สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ความรู้สึกกตัญญู มันดำรงอยู่ในจิตวิญญาณบูรพา
❤️❤️
...
อาจารย์คริส และอาจารย์ซูซาน .. 2 สามีภรรยา และเพื่อน ๆ เคยมาเที่ยวสวนเมื่อก่อนเกิดโรคระบาดโควิด
โดยปกติอาจารย์ทั้ง 2 คน จะมาประเทศไทยทุกปี .. แต่ด้วยสุขภาพที่ไม่อำนวย จึงไม่สามารถเดินทางไกลได้
อ.คริส และซูซาน .. พักอาศัยอยู่ที่เกาะแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มีลูก 5 คน
เป็นลูกเชื้อชาติเวียดนาม 2 / ลูกเชื้อชาติไทย 2 และลูกเชื้อชาติเกาหลีใต้ 1
ทั้งหมดเป็นลูกบุญธรรม ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่การขอที่ประเทศต้นทาง จนถึงปลายทางกฎหมายของแคนาดา
อ.ทั้งสอง ไม่มีลูกของตนเอง .. เมื่อเดินทางไปเวียดนาม พบเด็กกำพร้าอายุ 5-7 ขวบ จึงอยากจะขอนำไปเลี้ยง
ติดต่อเจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์ .. เจ้าหน้าที่บอกว่า เด็กคนที่อาจารย์ขอเลี้ยง เธอมีพี่น้องอีก 1 คน ..
อาจารย์จะไม่แยกพี่น้องออกจากกัน จึงรับทั้งคู่ไว้
....
ต่อมาเมื่อเดินทางมาประเทศไทย
พบเด็กกำพร้าที่สถานสงเคราะห์สงขลา อายุ 5-6 ขวบ จึงอยากขอมาเลี้ยง .. เจ้าหน้าที่บอกว่า เขามีน้องชายที่ถูกทิ้งไว้ ..
อาจารย์ไม่อยากแยกความเป็นพี่น้อง จึงรับไว้ทั้งคู่เช่นกัน
เมื่อเดินทางไปเกาหลีใต้ ระหว่างท่าเรือแห่งหนึ่ง พบเห็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ 5-6 ขวบ แอบอยู่มุมหนึ่งกำลังนั่งร้องไห้ ..
อาจารย์เกิดความสงสาร เมื่อรู้ว่าถูกผู้ปกครองนำมาทิ้ง จึงตัดสินใจอุปการะ
การอุปการะ เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย คือแจ้งขอกับเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้น ๆ .. แล้วนำเอกสารไปรับรองกับประเทศของตนเอง
เด็ก 5 คน . จากบูรพาทิศ .. สู่เกาะแวนคูเวอร์ ..
30-40 ปีผ่านไป
อาจารย์ส่งเด็ก ๆ ทั้งหมดเรียนสำเร็จเท่าที่ความสามารถจะเรียนได้ และเติบโตทำงานอย่างมั่งคง .
🚩 อาจารย์คริส จะเล่าประวัติของลูก ๆ แต่ละคนให้ฟัง ให้เขาและเธอรู้ว่า เป็นคนชาติไหน มาจากที่ไหน โดยไม่ปิดบัง
ทั้ง 5 คน จำภาษาแผ่นดินแม่ไม่ได้ .. เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความคิด แบบตะวันตกทั้งหมด
จนเมื่อปีที่ผ่านมานี้ . อ. ซูซาน ภรรยาของ อ.คริส ป่วย / แม่ ป่วย .. อยู่กับ พ่อ สองคน
ส่วนลูก ๆ ใช้ชีวิตข้างนอก มีบ้านมีครอบครัวของตนเอง ตามวิถีแบบฝรั่ง
แต่ใครจะไปคิด ..
