให้การอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น
2. ประเภทเสียค่าบริการแบบหอพัก แบ่งออกเป็นห้องเดี่ยว เสียค่าบริการคนละ 1,500 บาทต่อเดือน และห้องคู่เดือนละ 2,000 บาท มีบริการทั้งหมด 40 ห้อง
3. ประเภทพิเศษ (บังกะโล) เป็นบ้านเดี่ยวที่ปลูกสร้างตามแบบแปลนที่กำหนดในที่ดินของศูนย์พัฒนาฯ โดยผู้ปลูกสร้างสามารถพักอาศัยอยู่ได้จนถึงแก่กรรม
ค่าบำรุงแรกเข้า เป็นเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมบังกะโลที่จะเข้าพัก
ค่าบริการรายเดือนกรณีพักคนเดียว เดือนละ 1,500 บาท และในกรณีเข้าพัก 2 คน เช่น คู่สามีภรรยา หรือพี่น้องเพศเดียวกัน เดือนละ 2,000 บาท
ค่าน้ำประปา เดือนละ 100 บาทต่อคน และค่าไฟฟ้าคิดค่าใฃ้จ่ายตามจริง