เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่สายการบินโดยเฉพาะโลว์คอสต์ในไทย คิดค่าธรรมเนียมการรับชำระเงิน "ในทุกช่องทาง" ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต พร้อมเพย์ Internet banking หรือแม้แต่การจ่ายด้วยเงินสดที่เคาท์เตอร์สายการบินเองก็ตาม ค่าธรรมเนียมนี้หากมองกลาย ๆ ในมุมผู้บริโภคก็อาจถือเป็นค่าธรรมเนียมที่แอบแฝง เพราะไม่แจ้งมาก่อน แต่จะมาโชว์ให้ผู้บริโภคเห็นในหน้าสุดท้ายก่อนจ่ายเงินเลย แถมไม่มีช่องทางจ่ายเงินใดที่จะไม่ถูกคิดเลยแม้แต่ช่องทางเดียว ซึ่งถ้าคิดดูดี ๆ ก็ดูไม่ได้เป็นธรรมกับผู้บริโภคเท่าไหร่ แม้พวกเราจะทนจ่ายกันมานานหลายปีจนชาชิน
โดยปัจจุบันสายการบินโลว์คอสต์ในไทยเรียกเก็บดังนี้สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ (ส่วนเส้นทางต่างประเทศจะตัด Vat 7% ออก)
1. ไทยแอร์เอเชีย 128.40 บาท ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับบัตรเครดิต (ยกเว้น Union pay) เช่นสมมุติไป-กลับ 5 คน ก็โดน 1,284 บาท!! นะครับ
107.00 ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับช่องทางอื่น ๆ ทุกช่องทาง
และไม่ยกเว้นสำหรับผู้ใช้ Big pay อีกต่อไปแล้ว
2. นกแอร์ 128.40 บาท ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับบัตรเครดิตและ LINE pay
73.39 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับบัตร Unionpay
74.90 บาท ต่อรายการ สำหรับช่องทางอื่น ๆ ทุกช่องทาง
3. ไทยไลออนแอร์ ไม่คิดค่าธรรมเนียมดังกล่าวเลย (ปรบมือ...)
3. ไทยเวียดเจ็ท 82.39 บาท ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับทุกช่องทาง
เมื่อเปรียบเทียบทั้งหมดจะเห็นว่าไทยแอร์เอเชียเรียกเก็บในอัตราโหดสุด
โดยสายการบินบอกว่าเป็นต้นทุนในการพัฒนาระบบการชำระเงินต่าง ๆ จึงคิดเพิ่ม แต่มันจำเป็นต้องเป็นแบบนั้นไหม? ...........
ไม่เลยครับ!
เมื่อเดือนกันยายน 2562 คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน ซึ่งก่อนหน้านี้
MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee
นับจากนั้น แอร์เอเชียจึงยกเลิกค่า Processing Fee สำหรับเที่ยวบินต้นทางและปลายทางมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2562 เป็นต้นมา
รวมถึงเที่ยวบินภายในประเทศมาเลเซียก็ไม่คิดค่า Processing Fee อีกต่อไปแล้ว
(ข่าวจาก Manager Online
https://mgronline.com/columnist/detail/9660000094434)
จะเห็นว่า ทุกอย่างมันอยู่ที่ Regulator หรือผู้ควบคุมในประเทศนั้น ๆ จะออก Action อย่างไร สำหรับในประเทศไทย Regulator ของเหล่าสายการบินที่เทียบได้กับ MAVCOM ของมาเลเซียก็คือ CAAT (สำนักงานการบินพลเรือน) ซึ่งก็กำลังร่างประกาศใหม่สำหรับควบคุมการดำเนินการของสายการบินที่เข้าออกประเทศไทยซึ่งน่าจะประกาศใช้เร็ว ๆ นี้ แต่ในร่างก็ไม่พบว่ามีการพูดถึงการห้ามคิดค่าธรรมเนียมแอบแฝงแต่อย่างใด มีแต่การห้ามแอบใส่ Add-on ให้อัตโนมัติเช่น ห้ามแอบติ๊กซื้อประกัน เป็นต้น