ลูก ๆ ทั้งหมด 5 คน .. คุยกันและตัดสินใจกัน พากันกลับมาบ้านพ่อ
โดยยอมย้ายงาน ยอมปล่อยบ้านที่อยู่อีกเมืองหนึ่งให้คนเช่า เพื่อกลับมาดูแลพ่อแม่
⭐️ อ.คริส ผู้เป็นพ่อ (บุญธรรม) เล่าว่า เป็นความโชคดีของเขาและภรรยา เหมือนฝันที่ลูก ๆ มีความกตัญญู เช่นนี้
โดยปกติ การดูแลพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า ในความรู้สึกของฝรั่งจะไม่ลึกซึ้งจริงจังเช่นชาวเอเซีย
คนแก่เฒ่าฝรั่งส่วนใหญ่จะอยู่เพียงลำพัง รัฐมีสวัสดิการดูแล
ลูก ๆ ฝรั่งแยกบ้านแยกครอบครัวออกไป ใช้เพียงโทรศัพท์ส่งความห่วงใยโทรหา
- นาน ๆ ในเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น คริสต์มาส ถึงมาพบปะร่วมโต๊ะอาหาร
แต่ลูกทั้ง 5 คน .. กลับทยอยกันกลับมา เพื่อดูแลชีวิตประจำวันพ่อแม่ ดูแลบ้าน นั่งพูดคุยเฝ้า ตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอน
ทั้งหมด พวกเขาพวกเธอ ตกลงกันเอง แบ่งหน้าที่กันเองอย่างเต็มใจ
ลูกคนหนึ่งพูดว่า ..
ถ้าเธอไม่มีพ่อและแม่ ก็ไม่มีหนูในวันนี้ - พ่อแม่ทั้งคู่ไม่ได้ให้กำเนิดหนู แต่ให้ชีวิตใหม่กับหนู ให้การศึกษา ให้โอกาส และให้อิสระในการเลือกและการคิด
พวกเธอพวกเขา ไม่รู้หรอกว่า ? คำว่ากตัญญูในศัพท์วิชาการ ในภาษาฝรั่ง มันมีความหมายอย่างไร ?
❤️ แต่มันผุดขึ้นมาในความรู้สึกของพวกเขา .. อธิบายออกไปคนนอกก็ยากจะเข้าใจ
อ.คริส และอ.ซูซาน บอกว่า > ตัวเขาและภรรยาโชคดี ..
เพราะการเลี้ยงลูกที่ไม่ใช่ลูกของตัวเอง นับเป็นความเสี่ยง อย่างหนึ่ง !
...
ผมฟังแล้วผมตื้นตัน อยากบอกอาจารย์ทั้งสอง ว่า ไม่ใช่ความโชคดีครับ แต่เป็นบุญในวาสนาของอาจารย์ .
คำว่าบุญและวาสนา อธิบายเป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก
แต่ "ความกตัญญู" ที่ลูกทั้ง 5 คน .. (อันเป็นคนเชื้อสายเวียดนาม 2 คนเชื้อสายไทย 2 และคนเชื้อสายเกาหลี 1) .. มันคือจิตวิญญาณแห่งชาวบูรพา
มาตรแม้นแต่ละคน ขาดหายจากแผ่นดินแม่ ไม่เคยได้กลับมา จนพูดภาษาแผ่นดินตนไม่ได้เลย
แต่การกตัญญู มันเป็นวิญญาณของชาวบูรพา
มันปรากฎขึ้นมาเองอย่างอัศจรรย์ ที่มิอาจลบล้างให้หายไปได้
...
✍️✍️✍️
❤️❤️
...
อาจารย์คริส และอาจารย์ซูซาน .. 2 สามีภรรยา และเพื่อน ๆ เคยมาเที่ยวสวนเมื่อก่อนเกิดโรคระบาดโควิด
โดยปกติอาจารย์ทั้ง 2 คน จะมาประเทศไทยทุกปี .. แต่ด้วยสุขภาพที่ไม่อำนวย จึงไม่สามารถเดินทางไกลได้
อ.คริส และซูซาน .. พักอาศัยอยู่ที่เกาะแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มีลูก 5 คน
เป็นลูกเชื้อชาติเวียดนาม 2 / ลูกเชื้อชาติไทย 2 และลูกเชื้อชาติเกาหลีใต้ 1
ทั้งหมดเป็นลูกบุญธรรม ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่การขอที่ประเทศต้นทาง จนถึงปลายทางกฎหมายของแคนาดา
อ.ทั้งสอง ไม่มีลูกของตนเอง .. เมื่อเดินทางไปเวียดนาม พบเด็กกำพร้าอายุ 5-7 ขวบ จึงอยากจะขอนำไปเลี้ยง
ติดต่อเจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์ .. เจ้าหน้าที่บอกว่า เด็กคนที่อาจารย์ขอเลี้ยง เธอมีพี่น้องอีก 1 คน ..
อาจารย์จะไม่แยกพี่น้องออกจากกัน จึงรับทั้งคู่ไว้
....
ต่อมาเมื่อเดินทางมาประเทศไทย
พบเด็กกำพร้าที่สถานสงเคราะห์สงขลา อายุ 5-6 ขวบ จึงอยากขอมาเลี้ยง .. เจ้าหน้าที่บอกว่า เขามีน้องชายที่ถูกทิ้งไว้ ..
อาจารย์ไม่อยากแยกความเป็นพี่น้อง จึงรับไว้ทั้งคู่เช่นกัน
เมื่อเดินทางไปเกาหลีใต้ ระหว่างท่าเรือแห่งหนึ่ง พบเห็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ 5-6 ขวบ แอบอยู่มุมหนึ่งกำลังนั่งร้องไห้ ..
อาจารย์เกิดความสงสาร เมื่อรู้ว่าถูกผู้ปกครองนำมาทิ้ง จึงตัดสินใจอุปการะ
การอุปการะ เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย คือแจ้งขอกับเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้น ๆ .. แล้วนำเอกสารไปรับรองกับประเทศของตนเอง
เด็ก 5 คน . จากบูรพาทิศ .. สู่เกาะแวนคูเวอร์ ..
30-40 ปีผ่านไป
อาจารย์ส่งเด็ก ๆ ทั้งหมดเรียนสำเร็จเท่าที่ความสามารถจะเรียนได้ และเติบโตทำงานอย่างมั่งคง .
🚩 อาจารย์คริส จะเล่าประวัติของลูก ๆ แต่ละคนให้ฟัง ให้เขาและเธอรู้ว่า เป็นคนชาติไหน มาจากที่ไหน โดยไม่ปิดบัง
ทั้ง 5 คน จำภาษาแผ่นดินแม่ไม่ได้ .. เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความคิด แบบตะวันตกทั้งหมด
จนเมื่อปีที่ผ่านมานี้ . อ. ซูซาน ภรรยาของ อ.คริส ป่วย / แม่ ป่วย .. อยู่กับ พ่อ สองคน
ส่วนลูก ๆ ใช้ชีวิตข้างนอก มีบ้านมีครอบครัวของตนเอง ตามวิถีแบบฝรั่ง
แต่ใครจะไปคิด ..
ลูก ๆ ทั้งหมด 5 คน .. คุยกันและตัดสินใจกัน พากันกลับมาบ้านพ่อ
โดยยอมย้ายงาน ยอมปล่อยบ้านที่อยู่อีกเมืองหนึ่งให้คนเช่า เพื่อกลับมาดูแลพ่อแม่
⭐️ อ.คริส ผู้เป็นพ่อ (บุญธรรม) เล่าว่า เป็นความโชคดีของเขาและภรรยา เหมือนฝันที่ลูก ๆ มีความกตัญญู เช่นนี้
โดยปกติ การดูแลพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า ในความรู้สึกของฝรั่งจะไม่ลึกซึ้งจริงจังเช่นชาวเอเซีย
คนแก่เฒ่าฝรั่งส่วนใหญ่จะอยู่เพียงลำพัง รัฐมีสวัสดิการดูแล
ลูก ๆ ฝรั่งแยกบ้านแยกครอบครัวออกไป ใช้เพียงโทรศัพท์ส่งความห่วงใยโทรหา
- นาน ๆ ในเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น คริสต์มาส ถึงมาพบปะร่วมโต๊ะอาหาร
แต่ลูกทั้ง 5 คน .. กลับทยอยกันกลับมา เพื่อดูแลชีวิตประจำวันพ่อแม่ ดูแลบ้าน นั่งพูดคุยเฝ้า ตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอน
ทั้งหมด พวกเขาพวกเธอ ตกลงกันเอง แบ่งหน้าที่กันเองอย่างเต็มใจ
ลูกคนหนึ่งพูดว่า ..