อีกทั้งในมุมมองทางกฎหมาย ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่มีในสัญญาซื้อขายผู้ขายก็ควรแจ้งผู้ซื้อตั้งแต่ทำคำเสนอ ไม่ใช่ไปแจ้งเมื่อผู้ซื้อส่งคำสนองเสร็จแล้วกำลังจะชำระหนี้
แน่นอนว่าสายการบินย่อมมีต้นทุนในการดำเนินงานเพื่อการรับเงินโดยวิธีต่าง ๆ แต่แต่ละช่องทางแต่ละยอดเงินก็ย่อมมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป การคิดค่าธรรมเนียมแบบเหมาทุกรายเท่ากันนั้นเหมาะสมจริงหรือ? และการบวกรวมต้นทุนเข้าไปกับค่าโดยสารหรือ base fare ทำไม่ได้จริงหรือ? ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันค่าธรรมเนียมน้ำมันหรือ Fuel cost fluctuation fee ก็ได้ถูกรวมเข้าไปในค่าโดยสารหมดแล้ว? การแยกค่าธรรมเนียมนี้ออกมาชาร์จต่างหากทีหลัง มีประโยชน์ในการทำให้ค่าโดยสารที่โชว์ในหน้าแรก ๆ ดูเหมือนจะถูก เพื่อประโยชน์ในการทำการตลาดเท่านั้น ใช่หรือไม่?
ดังนั้น ควรหรือไม่ที่ประเทศไทยเราควรจะมีระเบียบหรือกฎหมายห้ามไม่ให้สายการบินคิดค่าธรรมเนียมในลักษณะนี้อีกต่อไป? เหมือนเช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียซึ่งกฎหมายและผู้คุมกฎของเขาก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว (ทั้งที่เขาเป็นเจ้าตำรับสายการบินโลว์คอสต์ในแถบนี้แท้ ๆ) และภาคประชาชนเราจะสามารถช่วยกันขับเคลื่อนด้วยวิธีใดได้บ้าง? สามารถร้องเรียนไปที่ CAAT ได้ไหม? ขอเชิญร่วมอภิปรายกันครับ
- ในมุมการคุ้มครองผู้บริโภค
- ในมุม การพัฒนาวงการและอุตสาหกรรมการบิน เพื่อความยั่งยืน
- ในมุม Fair business practices
- ในมุม หลักความสุจริตอย่างยิ่งของการทำสัญญา (กฎหมาย)
ฯลฯ
สายการบินในไทย เลิกเก็บค่าตัดบัตรเครดิต /ค่า Processing Fee/ ค่าธรรมเนียมช่องทาง ได้หรือไม่?
โดยปัจจุบันสายการบินโลว์คอสต์ในไทยเรียกเก็บดังนี้สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ (ส่วนเส้นทางต่างประเทศจะตัด Vat 7% ออก)
1. ไทยแอร์เอเชีย 128.40 บาท ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับบัตรเครดิต (ยกเว้น Union pay) เช่นสมมุติไป-กลับ 5 คน ก็โดน 1,284 บาท!! นะครับ
107.00 ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับช่องทางอื่น ๆ ทุกช่องทาง
และไม่ยกเว้นสำหรับผู้ใช้ Big pay อีกต่อไปแล้ว
2. นกแอร์ 128.40 บาท ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับบัตรเครดิตและ LINE pay
73.39 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับบัตร Unionpay
74.90 บาท ต่อรายการ สำหรับช่องทางอื่น ๆ ทุกช่องทาง
3. ไทยไลออนแอร์ ไม่คิดค่าธรรมเนียมดังกล่าวเลย (ปรบมือ...)
3. ไทยเวียดเจ็ท 82.39 บาท ต่อคนต่อเที่ยวบิน สำหรับทุกช่องทาง
เมื่อเปรียบเทียบทั้งหมดจะเห็นว่าไทยแอร์เอเชียเรียกเก็บในอัตราโหดสุด
โดยสายการบินบอกว่าเป็นต้นทุนในการพัฒนาระบบการชำระเงินต่าง ๆ จึงคิดเพิ่ม แต่มันจำเป็นต้องเป็นแบบนั้นไหม? ........... ไม่เลยครับ!