ถ้าเธอไม่มีพ่อและแม่ ก็ไม่มีหนูในวันนี้ - พ่อแม่ทั้งคู่ไม่ได้ให้กำเนิดหนู แต่ให้ชีวิตใหม่กับหนู ให้การศึกษา ให้โอกาส และให้อิสระในการเลือกและการคิด
พวกเธอพวกเขา ไม่รู้หรอกว่า ? คำว่ากตัญญูในศัพท์วิชาการ ในภาษาฝรั่ง มันมีความหมายอย่างไร ?
❤️ แต่มันผุดขึ้นมาในความรู้สึกของพวกเขา .. อธิบายออกไปคนนอกก็ยากจะเข้าใจ
อ.คริส และอ.ซูซาน บอกว่า > ตัวเขาและภรรยาโชคดี ..
เพราะการเลี้ยงลูกที่ไม่ใช่ลูกของตัวเอง นับเป็นความเสี่ยง อย่างหนึ่ง !
...
ผมฟังแล้วผมตื้นตัน อยากบอกอาจารย์ทั้งสอง ว่า ไม่ใช่ความโชคดีครับ แต่เป็นบุญในวาสนาของอาจารย์ .
คำว่าบุญและวาสนา อธิบายเป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก
แต่ "ความกตัญญู" ที่ลูกทั้ง 5 คน .. (อันเป็นคนเชื้อสายเวียดนาม 2 คนเชื้อสายไทย 2 และคนเชื้อสายเกาหลี 1) .. มันคือจิตวิญญาณแห่งชาวบูรพา
มาตรแม้นแต่ละคน ขาดหายจากแผ่นดินแม่ ไม่เคยได้กลับมา จนพูดภาษาแผ่นดินตนไม่ได้เลย
แต่การกตัญญู มันเป็นวิญญาณของชาวบูรพา
มันปรากฎขึ้นมาเองอย่างอัศจรรย์ ที่มิอาจลบล้างให้หายไปได้
...
✍️✍️✍️
ความคิดเห็นที่ 2
ผมมองว่ามันเป็นเหมือนประเพณีไปแล้วอ่ะครับ เพราะคนโซนเอเชียส่วนใหญ่ถูกสอนให้แคร์ความรู้สึกคนรอบข้าง ข้อดีเลยเป็นคนที่ละเอียดอ่อน เอาใจใส่กันและกัน มีน้ำใจ แต่ข้อเสียคือจะไม่มีความมั่นใจในตัวเองสักเท่าไหร่ ซึ่งจะตรงข้ามกับโซนตะวันตกครับที่สอนให้มั่นใจในตัวเองมากกว่า (จากข่าว อเมริกาเลยเลือกจะกราดยิงในขณะที่ญี่ปุ่นเลือกจะฆตต)
ประเด็นต่อมาสภาพสังคมประเทศเราต้องยอมรับว่ากว่าจะเรียนจบ ม.6 - ปริญญาตรี พวกเราแทบจะหารายได้ไม่ได้เลย ทำงานพิเศษก็แค่ประทังแต่ทำให้ลืมตาอ้าปากไม่ได้ ดังนั้นต้องยอมรับว่า ถ้าเกิดมาในครอบครัวที่ดี มีต้นทุนสูง ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะระหว่างเรียนชีวิตและความเป็นอยู่ก็ฝากไว้ที่พ่อแม่หมดเลย
พอเราเรียนจบแล้ว ก็มีทั้งความผูกพัน ความรู้สึกอยากตอบแทนทดแทนบุญคุณอะไรต่ออะไรอีกหลายอย่าง รวมไปถึงเรื่องความเชื่อบุญกรรมต่างๆ จนบางทีทำให้พวกเราลืมไปว่า ขอบเขตเรื่องส่วนตัวของเราคือเรื่องไหนบ้างกันแน่
บางคนอายุ 30 กว่า กำลังจะแต่งงาน พ่อแม่ไม่ชอบอีกฝ่าย บังคับให้ลูกเลิก ลูกก็เชื่อพ่อแม่ทันทีก็มีครับ ของแบบนี้ไม่ใช่เล่นๆนะ จะบอกให้
ประเด็นต่อมาสภาพสังคมประเทศเราต้องยอมรับว่ากว่าจะเรียนจบ ม.6 - ปริญญาตรี พวกเราแทบจะหารายได้ไม่ได้เลย ทำงานพิเศษก็แค่ประทังแต่ทำให้ลืมตาอ้าปากไม่ได้ ดังนั้นต้องยอมรับว่า ถ้าเกิดมาในครอบครัวที่ดี มีต้นทุนสูง ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะระหว่างเรียนชีวิตและความเป็นอยู่ก็ฝากไว้ที่พ่อแม่หมดเลย
พอเราเรียนจบแล้ว ก็มีทั้งความผูกพัน ความรู้สึกอยากตอบแทนทดแทนบุญคุณอะไรต่ออะไรอีกหลายอย่าง รวมไปถึงเรื่องความเชื่อบุญกรรมต่างๆ จนบางทีทำให้พวกเราลืมไปว่า ขอบเขตเรื่องส่วนตัวของเราคือเรื่องไหนบ้างกันแน่
บางคนอายุ 30 กว่า กำลังจะแต่งงาน พ่อแม่ไม่ชอบอีกฝ่าย บังคับให้ลูกเลิก ลูกก็เชื่อพ่อแม่ทันทีก็มีครับ ของแบบนี้ไม่ใช่เล่นๆนะ จะบอกให้
ความคิดเห็นที่ 3
เพราะการปลูกฝัง ระบบการปกครอง ของไทย
เด็กไทยเกิดมาก็มีแต่พ่อแม่ดูแลเลี้ยงดูปกป้อง ส่งเสียเลี้ยงดู
เด็กต่างประเทศเกิดมา รัฐมีสวัสดิ์การเลี้ยงดูเด็ก มีเงินช่วยเหลือค่าคลอดลูกสำหรับคุณแม่ มีเงินช่วยเลี้ยงดูบุตร มีสวัสดิ์การ เรียนฟรี
เป็นจากรัฐที่เก็บภาษีจากประชาชน
เด็กต่างประเทศ เกิดมาจากพ่อแม่ก็จริงค่ะ แต่เติบโตได้ จากทุกคนในสังคม พ่อแม่เขาถึงไม่สิทธิ์ไปบงการ ชีวิตลูกได้ขนาดนั้นค่ะ
ซึ่งต่างจากสังคมไทย สังคมไทย รัฐบาลไทยแทบไม่มีส่วนมาช่วยเลี้ยงเด็กเลย
พ่อแม่ เลี้ยงลูกมาด้วยตนเองจริงๆ
เด็กไทยเกิดมาก็มีแต่พ่อแม่ดูแลเลี้ยงดูปกป้อง ส่งเสียเลี้ยงดู
เด็กต่างประเทศเกิดมา รัฐมีสวัสดิ์การเลี้ยงดูเด็ก มีเงินช่วยเหลือค่าคลอดลูกสำหรับคุณแม่ มีเงินช่วยเลี้ยงดูบุตร มีสวัสดิ์การ เรียนฟรี
เป็นจากรัฐที่เก็บภาษีจากประชาชน
เด็กต่างประเทศ เกิดมาจากพ่อแม่ก็จริงค่ะ แต่เติบโตได้ จากทุกคนในสังคม พ่อแม่เขาถึงไม่สิทธิ์ไปบงการ ชีวิตลูกได้ขนาดนั้นค่ะ
ซึ่งต่างจากสังคมไทย สังคมไทย รัฐบาลไทยแทบไม่มีส่วนมาช่วยเลี้ยงเด็กเลย