เมื่อเดือนกันยายน 2562 คณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน ซึ่งก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee
นับจากนั้น แอร์เอเชียจึงยกเลิกค่า Processing Fee สำหรับเที่ยวบินต้นทางและปลายทางมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2562 เป็นต้นมา
รวมถึงเที่ยวบินภายในประเทศมาเลเซียก็ไม่คิดค่า Processing Fee อีกต่อไปแล้ว
(ข่าวจาก Manager Online https://mgronline.com/columnist/detail/9660000094434)
จะเห็นว่า ทุกอย่างมันอยู่ที่ Regulator หรือผู้ควบคุมในประเทศนั้น ๆ จะออก Action อย่างไร สำหรับในประเทศไทย Regulator ของเหล่าสายการบินที่เทียบได้กับ MAVCOM ของมาเลเซียก็คือ CAAT (สำนักงานการบินพลเรือน) ซึ่งก็กำลังร่างประกาศใหม่สำหรับควบคุมการดำเนินการของสายการบินที่เข้าออกประเทศไทยซึ่งน่าจะประกาศใช้เร็ว ๆ นี้ แต่ในร่างก็ไม่พบว่ามีการพูดถึงการห้ามคิดค่าธรรมเนียมแอบแฝงแต่อย่างใด มีแต่การห้ามแอบใส่ Add-on ให้อัตโนมัติเช่น ห้ามแอบติ๊กซื้อประกัน เป็นต้น
อีกทั้งในมุมมองทางกฎหมาย ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่มีในสัญญาซื้อขายผู้ขายก็ควรแจ้งผู้ซื้อตั้งแต่ทำคำเสนอ ไม่ใช่ไปแจ้งเมื่อผู้ซื้อส่งคำสนองเสร็จแล้วกำลังจะชำระหนี้
แน่นอนว่าสายการบินย่อมมีต้นทุนในการดำเนินงานเพื่อการรับเงินโดยวิธีต่าง ๆ แต่แต่ละช่องทางแต่ละยอดเงินก็ย่อมมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป การคิดค่าธรรมเนียมแบบเหมาทุกรายเท่ากันนั้นเหมาะสมจริงหรือ? และการบวกรวมต้นทุนเข้าไปกับค่าโดยสารหรือ base fare ทำไม่ได้จริงหรือ? ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันค่าธรรมเนียมน้ำมันหรือ Fuel cost fluctuation fee ก็ได้ถูกรวมเข้าไปในค่าโดยสารหมดแล้ว? การแยกค่าธรรมเนียมนี้ออกมาชาร์จต่างหากทีหลัง มีประโยชน์ในการทำให้ค่าโดยสารที่โชว์ในหน้าแรก ๆ ดูเหมือนจะถูก เพื่อประโยชน์ในการทำการตลาดเท่านั้น ใช่หรือไม่?
ดังนั้น ควรหรือไม่ที่ประเทศไทยเราควรจะมีระเบียบหรือกฎหมายห้ามไม่ให้สายการบินคิดค่าธรรมเนียมในลักษณะนี้อีกต่อไป? เหมือนเช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียซึ่งกฎหมายและผู้คุมกฎของเขาก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว (ทั้งที่เขาเป็นเจ้าตำรับสายการบินโลว์คอสต์ในแถบนี้แท้ ๆ) และภาคประชาชนเราจะสามารถช่วยกันขับเคลื่อนด้วยวิธีใดได้บ้าง? สามารถร้องเรียนไปที่ CAAT ได้ไหม? ขอเชิญร่วมอภิปรายกันครับ
- ในมุมการคุ้มครองผู้บริโภค
- ในมุม การพัฒนาวงการและอุตสาหกรรมการบิน เพื่อความยั่งยืน
- ในมุม Fair business practices
- ในมุม หลักความสุจริตอย่างยิ่งของการทำสัญญา (กฎหมาย)
ฯลฯ