พ่อแม่ เลี้ยงลูกมาด้วยตนเองจริงๆ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนไทยถึงปล่อยให้พ่อแม่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตตนเองมากครับ
บางคนจะเรียนไหนสาขาอะไรต้องให้พ่อแม่มากำหนดให้ทุกอย่าง
ผมอ่านแล้วน่าตกใจ ทำไมพวกคุณไม่หัดดื้อบ้าง ใจแข็งบ้าง เด็ดขาดบ้าง ร่วมใจกัยทำอารยขัดขืนใส่พ่อแม่บ้าง ทำไมไม่ทำกัน
ทำไมคนไทยกลุ่มนี้ถึงปล่อยให้พ่อแม่มาทวงบุญคุญ มามีอิทธิพลกับชีวิตได้ขนาดนี้
ส่วนตัวผมนะบ้านไม่ได้รวยหรอก ผมจะเรียนอะไร สอบเข้าที่ไหน จะดาวน์รถอะไร ผ่อนเท่าไหร่ พ่อแม่ไม่เคยว่าเลย ทางบ้านก็ไม่เคยขอเงินด้วย ขอแค่ให้ผมดูแลตนเองได้ก็พอแล้ว ไม่เคยมายุ่มย่ามกับชีวิตผมเลย อยากไปเที่ยวไหน ทำอะไร ก็ทำไป พ่อแม่ไม่เคยว่า ขอแค่อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็พอ ตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบันพ่อแม่ผมก็ไม่เคยถูกเรียกให้ไปไกล่เกลี่ยคดีความ หรือไปพบครูฝ่ายปกครองด้วย
บางอย่างผมทำไปแล้วค่อยบอกพ่อแม่ทีหลังก็มี เช่น ผมเคยดาวน์รถมาผ่อนเอง พ่อแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร บอกแค่ว่าถ้าผ่อนไหวก็ผ่อนไป
เรื่องย้ายงานก็เช่นกัน ผมย้ายเรียบร้อยค่อยมาบอกพ่อแม่ พ่อแม่ก็ไม่เห็นว่าอะไรเลย
ไปเที่ยวนั่นนี่กลับมาเอาขนมมาฝากนิดหน่อยพ่อแม่ก็ไม่เห็นว่าอะไร สรุปพ่อแม่ไม่เคยมายุ่งเรื่องส่วนตัวเลยเพราะโตแล้ว
มีใครอิสระเหมือนผมบ้างไหม ถ้าไม่อิสระ ทำไมพวกคุณถึงเอาชีวิตไปผูกกับพ่อแม่ขนาดนั้น
ผมไม่ค่อยเข้าใจในวัฒนธรรมบางอย่าง ถ้ามันล้าหลังก็ควรปรับเปลี่ยนให้มันเข้ากับยุคสมัยใหม่ได้แล้ว ขนาดผมเกิดในชนบท ที่บ้านมีอาชีพทำสวน แทนที่พ่อแม่จะมีความคิดโบราณ แต่ไม่เลย กลับตรงกันข้ามกับคนรวยหรือชนชั้นกลางในเมืองซะด้วยซ้ำ น่าแปลกใจ
คนที่อ่านกระทู้นี้แล้วลองมาแบ่งปันการใช้ชีวิตของพวกคุณหน่อยครับ คนที่อิสระ ทำไมถึงอิสระ คนที่ปล่อยให้พ่อแม่เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตตลอด ชีวิตคุณมีความสุขไหม และคิดว่าเมื่อไหร่จึงจะหลุดพ้นหรือได้อิสระจากพ่อแม่เสียที
แท็กต่างแดนอยากรู้ว่าคนไทยต่างแดนต่างจากคนไทยในไทยที่ถูกพ่อแม่ครอบงำไหม